ประโยคที่ใช้คำฟุ่มเฟือย ตัวอย่าง

ติว GED วันละนิด จิตแจ่มใส วิชา RLA วันนี้ลองดูกันครับว่าอีกเรื่องนึงที่สำคัญในการเรียน GED คือเรื่องอะไร เริ่มกันที่ “บ้านหลังนี้สวยสดงดงามอลังการงานสร้าง” “ฤษีตนนี้เหาะเหินเดินอากาศได้” หรือ “แจกันใบนี้ค่อนข้างเปราะบาง” หลังจากอ่านประโยคนี้ น้อง ๆ มีความรู้สึกตงิดใจตรงจุดไหนบ้างไหมครับ ถ้ารู้สึกแสดงว่าน้องเป็นคนที่มีสัมผัสในการใช้ภาษาอังกฤษค่อนข้างดีเลยครับ เพราะในภาษาอังกฤษจะมีกฎไวยากรณ์เรื่อง Redundancy หรือ การใช้คำฟุ่มเฟือย ซึ่งหมายถึง การใช้คำที่มีความหมายเดียวกัน หรือ ใกล้เคียงกันในประโยคเดียวกันมากเกินไป ทำให้ประโยคยาวเกินความจำเป็น (เว้นแต่กรณีที่ผู้เขียนจงใจใช้คำซ้ำกันเพื่อเน้น)

แต่สำหรับคนที่ไม่รู้สึกตะขิดตะขวงก็ไม่ต้องคิดมากนะครับ เด็กไทยอีกหลายคนก็มีแนวโน้มที่จะบอกไม่ได้ว่าประโยคด้านบนมีการใช้คำฟุ่มเฟือย เนื่องจากภาษาไทยจะมีลักษณะของการสร้างคำแบบซ้ำซ้อน คือการเอาคำที่มีความหมายเดียวหรือคล้ายกันมารวมกัน เช่น สวยงาม เปราะบาง และเหาะเหินเดินอากาศ อบอุ่น หยิบฉวย และ เดาสุ่ม (ขนาดคำว่าซ้ำซ้อน ยังมีความซ้ำซ้อน เอ๊ะไม่งงใช่ไหม ?)

ติว GED RLA รอบนี้เรามาดูตัวอย่าง Redundancy ในภาษาอังกฤษ และตัวอย่างเพิ่มเติมของคำฟุ่มเฟือยที่เราพบได้ในชีวิตประจำวันแต่แยกมันไม่ค่อยออกกันครับ

Visible stars can be seen if the sky is dark enough. (สังเกตนะครับว่า visible (ซึ่งมองเห็นได้) มีความหมายเหมือนกับคำว่า can be seen ดังนั้นหากเราตัดคำว่า visible ออกไปประโยคนี้ก็ยังมีความหมายเหมือนเดิมคือ “ดวงดาวสามารถมองเห็นได้หากท้องฟ้ามืดเพียงพอ”)

I used to believe and had faith in myself. (ประโยคนี้คำว่า used to believe กับ had faith มีความหมายเหมือนกัน คือ เชื่อมั่น หรือ ศรัทธา ดังนั้นเราสามารถละคำหนึ่งออกไปได้)

During high school, we sung in a trio that consisted of three people. (ในเมื่อเราร้องเพลงแบบ trio (3คน)แล้ว จะมีส่วนขยาย that consisted of three people ไปอีกทำไมกันครับ)

คราวนี้ลองมาดูตัวอย่าง Common Redundancy ที่เราพบได้บ่อยในชีวิตประจำวันบ้างนะครับ จะเห็นได้ว่าคำที่พี่ขีดฆ่าทิ้งเป็นคำที่ความหมายซ้ำกับอีกคำหนึ่ง เช่น warning “คำเตือน”ก็ต้องให้ไว้ล่วงหน้าอยู่แล้วจะมี advance อีกทำไม, ATM ย่อมาจาก Automatic Telling Machine แล้วจะมี machine มาซ้ำทำไม และ repeat แปลว่า “ทำซ้ำ หรือ พูดซ้ำ” จึงไม่ต้องมี again ซึ่งแปลว่า “อีกครั้ง” มาต่อท้าย

– advance warning

– and etc.

