การเคลมส ท ศ นย ม ตช ใช เวลานานร ป าว

เพื่อนๆ บางคนคงเคยเจอเหตุการณ์ที่เราขับรถอยู่ดีๆ ก็โดนรถใครก็ไม่รู้มาชนหรือมาเฉี่ยวแล้วก็ต้องแอบข้างทาง โทรแจ้งประกัน รอประกันมา รอรับใบเคลม ก่อนจะแยกย้ายกันไปซึ่งก็ใช้เวลาหลักชั่วโมงเลยและถ้าคู่กรณียอมรับผิดเรื่องราวก็จะง่ายขึ้นเสียแค่เวลาเท่านั้น แต่ถ้าเจอคู่กรณีชนแล้วหนีไปเลยก็จะวุ่นวายเข้าไปอีกเพราะเราต้องไปแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สน.ที่เกิดเรื่องเพื่อลงบันทึกประจำวันแล้วจึงแจ้งประกัน รับใบเคลม ตามสืบหลักฐานต่างๆ กันอีกถ้าไม่ได้ทำประกันชั้น 1 ไว้ แอบเซ็งเหมือนกันนะครับ ขั้นตอนเยอะจริงๆ แต่มีน้อยคนนักที่รู้ว่า เมื่อเราเป็นฝ่ายถูกและรถเราทำประกันรถยนต์ไว้เราสามารถเคลมค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมได้นะครับ

ค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อม คือ

ค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อม คือ ค่าสินไหมทนแทนหรือเงินชดเชยจากการเกิดอุบัติเหตุที่ฝ่ายถูกสามารถเรียกร้องจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณีได้เพื่อใช้เป็นค่าเดินทางในระหว่างที่เราเอารถยนต์เข้าซ่อมครับ เจ้าค่าเนี้ยตอนที่เราซื้อประกันรถยนต์ก็แทบจะไม่มีใครพูดถึงเลย และหลายครั้งเมื่อเราเกิดอุบัติเหตุขึ้นเราก็ไม่ได้เตรียมตัวไว้ทำให้พลาดการแจ้งเคลมไปอย่างเสียดาย ผมจึงอยากให้เพื่อนๆ รู้จักค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมไว้ครับ

แต่อย่างที่เล่าให้ฟังนะครับ ว่าค่านี้จะเคลมได้เมื่อเราเป็นฝ่ายถูก มีคู่กรณีที่เป็นยานพาหนะทางบก (รถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์) รถเราได้ทำประกันรถยนต์ไว้แบบระบุชื่อเราเองหรือทำแบบไม่ระบุชื่อก็ได้ ตัวเรามีใบขับขี่อย่างถูกต้อง ส่วนชื่อเจ้าของรถไม่ใช่ชื่อตัวเราเองได้ครับ สำคัญที่เรามีใบขับขี่ถูกต้องและทำประกันรถยนต์ไว้อย่างถูกต้องครับ

ค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมเป็นสิทธิ์ของฝ่ายถูกที่ทำประกันรถไว้

หลายคนเคยบ่นว่า ซื้อประกันรถยนต์แต่ละปีไว้ไม่คุ้มเลย เพราะเราเป็นคนที่ขับรถชำนาญแล้วไม่เคยแจ้งเคลม ไม่มีเฉี่ยวชน ผมอยากจะบอกว่าการแจ้งเคลมค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมนี่ไงครับ คือตัวอย่างของการทำประกันรถยนต์ที่คุ้มค่ามากกว่าแค่ตอนที่เราเป็นฝ่ายผิดแล้วต้องเตรียมเงินมาจ่ายค่าซ่อมรถ ค่าเสียหายหรือค่าชดเชยต่างๆ (เรียกได้ว่าทำประกันเป็น) เพราะเมื่อเราไม่เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุ เราเป็นฝ่ายได้รับความเสียหาย เราก็สามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ในระหว่างที่เราต้องเอารถไปซ่อมตามข้อกำหนดของ คปภ. เพื่อถือเป็นค่าเดินทางได้เลยครับ

สิ่งที่น่าเสียดายคือ ตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยบางคนไม่เคยอธิบายประโยชน์ข้อนี้ให้ลูกค้าฟังเลย ตอนที่ผมทำประกันรถยนต์ปี 2-3 แรกไม่เคยได้ยินคำนี้เลยดีกว่าครับ เพิ่งจะมารู้จักค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมก็ตอนที่พี่ๆ เจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัยกรุงศรีอธิบายให้ฟังเลยอยากให้เพื่อนๆ ที่ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจทุกคนรู้จักจะได้ใช้ได้อย่างถูกต้องเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นครับ

