การขนส งทางโลจ สต กส ม บทบาทสำค ญอย างไรต อเศรษฐก จของประเท

ระบบ Logistic มีบทบาทมากขึ้นในโลกของการทำธุรกิจในปัจจุบัน และจะมีมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ในอนาคต ด้วยเหตุของการสื่อสารที่ไร้พรมแดน และไร้ขีดจำกัดโดยสิ้นเชิง ทำให้การติดต่อทำธุรกรรมต่าง ๆ สะดวกสบายมากขึ้น การเติบโตของระบบธุรกิจที่อาศัยประโยชน์ของ Logistics ทำให้ตลาดแรงงานด้านนี้ เติบโตตามไปด้วย ทำให้คนหางานจำนวนหนึ่งให้ความสนใจกับงานด้านนี้

งาน Logistics หรือที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าเป็น งานขนส่งสินค้า ได้กลายเป็นส่วนสำคัญ และก้าวเข้ามามีบทบาททางธุรกิจมากขึ้น ระบบ Logistics ได้กลายมาเป็นระบบที่ถูกนำมาปรับใช้ในหลาย ๆ ธุรกิจ โดยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การขนส่งเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังจุดหมายด้วยวิธีการ และระบบที่ดีที่สุด

ตำแหน่งงาน Logistics เป็นตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดส่งสินค้า และทรัพยากรอย่างอื่น จากต้นทางไปสู่ปลายทาง ซึ่งมีความต้องการของผู้บริโภครออยู่ ผู้ที่ทำงานด้าน Logistics ส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้ที่เรียนจบมาทางด้าน Logistics ซึ่งเปิดสอนในหลาย ๆ มหาวิทยาลัย เช่น คณะโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ (สาขาการจัดการด้านโลจิสติกส์ ) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง) คณะวิศวกรรมศาสตร์ (สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์)

ผู้ที่เรียนจบ และสนใจงานด้าน Logistics สามารถไปประกอบอาชีพได้ค่อนข้างหลากหลาย โดยตำแหน่งที่เป็นที่รู้จักในสายงานนี้ เช่น ผู้ปฏิบัติงานนำเข้าและส่งออกสินค้า ผู้จัดซื้อสินค้าจากต่างประเทศ พนักงานคลังสินค้า พนักงาน Shipping พนักงานประเมินราคา ตัวแทนการนำเข้าและส่งออกสินค้า ผู้ดูแลคลังสินค้า เจ้าหน้าที่คลังสินค้า พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ เจ้าหน้าฝ่ายจัดซื้อต่างประเทศ

คุณสมบัติของผู้ที่ทำงานด้าน Logistics

  • มีความรู้หรือเรียนจบมาทางด้าน Logistics
  • มีระเบียบ และมีความละเอียดรอบคอบในการทำงาน
  • ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ และปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด
  • สามารถทำงานเป็นกะ หรือทำงานล่วงเวลาได้
  • มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานได้
  • สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการระบบ Logistics ได้
  • สามารถทำงานเป็นทีมได้ เป็นได้ทั้งผู้นำ และผู้ตามในบางโอกาส

ลักษณะของงานของเจ้าหน้าที่ Logistics

  • ตรวจสอบสินค้าว่าเป็นสินค้าประเภทใด มีความปลอดภัย และสามารถเคลื่อนย้ายไปยังจุดหมายได้หรือไม่
  • จัดเตรียมสถานที่ในการเก็บรักษาสินค้า ให้อยู่ในสถานที่ และอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ทำให้สินค้าเกิดความเสียหาย
  • จัดรายการสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงและดูแล
  • ดูแลความปลอดภัยของสถานที่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสินค้า หรือวัตถุดิบ
  • ดูแลการเคลื่อนย้ายสินค้าเข้า-ออกคลังสินค้า
  • บันทึกรายงานถึงผู้บริหารคลังสินค้าทุกขั้นตอน พร้อมจัดเตรียมการ ป้องกันแก้ไขเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน
  • ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

งาน Logistics เป็นงานที่มาพร้อมกับการเติบโตของธุรกิจ ไม่ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะมีมากน้อยเพียงใด งานด้านนี้ก็สามารถเติบโตตามไปด้วย และจะยิ่งทำให้ตลาดแรงงานเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น ผู้หางานด้าน Logistics จึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการหางาน พิสูจน์ให้นายจ้างเห็นว่าเรามีความเหมาะสมเพียงใดกับตำแหน่งงานนี้

