กะเทย ม งส กะเทย ปาราช ก ม งส ปาราช ก

กำลังร้อนฉ่าในโลกโซเชียล วิพากษ์วิจารณ์กันเมามันส์ว่าใครสมควรได้มง (กุฎ) ไปครองในละครซีรีส์ฮอตติดเรต 18+ “สงครามนางงาม” ทางช่อง one หลายกระแสยังไม่ฟินที่เห็น “ลูกโซ่” (เรวิญานันท์ ทาเกิด) และ “เดียร์” (พรพรรณ ฤกษ์อัตการ) เป็นสองคนสุดท้ายท้าชิง “Miss Beauty & Talent THAILAND” เพราะเทคะแนนสงสารให้ “ไวน์” (ญิ๋งญิ๋ง–ศรุชา เพชรไพโรจน์) เต็มๆ และแอบลุ้นอยากเห็นนางสวมมงกุฎ เป็นกะเทยคนแรกของวงการขาอ่อนเมืองไทย

กะเทย ม งส กะเทย ปาราช ก ม งส ปาราช ก
เดียร์-พรพรรณ ฤกษ์อัตการ และ ลูกโซ่-เรวิญานันท์ ทาเกิด

กะเทย ม งส กะเทย ปาราช ก ม งส ปาราช ก
ญิ๋งญิ๋ง–ศรุชา เพชรไพโรจน์

ตกลงไวน์เป็นกะเทยจริงป่าว เป็นอีกหนึ่งกระแสที่ถามกันให้แซด เรื่องนี้ต้องเฉลยด่วน เพราะคันมั่กๆ...ถามจริงเป็นกะเทยรึเปล่า? “ตัวจริงหนูเป็นผู้หญิงแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์! ตอนแรกที่ละครออนไปก็ไม่มีใครคิดว่าเราเป็นกะเทย แต่พอถึงฉากเฉลยว่าชื่อจริงคือนายกนก โอ้โห! คนเม้นท์เต็มเลยว่าพี่เป็นกะเทยหรือเป็นผู้หญิงกันแน่ แต่ยังไม่เคยมีใครทักกับตัวว่าเป็นกะเทยรึเปล่า และยังไม่ถึงขนาดขอดูบัตรประชาชน” ถามจริงว่าเสียเซลฟ์มั้ย “ดีใจมากกว่า เพราะแสดงว่าเราเล่นสม จริง คนดูเลยเชื่อ” เล่นบทเลิฟซีนกับ “สน” ครั้งแรก สปาร์กไหม “เขินค่ะ เพราะเป็นเลิฟซีนครั้งแรก แต่ พี่สนน่ารัก รู้จักกันมาก่อน เลยทำงานง่ายขึ้น” สนมีท่าทีหยอดเราบ้างมั้ย? “ไม่เลยค่ะ คุยกันปกติแบบพี่น้อง เค้าเป็นพี่ชาย ก็น่ารักกับทุกคน” ดังแล้วมีหนุ่มเข้ามาจีบเยอะมั้ย? “ก็เป็นธรรมดาที่มีเข้ามาบ้างค่ะ (ยิ้ม)” มีข่าวว่ากำลังศึกษาดูใจกับบอส–จักรพงษ์ ค่ายโพลีพลัส? “เป็น เพื่อนคุยกัน ถามว่าสนิทมั้ย ก็สนิทหลายคน ทั้ง ซัน เติร์ก ก็สนิท” แต่บอสพิเศษกว่าคนอื่น? “เป็นเพื่อนกันค่ะ สนิทเป็นแก๊งเดียวกัน” สรุปว่าตอนนี้โสดมั้ย? “เรื่อยๆค่ะ (ยิ้ม)”

​เมื่อกล่าวถึงพระตุ๊ด-เณรแต๋ว ปัญหาที่ถกเถียงกันในสังคมไทยไม่ใช่แค่เรื่องที่จะบอกว่าคนเป็นตุ๊ด-แต๋ว บวชได้หรือไม่ได้ แต่ปัญหาหลักอยู่ที่ว่าคนในสังคมส่วนใหญ่มักมองเขาไปในแง่ลบเป็นหลักตั้งแต่เริ่มต้น เช่น เป็นพวกบัณเฑาะก์ ลักเพศ วิปริตผิดเพศ มักมากในกามราคะ นิยมความรุนแรง ผิดพระวินัย เป็นกลุ่มที่จะสร้างความเสื่อมเสียให้กับวงการพระสงฆ์ หรือมากกว่านั้นคือมองว่าเป็นตัวเสื่อมของศาสนา เป็นผู้ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อม