ขั้นตอนการเคลมค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อม คือ

เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นและตกลงกันได้เรียบร้อยกับคู่กรณีว่าเราเป็นฝ่ายถูก หลังจากที่เราโทรแจ้งอุบัติเหตุแล้ว

  • รอรับใบแจ้งเคลมจากเจ้าหน้าที่ประกันภัย ถ่ายเอกสารเก็บไว้ด้วยนะครับ
  • นำรถยนต์ไปที่ศูนย์หรืออู่ซ่อม พร้อมให้ศูนย์หรืออู่ซ่อมประเมินความเสียหายส่งเป็นเอกสารให้เราเก็บไว้ด้วย พร้อมยื่นใบเคลมเพื่อแจ้งซ่อม
  • ขอใบรับรถมาจากศูนย์หรืออู่มาให้เรียบร้อย ถ่ายเอกสารเก็บไว้ด้วย
  • แจ้งศูนย์หรืออู่ให้ถ่ายรูปตอนซ่อมรถแล้วส่งมาให้เราดูด้วย เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อม
  • เมื่อรถซ่อมเสร็จก็ให้เราไปรับรถพร้อมขอสำเนาใบรับรถหรือหนังสือส่งมอบรถเสร็จที่ระบุวันที่ไว้อย่างชัดเจน
  • จากนั้นให้เรา download แบบฟอร์มแจ้งเคลมค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมจากบริษัทประกันของคู่กรณี หรือจะหาแบบฟอร์มในอินเตอร์เน็ทก็ได้นะครับ
  • เตรียมเอกสารของตัวเราเองให้พร้อมเริ่มจากใบขับขี่รถยนต์และสำเนาด้วย
  • สำเนาหน้าตารางกรมธรรม์ประกันรถยนต์ปัจจุบันของรถเรา ทุกชั้นแจ้งเคลมได้ครับ
  • สำเนาทะเบียนรถยนต์ของเรา
  • สำเนาบัญชีธนาคารที่เราจ้องการให้โอนเงินค่าขาดประโยชน์กลับมาให้ซึ่งก็ควรเป็นบัญชีของตัวเราเองนะครับ

เพื่อการตามเรื่องแบบใช้เวลารวดเร็วที่สุดและไม่ต้องไปหลายๆ รอบ ผมขอแนะนำให้เตรียมเอกสารให้ครบในครั้งเดียว และเมื่อเราเดินทางไปด้วยตัวเองเพื่อติดต่อเรื่องการเคลมค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมก็ขอชื่อและเบอร์ติดต่อเจ้าหน้าที่กลับมาด้วยนะครับเราจะได้ตามเรื่องถูกคน ถูกแผนกครับ

ส่วนระยะเวลาที่เราต้องรอคอยนั้นขึ้นอยู่กับการดำเนินงานของแต่ละบริษัทประกันภัยนะครับ ถ้าใช้เวลานานเป็นเดือนๆ เราก็ควรโทรสอบถามผลเป็นระยะด้วย แล้วก็บอกให้ทำใจกันก่อนว่า เงินชดเชยที่เราจะได้กลับมาอาจจะไม่ได้ 100% เต็มตามที่เราตั้งไปนะครับเพราะตามข้อกำหนดของคปภ. เองก็จะมีราคากลางที่บริษัทประกันภัยใช้ในการคำนวณค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมให้เราครับ

ใครสงสัยเรื่องการเคลมค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมไม่ต้องเกรงใจ ถามผมมาได้เลยครับ เดี๋ยวผมช่วยหาคำตอบให้ทุกคนครับ

รถอีซูซุดีแมคซ์ และอีซูซุมิว-เอ็กซ์ ซึ่งยังอยู่ในช่วงรับประกันรถใหม่ 3 ปี หรือ 100,000 กม. (แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งจะถึงก่อน) หรืออยู่ในช่วงรับประกันตามแพ็กเกจในโปรแกรมอีซูซุสมาร์ทโพรเทคชั่นที่ได้สมัครไว้ ได้แก่ แพ็กเกจ 5 ปี หรือ 100,000 กม. (แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งจะถึงก่อน) หรือ แพ็กเกจ 5 ปี หรือ 160,000 กม. (แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งจะถึงก่อน)

หากสนใจแพ็กเกจ ISP สามารถติดต่อซื้อแพ็กเกจอย่างไร?

