ก จกรรมรณรงค เด กไทยแก มแดง ม ล กเพ อชาต

หลังศาลจังหวัดเชียงรายมีคำพิพากษาจำคุก 28 ปี "บัสบาส" มงคล ถิระโคตร วัย 29 ปี ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ เมื่อ 26 ม.ค. ที่ผ่านมา หลายคนมีคำถามว่านักกิจกรรมในจังหวัดเชียงรายรายนี้ได้รับโทษสูงสุดจากความผิดหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือไม่

บีบีซีไทยตรวจสอบข้อมูลไปที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ที่ส่งทนายของศูนย์ไปทำหน้าที่เป็นทนายจำเลย และเก็บรวมรวมข้อมูลในคดีเหล่านี้ในรอบหลายปีที่ผ่านมา และข้อมูลจากแหล่งข่าวสาธารณะอื่น ๆ พบว่า โทษที่มงคลได้รับนั้น ยังจัดอยู่เพียงอันดับ 4 ของผู้กระทำความผิดในคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ โดยผู้ที่ได้รับโทษสูงสุดมากเป็นอันดับ 1 คือ อดีตข้าราชการหญิงวัยเกษียณที่ต้องโทษจําคุก 43 ปี 6 เดือน

บีบีซีไทย ขอเรียงลำดับบุคคลที่ไดรับโทษ สูงสุด 6 อันดับ จากน้อยไปมาก จนถึง 27 ม.ค. 2566 ดังนี้

  • ล้อเลียนกษัตริย์ สหราชอาณาจักร-เดนมาร์ก จัดการอย่างไร
  • มุมมองผู้รายงานพิเศษของยูเอ็นต่อเสรีภาพการชุมนุมในไทย
  • ย้อนคดีหมิ่นฯโทษหนัก และบทบาทผู้พิทักษ์สถาบันฯ ของ กฤตย์ เยี่ยมเมธากร"

ก จกรรมรณรงค เด กไทยแก มแดง ม ล กเพ อชาต

ที่มาของภาพ, Reuters

คำบรรยายภาพ,

12 ก.ย. 2565 ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำพิพากษา ให้จำคุก 3 ปี น.ส.จตุพร แซ่อึง หรือนิว ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการถูกกล่าวหาว่าแต่งกายเลียนแบบพระราชินี เมื่อปี 2563

อันดับ 6 ชายวัย 58 กับโทษที่ลดเหลือ 25 ปี

เธียรสุธรรม (สงวนนามสกุล) อายุ 58 ปี ถูกตำรวจจับกุมที่บ้านเมื่อ 18 ธ.ค. 2557 ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "ใหญ่ แดงเดือด" โพสต์วิจารณ์คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมถึงการพาดพิงสถาบันกษัตริย์ ทั้งหมด 5 โพสต์

เมื่อ 31 มี.ค. 2558 ศาลทหารกรุงเทพพิพากษาว่า เขามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ จากความผิด 5 กระทง ๆ ละ 10 ปี ลงโทษจำคุกรวม 50 ปี แต่ลดลงกึ่งหนึ่ง เนื่องจากจำเลยรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ส่วนที่จำเลยถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกเป็นเวลา 7 วัน ไม่นับเป็นวันที่จำเลยถูกควบคุมตัวระหว่างการดำเนินคดี

2 เม.ย. 2558 ในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 60 พรรษา ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีการลดโทษของเธียรสุธรรมเหลือ 21 ปี 10 เดือน

ก จกรรมรณรงค เด กไทยแก มแดง ม ล กเพ อชาต

ที่มาของภาพ, ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

คำบรรยายภาพ,

"บัสบาส" มงคล ถิระโคตร

อันดับ 5 ชายวัย 29 กับ โทษที่ลดเหลือ 28 ปี

"บัสบาส" มงคล ถิระโคตร ถูกฟ้องจากโพสต์เฟซบุ๊ก 27 ข้อความ ซึ่งศาลจังหวัดเชียงรายเห็นว่ามีความผิด 14 ข้อความ ศาลเห็นว่าเป็นการกระทำเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามบทที่หนักที่สุด คือตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และให้เรียงโทษเป็นกระทงความผิดไป รวม 14 กระทง จึงพิพากษาเมื่อ 26 ม.ค. 2566 จำคุกกรรมละ 3 ปี รวมจำคุก 42 ปี

จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้เหลือกระทงละ 2 ปี รวมโทษจำคุก 28 ปี ทั้งนี้ศาลไม่ได้อ่านโทษเต็ม ก่อนลดโทษให้ เนื่องจากให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา หลังอ่านคำพิพากษา บัสบาสได้ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไปยังห้องขังของศาล และทนายความได้ยื่นขอประกันตัวในระหว่างอุทธรณ์คดี

ก่อนหน้านี้ จำเลยได้รับการประกันตัวระหว่างสู้คดีในศาลชั้นต้น เนื่องจากเป็นคดีที่เกิดยุคหลังปี 2563

ในวันเดียวกัน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำสั่งให้ประกัน "บัสบาส" โดยพิจารณาแล้วเห็นว่าระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยไม่เคยผิดสัญญาประกันตัว จึงอนุญาตให้ประกันตัวระหว่างอุทธรณ์ ด้วยวงเงิน 300,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขการประกันตัว 2 ประการ คือ ห้ามกระทำการที่เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และห้ามเดินทางออกนอกประเทศ

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ในชั้นสั่งฟ้องคดีต่อศาล นายประกันได้วางหลักทรัพย์ประกันตัวไว้แล้วคดีละ 150,000 บาท รวมสองคดีเป็นหลักทรัพย์ประกันตัว 300,000 บาท โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนราษฎรประสงค์ ทำให้ไม่ต้องวางหลักประกันตัวเพิ่มเติมอีกในชั้นอุทธรณ์คดีนี้

ก จกรรมรณรงค เด กไทยแก มแดง ม ล กเพ อชาต

ที่มาของภาพ, ศศิพิมล

คำบรรยายภาพ,

แม่เลี้ยงเดี่ยวของลูกสาว 2 คน

อันดับ 4 แม่เลี้ยงเดี่ยววัย 27 กับโทษที่ลดเหลือ 28 ปี

เช้าของปลายเดือน ก.ย. 2557 ตำรวจนอกเครื่องแบบมาที่บ้านเช่าของ ศศิพิมล แม่เลี้ยงเดี่ยวของลูกสาว 2 คน ในเชียงใหม่ พร้อมหมายค้นในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นำของกลาง และตัวเธอไปโรงพัก

หลังการสอบสวนของตำรวจ เธอถูกอัยการทหารสั่งฟ้อง จนถึง 7 ส.ค. 2558 ศาลมณฑลทหารบกที่ 33 เชียงใหม่ ได้ตัดสินจำคุกหญิงชาวจังหวัดเชียงใหม่รายนี้ ซึ่งเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว และไม่เคยมีประวัติเคลื่อนไหวทางการเมืองมาก่อน เป็นเวลา 56 ปี จาก 7 กรรม ๆ ละ 8 ปี ด้วยความผิดฐานโพสต์ข้อความหมิ่นสถาบันฯ ทางเฟซบุ๊กเช่นกัน แต่ลดให้เหลือ 28 ปี หลังเธอ "รับสารภาพ" แต่ไม่รับฟังคำร้องขอความเมตตาในเรื่องที่เธอยังมีลูกตัวเล็ก ๆ 2 คนที่ต้องเลี้ยงดู และมีแม่อีกคนที่ป่วยกระเสาะกระแสะอยู่ที่บ้าน