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Logistic อาวุธลับในการแข่งขันของธุรกิจ

เทรนด์งานยอดฮิตและเงินเดือน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

คำว่า โลจิสติกส์ (Logistics) ถ้าแปลให้ตรงตัวตามพจนานุกรมแล้ว แปลว่าการส่งกำลังบำรุงในทางทหาร ซึ่งก็คือ การขนส่งยุทโธปกรณ์จากแนวหลังไปสู่แนวหน้าให้ถูกสถานที่ทันเวลา เป็นการดำเนินการสุดท้ายของการขนส่ง จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เราจึงได้นำเอาวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับระบบการขนส่ง คมนาคม ทำให้โลจิสติกส์ถูกบัญญัติให้เป็นความหมายของระบบการขนส่งในอีกนัยหนึ่ง หมายถึงการจัดการวางแผน กำหนดสายงานและควบคุมกิจกรรมทั้งการเคลื่อนย้ายและไม่เคลื่อนย้ายในการ ลำเลียงสินค้าจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งที่มีการบริโภค โลจิสติกส์ คือวิธีการและกระบวนการที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายและต้นทุนโดยรวมในการกระจาย สินค้าให้ต่ำที่สุด เพื่อการอำนวยความสะดวกของกระบวนการไหลของสินค้าตั้งแต่จุดเริ่มจนถึงมือผู้ บริโภค ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนกิจกรรมหลักในกระบวนการไหลของสินค้า

ตามแนวคิดของโลจิสติกส์ คือ กิจกรรมที่มีความสำคัญ และมีผลกระทบต่อต้นทุนและการให้บริการของสินค้ามากที่สุด ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรมด้วยกัน คือ 1. การขนส่ง 2. การสินค้าคงคลัง 3.กระบวนการสั่งซื้อ

กิจกรรมสนับสนุนในกระบวนการไหลของสินค้าตามแนวคิดของโลจิสติกส์ คือ กิจกรรมที่มีส่วนในกระบวนการกระจายสินค้า และเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนให้งานของกิจกรรมหลักดำเนินไปได้สะดวก ได้แก่ การจัดการด้านโกดัง การยกขน การบรรจุหีบห่อ การจัดซื้อจัดหา การจัดตารางผลิตภัณฑ์ การจัดการด้าน

ข้อมูลหลักการง่าย ๆ ของโลจิสติกส์ในระบบของการขนส่ง คือไปให้ถึงที่หมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา

ในปัจจุบันด้านการแข่งขันของการค้า ราคาสินค้า จะอยู่ในภาคของอุตสาหกรรมและภาคเกษตร ซึ่งมีราคากำหนดอยู่ในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวที่ควบคุมได้ยากในเรื่องของการกำหนดเวลา ในส่วนของต้นทุนทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ในขั้นหนึ่งของการค้าขาย มีส่วนหนึ่งที่สำคัญก็คือ ถ้าค่าขนส่งราคาถูกก็จะช่วยลดภาระต้นทุนของสินค้าได้ ยกตัวอย่างเช่น สินค้าที่เข้ามาทางท่าเรือจะทำอย่างไรให้ไปสู่โรงงานได้เร็ว เพราะหากขนส่งมาจากท่าเรือช้า ภารถต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นทำอย่างไรจึงจะไปถึงได้เร็ว ซึ่งก็คือ ต้องมีเส้นทางที่เหมาะสมและประหยัด ระบบถนนถือว่าเป็นระบบที่ประหยัดที่สุด โดยรวมแล้ว 95 % ของการขนส่งทั่วโลก เป็นการขนส่งทางน้ำ เพราะขนส่งได้มาก รองลงมา ก็คือ ระบบรางและระบบถนน ก็มีการศึกษายกตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ ใช้น้ำมัน 1 ลิตร ระยะทาง 1 กม. ถ้าขนส่งทางน้ำจะขนส่งสินค้าหรือของ ประมาณ 217 ตัน แต่ถ้าขนส่งในระบบรางโดยใช้น้ำมัน 1 ลิตร ระยะทาง 1 กม. จะขนได้ 85 ตัน แต่ ถ้าทางถนนเหลือ 25 ตัน ทั้งนี้เป็นข้อเปรียบเทียบให้เห็นว่าในภาคขนส่ง ระบบน้ำกับระบบรางก็จะถูกที่สุดค่าขนส่งเป็นส่วนหนึ่ง ในเรื่องของระบบโลจิสติกส์ เรามีกรรมวิธีกระบวนการระหว่างต้นทางถึงปลายทางเรือที่ขนส่งสินค้าเข้ามาทาง ท่าเรือ ซึ่งก็มีกรรมวิธีในเรื่องของภาษีของการตรวจสินค้า และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นก็ในเรื่องของสารเคมี ถ้ากระบวนการในส่วนนี้ช้าภาระจะเกิดขึ้น ของหรือสินค้าที่จะไปส่งปลายทางก็จะช้าลงนั่นคือภาระเรื่องของต้นทุนจะสูง ขึ้น ดังนั้นระบบทั้งหมดก็เป็นเรื่องของการให้บริการในภาคการขนส่ง ทำอย่างไรให้ส่งของได้ทันและถูกต้องมีการประสานกันหลายหน่วยงาน