ผู้ใช้งานสามารถติดต่อศูนย์บริการเพื่อแสดงความสนใจแพ็กเกจ ISP โดย

  1. เข้าสู่เว็บแอปพลิเคชัน my-ISUZU
  2. ไปที่เมนู สิทธิพิเศษ
  3. เลือกปุ่ม ISUZU SMART PROTECTION
  4. หากผู้ใช้งานมีรถยนต์หลายคัน ให้เลือกรถยนต์ที่สนใจแพ็กเกจ ISP
  5. เลือกปุ่ม คลิกเพื่อสมัคร
  6. เลือกแพ็กเกจที่ต้องการสมัคร
  7. เลือกปุ่ม ยืนยันการสมัคร
  8. ระบบจะแสดงหน้าจอข้อตกลงและเงื่อนไขโปรแกรมอีซูซุสมาร์ทโพรเทคชั่น หลังจากอ่านเงื่อนไขแล้วให้ติ๊กที่กล่องหน้าข้อความ "ข้าพเจ้าได้อ่าน รับทราบและเข้าใจข้อตกลงและเงื่อนไขข้างต้นทุกประการ" จากนั้นกดปุ่ม ยืนยัน
  9. ระบบจะแสดงข้อความรายละเอียดแพ็กเกจและราคาที่สมัคร ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปชำระค่าบริการและตรวจสอบรถยนต์ที่ทำการสมัครได้ที่ศูนย์บริการมาตรฐานอีซูซุทั่วประเทศ

รับสิทธิการเป็นสมาชิก เพียงลงทะเบียนกับ

ข้อกำหนดและเงื่อนไข

เงื่อนไขในการรักษาสิทธิการรับประกันตามโปรแกรมอีซูซุสมาร์ทโพรเทคชั่น

จะต้องนำรถเข้าเช็กระยะตามกำหนดทุกๆ 6 เดือน หรือ 10,000 กม. (แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งจะถึงก่อน) ที่ศูนย์บริการมาตรฐานอีซูซุอย่างต่อเนื่อง และตรงตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนด

รถยนต์ที่สามารถเข้ารับบริการโปรแกรมบริการพิเศษ อีซูซุสมาร์ทโพรเทคชั่น

  • จะต้องนำรถเข้าเช็กระยะตามกำหนดทุกๆ 6 เดือน หรือ 10,000 กม. (แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งจะถึงก่อน) ที่ศูนย์บริการมาตรฐานอีซูซุอย่างต่อเนื่อง และตรงตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนด
  • จะต้องเข้ารับบริการตรวจเช็กระยะจากศูนย์บริการมาตรฐานอีซูซุที่มีรายชื่ออยู่ในคู่มือการใช้ และการบำรุงรักษารถยนต์อีซูซุ เมื่อถึงกำหนดระยะบริการและบำรุงรักษารถยนต์ที่บริษัทฯ ได้ระบุไว้ในคู่มือดังกล่าว ตลอดระยะเวลาของโปรแกรมบริการพิเศษ อีซูซุสมาร์ทโพรเทคชั่น
  • จะต้องเป็นรถที่จำหน่ายโดยผู้จำหน่ายอีซูซุและต้องเป็นรถยนต์ที่ใช้ในประเทศไทยเท่านั้น
  • จะต้องเป็นรถที่อยู่ในการรับประกันคุณภาพรถใหม่ (3 ปี หรือ 100,000 กม. แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งจะถึงก่อน) หรืออยู่ในช่วงรับประกันตามแพ็กเกจในโปรแกรมบริการพิเศษ อีซูซุสมาร์ทโพรเทคชั่นที่ได้สมัครไว้ ได้แก่ แพ็กเกจ 5 ปี หรือ 100,000 กม.(แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งจะถึงก่อน) หรือ แพ็กเกจ 5 ปี หรือ 160,000 กม.(แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งจะถึงก่อน)