ผู้สื่อข่าวของบีบีซีได้ไปเยี่ยมศศิพิมลที่ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่พร้อมกับลูกสาวทั้งสองและแม่ของเธอ พวกเขาไม่ได้มาเยี่ยมเธอบ่อยนัก แม้ทางเรือนจำจะไม่ได้เข้มงวดเรื่องการพบญาติจนเกินไป แต่ลูกสาวสองคนของเธอต้องไปโรงเรียน ส่วนแม่ของเธอคือนางสุชิน กองบุญ นั้นแทบจะไม่สามารถลาหยุดงานในหน้าที่พนักงานทำความสะอาดของโรงแรมแห่งหนึ่งใน จ.เชียงใหม่ มาได้เลย อย่างดีที่สุดครอบครัวของศศิพิมลจะมาเยี่ยมเธอได้ในราวทุกหนึ่งหรือสองสัปดาห์เท่านั้น

ศศิพิมลอธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้สื่อข่าวบีบีซีว่า สามีเก่าของเธอเป็นช่างยนต์ แต่ต่อมาเขาทิ้งเธอไปมีหญิงคนใหม่ เพื่อนที่เธอรู้จักสมัยที่เคยทำงานในร้านอาหารแนะให้เธอแก้เผ็ดหญิงคนนั้น ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวของศศิพิมลที่บ้าน สร้างบัญชีเฟซบุ๊กปลอมที่ใช้ชื่อบัญชีเป็นชื่อของหญิงคนดังกล่าว และเพื่อนได้โพสต์ความเห็นทิ้งไว้

ในตอนแรก เธอไม่ได้ดูว่าความเห็นนั้นเป็นข้อความอะไร มาทราบว่าเป็นข้อความหมิ่นสถาบันฯ ก็ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่นำภาพบันทึกหน้าจอมาให้ดู ต่อมาเพื่อนคนดังกล่าวก็ได้หายตัวไป

หลังได้รับพระราชทานอภัยโทษหลายครั้ง เธอได้รับการปล่อยตัว 15 ก.ย. 2563 รวมคุมขัง 5 ปี 7 เดือน

  • สำรวจกฎหมายหมิ่นกษัตริย์ในยุโรปและเอเชีย
  • "ทำผิด" แบบไหน ถึงโดนแจ้งข้อหาตามมาตรา 112
  • "อาตมาไม่เชื่อว่าการติดคุก 112 มันจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทย"
  • ปฏิกิริยาหลังทักษิณ ชินวัตรบอกว่า ม.112 ไม่ใช่ปัญหา

ก จกรรมรณรงค เด กไทยแก มแดง ม ล กเพ อชาต

ที่มาของภาพ, WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI

คำบรรยายภาพ,

ผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" ถือป้ายเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ หลังจากเดินขบวนจากสามย่านมาถึงสถานทูตเยอรมนีเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563

อันดับ 3 อดีตไกด์ชายวัย 47 กับโทษที่ลดเหลือ 30 ปี

นายพงษ์ศักดิ์ ศรีบุญเพ็ง ชาว จ.กาญจนบุรี มีอาชีพตัวแทนบริษัทนำเที่ยว เคยมีชื่อในคำสั่งเรียกบุคคลรายงานตัวของ คสช. ฉบับที่ 58/2557 แต่ไม่ได้ไปรายงานตัวตามกำหนด ก่อนหน้าคดีนี้ พงษ์ศักดิ์เคยถูกดำเนินคดีฐานไม่มารายงานตัวตามคำสั่ง คสช. มาแล้ว ซึ่งศาลทหารพิพากษาให้ จำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท รอลงอาญา 2 ปี

ต่อมาเขาถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัวได้เมื่อ 30 ธ.ค. 2557 โดยคำฟ้องของอัยการทหารระบุว่า นายพงษ์ศักดิ์ เป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "Sam Parr" โพสต์ข้อความเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 ทั้งหมด 6 ครั้ง ซึ่ง 4 ครั้งเป็นการโพสต์ในเดือน ก.ย. 2556 และอีก 2 ครั้งในเดือน พ.ย. 2557

เมื่อ 7 ส.ค. 2558 ศาลทหารกรุงเทพอ่านคำฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยแถลงรับสารภาพ จึงพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 จำนวน 6 กรรม ลงโทษจำคุกกรรมละ 10 ปี รวมทั้งหมด 60 ปี เนื่องจากจำเลยรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 30 ปี

