การรณรงค ไม ให ม เพศส มพ นธ ในว ยร น

วันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันเอดส์โลก โดยคำขวัญในปีนี้ คือ ‘ยุติความเหลื่อมล้ำ ยุติโรคเอดส์ ยุติโรคระบาด’ (End Inequalities, End AIDS, End Pandemics.)

ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และการพบเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดต่างๆ อย่างต่อเนื่องทำให้ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือที่รู้จักกันดีในชื่อโรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome, AIDS) ได้รับความสนใจน้อยลง อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในประเทศไทยยังถือว่าเป็นปัญหาสำคัญ โดยที่กรมควบคุมโรคได้คาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อ HIV ปี 2564 อยู่ที่ประมาณ 493,859 คน ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5,825 คน (เฉลี่ย 16 ราย/วัน) และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 11,214 คนต่อปี (ประมาณ 31 ราย/วัน) ทั้งกรมอนามัยและสภากาชาดไทยต่างก็ผลักดันให้เกิดความตระหนักถึงความจำเป็นและความเร่งด่วนในการจัดการเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ HIV อย่างต่อเนื่อง โดยที่หน่วยงานอย่าง UNAIDS (Joint United Nations Programme on HIV/AIDS) ได้มีการตั้งเป้าหมายในการยุติโรคเอดส์ภายในปี 2573

เพื่อเป็นการร่วมรณรงค์วันเอดส์โลก ผศ.นพ.ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์ แพทย์ผู้ชำนาญการสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลเมดพาร์ค และอดีตนายกสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย (วาระ พ.ศ. 2556 - 2558) จึงมาร่วมไขข้อข้องใจ แก้ความเชื่อผิดๆ ที่หลายคนอาจมีเกี่ยวกับโรคเอดส์

  • ติดเชื้อ HIV หมายความว่าเป็นโรค AIDS?

HIV (Human Immunodeficiency Virus) ไม่ใช่เอดส์ แต่เป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย นั่นคือเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 หรือ T cells ซึ่งทำหน้าที่ในการต่อสู้เชื้อโรคต่างๆ หากเมื่อใดผู้ติดเชื้อ HIV มีอาการป่วยจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น ปอดอักเสบ PJP วัณโรค เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อคริปโตคอคคัส หรือถึงแม้ยังไม่มีอาการป่วยจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาส แต่เมื่อใดที่เชื้อไวรัส HIV ทำลายเซลล์ CD4 จนมีปริมาณไม่เพียงพอ (ต่ำกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.) ทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ก็จะเรียกว่าเข้าสู่ระยะโรคเอดส์

  • การใช้ชีวิตร่วมกับผู้ติดเชื้อ HIV เช่น กินข้าวร่วมกัน ดื่มน้ำร่วมกันสามารถทำให้ติดเชื้อ HIV ได้?

การหายใจ จาม ไอ กอด จูบ จับมือ ใช้ช้อนเดียวกัน ดื่มน้ำจากหลอดเดียวกัน ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกันเช่น ผ้าเช็ดตัว/ผ้าเช็ดหน้า อุปกรณ์ออกกำลังกาย การสัมผัสพื้นผิวต่าง ๆ ร่วมกัน เช่นลูกบิดประตู ฝารองนั่งในห้องน้ำ หรือการโดนยุงที่กัดผู้ติดเชื้อมากัดเราต่อ ไม่ได้ทำให้ติดเชื้อ HIV อย่างไรก็ตามยังมีเชื้อโรคอื่น ๆ ที่ติดต่อโดยการกินอาหารโดยใช้ช้อนเดียวกันหรือดื่มน้ำโดยใช้หลอดเดียวกันได้ จึงไม่แนะนำให้ทำ

HIV เป็นไวรัสที่อยู่ในเลือดและสารคัดหลั่ง เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำนม เป็นต้น จึงสามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การสัก เจาะหู/เจาะสะดือ และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก (ขณะตั้งครรภ์ ระหว่างการคลอดและผ่านทางน้ำนม) ดังนั้นผู้ที่ติดเชื้อ HIV และคนทั่วไป จึงสามารถอยู่ร่วมกันได้ปกติ เพียงแต่หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

  • การจูบ การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก และการใช้ sex toy สามารถถ่ายทอดเชื้อ HIV ได้?