วิธีคิดแบบนี้สังเกตได้จากงานศึกษาเกี่ยวกับบัณเฑาะก์ในพุทธศาสนาไทย อย่างงานศึกษาของพระมหาสักชายในปี 2551 ที่ศึกษาวิเคราะห์เรื่องบัณเฑาะก์ในพระภิกษุ-สามเณรไทยในปัจจุบัน ก็มองว่าพฤติกรรมของบัณเฑาะก์คือสิ่งที่เป็นปัญหาและนำไปสู่การทำผิดพระวินัย หรือการศึกษาของพระมหาอดุลย์ในปี 2549 ศึกษาวิเคราะห์เรื่องบัณเฑาะก์กับการบรรลุธรรม ก็อธิบายว่าการเบี่ยงเบนทางเพศและกามวิตถารเป็นเรื่องอกุศลกรรมและวิบากกรรมในอดีต บุคคลที่เรียกว่า ‘บัณเฑาะก์’ กลายเป็นคนที่น่ารังเกียจทางสังคม และไม่สามารถบวชเรียนเพื่อการบรรลุธรรมได้ โดยมองว่าคนกลุ่มนี้จัดอยู่ในกลุ่ม ‘อภัพบุคคล’ กล่าวคือเป็นผู้มีระดับสติปัญญาเพียงแค่รับรู้และเข้าใจหลักธรรมในขั้นพื้นฐานเท่านั้นไม่สามารถบรรลุธรรมได้

งานศึกษาทั้งสองนี้ถือได้ว่าวางอยู่บนบรรทัดฐานของสังคมที่มองบัณเฑาะก์นั้นคือกะเทย คือกลุ่มคนที่เป็นภัยต่อสังคม เป็นกลุ่มมักมากในกามราคะ และเป็นตัวเสื่อมของศาสนา ซึ่งแน่นอน บรรทัดฐานนี้ถือเป็นบรรทัดฐานหลักของคนในสังคมไทยใช้มองหรือเข้าใจกลุ่มพระตุ๊ด-เณรแต๋ว หรือกลุ่มตุ๊ด-แต๋ว ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศว่าเป็น ‘ผู้ที่ไม่สมควรที่จะเป็นนักบวชและไม่สามารถบรรลุธรรมได้’

บัณเฑาะก์ในสังคมไทย ปัญหาที่มากกว่าตุ๊ด-แต๋ว บวชพระได้หรือไม่

ปัญหาไม่ได้อยู่เพียงที่ว่าตุ๊ด-แต๋ว บวชพระได้หรือไม่ หรือการนิยามคำว่าบัณเฑาะก์ในทางพระวินัยจะเป็นเช่นไร แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าสังคมไทยสร้างเข้าใจและการรับรู้ไปแล้วว่า ‘บัณเฑาะก์ = กะเทย = ลักเพศ’ หากดูความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 จะเห็นความหมายที่สะท้อนภาพความเข้าใจแบบเหมารวมได้เป็นอย่างดี โดยให้ความหมายคำว่า ‘บัณเฑาะก์หมายถึงกะเทย’ หรือให้ความหมายคำว่า ‘ลักเพศ’ ว่าการทำหรือแต่งตัวปลอมแปลงให้ผิดไปจากเพศของตน เช่น คฤหัสถ์แต่งตัวปลอมเพศเป็นสมณะ หรือผู้ชายแต่งตัวเป็นผู้หญิง นี่คือความหมายและความเข้าใจหลักของคนในสังคมต่อคำว่าบัณเฑาะก์ ดังนั้นประเด็นเรื่องเพศสภาวะและเพศวิถีของภิกษุ-สามเณร จึงเป็นสิ่งที่สังคมมีคำตอบอยู่แล้วว่าภิกษุ-สามเณร ที่เป็นบัณเฑาะก์คือผู้ที่ไม่สมควรเป็นนักบวช