กระทรวงคมนาคมในฐานะเป็นผู้รับสนองนโยบายจากรัฐบาล ก็ได้มีการวางแผนนำระบบโลจิสติกส์มาพัฒนาระบบขนส่ง ใช้ท่าเรือเป็นหลักประสานกันมีการจัดตั้งโครงข่ายถนน 4 เลน ทั่วประเทศและโครงข่ายถนนเชื่อมในระหว่างตำบลไปหมู่บ้าน และสิ่งที่ต้องเร่งพัฒนาคือ ด้านของระบบถนน ระบบราง และระบบน้ำ จากภาคเหนือของประเทศก็จะมีแม่น้ำโขงที่เป็นแม่น้ำระหว่างประเทศจีน พม่า ลาว และไทย โดยมีข้อตกลง 4 ฝ่าย ในสี่ประเทศนี้สำหรับการเดินเรือในแม่น้ำโขงมีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ท่าเรือเชียงแสนเป็นจุดหนึ่งในการขนส่งสินค้าที่สำคัญจากจีน หรือว่าส่งสินค้าที่จะไปประเทศจีนรวมถึงสินค้าอื่นจากต่างประเทศผ่านท่าเรือ เชียงแสนไปจีนตอนใต้ โดยเฉพาะรถยนต์มือสองจากต่างประเทศรวมทั้งญี่ปุ่นจะขนส่งผ่านประเทศไทย จากท่าเรือคลองเตยหรือท่าเรือแหลมฉบังไปท่าเรือเชียงแสน แล้วก็บรรทุกเรือขนาดประมาณ 150 ตัน ไปประเทศจีนเป็นลักษณะการขนส่งสินค้าประเภทหนึ่งของประเทศที่อยู่ติดชายแดน หรือมีสินค้าที่ชายแดนอยู่แต่ไม่ใช่สินค้าที่ใหญ่หรือมีการขนส่งจำนวนมาก เหมือนกับท่าเรือกรุงเทพหรือท่าเรือแหลมฉบัง อีกประการหนึ่งคือต้องมีการพัฒนาท่าเรือที่ท่าเรือคลองเตย หรือท่าเรือแหลมฉบังให้จัดอยู่ในระดับโลก ที่จะให้บริการแก่ท่าและที่สำคัญต้องมีการเชื่อมโยงไปสู่ประเทศทางภาคใต้ ในอดีตการใช้ระบบทางน้ำยังไม่มีการทำถนนที่ดีนัก ตอนหลังถนนก็ดีขึ้น ส่วนในเรื่องของทางน้ำต้องลดบทบาทลงไป ขณะนี้การพัฒนาที่จะเพิ่มขึ้นมาในการขนส่งสินค้า กลับมาใช้ถนนเชื่อมโยงไปสู่ฝั่งตะวันตก จากภาคเหนือลงมาภาคกลาง แต่ด้านฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ไม่มีท่าเรือน้ำลึก มีแต่ท่าเรือที่จังหวัดระนอง ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือแห่งนี้ขึ้นมาใหม่ โดยสามารถรองรับเรือได้เท่ากับขนาดที่ท่าเรือคลองเตย ประมาณ 12,000 ตัน เนื่องจากว่ามีความต้องการในการขนส่งสินค้า ที่จะออกไปสู่ทางด้านประเทศอินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ มาเลเซีย ทางด้านฝั่งตะวันตก เนื่องจากมีผู้ประกอบการสินค้าหลายรายได้เสนอว่า ถ้าหากสามารถขนส่งสินค้าที่ท่าเรือระนองได้ จะประหยัดเวลาการขนส่งได้ 7 วัน จากเดิมจะขนส่งจากจังหวัดระนอง หรือจังหวัดชุมพรไปที่ประเทศ สิงคโปร์ ต้องไปที่ท่าเรือแหลมฉบัง แล้วเดินทางไปสิงคโปร์ 14 วัน แต่ถ้าสามารถออกจากท่าเรือระนองได้ใช้เวลาเพียงแค่ 7 วัน เวลาที่สินค้าจะถึงปลายทางได้รวดเร็วขึ้น ในขณะนี้ท่าเรือระนองกำลังทำการปรับปรุงในปี 2549 จะแล้วเสร็จ จะสามารถเชื่อมโยงเส้นทางได้จากภาคเหนือ จากประเทศจีนลงมาถึงภาคกลางและภาคใต้ถึงฝั่งอันดามัน กรมการขนส่งทางน้ำกำลังวางแผนทำการศึกษาสร้างท่าเรือที่จังหวัดชุมพรอยู่ เพราะภูมิศาสตร์อยู่ทางชายฝั่งอ่าวไทย เมื่อสร้างท่าเรือ 2 ฝั่งได้แล้ว เราก็จะต้องมีถนนเข้าไปเชี่อมโยงระหว่างท่าเรือทั้งสองแห่งกับอีกจุดหนึ่ง ก็คือ ท่าเรือที่สตูล ขณะนี้นโยบายรัฐบาลได้สร้างท่าเรือน้ำลึกทางชายฝั่งอันดามันที่เป็นท่าเรือ สำคัญเทียบเท่ากับเรือที่จะสามารถเข้าไปได้ก็คือ เรือขนาดที่เข้าท่าเรือแหลมฉบังได้ 50,000 ตัน เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะมีถนนระบบราง เข้าไปในปี 2549 ด้านกระทรวงคมนาคมจะตั้งงบประมาณในการก่อสร้างช่วงแรก 5,500 ล้านบาท ในเวลาการก่อสร้าง 3 ปี จะมีทางรถไฟเชื่อมทางถนน ทางราง ทางน้ำ ในการขนส่งสินค้าที่จะเข้าไปสู่ทางยุโรปและประเทศอินเดีย โดยไม่ต้องผ่านประเทศสิงคโปร์ ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่นประเทศมาเลเซีย ก็จะมีท่าเรือทางฝั่งตะวันตกที่สำคัญ 3 ท่าเรือ ขณะนี้ช่องแคบมะละกา