การจูบแบบเปิดปากอาจมีความเสี่ยงหากทั้งคู่มีบาดแผลในช่องปาก โดยที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเชื้อ HIV และการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางปาก (oral sex) ก็อาจมีความเสี่ยงในกรณีที่ฝ่ายชายมีการหลั่งน้ำอสุจิที่อาจมีเชื้อ HIV อยู่และเข้าไปในช่องปากของคู่นอนที่มีบาดแผลอยู่ในปาก อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของทั้งสองกรณีเป็นความเสี่ยงที่ต่ำ มาก ๆ

ส่วนการใช้อุปกรณ์เสริมในการมีเพศสัมพันธ์ (sex toy) ร่วมกันกับผู้อื่น อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV ในกรณีที่มีการใช้ต่อกันทันทีและอุปกรณ์นั้นปนเปื้อนสิ่งคัดหลั่งหรือเลือดที่มีเชื้อ HIV หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกันกับผู้ที่มีเชื้อ HIV

  • มีเชื้อ HIV แล้วทำให้ตายเร็ว?

ปัจจุบันการรักษา HIV มีประสิทธิภาพสูง ผลข้างเคียงน้อย รักษาแล้วได้ผลดี สามารถมีชีวิตได้เหมือนคนปกติถึงแม้ว่าจะอยู่ในระยะโรคเอดส์แล้ว แต่ถ้ามารักษาทัน และไม่ได้มีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อนรุนแรงก็สามารถรักษาให้กลับมาใช้ชีวิตเหมือนคนปกติได้ แม้ระดับ CD4 จะลดเหลือหนึ่งตัวหรือศูนย์ตัว ก็มีผู้ป่วยที่รักษาแล้ว จำนวนเซลล์ CD4 สามารถกลับมาเป็นปกติและมีร่างกายที่แข็งแรงได้ จึงไม่ควรปล่อยให้ตนเองเสียโอกาส หากมีโอกาสเสี่ยงที่ติดเชื้อ HIV ให้รีบมาตรวจรักษา และหากทราบว่าติดเชื้อ HIV แล้วให้แจ้งผลกับคู่นอน เพื่อที่จะได้เข้ารับการตรวจ และ/หรือรักษาให้ทันท่วงทีก่อนที่จะป่วยหนัก

  • ตรวจไม่เจอหมายความว่าหายแล้ว?

การตรวจไม่เจอเชื้อไวรัส HIV ในเลือด (Undetectable HIV viral load) ไม่ได้หมายความว่าไม่มีเชื้อแล้ว แต่หมายความว่ายาได้ไปฆ่าไวรัสจนเหลือน้อยมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีไวรัสหลบซ่อนตัวอยู่ในที่ต่างๆ ทั่วร่างกาย เช่น ในสมอง ต่อมน้ำเหลือง หรือลำไส้ ดังนั้นหากคนไข้หยุดกินยาต้านไวรัส จำนวนเชื้อ HIV ก็จะเพิ่มขึ้น ภูมิคุ้มกันจะตกลงและมีโอกาสป่วยได้อีก

  • ตรวจไม่เจอ=ไม่แพร่เชื้อ?

ปัจจุบันมีคอนเซ็ปต์ U = U หรือ Undetectable = Untransmissible หมายความว่า ไม่เจอเชื้อ = ไม่แพร่เชื้อ หากผู้ติดเชื้อได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสและกินยาอย่างสม่ำเสมอเคร่งครัด จนมีปริมาณเชื้อไวรัส HIV ในเลือดที่ต่ำมาก (ต่ำกว่า 40 copies ต่อ มล.) หรือตรวจไม่พบเชื้อ (Undetectable) ติดต่อกันก็จะไม่สามารถแพร่เชื้อได้ (Untransmissible) ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยกับผู้ติดเชื้อ HIV ที่กินยาต้านไวรัสจนตรวจไม่พบเชื้อแล้ว จึงมีความปลอดภัยจากการติดเชื้อ HIV อย่างไรก็ตามยังควรสวมใส่ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์อื่น ๆ หรือหากคู่นอนที่ติดเชื้อ HIV กินยาไม่สม่ำเสมอ แล้วเกิดเชื้อดื้อยา อาจทำให้ไวรัสเพิ่มจำนวนขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว และสามารถแพร่เชื้อให้อีกฝ่ายได้ จึงควรมีการป้องกันโดยการสวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย และควรจำกัดจำนวนคู่นอนด้วยเช่นเดียวกัน