ต่อมาเขาได้รับการปล่อยตัวช่วงปลายปี 2563 รวมเวลาคุมขังประมาณ 5 ปี 6 เดือน

ก จกรรมรณรงค เด กไทยแก มแดง ม ล กเพ อชาต

ที่มาของภาพ, EPA

อันดับ 2 ชายวัย 33 กับโทษลดเหลือ "30 ปี 60 เดือน"

9 มิ.ย. 2560 ศาลทหารกรุงเทพนัดฟังคำพิพากษา คดีที่นายวิชัย (สงวนนามสกุล) พนักงานขายของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ถูกฟ้องฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ จากการปลอมเฟซบุ๊กแล้วโพสต์ข้อความ 10 ข้อความ

ศาลทหารพิพากษาว่านายวิชัยกระทำความผิดตามมาตรา 112 จริง การโพสต์ข้อความจำนวน 10 ข้อความนับเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ ศาลพิพากษาให้ลงโทษวิชัยกรรมละ 7 ปี นับโทษรวมเป็น 70 ปี

เเต่เนื่องจากวิชัยให้การรับสารภาพในชั้นศาลอันเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี จึงลดโทษให้เหลือกรรมละ 3 ปี 6 เดือน รวมโทษที่วิชัยต้องรับทั้งหมดจากการกระทำความผิดทั้งหมด 10 กรรม เป็น 30 ปี 60 เดือน (35 ปี)

ส่วนการกระทำอีก 1 กรรม ที่คำฟ้องของอัยการทหารระบุว่านายวิชัยได้ทำการปลอมแปลงเฟซบุ๊กเป็นบุคคลอื่นในการโพสต์ข้อความที่เป็นการหมิ่นประมาท ศาลเห็นว่าการกระทำของนายวิชัยไม่ครบตามองค์ประกอบความผิดในมาตรา 14 (1) ซึ่งแก้ไขตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ศาลพิพากษายกฟ้องในข้อหานี้

เขาได้รับการปล่อยตัวช่วงปี 2564 รวมถูกคุมขังประมาณ 6 ปี เศษ

ก จกรรมรณรงค เด กไทยแก มแดง ม ล กเพ อชาต

ที่มาของภาพ, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

คำบรรยายภาพ,

อัญชัญ ปรีเลิศ

อันดับ 1 หญิงเสื้อแดงวัยใกล้เกษียณ กับโทษ 29 ปี 174 เดือน

อัญชัญ ปรีเลิศ ข้าราชการที่ใกล้เกษียณอายุ ในช่วงรัฐประหารโดย คสช. คือหนึ่งในคนที่ร่วมการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ก่อนเหตุการณ์สลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง อัญชัญ ชอบฟังรายการวิเคราะห์การเมืองของ "บรรพต" ในเว็บไซต์ ก่อนที่โซเชียลมีเดียจะแพร่หลาย ก่อนกลายเป็นผู้ถูกดำเนินคดีจากการแชร์รายการของบรรพต ด้วยการถูกจำคุกถึง 43.6 ปี

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย รายงานว่า อัญชัญ ปรีเลิศ ถูกจับกุมในเดือน ม.ค. 2558 และถูกควบคุมตัวในค่ายทหารที่ จ. กาญจนบุรี เป็นเวลา 5 วันในช่วงแรก ด้วยคดี 112 ซึ่งอยู่ภายใต้การพิจารณาของ "ศาลทหาร" เดิมพันแรกระหว่างอิสรภาพและเสรีภาพในการแสดงออกจึงอยู่บนความไม่แน่นอนของการบังคับใช้กฎหมาย เมื่อโทษสูงสุดที่เธออาจได้รับ คือ 15 ปี x 29 กรรม เท่ากับว่าเธอจะถูกจำคุก 435 ปี จากคลิปทั้งหมด 29 คลิป ในความผิดทั้งหมดตามมาตรา 112 ทำให้เธอกลายเป็นผู้ถูกแจ้งข้อกล่าวหาเป็นจำนวนมากที่สุดในเครือข่ายคนที่ทางการไทยกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับเครือข่ายบรรพต และเป็นคดีมาตรา 112 ที่โทษหนักที่สุดนับแต่รัฐประหารปี 2557

