ประว ต สส ม ง อนาคตใหม เร ยนอะไร

ช่อ พรรณิการ์ วานิช เรียกว่าเป็นผู้หญิงที่ครบเครื่องและมากความสามารถจริงๆ และบอกได้เลยว่าประวัติและความสามารถของเธอนั้นมีความน่าสนใจมากๆ เลยทีเดียว วันนี้จึงขอนำเสนอ ประวัติ ช่อ พรรณิการ์ ให้ทราบกันค่ะ

ประว ต สส ม ง อนาคตใหม เร ยนอะไร
ช่อ พรรณิการ์

ประวัติ ช่อ พรรณิการ์

  • ช่อ มีชื่อจริงว่า พรรณิการ์ วานิช
  • เกิดวันที่ 28 มกราคม 2531
  • ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
  • ด้านการศึกษา
    • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations)
    • สำเร็จการศึกษาปริญญาโทจาก MSc Global Politics, London School of Economics and Political Science (LSE)

การทำงาน

  • พิธีกรรายการข่าวทางช่องวอยซ์ทีวี
  • โฆษกและคณะกรรมการของพรรคอนาคตใหม่
  • อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่
  • แกนนำพรรคก้าวไกล

เส้นทางการเมือง

ช่อ พรรณิการ์ เข้าสู่วงการการเมืองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561 โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ และได้รับตำแหน่งโฆษกพรรคอนาคตใหม่

ในบทบาทของโฆษกพรรคอนาคตใหม่ ช่อ พรรณิการ์ เป็นที่รู้จักจากบุคลิกที่กล้าแสดงออกและวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา ส่งผลให้เธอกลายเป็นบุคคลที่ได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่

ในปี พ.ศ. 2562 ช่อ พรรณิการ์ ตกเป็นจำเลยในคดีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จากการอภิปรายในสภาฯ เกี่ยวกับคดีพลเมืองที่จังหวัดนครราชสีมา

ในปี พ.ศ. 2563 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคอนาคตใหม่ และตัดสิทธิ์ทางการเมืองของสมาชิกพรรคเป็นเวลา 10 ปี ทำให้ช่อ พรรณิการ์ พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ เป็นเวลา 10 ปี

ปัจจุบัน ช่อ พรรณิการ์ ยังคงมีบทบาททางการเมือง โดยเป็นแกนนำพรรคก้าวไกล และยังคงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างต่อเนื่อง

แม้จะตกเป็นประเด็นถกเถียงอยู่บ่อยครั้ง แต่ช่อ พรรณิการ์ ก็ยังคงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในวงการการเมืองไทยคนหนึ่ง เนื่องจากเธอเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่กล้าแสดงออกและเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงในสังคม

ประว ต สส ม ง อนาคตใหม เร ยนอะไร
ช่อ พรรณิการ์

จากสื่อสู่กระบอกเสียงของสังคม

ก่อนที่จะมาเส้นทางการเมือง ช่อ พรรณิการ์ ได้เดินในเส้นทางนักข่าวมาก่อน โดยเธอมีความคิดที่ว่า สื่อคืออาชีพหนึ่งที่มีพลังเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ด้วยการนำเสนอข่าวสาร ข้อมูล ที่ประชาชนควรมีสิทธิ์ได้ร่วมรับรู้ ในฐานะเจ้าของประเทศที่แท้จริง และในตอนนี้เธอก็เลือกทางสายใหม่ที่จะทำให้เธอเป็นตัวแทนที่จะเป็นกระบอกเสียงของประชาชนด้วยการเป็นโฆษกพรรคอนาคตใหม่ โดยเธอมีความคิดที่ว่าตลอดระยะเวลาที่ทำงานสื่อ พบกระแสการเมืองแบบเก่าที่หวนมาใหม่ ที่ไม่มีประชาชนอยู่ในตัวตั้ง ไม่ว่าสื่อจะทำหน้าที่ซื่อตรง เสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากนั่นเอง เธอจึงอยากที่จะเข้ามาทำความเปลี่ยนแปลงในจุดนี้