สุดท้ายนี้ ผศ. นพ.ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์ ทิ้งท้ายว่าเราสามารถอยู่ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ HIV หรือเป็นโรคเอดส์ได้ และขอให้ช่วยกันรณรงค์ให้ไม่เกิดการเลือกปฏิบัติ ไม่ตีตรา และไม่รังเกียจผู้ที่ติดเชื้อ HIV ขอให้ทุกคนไม่ประมาท แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอเพราะนอกจากสามารถป้องกัน HIV ได้แล้วยังป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้อีกด้วย

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงหรือพฤติกรรมเสี่ยง หากสงสัยว่าตนเองอาจติดเชื้อ ให้รีบทำการตรวจเลือด เพื่อที่จะได้รีบเข้าสู่ระบบและรักษาแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่เกิดโรคแทรกซ้อน คงสุขภาพที่ดีเอาไว้ และป้องกันคนที่ตนรักอีกด้วย

ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ได้ผลในการป้องกันหรือรักษาการติดเชื้อ HIV และยังไม่มียาที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ณ ขณะนี้ยังต้องใช้การรักษาในระยะยาว ดังนั้นหากติดเชื้อแล้วเชื้อไวรัสนี้จะอยู่กับผู้ป่วยไปตลอด ต้องรักษาตัวให้ดี และกินยาอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญ ห้ามซื้อยารักษาโรคติดเชื้อ HIV รับประทานเอง ต้องพบและทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด อย่าใช้สมุนไพร อาหารเสริม หรือยาแผนใดที่ยังไม่ได้มีการศึกษาวิจัยตามหลักวิทยาศาสตร์ ว่ามีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อไวรัส HIV

ทำไมถึงไม่อยากมีเพศสัมพันธ์

สาเหตุทางจิตใจมีภาวะเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า กลัวการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น กลัวการตั้งครรภ์ กลัวโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจจากเหตุการณ์เลวร้าย เช่น ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ทัศนคติที่มีต่อเรื่องเพศที่ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อและข้อห้ามในศาสนา

ทำไมเวลามีเพศสัมพันธ์แล้วเจ็บ

มีอะไรกับแฟนแล้วเจ็บ เป็นอาการที่ผู้หญิงรู้สึกเจ็บบริเวณช่องคลอด ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น น้ำหล่อลื่นน้อยเกินไป เจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิด มีเพศสัมพันธ์รุนแรงเกินไป ทั้งนี้ ควรดูแลตัวเองเพื่อป้องกันอาการเจ็บปวด เช่น ใช้สารหล่อลื่นระหว่างมีเพศสัมพันธ์ รับประทานยาแก้ปวด หรือเลือกมีเพศสัมพันธ์ขณะรู้สึกผ่อนคลาย

โรคที่เกิดจากการมีเพศ สัมพันธ์ มีอะไรบ้าง

คณะอนุกรรมการสมาคมฯ click to expand contents.

มีเพศสัมพันบ่อยจะเป็นอะไรไหม

นอกจากเซ็กส์จะมีประโยชน์แล้ว ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้เผยว่า การมีเซ็กส์มากเกินไปกลับไม่ดีต่อร่างกาย ผู้เชี่ยวชาญ และ New Health Advisor บอกว่า หากมีการร่วมรักมากเกินไป อาจประสบกับปัญหาต่อไปนี้ ผู้ชายอาจเกิดอาการเจ็บอวัยวะเพศได้หากดำเนินกิจกรรมทางเพศต่อเนื่องนานๆ หลังจากเสร็จแล้ว เนื่องจากเกิดการเสียดสีเป็นเวลานาน