อัญชัญตัดสินใจต่อสู้คดี ทว่าขณะนั้นคำยื่นขอประกันตัวของเธอถูกปฏิเสธซ้ำหลายครั้ง ทำให้เธอต้องถูกคุมขังเป็นเวลาทั้งสิ้น 3 ปี กับอีก 281 วัน ก่อนจะถูกปล่อยชั่วคราวในวันที่ 2 พ.ย. 2561 ด้วยหลักทรัพย์ 5 แสนบาท

คดีของเธออยู่ภายใต้ศาลทหารจนกระทั่งเดือน ก.ค. 2562 เมื่อมีประกาศจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้ย้ายคดีที่พลเรือนถูกพิจารณาคดีในศาลทหารไปยังศาลยุติธรรม เธอจึงถูกย้ายมาพิจารณาคดีที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก

19 ม.ค. 2564 ศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำคุกตามฟ้องว่าอัปโหลดและแชร์คลิปเสียงของรายการ "บรรพต" ทั้งหมด 29 ครั้ง กรรมละ 3 ปี รวม 29 กรรม รวมจำคุก 87 ปี จำเลยรับสารภาพ ลดโทษครึ่งหนึ่ง เหลือจำคุกกรรมละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 29 ปี 174 เดือน หรือ 43 ปี 6 เดือน

หลังคำพิพากษา หลายหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนพยายามดำเนินการคืนความยุติธรรมให้กับอัญชัญ โดยสมาพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (International Federation for Human Rights - FIDH) และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ยื่นคำร้องต่อคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ (United Nations Working Group on Arbitrary Detention - UN WGAD) เพื่อให้มีการปล่อยตัวอัญชัญ ผู้ต้องโทษจำคุกที่ยาวนานที่สุดภายใต้มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา (หมิ่นประมาทกษัตริย์) ที่ขณะนี้กำลังถูกจองจำอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลางในกรุงเทพฯ

ตั้งแต่ 12 ก.ค. 2564 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย รณรงค์เชิญชวนให้ประชาชนร่วมเขียนจดหมายให้กำลังใจอัญชัญ บนช่องทางออนไลน์ รวมถึงร่วมถ่ายภาพกับดอกอัญชัญ เพื่อส่งกำลังใจให้เธอ ผ่านแฮชแท็ก #มองจากลูกกรงนั้นเจ็บปวด

ก จกรรมรณรงค เด กไทยแก มแดง ม ล กเพ อชาต

ที่มาของภาพ, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

คำบรรยายภาพ,

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย รณรงค์เชิญชวนให้ประชาชนร่วมเขียนจดหมายให้กำลังใจอัญชัญ บนช่องทางออนไลน์

ต่อมา WGAD เรียกร้องทางการไทยให้ปล่อยตัวอัญชัญ ผู้ต้องขังหมิ่นประมาทกษัตริย์โดยทันที เรียกร้องในหนังสือความเห็นที่รับรองเมื่อ 17 พ.ย. 2564 และเผยแพร่เมื่อ 20 ธ.ค. 2564

"ความเห็นของสหประชาชาติเกี่ยวกับกรณีของอัญชัญตอกย้ำถึงความอยุติธรรมสูงสุดที่เธอได้รับและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงที่เกิดจากการบังคับใช้มาตรา 112 ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลไทยจะทําลายวงจรการจับกุม การดําเนินคดี และการคุมขัง พร้อมรับฟังเสียงเรียกร้องจากทั้งในประเทศและนานาชาติให้มีการปฏิรูปมาตรา 112" อดีล ราห์เมน คาน เลขาธิการใหญ่แห่ง FIDH กล่าว