ปี 2566 ถือเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงของประเทศในหลายด้าน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ซึ่งถือเป็นการก้าวเข้าสู่หน้าใหม่ของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ปิดฉากคู่ขัดแย้งเดิม เปิดหน้าคู่ต่อสู้หรือพันธมิตรใหม่

THE STANDARD ชวนย้อนอ่านเหตุการณ์การเมืองประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในปี 2566 และเตรียมความพร้อมภูมิทัศน์การเมืองใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม

ประว ต สส ม ง อนาคตใหม เร ยนอะไร

วันปราศรัยใหญ่ครั้งสุดท้ายของพรรคก้าวไกลที่อาคารกีฬาเวสน์ 1 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2566

ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม


1. ก้าวไกลชนะเลือกตั้ง…แต่ตั้งรัฐบาลไม่ได้

14 พฤษภาคม 2566 ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศไทยเริ่มต้นขึ้น หลังพรรคก้าวไกลชนะเลือกตั้งทั่วไป กวาดคะแนนบัญชีรายชื่อกว่า 14 ล้านเสียง ขึ้นเป็นพรรคอันดับ 1 รวมเก้าอี้ สส. 151 ที่นั่ง

พรรคก้าวไกลภายใต้การนำของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในวัย 43 ปี ถือเป็นโจทย์ยากของการคาดเดาผล ก่อนการเลือกตั้งแทบไม่มีนักวิเคราะห์จากสำนักใดคิดว่าพรรคก้าวไกลจะกลายเป็นพรรคที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุด เพราะในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา พรรคที่ชนะเลือกตั้งมาตลอดคือพรรคเพื่อไทย

พรรคก้าวไกลคือร่างที่ 2 ของอุดมการณ์อนาคตใหม่ หรือพรรคอนาคตใหม่ที่เคยสร้างปรากฏการณ์ให้การเมืองไทยมาแล้ว จากการเป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งภายหลังการรัฐประหารปี 2557 แต่สามารถกวาด สส. มาได้ถึง 80 ที่นั่ง ขึ้นแท่นเป็นพรรคอันดับ 3 ในการเลือกตั้งปี 2562 มีแกนนำหลักคือ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตนักธุรกิจหมื่นล้าน เป็นหัวหน้าพรรค ผสานด้วยปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตอาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเลขาธิพรรค

หลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบในปี 2563 ได้ก่อกำเนิด ‘พรรคก้าวไกล’ ที่ประกาศสานต่ออุดมการณ์เดิม พรรคก้าวไกลต้องเผชิญความระส่ำระสาย เพราะจำนวน สส. ที่ลดลง จากการที่กรรมการบริหารพรรคเดิมถูกยุบพรรค ขณะที่บางส่วนย้ายไปอยู่พรรคอื่นๆ หรือที่รู้จักกันในนาม ‘งูเห่า’ และคำถามต่อการนำของพิธาว่าจะสามารถพาพรรคก้าวไกลเดินได้ไกลมากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับแกนนำรุ่นแรก

ตลอดช่วงการหาเสียง ‘กระแส’ ของพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ และแพลตฟอร์ม TikTok ที่หากใครลงคลิปที่เกี่ยวข้องกับพรรคก้าวไกลจะได้ยอดการกดถูกใจหรือจำนวนการเข้าชม แต่สิ่งที่ทุกคนวิเคราะห์คล้ายกันคือ แล้วความนิยมเหล่านั้นจะแปรเปลี่ยนเป็นคะแนนในคูหาเลือกตั้งได้มากน้อยแค่ไหน จะเป็นที่นิยมเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวหรือไม่ คนต่างจังหวัดจะรู้จักก้าวไกลหรือเปล่า

ประว ต สส ม ง อนาคตใหม เร ยนอะไร

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ขณะนั้น) แถลงข่าวท่ามกลางสื่อมวลชนไทยและต่างชาติ ภายหลังทราบผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566

ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

และคำตอบของคำถามที่ว่านั้นได้หมดไป หลังการปิดคูหาการเลือกตั้งที่มีคนมาใช้สิทธิมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าพรรคก้าวไกลกวาดคะแนนเป็นพรรคอันดับ 1 ได้ สส. ทั้งหมด 151 ที่นั่ง แบ่งเป็น สส. เขต 112 ที่นั่ง และ สส. บัญชีรายชื่อ 39 ที่นั่ง จากคะแนนกว่า 14,438,851 คะแนน

โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีเก้าอี้ สส. ทั้งหมด 33 ที่นั่ง พรรคก้าวไกลกวาดไป 32 ที่นั่ง และยังกวาด สส.​ แบบยกจังหวัดอีกหลายจังหวัด ส่วนคะแนนบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกลยังชนะในหลายจังหวัดแม้จะไม่มี สส. เขตก็ตาม

อย่างไรก็ตาม แม้จะชนะเลือกตั้งเป็นพรรคอันดับ 1 แต่พรรคก้าวไกลก็ไม่สามารถที่จะรวมเสียง และได้รับการโหวตจาก สว. เพื่อจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ แม้ว่าในสภาล่างจะได้เสียง สส. เกินครึ่งสภา แต่ สว. ก็ไม่ได้โหวตให้พิธาผ่านด่านไปนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ก่อนที่จะโหวตในรอบถัดมา พิธายังต้องเผชิญข้อหาถือหุ้น ITV ก่อนจะถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. จนถึงทุกวันนี้ ขณะที่ยังต้องรอการวินิจฉัยจากศาล

ประว ต สส ม ง อนาคตใหม เร ยนอะไร

28 ตุลาคม 2564 พรรคเพื่อไทยเปิดแคมเปญ ‘แลนด์สไลด์’ ประกาศจะชนะเลือกตั้งแบบถล่มทลายในการเลือกตั้งครั้งต่อไป


2. แลนด์สไลด์ไม่มีจริง เพื่อไทยเสียแชมป์แพ้เลือกตั้งครั้งแรก

หากจะนิยาม ‘พรรคทักษิณ’ ที่ไม่ได้แปลว่าต้องมีทักษิณ ชินวัตร อยู่ในพรรคหรือเป็นแกนนำพรรค แต่คือพรรคที่ยึดเอาทักษิณเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ มีอิทธิพลทางแนวคิด นโยบาย เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนพรรค ซึ่งประกอบด้วยพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย

ทักษิณ อดีตนักธุรกิจที่เดินเข้าสู่สนามการเมืองครั้งแรกในสังกัดพรรคพลังธรรม ต่อมาเขาได้ประกาศก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ก่อนจะชนะเลือกตั้งทั่วไปในปี 2544 กวาดที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรกว่า 248 ที่นั่ง ส่งให้ทักษิณเป็นนายกฯ คนที่ 23 ของประเทศไทย ก่อนสร้างประวัติศาสตร์เป็นรัฐบาลที่อยู่ครบวาระเป็นครั้งแรก และสร้างประวัติศาสตร์ชนะเลือกตั้งทั่วไปปี 2548 กวาดเก้าอี้ สส. 377 ที่นั่ง ตั้งรัฐบาลพรรคเดียวครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

อายุรัฐบาลทักษิณในสมัยที่ 2 ไม่ยืนยาวนัก เมื่อต้องยุบสภาเลือกตั้งปี 2549 จากการออกมาประท้วงของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก่อนที่ในเวลาต่อมาการเลือกตั้งจะถูกศาลตัดสินให้เป็นโมฆะ อยู่ในสภาวะรัฐบาลรักษาการจนกระทั่งเกิดการรัฐประหารปี 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คมช. และทักษิณต้องใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศนับแต่นั้นมา

หลังการรัฐประหาร พรรคไทยรักไทยถูกตัดสินให้ยุบพรรค กรรมการบริหารพรรค 111 คน (บ้านเลขที่ 111) ถูกตัดสิทธิทางการเมือง ก่อนจะกำเนิดใหม่ไหลรวมเป็น ‘พรรคพลังประชาชน’ ภายใต้การนำของสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯ ที่สืบทอดอุดมการณ์ และเต็มไปด้วยบุคลากรของพรรคไทยรักไทยเดิมที่ย้ายมาสังกัด

พรรคพลังประชาชนสามารถเอาชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2550 ได้เก้าอี้ สส. 233 ที่นั่ง ส่งให้สมัครเป็นนายกฯ ขณะที่หลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2550 ทักษิณได้เดินทางกลับประเทศไทยเพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่จากนั้นต้องอยู่ในต่างประเทศตลอดมา

รัฐบาลสมัครอายุไม่ยืนยาว ก่อนจะตกจากเก้าอี้นายกฯ จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ปมจัดรายการชิมไปบ่นไป ก่อนที่จะส่งไม้ผลัดมาเป็น สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขึ้นนั่งเก้าอี้นายกฯ ซึ่งไม่เคยได้ทำงานในทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากเกิดการประท้วงอีกครั้งโดยกลุ่มพันธมิตรฯ สมชายเป็นนายกฯ ได้เพียง 2 เดือนเศษก็ตกเก้าอี้จากการยุบพรรคพลังประชาชน ก่อกำเนิดพรรคเพื่อไทยที่สลับบทบาทมาเป็นฝ่ายค้านครั้งแรกในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ประว ต สส ม ง อนาคตใหม เร ยนอะไร

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สร้างประวัติศาสตร์เป็นนายกฯ หญิงคนแรกของไทย

พรรคเพื่อไทยลงสนามเลือกตั้งทั่วไปปี 2554 ภายใต้สโลแกน ‘ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ’ ชนะเลือกตั้งได้ สส. 265 ที่นั่ง ส่งยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้เป็นน้องสาวทักษิณ ขึ้นสู่ตำแหน่ง ‘นายกฯ หญิงคนแรก’ ของไทย และจบลงด้วยการประท้วงของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส. ก่อนที่ในเวลาต่อมา คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ คสช. ที่นำโดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ผบ.ทบ. ในขณะนั้น) จะรัฐประหารและขึ้นนั่งเป็นนายกฯ คนที่ 29 ด้วยตัวเอง

หลังการรัฐประหารปี 2557 พรรคเพื่อไทยอยู่ในสถานะประคับประคองตัว ก่อนลงสู้ในสนามเลือกตั้งปี 2562 ภายใต้กติกาในระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ซึ่งได้มีความพยามแฮ็กสูตรเลือกตั้งเพื่อให้ได้ที่นั่งมากที่สุดจากการตั้งพรรคการเมืองย่อย หรือที่รู้จักกันในชื่อ ยุทธการแตกแบงก์พัน เกิดเป็นพรรคไทยรักษาชาติขึ้นมา แต่ก็ไม่ได้สู้ในสนามเลือกตั้ง เพราะถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค

ทว่าผลสุดท้ายได้ สส. มา 136 ที่นั่ง ถึงแม้เป็นพรรคที่ชนะเลือกตั้งได้ สส. มากที่สุดอันดับ 1 แต่ก็ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ขณะเดียวกันพรรคยังต้องเผชิญความระส่ำหนักจากภายใน เมื่อเกิดสภาวะ ‘เลือดไหล’ บุคลากรสำคัญหลายคนตบเท้าออกจากพรรค กลายสภาพเป็นพรรคที่ไร้หัว ไร้ศูนย์กลางในการตัดสินใจ และเป็นอีกครั้งที่ต้องอยู่ในสถานะ ‘ฝ่ายค้าน’

หนึ่งในยุทธศาสตร์ที่หวังสกัดภาะวะ ‘เลือดไหล’ ของเพื่อไทยคือการเปิดตัว ‘แพทองธาร ชินวัตร’ หรือ อุ๊งอิ๊ง สายเลือดตัวจริง ลูกสาวคนสุดท้องของทักษิณ ซึ่งมาพร้อมกับสโลแกน ‘แลนด์สไลด์’ ปูทางแคมเปญสู่การเลือกตั้งใหม่ ที่มาก่อนเวลาเข้าคูหากว่า 2 ปีเศษ

การเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลายฝ่ายจับตาว่าพรรคเพื่อไทยจะสามารถแลนด์สไลด์ได้จริงหรือไม่ ตามที่ประกาศกว่าจะกวาด สส. 310 ที่นั่ง เพื่อให้สามารถมีอำนาจต่อรองเพียงพอในการจัดตั้งรัฐบาลใต้บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ที่มี สว. จากการแต่งตั้งร่วมเลือกนายกฯ ขณะที่หน้ากระดานการเมือง กูรูทุกค่ายแทบจะฟันธงไปในทิศทางเดียวกันว่า พรรคเพื่อไทยน่าจะยึดคูหาเป็นพรรคที่คว้าชัยในการเลือกตั้งด้วยจำนวน สส. มากที่สุด เพราะในประวัติศาสตร์การเมืองไทยในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยได้เก้าอี้ สส. จำนวนมากที่สุด

ประว ต สส ม ง อนาคตใหม เร ยนอะไร

แพทองธาร ชินวัตร และ เศรษฐา ทวีสิน ปราศรัยใหญ่โค้งสุดท้ายที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองธานี เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2566

14 พฤษภาคม 2566 ผลการเลือกตั้งทั่วไปปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยคว้าที่นั่ง สส. มาได้เพียง 141 ที่นั่ง จาก 500 ที่นั่ง ขณะที่พรรคก้าวไกลคว้าที่นั่ง สส. มาได้ 151 ที่นั่ง นับเป็นครั้งแรกในการเลือกตั้งทั่วไปที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้เป็นพรรคอันดับ 1 ที่ชนะการเลือกตั้ง

ตลอดระยะเวลานับแต่การก่อตั้งพรรคไทยรักไทย 22 ปี พรรคที่มีภาพของ ‘ทักษิณ’ เป็นภาพชัดเจนในองค์ประกอบ ตั้งแต่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย ไม่เคยแพ้การเลือกตั้งเลยแม้แต่หนเดียว และถึงแม้ว่าจะมีความพยายามเปลี่ยนกติกาเพื่อสกัดพรรคเหล่านี้มาโดยตลอด

นี่จึงนับเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ทศวรรษ ที่จักรวาลของความเป็นเพื่อไทยได้สูญเสียแชมป์การเป็นพรรคที่ได้ สส. มากที่สุดในสภา

ประว ต สส ม ง อนาคตใหม เร ยนอะไร

พรรคเพื่อไทยเชิญพรรครวมไทยสร้างชาติร่วมหารือรวบรวมเสียงโหวตเลือกตั้งนายกฯ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2566


3. บทสุดท้าย 2 ทศวรรษเหลือง-แดง จบที่รัฐบาลผสมข้ามขั้ว

หลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2566 นักวิเคราะห์จำนวนมากวิเคราะห์ตรงกันว่า นี่คือภูมิทัศน์ใหม่ของการเมืองไทย และชัดเจนมากยิ่งขึ้นภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลผสมข้ามขั้วที่เป็นคู่ขัดแย้งกันมาตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา

2 ทศวรรษที่ผ่านมา เราจำแนกพรรคเพื่อไทย (หมายรวมถึงพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน) เป็นพรรคอุดมการณ์ฝ่ายซ้าย มีคู่ปรับคือพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นพรรคอุดมการณ์ฝ่ายขวา

แต่หลัง 14 พฤษภาคม 2566 ภูมิทัศน์การเมืองไทยเปลี่ยนไปแล้ว

ผลการเลือกตั้งที่พรรคก้าวไกลได้ สส. มาเป็นอันดับ 1 และตามมาด้วยพรรคเพื่อไทยอันดับ 2 ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกใหม่สำหรับสังคมไทย เมื่อพรรคที่เคยอยู่ขั้วเดียวกันกลายเป็นพรรคที่ได้รับเลือกตั้งมาเป็นอันดับ 1 และ 2 อีกทั้งยังต้องจับมือกันเพื่อตั้งรัฐบาล

ในที่สุดพรรคก้าวไกลกับพรรคเพื่อไทยและอีก 6 พรรคการเมืองจับมือกันในนาม 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ลงนามใน MOU ร่วมกัน เตรียมส่งพิธา แคนดิเดตนายกฯ ของพรรคก้าวไกลสู่ทำเนียบรัฐบาล

ประว ต สส ม ง อนาคตใหม เร ยนอะไร

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ชูกำปั้นขณะเดินออกจากห้องประชุมรัฐสภา หลังรับทราบคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566

ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

แต่ฝันค้างฟ้า เมื่อการลงมติเลือกนายกฯ ครั้งแรกในรัฐสภาที่มี สว. ร่วมโหวตด้วย พิธาได้คะแนนเสียงจากสมาชิกรัฐสภาไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา ตามมาด้วยการถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุติปฏิบัติหน้าที่ สส. ในคดีการถือหุ้นสื่อ ITV ปิดท้ายด้วยการส่งไม้ต่อให้พรรคเพื่อไทยขึ้นมาเป็นแกนนำในการรวบรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลในฐานะพรรคอันดับ 2

พรรคเพื่อไทยเดินหน้ารวบรวมเสียง และตัดสินใจเปลี่ยน หรือฉีก MOU ซึ่งเป็นการผลักก้าวไกลออกจากการจัดตั้งรัฐบาล หนึ่งในประเด็นสำคัญคือการที่ก้าวไกลมีวาระเกี่ยวกับการเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

พร้อมกับประกาศจับมือกับอดีตพรรคร่วมรัฐบาลเดิม เช่น พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม เช่น พรรคประชาชาติ และพรรคเสรีรวมไทย

อย่างไรก็ตาม ในทางการเมืองเป็นที่คาดการณ์อยู่แล้วว่าพรรคเพื่อไทยน่าจะสามารถจับมือกับพรรคพลังประชารัฐได้ แต่ที่เกินความคาดหมายคือการจับมือกับพรรครวมไทยสร้างชาติ เพราะหลายคนที่เป็นระดับนำในพรรครวมไทยสร้างชาติคืออดีตคู่ขัดแย้งหลักของพรรคเพื่อไทยในนาม กปปส. ขณะที่ตัวแคนดิเดตนายกฯ อย่าง พล.อ. ประยุทธ์ คือผู้ทำรัฐประหารรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่มี นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาราชการแทนนายกฯ ในเวลานั้นด้วย

ประว ต สส ม ง อนาคตใหม เร ยนอะไร

เศรษฐา ทวีสิน ในพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นนายกฯ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566

ภาพ: สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

22 สิงหาคม 2566 รัฐสภาลงมติให้ความเห็นชอบ ‘เศรษฐา ทวีสิน’ หนึ่งในแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเพื่อไทย เป็นนายกฯ คนที่ 30 โดย สว. ส่วนใหญ่ไฟเขียวโหวตเห็นชอบ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันเดียวกับการเดินทางกลับมาประเทศไทยในรอบ 15 ปีของอดีตนายกฯ ที่ชื่อ ‘ทักษิณ’

รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยซึ่งมีส่วนผสมของกลุ่มที่เคยเป็นคู่ขัดแย้งยาวนานถูกขนานนามว่า รัฐบาลผสมพันธุ์ข้ามขั้ว โดยมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า สัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์การเมืองที่ว่ากำลังขยับตัวเองสู่การเป็นพรรคขวาใหม่หรือไม่ ขณะที่คู่ปรับคู่ชิงในอนาคตก็คือพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย

ประว ต สส ม ง อนาคตใหม เร ยนอะไร

ทักษิณ ชินวัตร เดินออกมาพบปะคนที่มาต้อนรับการกลับมาที่สนามบินดอนเมือง เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566