แต่หากกลับไปพิจารณการตีความคำอธิบายในทางศาสนากลับพบว่า บัณเฑาะก์หรือลักเพศที่ห้ามบวชนั้นไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ผู้ที่เป็น ‘กะเทย’ หรือผู้ที่มีรสนิยมทางเพศกับเพศเดียวกัน หรือชายที่มีอารมณ์ความเป็นหญิง หรือความหมายในเชิงเพศวิถีเท่านั้น

หากดูจากคำอธิบายลักษณะของบัณเฑาะก์ที่ห้ามบวชที่อรรถกถาจารย์ได้ตีความเพิ่มเติมหลังยุคพุทธกาลแล้วนั้นจะพบว่า บัณเฑาะก์นั้นมีมากถึง 5 ประเภท คือ

  1. อาสิตตบัณเฑาะก์ คือ ชายที่อมอวัยะเพศของชายอื่น
  2. อุสุยยบัณเฑาะก์ คือ ชายที่ชอบพอใจในการดูกิจกรรมร่วมเพศระหว่างชายกับชาย
  3. โอปักกมิยบัณเฑาะก์ คือ บุคคลที่ถูกตอน เช่น ขันที
  4. ปักขบัณเฑาะก์ คือ บัณเฑาะก์ในช่วงข้ามแรม แต่ช่วงข้างขึ้นไม่เป็น
  5. นปุงสกัปบัณเฑาะก์ คือ ผู้มีความบกพร่องทางเพศสภาพ คือไม่ปรากฏเพศที่แน่ชัด

สิ่งที่น่าสนใจคือ อรรถกถากล่าวไว้ว่า บัณเฑาะก์ประเภท 1 อาสิตตบัณเฑาะก์ และประเภท 2 อุสุยยบัณเฑาะก์ นั้นสามารถบวชได้ ส่วนประเภทที่ 4 ปักขบัณเฑาะก์นั้นสามารถบวชได้ในวันที่ไม่ได้มีกำหนัด ส่วนบัณเฑาะก์ประเภทที่ไม่สามารถบวชได้คือ ประเภทที่ 3 และ 5 คือบุคคลที่ถูกตอน หรือมีความบกพร่องทางเพศสภาพ

หากจะอธิบายตามความเข้าใจนั้นหมายถึงว่า บุคคลที่ไม่สามารถบวชได้คือบุคคลที่บกพร่องทางร่างกายเป็นหลัก นั่นหมายความว่า อรรถกถาจารย์ไม่ได้นิยามบัณเฑาะก์ที่เรื่องของจิตใจหรือเพศวิถี ส่วนปักขบัณเฑาะก์นั้น ซึ่งกลุ่มนี้หากใช้มุมมองในปัจจุบันอธิบายอาจจะหมายถึงบุคคลที่เป็นโรคทางจิตเภท นั่นหมายความว่า ‘บัณเฑาะก์ไม่เท่ากับกะเทย’ ตามความเข้าใจของคนในปัจจุบัน ซึ่งปัญหาที่ซับซ้อนมากกว่านั้นที่ควรจะพิจารณาไปอีกระดับหนึ่งคือ ในสังคมปัจจุบันที่ยังตั้งอยู่บนบรรทัดฐานของรักต่างเพศ (Heteronormativity) โดยเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องเพศสรีระ (Biological Sex) ในแบบคู่ตรงข้ามชายและหญิง ทำให้กะเทยถูกเข้าใจว่าเป็นผู้ป่วยทางจิตเภท เห็นได้จากข้อยกเว้นการเกณฑ์ทหารหลายครั้ง นี่คืออคติทางสังคมที่ซ้อนทับเข้าไปผนวกในเรื่องบัณเฑาะก์ทางศาสนา

ส่วนในพระไตรปิฎกปัณฑกวัตถุในพระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1 ที่เล่าว่า “…ปณฺฑโก ภิกฺขเว อนุปสมฺปนโน น อุปสมฺปาเทตพฺโพ…” “…ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันคือบัณเฑาะก์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย…” โดยเล่าว่า มีบัณเฑาะก์คนหนึ่งบวชแล้วเกิดกามราคะ เลยไปชวนพระสงฆ์กับเณรมีอะไรกัน แต่พระกับเณรปฏิเสธ พระบัณเฑาะก์นั้นจึงไปชวนคนเลี้ยงช้างเลี้ยงม้า เมื่อมีอะไรกับคนเลี้ยงช้างเลี้ยงม้าแล้ว เขาก็เลยเอาไปพูดเหมารวมว่า พระสงฆ์ไม่ใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ พระพุทธเจ้าเลยให้บัณเฑาะก์รูปนั้นสึก หากพิจารณาให้ชัดเจนนั้นจะเห็นว่า ข้อลงโทษของพระพุทธเจ้ากับภิกษุบัณเฑาะก์รูปนั้นคือโทษเรื่องของการเสพเมถุน การไม่รักษาพรหมจรรย์ เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเสียชื่อเสียง ซึ่งเป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่ได้หมายถึงการลงโทษพระสงฆ์ที่เป็นบัณเฑาะก์ หรือเป็นข้อบัญญัติเพื่อห้ามบัณเฑาะก์บวช