มีปัญหาของเรื่องความคับแคบและความไม่ปลอดภัย ภาคขนส่งที่สำคัญคือ ทางน้ำภายในประเทศ ขณะนี้กำลังศึกษาข้อมูลที่จะพัฒนาท่าเรือใหม่ให้มีมาตรฐาน แล้วก็จะมีการสร้างท่าเรือซึ่งมีคลังสินค้ารองรับ โดยใช้สถานที่ของการรถไฟ ซึ่งเป็นการขนส่งภายในประเทศ ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นภาพรวมในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงในระบบ น้ำ ระบบราง ระบบถนน รวมทั้งท่าเรือทั้งภายในประเทศระหว่างประเทศและชายฝั่ง และการขนส่งก็จะมีระบบรองรับที่ตามมาก็คือ ระบบราง เพราะเป็นการขนส่งที่ประหยัด รัฐบาลจะเข้ามาดูแลโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ เพื่อการเสริมสร้างระบบโลจิสติกส์ของประเทศ จะเป็นการเปิดเรื่องของเส้นทางจะเห็นว่า ในปัจจุบันและในอดีตที่ผ่านมา ถ้าไม่มีโครงข่ายระบบการขนส่งก็จะไม่สะดวกเป็นสิ่งที่เป็นนโยบายของรัฐบาล ที่จะพัฒนาให้ตรงจุดเป็นกรอบเวลาของแผน 4 ปี ส่วนโครงการที่ตามมาคือถนนการปรับปรุงขยายถนน เพื่อให้รองรับการขนส่งสินค้าโดยเฉพาะตู้คอนเทนเนอร์ จึงต้องมีการขยายถนนที่กว้างพอ มีความลาดชันที่รองรับได้ และในเรื่องระบบราง ทางรถไฟ กำลังศึกษาอยู่ว่าจะทำการเชื่อมโยงอย่างไรให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นผู้ นำในด้านโลจิสติกส์ในภูมิภาค เพื่อเป็นการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคง

ในส่วนของพลังงาน ถ้าคนไทยหันมาใช้บริการระบบรางกับทางน้ำมาขึ้น ลดการใช้รถยนต์ลงการใช้พลังงานก็ลดลงตามไปด้วย เพราะในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย ระบบรางกับระบบน้ำมีความสำคัญมาก ส่วนในประเทศไทย โดยภาพรวมนั้นใช้ถนน 88 % ระบบรางประมาณ 2 % ระบบน้ำ 10 % ถ้าอีก 4 ปี ข้างหน้า เราอาจจะเห็นภาพที่เปลี่ยนไปของระบบการขนส่ง อาจใช้ระบบการขนส่งทางน้ำ ระบบรางมากขึ้นสามารถลดต้นทุนในการผลิต ผู้บริโภคจะได้ใช้สินค้าในราคมที่ถูกลง ซึ่งถือเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลไทย

การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยมีหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องหลาย องค์กรที่ร่วมกันประชุมหารือประสานงานระดมสมองแก้ปัญหา เพื่อเปิดมิติใหม่ให้กับระบบการขนส่งสินค้า อาทิ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ กรมศุลกากร การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันทำให้ระบบโลจิสติกส์เป็นรูปธรรม อย่างเช่น บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการขนส่ง (Port – to – Door ) และ Door – to – Port ข้อตกลงเพิ่มประสิทธิภาพของขนส่งสินค้า และข้อตกลง การนำส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ด่วนถึงมือผู้รับส่วนยุทธศาสตร์ทางอากาศนั้น มี 3 ยุทธศาสตร์หลัก คือ

1.Global Distination Network โดยขยายเครือข่ายเส้นทางบินครอบคลุมทั่งโลก เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของสินค้า ในกลุ่มประเทศจีเอ็มเอส และเอเซียใต้

2.พัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติให้เป็นประตูระดับโลกโดยให้สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นประตูสู่ระดับโลก โดยให้สนามบินเชียงใหม่และภูเก็ตเป็นประตูสู่ภูมิภาค

3.เป็นศูนย์กลางของโลจิสติกส์ของโลกด้านอาหาร ผัก ผลไม้สด ดอกไม้ แฟชั่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อะไหล่รถยนต์ และเครื่องประดับ

การแข่งขันในตลาดโลกนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆความรวมเร็ว และต้นทุนทีทถูกลงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะประเทศไทยมีต้นทุนการขนส่งสินค้าสูงถึง 25-30 %

จึงต้องเร่งแก้ปัญหา นอกเหนือจากการร่วมมือกับประทรวงการคลัง เพื่อวางแผนในการกำหนดแผนพัฒนา โลจิสติกส์ ระดับประเทศแล้ว ส่วนของกระทรวงคมนาคมจะดูว่ามีศูนย์กระจายสินค้าคลังสินค้าที่รวบรวมสินค้า แล้วดูว่าจะส่งไปถึงปลายทางได้อย่างไร แต่เดิมเคยคิดว่าจะให้มีคลังสินค้า 4 มุมเมือง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ขณะนี้กำลังดูรูปแบบที่เหมาะสมแล้วจะนำมาผสมผสานกับการขนส่งในหลายรูปแบบ ทั้งทางรถยนต์ รถไฟ เรือ มาเชื่อมโยงกัน เพื่อให้สินค้าขนส่งได้เร็วที่สุดในราคาถูกที่สุด