ตัวอย่างรายการอะไหล่ที่คุ้มครอง

การรับประกันปกติ อีซูซุสมาร์ทโพรเทคชั่น รายการอะไหล่ ฝาครอบวาล์ว ฝาสูบ เสื้อสูบ อ่างเครื่อง ลูกสูบ แหวนลูกสูบ สลักก้านสูบ ก้านสูบ และแบริ่ง (ชาร์ฟก้าน) โซ่เฟืองไทมิ่ง และชุดกลไกปรับตั้งความตึงโซ่ ชุดระบายความร้อนน้ำมันเครื่อง เจเนอเรเตอร์ กล่องควบคุมเครื่องยนต์ ECU เซนเซอร์วัดแรงดันในท่อรางน้ำมัน เซนเซอร์วัดแรงดันในท่ออากาศ เซนเซอร์วัดอุณหภูมิของอากาศ เซนเซอร์มาตรวัดมวลอากาศ เซนเซอร์วัดความเร็วในการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง เซนเซอร์อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น เซนเซอร์ แบตเตอรี่ ชุดขาคลัตช์ ปั๊มคลัตช์ตัวล่าง ปั๊มคลัตช์ตัวบน ชุดกลไกควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ ชุดควบคุมเกียร์ออโตเมติก ทอร์กคอนเวอร์เตอร์ อ่างน้ำมันเกียร์ กล่องควบคุมเกียร์ออโตเมติก กล่องควบคุมเกียร์ทรานส์เฟอร์ เหล็กกันโคลง แขนข้อต่อระบบช่วงล่าง เพลาขับ และเสื้อเพลา เสื้อเฟืองท้าย ชุดเฟืองบายศรี-เดือยหมู และลูกปืนเฟืองท้าย ปีกนกบน และปีกนกล่าง เพลาลูกเบี้ยว เสื้อเพลาลูกเบี้ยว และกระเดื่องกดวาล์ว เพลาข้อเหวี่ยง และแบริ่ง (ชาร์ฟอก) ฟลายวีล เซนเซอร์วัดการหมุนของเพลาลูกเบี้ยว ชุดขาคันเร่ง เสื้อ เฟือง เพลา ลูกปืนเกียร์ และทรานสเฟอร์ วาล์วไอดี วาล์วไอเสีย สปริงกดวาล์ว และซีลปลอกวาล์ว วาล์ว EGR สวิตช์เกียร์ว่าง สวิตช์เกียร์ถอย สวิตช์ปรับโหมด 4WD สวิตช์คอพวงมาลัย หน้าปัดเรือนไมล์ ชุดสายไฟเครื่องยนต์ ชุดวาล์วปีกผีเสื้อ เทอร์โบชาร์จเจอร์ ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง เซนเซอร์ตรวจจับตำแหน่งการเปิดวาล์วลิ้นปีกผีเสื้อ ถังน้ำมันเชื้อเพลิง ชุดลูกลอยน้ำมันเชื้อเพลิง คาลิเปอร์ดิสก์เบรก กระบอกเบรก ชุดขาเบรก สวิตช์ไฟเบรก แม่ปั๊มเบรก และกระปุกน้ำมันเบรก หม้อลมเบรก ปั๊มไฮดรอลิกสำหรับระบบเบรก ABS เซนเซอร์ ABS ชุดแกนพวงมาลัย ปั๊มน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ คอยล์เย็น เทอร์โมสตัท คอมเพรสเซอร์แอร์ มอเตอร์พัดลมแอร์ หม้อน้ำ เซนเซอร์ความเร็วรถ เซนเซอร์ AIR BAG ชุดถุงลมนิรภัย กล่องควบคุมชุดถุงลมนิรภัย กล่องควบคุม KEYLESS ENTRY ตัวรับสัญญาณ KEYLESS ENTRY ชุดควบคุมระบบกันขโมย ชุดสายเข็มขัดนิรภัย ชุดหัวล็อกสายเข็มขัดนิรภัย ชุดเฟืองยกกระจกประตู และมอเตอร์ ชุดเซนทรัลล็อก และสายเคเบิ้ล กล่องควบคุมเซนทรัลล็อก กล่องควบคุม BCM ชิ้นส่วนตัวถัง เช่น ประตู แก้ม ฝากระโปรง ฝาท้าย ล้อ ฝาครอบดุมล้อ และฝาครอบล้อ ยางขอบประตู ยางรถยนต์ แบตเตอรี่ โช้กอัพ จานเบรก ดรัมเบรก และก้ามเบรก ระบบไอเสีย (ท่อไอเสียหม้อพักไอเสีย แคตาโลติก) อุปกรณ์ชุดเครื่องเสียงและความบันเทิง ผ้าเบรก แผ่นคลัตช์ ลูกปืนกดคลัตช์ หลอดไฟ ฟิวส์ ชิ้นส่วนอะไหล่ที่ผ่านการดัดแปลง สายพานเครื่องยนต์ สายพานแอร์