บัณเฑาะก์-ลักเพศ ตัวบทพระวินัยกับความหมายทางโลก

ไม่เพียงแค่บัณเฑาะก์ที่ไม่ได้หมายถึงกะเทยตามแบบที่เข้าใจกันในสังคมปัจจุบันแล้ว ‘ลักเพศ’ ในคำอธิบายทางพุทธศาสนาก็ไม่ได้หมายถึงกะเทยในความหมายทำนองที่เข้าใจด้วยเช่นกัน ในพระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1 มีพุทธบัญญัติขับไล่อนุปสัมบันที่เป็นคนที่เป็น ‘เถยยสังวาสกะ’ ออกไปดังที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งคำดังกล่าวภาษาไทยแปลว่า ‘ลักเพศ’ แต่คำอธิบายในวินัยไม่ได้หมายถึงลักเพศที่ตรงกับความหมายภาษาไทยที่เราเข้าใจกันว่าหมายถึง กะเทย ผู้ที่เป็นผู้ชายแต่งตัวเป็นหญิง แต่ความหมายของเถยยสังวาสกะหมายถึง

  1. ลักเพศ ที่หมายถึงผู้ที่ปลอมเป็นพระภิกษุ ไม่ได้ผ่านการอุปสมบท แต่บวชเอง แล้วอ้างว่าเป็นพระภิกษุ กล่าวง่ายๆ คือผู้แต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์ในกฎหมายอาญา
  2. ลักเพศที่หมายถึงคนลักสังวาส คือเป็นเณรหรือพระสงฆ์ที่อ้างพรรษาว่าได้บวชมานานกว่าความจริง เพื่อยินดีกับเกียรติยศและความเคารพนับถือ
  3. ลักเพศทั้งอ้างว่าเป็นพระภิกษุและมีพรรษาสูงเกินจริง

นั่นหมายความว่า คำนิยามในตัวบทพระวินัย บัณเฑาะก์ที่ห้ามบวช ลักเพศ ไม่ได้หมายถึงกะเทย ตุ๊ด แต๋ว ที่มีความหมายในเรื่องเพศวิถี และการลงโทษพระภิกษุบัณเฑาะก์ในพุทธประวัติก็เป็นเรื่องของการเสพเมถุนและการทำให้ศาสนาเสียชื่อเสียง ไม่ได้หมายถึงการลงโทษเพียงเพราะเป็นบัณเฑาะก์ ดังจะเห็นได้ว่าในพุทธประวัติก็มีพระสงฆ์รูปหนึ่งที่มีนามว่า พระวักกลิ เป็นผู้ที่หลงในรูปลักษณ์ของพระพุทธเจ้ามา และมักเกิดความกระวนกระวายใจทุกครั้งหากไม่ได้เจอพระพุทธเจ้า ซึ่งหมายตีความในลักษณะนี้อาจจะเป็นกลุ่มบัณเฑาะก์ที่หลงรูปความเป็นชายเพศเดียวกัน แต่ก็สามารถบวชและบรรลุธรรมได้เช่นกัน

กล่าวโดยสรุปแล้ว หากดูความหมายของคำว่าบัณเฑาะก์หรือลักเพศ ไม่ได้มีความหมายเดียวกับคำว่ากะเทย ตุ๊ด แต๋ว บัณเฑาะก์ แบบที่เข้าใจกันในปัจจุบัน หรือแม้แต่พระบัณเฑาะก์ที่ถูกขับออกจากพุทธศาสนาที่ปรากฏเรื่องราวในพุทธประวัติก็ไม่ได้มีเหตุเพราะว่าพระภิกษุรูปนั้นเป็นบัณเฑาะก์ แต่หมายถึงการกระทำที่ผิดวินัยขึ้นสูงคือ การเสพเมถุนกับเพศเดียวกัน ซึ่งการเสพเมถุนนั้นก็ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ว่าบัณเฑาะก์เท่านั้นที่กระทำ พระภิกษุที่เป็นชายแท้ก็สามารถกระทำได้เช่นกัน