หากเป็นการขนส่งทางอากาศต้องเป็นสินค้าที่มีราคาแพง บรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม ต้องการความรวดเร็วหรือเป็นสินค้าเทกอง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรต่างๆ ก็ต้องขนส่งทางเรือ การบริหารจัดการเพื่อความรวดเร็วนั้นสำคัญ แต่ว่าการขนส่งให้ต้นทุนถูกก็สำคัญเช่นกันแล้วแต่สินค้าแบบไหน แต่ต้องมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง เพราะโลจิสติกส์ คือการควบคุมทุกอย่าง ซึ่งเรามีข้อมูลแล้วว่าสินค้าแต่ประเภทจะขนส่งทางไหนบ้างจึงจะคุ้มค่าที่สุด

กระทรวงคมนาคมได้วางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไว้ทั้งทางภาคพื้น และทางอากาศโดยในทางภาคพื้นนั้น มี 4 ยุทธศาสตร์หลัก คือ

1. พัฒนาท่าเรือไทยให้เป็นประตูไปสู่ภูมิภาคโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ( ร.พ.ท . ) จะต้องขยายขีดความสามารถของสถานะบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ( ไอซีดี ) ให้มากขึ้น ขณะที่องค์กรขนส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ต้องตั้งสถานีบรรจุและขนถ่ายตู้สินค้า เพื่อการนำเข้าและส่งออกย่านพหลโยธิน ส่วน กทท. ก็ต้องปรับปรุงท่าเทียบเรือให้รองรับเรือ Roll on-Roll off ระหว่างประเทศได้ควบคู่ไปกับพัฒนาท่าเทียบเรือภูมิภาคให้เข็มแข็งมากขึ้น

2. พัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า โดยตั้งฮับประจำภาค เพื่อประสานระบบขนส่งให้สมบรูณ์ โดยมีโครงการที่จะพัฒนาย่านคอนเทนเนอร์ในภูมิภาคไปยังปลายทาง

3. พัฒนาวิธีการขนส่งไปสู่ระบบรางทางน้ำ และทางท่อ เพื่อให้การขนส่งมีปริมาณมากขึ้น แต่สามารถลดต้นทุนการขนส่ง และประหยัดพลังงาน ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้เริ่มศึกษา เพื่อพัฒนาระบบรางน้ำ และท่อให้เกิดความเชื่อมโยงกันแล้ว ส่วน ร.ฟ.ท. นั้น ก็ต้องเร่งก่อสร้างทางคู่ในช่วงชุมทางเส้นทางขนส่งสินค้ามายังท่าเรือแหลม ฉบังให้มากขึ้นด้าน บทด. ต้องเร่งส่งเสริมใช้เรือ Roll on-Roll off ให้มากขึ้นเช่นกัน

4. พัฒนาระบบเกี่ยวข้องกับการจัดการด้านโลจิสติกส์ สำหรับระบบการขนส่งทางภาคพื้น เพื่อให้บริการแบบ Door – to – Door ซึ่งได้ตั้งคณะกรรมการโลจิสติกส์แห่งชาติขึ้นมาแล้ว เพื่อให้เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการทั้งหมด พร้อมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีขั้นตอนมากๆ ให้น้อยลงนำระบบไอทีเข้ามาใช้มากขึ้น

การสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนให้มากขึ้น สำหรับการขนส่งคนโดยเฉพาะระบบรางมีเพียง 42 ก.ม. เท่านั้น โดยรัฐบาลมีโครงการที่จะก่อสร้างการขนส่งด้วยระบบรางให้ครบ 200 ก.ม. ภายใน 6 ปี โดยมีวงเงินลงทุน 400,000 ล้านบาท การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในประเทศไทยจะก้าวหน้าไกลเทียบเท่ากับนานาอารยประเทศ ได้หรือไม่นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐบาล หรือกระทรวงคมนาคมเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและ เอกชน และปัจจัยต่างๆที่เป็นตัวแปลของต้นทุนในการขนส่ง ระบบการจัดเก็บ และคลังสินค้าที่กลายเป็นอุปสรรค แต่ถึงอย่างไรเพื่อประเทศไทยแล้ว รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง สนข. ไม่ได้นิ่งนอนใจ ยังคงระดมสมองคิดหาวิธีวางแผนพัฒนา ระบบโลจิสติกส์ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้ระบบการขนส่งและคมนาคมมีความสะดวกรวดเร็ว ถูกที่ มีต้นทุนต่ำ (คัดลอกบทความจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร )