การป องก นโรคไม ต ดต อ ม ก ข นตอน

เนื่องในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้จะเป็นวันรณรงค์ป้องกันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases; NCDs) มาทำความรู้จักกันว่ากลุ่มโรคนี้คืออะไรและสามารถป้องกันได้หรือไม่ อย่างไร

โรค NCDs คืออะไร

โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย จึงอาจจัดว่าโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังได้

ตัวอย่างของโรค NCDs

  • โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคมะเร็งต่างๆ
  • โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง
  • โรคไตเรื้อรัง
  • โรคอ้วนลงพุง
  • โรคตับแข็ง
  • โรคสมองเสื่อม

พฤติกรรมเสี่ยง...ตัวการก่อโรค NCDs

สาเหตุหลักสำคัญของกลุ่มโรค NCDs คือพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก การมีความเครียดสูง การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่นๆ

ความรุนแรงของโรค NCDs

แม้โรค NCDs จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมากลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยด้วยโรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี

ปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยงโรค NCDs

การป้องกันโรค NCDs ทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตัวเรา นั่นก็คือการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานผักและผลไม้
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารมัน รวมถึงอาหารปิ้งย่าง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ผ่อนคลายความเครียด
  • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  • หากมีอาการผิดปกติใดๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์

เรียบเรียงโดย ศูนย์จัดการความรู้ผู้ป่วย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ศูนย์ต่อมไร้ท่อ เบาหวานและโภชนบำบัด อาคาร A ชั้น 19 8.00-20.00 (BKK Time) Hot line tel. +66 63 221 0957

20.00-8.00 (BKK Time) เบอร์ Contact center +662 066 8888 และ 1378

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

การป องก นโรคไม ต ดต อ ม ก ข นตอน

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค เลขที่ 88/21 อาคาร 10 ชั้น 5 ตึกกรมควบคุมโรค ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0 2590 3867 (พบ), 0 2590 3888 (พป) 0 2590 3869 (พค), 0 2590 3892 (ทร) 0 2590 3870 (พอ), 0 2590 3893 (บห) 0 2590 3887 (ยศ) โทรสาร 0 2590 3893

การป องก นโรคไม ต ดต อ ม ก ข นตอน
การป องก นโรคไม ต ดต อ ม ก ข นตอน
การป องก นโรคไม ต ดต อ ม ก ข นตอน
การป องก นโรคไม ต ดต อ ม ก ข นตอน

สมัครรับข่าวสาร

การป องก นโรคไม ต ดต อ ม ก ข นตอน

จำนวนผู้ชม

Copyright 2016 Bureau of Non Communicble Disease [NCD] All right reserved.

brought to you by OfficeDesign

โรคมือ เท้า ปาก คืออะไร? โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth Disease) เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็กโดยเฉพาะช่วงหน้าฝน เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร Enterovirus 71 (EV71) Coxasackie Virus

ส่งผลให้มีอาการเป็นไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว ถือได้ว่าเป็นโรคที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อย

โรคมือ เท้า ปาก สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แต่จะพบได้น้อยกว่า และอาการมักจะไม่รุนแรงเท่าในเด็กเล็ก


สังเกตอาการโรค มือ เท้า ปาก

เด็กๆ ที่เป็นโรคมือเท้าปาก จะมีอาการ…

• มีไข้ อ่อนเพลีย

• มีแผลในปาก

• ผื่นเป็นจุดแดงขึ้นที่มือ เท้า (อาจมีผื่นตามลำตัว แขนและขาร่วมด้วย)

เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะใช้ระยะเวลาฟักตัวประมาณ 3-7 วัน ผู้ป่วยจึงจะแสดงอาการโดยมีอาการเริ่มต้น คือ เด็กจะเริ่มมีไข้สูง 38-39 องศาเซลเซียสเป็นอาการนำก่อน จากนั้นจึงมีอาการอื่น ๆ ตามมาภายใน 1-2 วัน ได้แก่ เจ็บคอ ไม่อยากอาหาร อ่อนเพลีย และจะเริ่มมีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนัง บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และบริเวณปากทั้งภายนอกและภายใน

โรคมือ เท้า ปาก กี่วันหาย?

โรคมือ เท้า ปาก สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน แต่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรครุนแรงได้ เช่น ก้านสมองอักเสบ หัวใจอักเสบ หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสสายพันธุ์ 71 (EV71) ทำให้มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการที่อาจเป็นภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ มีไข้สูง ซึม อ่อนแรง มือสั่น เดินเซ อาเจียนมาก หายใจหอบ กล้ามเนื้อกระตุก และชัก หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบพาพบแพทย์โดยด่วน!!!

(อาการแทรกซ้อนจะไม่สัมพันธ์กับจำนวนแผลในปากหรือตุ่มที่พบตามฝ่ามือหรือฝ่าเท้า)

การป องก นโรคไม ต ดต อ ม ก ข นตอน

โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อไหม? ติดต่อได้อย่างไร?

โรคมือ เท้า ปาก สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย และจากการสัมผัสทางอ้อมผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำ และอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค โดยส่วนใหญ่มักพบการแพร่ระบาดในโรงเรียนอนุบาล และสถานรับเลี้ยงเด็ก

โรคมือ เท้า ปาก สามารถเป็นซ้ำได้อีก ถ้าได้รับเชื้อไวรัสคนละสายพันธุ์กับที่เคยเกิด เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์หนึ่งๆ อาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสสายพันธุ์อื่น ๆ ได้ แม้จะจัดอยู่ในกลุ่มย่อยของไวรัสเอนเทอโรเช่นเดียวกันก็ตาม


มีวิธีการรักษา และป้องกันอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้ว อาการโรค มือ เท้า ปาก จะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ โดยแพทย์จะดูแลรักษาตามอาการ เช่น การให้รับประทานยาแก้ไข้ ในรายที่เพลียมากแพทย์อาจให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ร่วมกับให้ยาลดไข้แก้ปวด ยารักษาแผลในปาก และให้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่จำเป็น ร่วมกับการเฝ้าระวังสังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

อย่างที่ทราบกันว่าโรคมือ เท้า ปาก ติดต่อได้ผ่านการรับเชื้อไวรัสจากทางเดินอาหาร น้ำมูก น้ำลาย และจากการหายใจเอาเชื้อที่แพร่จากผู้ป่วยเข้าไป คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลสุขอนามัยให้กับเด็กๆ

  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน
  • สอนวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง ให้เด็กๆ ล้างมือให้สะอาด ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
  • ทำความสะอาดของเล่น
  • ดูแลความสะอาดของน้ำดื่มและอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ
  • ไม่พาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรค
  • หากเด็กที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรหยุดเรียน และพักรักษาให้หายป่วยเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ไปแพร่เชื้อยังเด็กคนอื่นๆ และผู้ปกครองต้องรีบแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบ และที่สำคัญต้องหมั่นสังเกตอาการของบุตรหลาน หากพบว่ามีอาการผิดปกติ ควรพาเด็กมาพบแพทย์โดยเร็ว

เสริมเกราะป้องกันด้วยวัคซีน

โรคมือ เท้า ปาก ระบาด! ป้องกันได้ ด้วยวัคซีนป้องกัน โรคมือเท้าปาก (EV71) โดยแนะนำให้รับวัคซีนในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี ฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 2 เข็ม เว้นระยะห่างจากเข็มแรก 1 เดือน

วัคซีนป้องกัน “โรคมือเท้าปาก” รุนแรง จากไวรัส EV71 (EntroVac)

  • ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมือเท้าปากที่มาจากการติดเชื้อ EV71 ได้ 97.3%
  • ประสิทธิภาพการป้องกันโรคมือเท้าปากจากเชื้อ EV71 ที่ต้องรักษาในโรงพยาบาล 88.0%
  • ประสิทธิภาพการป้องกันโรคมือเท้าปากรุนแรงจากเชื้อ EV71 ได้ 100%

*อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้หลังรับวัคซีน: ปวด บวม แดง คัน บริเวณที่ฉีด, ไข้, คลื่นไส้ อาเจียน, ถ่ายเหลว, ปวดศีรษะ)

**สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 5 ปี 11 เดือน 29 วัน

***วัคซีนนี้ไม่สามารถใช้เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ที่มีสาเหตุจากเชื้อเอนเทอโรไวรัสชนิดอื่น (รวมถึง Coxasackie Virus A16 และอื่นๆ)

การป องก นโรคไม ต ดต อ ม ก ข นตอน
แพทย์หญิงเรณุกา จรัสพงศ์พิสุทธิ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ


อ้างอิงข้อมูลจาก

สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย , กระทรวงสาธารณสุข, แพทย์หญิงวรฉัตร เรสลี – อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ , แพทย์หญิงเรณุกา จรัสพงศ์พิสุทธิ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ, PIDST Gazette (2022)

โรคมือเท้าปากกี่วันถึงจะหาย

เด็กที่เป็นโรคมือเท้าปาก มีอาการไข้ เจ็บปาก น้ำลายไหล กินอาหารได้น้อย เนื่องจากมีแผลที่กระพุ้งแก้มและเพดานปาก มีผื่นเป็นจุดแดงหรือตุ่มน้ำใสที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รอบก้นและอวัยวะเพศ อาจมีผื่นตามลำตัว แขนและขาได้ มักมีอาการประมาณ 2-3 วันและดีขึ้นจนหายใน 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง บางรายอาจมีภาวะขาดน้ำจากกินอาหาร ...

เด็กเป็นมือเท้าปากกินของเย็นได้ไหม

คำแนะนำการดูแลเด็กโรคมือ เท้า ปาก ที่บ้าน เช็ดตัวและให้ยาลดไข้ ยาอื่นๆ ตามที่แพทย์แนะนำ ให้อาหารอ่อน ย่อยง่าย รสไม่จัด และสามารถรับประทานของเย็น เช่นไอศกรีมได้ แยกภาชนะในการดื่มน้ำและการรับประทานอาหาร

โรคมือเท้าปากต้องนอนโรงพยาบาลไหม

สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรหยุดพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้เด็กคนอื่นๆ หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ใช้ร่วมกันด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ เช่น ภาชนะใส่อาหาร ห้องน้ำ ของเล่นต่างๆ

โรคมือเท้าปากใช้ยาอะไรทา

คำตอบ: ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคมือเท้าปากโดยเฉพาะ โดยปกติโรคจะหายเองภายใน 7-10 วัน อย่างไรก็ตามสามารถบรรเทาความรุนแรงได้ด้วยการใช้ยาชาในช่องปากเฉพาะที่ ยา acetaminophen หรือ ibuprofen.