ตุ๊ด-แต๋ว บวชไม่ได้ vs. อคติทางเพศในสังคมไทย

ดังนั้นหากพิจารณาตามนี้ ก็เห็นได้ชัดว่าพระวินัยหรือตัวบทคัมภีร์ไม่ได้มีปัญหากับบัณเฑาะก์ที่หมายถึงกะเทย ตุ๊ด แต๋ว ในความหมายเชิงเพศวิถี นั่นหมายความว่าบัณเฑาะก์ในเชิงเพศวิถีนั้นบวชได้ ถึงแม้การอนุญาตให้บัณเฑาะก์นี้ในพระวินัยจะไม่ได้มีความหมายในเชิงเพศวิถี แต่เป็นกำหนดจากเครื่องเพศที่สมบูรณ์ แต่ในเชิงการตีความคำอธิบายนั้นก็เห็นได้ว่า บัณเฑาะก์ในเชิงเพศวิถีก็ยังสามารถบวชได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้นปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าพระตุ๊ด-เณรแต๋ว หรือตุ๊ด-แต๋ว จะบวชได้หรือไม่ได้ตามพระวินัย แต่ปัญหาที่เข้าใจว่า ‘บวชไม่ได้’ นั้นเกิดจากอคติทางเพศในสังคมปัจจุบันและความเข้าใจที่คาดเคลื่อนของชาวพุทธไทยที่ตีขลุมไปเองของเรื่องเพศในทางศาสนา

แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาในประเด็นนี้ยังมีอีกมากมาย ซึ่งไม่สามารถอธิบายเนื้อหาจบได้เพียงบทความเดียว ความซับซ้อนของมายาคติในสังคมนั้นมีหลายชั้นที่ซ้อนทับกัน ทั้งเรื่องเสรีภาพทางศาสนาและเสรีภาพทางโลกที่เป็นปัญหาการทำความเข้าใจเรื่องตุ๊ด-แต๋ว บวช หรือเรื่องพระตุ๊ด-เณรแต๋ว ซึ่งจะขออธิบายเพิ่มเติมในบทความถัดไป

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

อ้างอิง:

  • ชานันท์ ยอดหงษ์, เพราะฉันคือ ‘ชายจริง-หญิงแท้’ วาทกรรมที่ทำให้การยอมรับ LGBT ในสังคมเป็นแค่เรื่องปลอมๆ https://thematter.co/thinkers/how-lgbqt-recognition-is-fake/111285
  • นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, เพศและความเป็นชายในพุทธศาสนา กับการควบคุมภิกษุ สามเณร และบัณเฑาะก์, วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2559) น.3-25.
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์, พระตุ๊ด-เณรแต๋ว, มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552.
  • พระมหาสักชาย กนฺตสีโล, การศึกษาวิเคราะห์เรื่อง “บัณเฑาะก์” ในกลุ่มพระภิกษุสามเณรไทยในปัจจุบัน, วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2551.
  • พระมหาอดุลย์ ยโสธโร, เรื่องการศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องบัณเฑาะก์กับการบรรลุธรรม, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2549.
  • พระมหาอิสระ ชัยภักดี, ตีความ “บัณเฑาะก์” เป็นกะเทย บวชพระได้ไหม?, มิวเซียมสยามออนไลน์, https://m.museumsiam.org/da-detail2.php?MID=3&CID=177&CONID=3040&SCID=242
  • วักกลิ ผู้หลงใหลในพระพุทธเจ้า, Goodlife Update,https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/97689.html

กะเทย ม งส กะเทย ปาราช ก ม งส ปาราช ก

ABOUT THE AUTHOR
ณัฐพงศ์ ดวงแก้ว

อดีตนักศึกษาสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษากระแส “ครูบาคติใหม่” ในภาคเหนือของไทย ชื่นชอบและเป็นติ่งครูบาตั้งแต่เด็ก