ภาพ: ฐานิส สุดโต


4. ทักษิณ-ท่านอ้น หวนคืนมาตุภูมิ

22 สิงหาคม 2566 วันเดียวกับการลงมติให้ความเห็นชอบเศรษฐาเป็นนายกฯ ในรัฐสภา เวลาสายของวันนั้นเครื่องบินส่วนตัวลำหนึ่งซึ่งมีต้นทางจากสิงคโปร์ลงจอดที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ก่อนที่จะปรากฏตัวอดีตนายกฯ คนที่ 23 ของประเทศไทยกลับมาเหยียบแผ่นดินไทยอีกครั้งในรอบกว่า 15 ปี

ก่อนหน้านี้ทักษิณเคยมีกำหนดกลับประเทศมาหลายต่อหลายครั้ง แต่ไม่เคยมีครั้งใดที่จะจริงเท่าครั้งนี้อีกแล้ว

เมื่อเขาปรากฏตัวต่อหน้าญาติพี่น้อง ผู้ที่เคารพรัก สื่อมวลชน และผู้สนับสนุนที่มารอต้อนรับ โดยทันทีที่มาถึงทักษิณได้นั่งลงกราบถวายสักการะพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และหันออกมายังสื่อมวลชนด้วยการยกมือไหว้ และโบกมือทักทายผู้สนับสนุน ก่อนเดินกลับเข้าด้านใน

ประว ต สส ม ง อนาคตใหม เร ยนอะไร

ทักษิณกราบถวายสักการะพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566

ภาพ: ฐานิส สุดโต

ยังไม่ทันพ้นคืนแรกที่เขาต้องนอนภายในเรือนจำ เที่ยงคืนวันเดียวกัน กรมราชทัณฑ์นำตัวทักษิณส่งโรงพยาบาลตำรวจ หลังมีอาการนอนไม่หลับ แน่นหน้าอก วัดความดันโลหิตสูง ระดับออกซิเจนปลายนิ้วต่ำ ก่อนพักรักษาตัวยาวถึงปัจจุบัน

ในเวลาต่อมามีรายงานว่าทักษิณได้ยื่นขอพระราชอภัยโทษ โดยในวันที่ 1 กันยายน 2566 ได้มีประกาศพระราชทานพระมหากรุณาอภัยลดโทษให้นักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร เหลือโทษจำคุกต่อไปอีก 1 ปี

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แม้ทักษิณจะไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ชื่อและความเคลื่อนไหวของเขายังคงมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการเมืองไทย บางครั้งนักการเมืองหลายคนก็ต้องบินไปมาหาสู่กับเขาอยู่เป็นประจำ ขณะที่การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดงในยุคหนึ่ง ทักษิณคือคนที่โฟนอินหรือวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เข้ามาปราศรัยอยู่เป็นระยะ

ประว ต สส ม ง อนาคตใหม เร ยนอะไร

วัชเรศร (ซ้าย) และ นพ.จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ (ขวา) พระราชโอรสในรัชกาลที่ 10

ภาพ: ฐานิส สุดโต

ขณะที่ในปีเดียวกัน วัชเรศร วิวัชรวงศ์ หรือที่คนไทยคุ้นเคยในชื่อ ‘ท่านอ้น’ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 10 เดินทางกลับประเทศไทยครั้งแรกในรอบกว่า 27 ปี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2566 ซึ่งท่านอ้นให้สัมภาษณ์สำนักข่าวต่างประเทศตอนหนึ่งว่า “เหมือนฝันที่เป็นจริงที่ได้กลับมา” ก่อนเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย และเดินทางกลับสหรัฐอเมริกาในวันที่ 14 สิงหาคม 2566

ประว ต สส ม ง อนาคตใหม เร ยนอะไร

เศรษฐา ทวีสิน และ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบกันที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566

ภาพ: สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี


5. ปิดฉาก 9 ปี ประยุทธ์บนเก้าอี้นายกฯ

หลังการรัฐประหาร 2557 พล.อ. ประยุทธ์ นั่งเก้าอี้นายกฯ บริหารประเทศมาต่อเนื่องยาวนานเกือบ 9 ปี ถือเป็นนายกฯ ไม่กี่คนที่อยู่บนเก้าอี้นายกฯ​ มาต่อเนื่องยาวนานขนาดนี้ โดยเฉพาะใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา

ปี 2557 พล.อ.ประยุทธ์ ขณะเป็น ผบ.ทบ. ก่อรัฐประหารรัฐบาลรักษาการโดยนิวัฒน์ธำรง ในช่วงที่การเมืองมีการประท้วงของกลุ่ม กปปส.​ และกลุ่มคนเสื้อแดง ชูสโลแกนคืนความสุขให้คนในชาติ และคำว่า “ขอเวลาอีกไม่นาน”

ทว่า พล.อ. ประยุทธ์ อยู่บนเก้าอี้นายกฯ ที่มาจากการรัฐประหารกว่า 5 ปี ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 และสร้างกลไกที่นักวิชาการฝ่ายซ้ายนิยามว่า ‘กลไกสืบทอดอำนาจ’ ที่ให้ สว.​ ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารร่วมเลือกนายกฯ ด้วย

ก่อนที่จะเริ่มคลายอำนาจ จัดให้มีการเลือกตั้งในปี 2562 โดยมีพรรคที่ก่อร่างสร้างตัวเพื่อรองรับเขาในฐานะแคนดิเดตนายกฯ คือพรรคพลังประชารัฐ และกลับมาจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จอีกครั้ง ต่ออายุการเป็นนายกฯ สมัยที่ 2 อีก 4 ปี

แม้ในช่วงการเป็นนายกฯ สมัยที่ 2 ของ พล.อ. ประยุทธ์ เผชิญ 2 วิกฤตใหญ่คือการระบาดของโรคโควิด และการประท้วงของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เรียกร้องการเปลี่ยนแปลง แต่ พล.อ. ประยุทธ์ ก็สามารถประคับประคองเก้าอี้นายกฯ จนหมดสมัย

พล.อ. ประยุทธ์ ยังเผชิญปัญหาข้อกฎหมายสำคัญที่ทำให้เขาต้องพักจากเก้าอี้นายกฯ ชั่วคราวราวเดือนเศษ คือการตีความเรื่องการดำรงตำแหน่งนายกฯ ครบ 8 ปีตามรัฐธรรมนูญแล้วหรือไม่ ซึ่งในท้ายที่สุดศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยว่าเขายังดำรงตำแหน่งนายกฯ ไม่ครบ 8 ปีตามที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กำหนด เพราะต้องเริ่มนับจากวันที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้

ประว ต สส ม ง อนาคตใหม เร ยนอะไร

พล.อ. ประยุทธ์ เปิดตัวเข้าเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566

ถึงคราวเลือกตั้งปี 2566 เขาตัดสินใจลงสนามการเมืองแบบเต็มตัวเพื่อชิงเก้าอี้นายกฯ สมัยที่ 3 สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมเป็นแคนดิเดตนายกฯ ลงพื้นที่หาเสียงด้วยตัวเอง แต่ผลการเลือกตั้งคณิตศาสตร์ทางการเมืองไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาไปต่อได้

ประเทศไทยจึงเปลี่ยนผ่านอำนาจการบริหารประเทศจาก พล.อ. ประยุทธ์ ถึงนายกฯ คนใหม่คือ เศรษฐา ทวีสิน ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนผู้นำประเทศครั้งแรกของไทยในรอบกว่า 9 ปี

สส พรรคก้าวไกล มีใครบ้าง

พรรคก้าวไกล.

พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์.

ณัฐวุฒิ บัวประทุม.

สุพิศาล ภักดีนฤนาถ.

ศิริกัญญา ตันสกุล.

ช่อ เป็นคนจังหวัดอะไร

พรรณิการ์ วานิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 28 มกราคม พ.ศ. 2531 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมือง อนาคตใหม่ (2561–2563) ก้าวไกล
ศิษย์เก่า โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน

พรรณิการ์ วานิช - วิกิพีเดียth.wikipedia.org › wiki › พรรณิการ์_วานิชnull