– ask a question

– ATM machine

– blend together

–brief summary

– compete with each other

– crisis situation

– enter in

– face mask

– final outcome

– free gift

– HIV virus

– hurry up

– kneel down

– local resident

– might/may possibly

– repeat again

– rise up

– slow speed

– surrounded on all sides

– time period

– true fact

– unexpected surprise

– very unique

– weather conditions

เรื่อง Redundancy ค่อนข้างเป็นประโยชน์มากนะครับในด้านการเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าน้องจะต้องสอบเขียน essay ใน GED RLA หรือ เขียนรายงานซึ่งเป็น Academic Writing หรือการเขียนทางวิชาการ ที่ต้องใช้ภาษาเป็นทางการและกระชับ ไม่เยิ่นเย้อเหมือนภาษานิยาย นอกจากนี้ข้อสอบจำนวนมากยังนิยมวัด Redundancy ในส่วนของไวยากรณ์ด้วย เช่น GEDและ SAT ดังนั้นถ้าน้องตั้งใจเรียนรู้เรื่องนี้ หรือก่อนสอบก็ติว GED RLA เรื่องนี้ด้วยนะครับ นอกจากน้องจะสามารถทำข้อสอบได้แล้ว น้อง ๆ หลายคนก็น่าจะตระหนักและกลายเป็นคนที่เยิ่นและเย้อ (ลำไย – ขออนุญาตใช้คำแสลง) น้อยลงนะครับ

ผมเข้าใจว่าคำฟุ่มเฟือยคืออะไรครับ และเข้าใจด้วยว่าฟุ่มเฟือยแค่ไหนให้อภัยได้ แค่ไหนเกินพอดี มันเป็น ข้อผิดพลาดในการเขียน ก็เหมือนการสะกดผิดครับ ซึ่งในฐานะคนอ่านเราก็มองข้ามได้บางคำ เช่น คะ ค่ะ ผมจะมองข้ามไปเลย ผมให้อภัยได้ หรือ "ทานข่าวหรือยัง" อันนี้เขาอาจจะพลั้งมือแล้วไม่ได้ทวนก่อนกดส่ง อีกหรือ "ทานสฟ้าวหรือยัง" อันนี้เขาตั้งใจให้ผิด ไปว่าเขาไม่ได้ เอาเป็นว่าส่วนใหญ่แล้ว ผมไม่นาซีเรียสเรื่องนี้ (นาซีเรียส ฟุ่มเฟือยไหม?)

แต่ก็อย่างว่า การเปิดใจรับ การให้อภัยของแต่ละคนไม่เท่ากัน คนขี้รำคาญเขาก็จะลำบากหน่อย อีกอย่างมาตรฐานอยู่ตรงไหนก็ไม่มีใครรู้ บางทีผู้คุ้มกฎเขาก็อาจจะให้โอกาศคุณได้อีกไม่กี่ครั้ง

เข้าเรื่องดีกว่า ผมไปอ่านบทความหนึ่งเกี่ยวกับคำฟุ่มเฟือย แต่อ่านจบก็หดหู่ครับ คำฟุ่มเฟือยนี่มันน่ากลัวจริง ๆ รู้สึกว่าเราอีเหละเขละขละ และ กเฬวราก มาก ๆ

เชิญอ่านบทความข้างล่างได้เลยครับ (ส่วนลิงค์คืออ้างอิง อ้างอิง <-ลิงค์) อ่านจบก็บอกความรู้สึกของท่านที่มีต่อบทความมาหน่อยก็จะขอบพระคุณมากครับผม

ความฟุ่มเฟือยไม่ใช่คุณสมบัติอันพึงประสงค์ เพราะความฟุ่มเฟือยมีความหมายถึงความเกินพอดี สิ่งใดเกินพอดีนับว่าไม่เหมาะสมทั้งนั้น ความฟุ่มเฟือยในการใช้ภาษาก็เช่นกัน การใช้คำเกินพอดีจะทำให้ข้อความเยิ่นเย้อ ความหมายไม่กระชับรัดกุม บางครั้งเป็นการใช้คำผิดความหมาย หรือผิดหลักการใช้ภาษา

คำว่า ตายลง เป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้คำฟุ่มเฟือย เพราะใช้คำว่า ตาย คำเดียว ความหมายก็ชัดเจนแล้ว การใช้คำว่า ตายลง อาจทำให้มีข้อสงสัยว่า ตายขึ้น ไหม เพราะถ้าเราใช้คำว่า ขึ้น ก็มักจะมีคำเข้าคู่ที่ตรงกันข้ามด้วย เช่น น้ำลง / น้ำขึ้น ทางลง / ทางขึ้น ขาขึ้น / ขาล่อง พระอาทิตย์ขึ้น / พระอาทิตย์ตก เป็นต้น

คำว่า สุ่มเสี่ยง เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ใช้คำซ้อนโดยไม่จำเป็น คำว่า สุ่ม มีความหมายว่า อาการที่ทำไปโดยไม่แน่ใจผล เช่น เดาสุ่ม หรือไม่เฉพาะเจาะจง เช่น สุ่มตัวอย่าง ส่วนคำว่า เสี่ยง หมายความว่าลองทำสิ่งที่ไม่แน่ใจว่าจะเกิดผลอย่างไร คำว่า สุ่มเสี่ยง ก็ใช้ในความหมายตรงกับคำว่า เสี่ยง ดังนั้นใช้คำว่า เสี่ยง คำเดียวก็ได้ความหมายเท่ากัน คำว่า สุ่มเสี่ยง เป็นศัพท์ที่วงการตำรวจ ทหาร และนักข่าวชอบใช้

คำกริยาราชาศัพท์ เป็นตัวอย่างที่พูดถึงได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะมีผู้ใช้ผิดอยู่เสมอ โดยเฉพาะสื่อมวลชน ซึ่งเป็นแบบอย่างที่คนอื่นใช้ตาม คำกริยาราชาศัพท์ที่ใช้คำว่า ทรง นำหน้าอย่างฟุ่มเฟือย เช่น ทรงเสด็จ ทรงพระราชทาน ทรงประทับ ทรงเป็นพระราชโอรส ทรงมีพระเมตตา ล้วนเป็นการใช้ผิดทั้งนั้น เพราะหลักการใช้คำราชาศัพท์ คือจะไม่ใช้คำว่า ทรง นำหน้าคำกริยาที่เป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว คำว่า มี หรือ เป็น ก็เช่นกัน หากตามด้วยคำราชาศัพท์ก็ไม่ต้องใช้คำว่า ทรง นำหน้า แต่หากไม่ได้ตามด้วยคำราชาศัพท์ ก็ต้องเติมคำว่า ทรง เพื่อให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นผู้แทนพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการประชุม

คำว่า นำพาเป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้คำฟุ่มเฟือยแล้วทำให้ผิดความหมาย เป็นการใช้คำซ้อนโดยไม่จำเป็น เพราะใช้คำว่า นำ หรือ พาคำใดคำหนึ่ง ก็สื่อความหมายได้แล้วว่าให้เอาสิ่งของนั้น ๆ ไป เช่น "กรุณานำสิ่งของที่จำเป็นของท่านติดตัวไปด้วย” ไม่ควรใช้ว่า "กรุณานำพาสิ่งของที่จำเป็นของท่านติดตัวไปด้วย” เมื่อใช้คำซ้อนโดยไม่จำเป็นทำให้ความหมายของคำผิดไป เพราะคำว่า นำพาหมายความว่า เอาใจใส่ เอาธุระ ไม่สนใจ แต่มักใช้ในความหมายเชิงปฏิเสธว่า ไม่นำพาเช่น "ที่ยกขบวนกันมาปิดถนนแบบนี้ พวก เขาไม่นำพาหรอกว่าใครจะเดือดร้อนบ้าง”

คำว่า หยิบฉวย ก็เป็นตัวอย่างแบบเดียวกัน คือใช้คำซ้อนกันอย่างฟุ่มเฟือย คำว่า หยิบ และ ฉวย มีความหมายคล้าย ๆ กัน แต่เมื่อนำมาซ้อนกันจะมีความหมายว่า นำสิ่งของนั้นไปโดยมีเจตนาทุจริต เช่น ไม่บอกเจ้าของก่อน หรือตั้งใจขโมย ดังนั้น เมื่อโฆษกในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่ามีของกำนัลแจกฟรีให้แก่ลูกค้า โดยบอกว่า "ขอเชิญท่านมีผู้อุปการคุณ มาหยิบฉวยของกำนัลที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ไปได้เลยค่ะ” จึงกลายเป็นว่าเชิญชวนให้ลูกค้ามาขโมยของกำนัล

คำว่า ทำการ จัดเป็นคำฟุ่มเฟือยยอดนิยม พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ทรงนิพนธ์บทกลอนแสดงความสงสารคำว่า "ทำการ” ไว้ เนื่องจากมักมีผู้นำมาใช้โดยไม่จำเป็น แต่คนสมัยนี้ก็ยังไม่เลิกนิยม เราจึงจะพบข้อความที่ตัดคำว่า ทำการ ออกไปได้ก็ไม่เสียความแต่อย่างใด เช่น "รัฐบาลประกาศว่าจะทำการใช้กฎหมายในการปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างเคร่งครัด” "หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ธนาคารเริ่มทำการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ” "ผู้สมัครเข้าอบรมความรู้จะต้องทำการกรอกใบสมัครให้ครบถ้วน” "ผู้บริหารสถาบันพระปกเกล้าร่วมให้การต้อนรับคณะที่ปรึกษาขององค์พระมหากษัตริย์แห่งภูฏานในโอกาสเดินทางมาศึกษาดูงานด้านการเมืองการปกครอง”

การใช้คำบุพบทหรือสันธานขึ้นต้นประโยค นับเป็นการใช้คำฟุ่มเฟือยที่ควรแก้ไข พอ ๆ กับการพูด ที่ต้นขึ้นประโยคว่า ครับ หรือ ค่ะ ซึ่งพิธีกรวัยรุ่นสมัยนี้ ชอบพูดเป็นคำติดปาก คำบุพบทที่นิยมใช้ขึ้นต้นประโยค มาก คือ สำหรับ ส่วนคำเชื่อมที่นิยมนำมาใช้ขึ้นประโยค ทั้ง ๆ ที่ไม่จำเป็นคือคำว่า ซึ่ง จะเห็นได้ว่าทั้งสองคำสามารถตัดออกได้โดยไม่ต้องเสียดาย เช่น "สำหรับการใช้โปรแกรมพีเบสิกเอดิเตอร์ จะต้อง ดาวน์โหลดจากเว็บไซด์โดยตรงแล้วติดตั้งโปรแกรมให้ เรียบร้อย” "ซึ่งประเทศไทยและประเทศจีน มีความสัมพันธ์ กันมายาวนานทั้งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และ เศรษฐกิจ” ภาษาในวงการกีฬาที่ใช้กันผิด ๆ เสมอ คือคำว่า แพ้ให้กับ เป็นการเติมบุพบทเข้ามาโดยไม่จำเป็นเพราะ คำว่า แพ้ ตามด้วยกรรมได้อยู่แล้ว เช่น "ในการพบกัน นัดแรก เชลซีแพ้หงส์แดง "ลิเวอร์พูล” ยับเยิน”

ดังนั้น ในการเขียนข้อความเป็นประโยค หรือ หลายประโยค ผู้เขียนควรทบทวนตรวจทานว่าสามารถ จะปรับข้อความนั้นให้กระชับขึ้น สละสลวยขึ้น โดยการ ตัดคำที่ไม่จำเป็นออกไปได้หรือไม่ โดยเฉพาะคำบุพบท คำสันธาน หรือหากเปลี่ยนคำนามให้เป็นคำกริยาได้ก็