283 ม.1 ต.ลาดหญ า อ.เม องกาญจนบ ร กาญจนบ ร

จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง: ประตูเมืองกาญจนบุรี, วัดถ้ำเสือ, ต้นจามจุรียักษ์, สะพานข้ามแม่น้ำแคว, สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก, อุทยานแห่งชาติเอราวัณ

283 ม.1 ต.ลาดหญ า อ.เม องกาญจนบ ร กาญจนบ ร
ธง

283 ม.1 ต.ลาดหญ า อ.เม องกาญจนบ ร กาญจนบ ร
ตรา

คำขวัญ:

แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก

283 ม.1 ต.ลาดหญ า อ.เม องกาญจนบ ร กาญจนบ ร
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกาญจนบุรีเน้นสีแดง

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกาญจนบุรีเน้นสีแดง

ประเทศ

283 ม.1 ต.ลาดหญ า อ.เม องกาญจนบ ร กาญจนบ ร
ไทยการปกครอง • ผู้ว่าราชการ ร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2565) พื้นที่ • ทั้งหมด19,483.148 ตร.กม. (7,522.485 ตร.ไมล์)อันดับพื้นที่อันดับที่ 3ประชากร

(พ.ศ. 2564)

• ทั้งหมด894,054 คน • อันดับอันดับที่ 25 • ความหนาแน่น45.89 คน/ตร.กม. (118.9 คน/ตร.ไมล์) • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 74รหัส ISO 3166TH-71 ชื่อไทยอื่น ๆปากแพรก, ศรีชัยสิงหปุระ, เมืองกาญจน์สัญลักษณ์ประจำจังหวัด • ต้นไม้ขานาง • ดอกไม้กาญจนิการ์ • สัตว์น้ำปลายี่สกศาลากลางจังหวัด • ที่ตั้งถนนแสงชูโต ตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 71000 • โทรศัพท์0 3451 1778เว็บไซต์www.kanchanaburi.go.th

283 ม.1 ต.ลาดหญ า อ.เม องกาญจนบ ร กาญจนบ ร
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

กาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จรดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จรดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จรดประเทศพม่า

ประวัติ[แก้]

ความเป็นมาของกาญจนบุรีเท่าที่มีการค้นพบหลักฐานนั้น ย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการค้นพบเครื่องมือหินในบริเวณบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี ล่วงมาถึงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานคือซากโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์สมัยทวารวดีจำนวนมาก สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-18 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบคือปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะแบบขอม สมัยบายน

283 ม.1 ต.ลาดหญ า อ.เม องกาญจนบ ร กาญจนบ ร
ประตูเมืองกาญจนบุรี สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2374

กาญจนบุรียังปรากฏในพงศาวดารเหนือว่า กาญจนบุรีเป็นเมืองขึ้นของสุพรรณบุรีในสมัยสุโขทัย ครั้นมาถึงสมัยอยุธยา กาญจนบุรีก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำสงครามระหว่างกองทัพไทยกับพม่า จนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ เดิมตัวเมืองกาญจนบุรีเดิมนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า (บริเวณเขาชนไก่ในปัจจุบัน) ภายหลังจนถึง พ.ศ. 2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นการถาวร ณ เมืองกาญจนบุรีใหม่โดยตั้งอยู่ ณ ตำบลปากแพรก อันเป็นสถานที่บรรจบของแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย โดยตัวเมืองอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำแควใหญ่ ซึ่งมีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์และด้านการค้า โดยเริ่มก่อสร้างเมืองเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2374 และสำเร็จในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 และได้แยกออกจากสุพรรณบุรีนับแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ดังพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "แต่มีเมืองปากแพรกเป็นที่ค้าขาย ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมอยู่เหนือมากมีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าไปมาลำบาก จึงลงมาตั้งเมืองเสียที่ปากแพรกนี้เป็นทางไปมาแก่เมืองราชบุรีง่าย เมืองที่สร้างขึ้นใหม่ กว้าง 5 เส้น ยาว 10 เส้น 18 วา มีป้อม 4 มุมเมือง ป้อมย่านกลางด้านยาวตรงหน้าเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้มีป้อมใหญ่อยู่ตรงเนิน ด้านหลังมีป้อมเล็กตรงกับป้อมใหญ่ 1 ป้อม" การสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่นี้ ดังปรากฏในศิลาจารึกดังนี้ ให้พระยาราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจเป็นพระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค์พระยากาญจนบุรี ครั้งกลับเข้าไปเฝ้าโปรดเกล้าฯ ว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองอังกฤษ พม่า รามัญ ไปมาให้สร้างเมืองก่อกำแพงขึ้นไว้จะได้เป็นชานพระนครเขื่อนเพชรเขื่อนขัณฑ์มั่นคงไว้แห่งหนึ่ง ในปัจจุบันกำแพงถูกทำลายลงโดยธรรมชาติและหน่วยราชการเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เหลือเพียงประตูเมืองและกำแพงเมืองบางส่วน

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล กาญจนบุรีถูกโอนมาขึ้นกับมณฑลราชบุรี และยกฐานะเป็นจังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2467

เหตุการณ์ที่ทำให้กาญจนบุรีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นได้ตัดสินใจสร้างทางรถไฟยุทธศาสตร์ จากชุมทางหนองปลาดุกในประเทศไทยไปยังเมืองทันบูซายัตในพม่า โดยเกณฑ์เชลยศึกและแรงงานจำนวนมากมาเร่งสร้างทางรถไฟอย่างหามรุ่งหามค่ำ จนทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทั้งจากความเป็นอยู่ที่ยากแค้นและโรคภัยไข้เจ็บที่รุมเร้า ซึ่งภาพและเรื่องราวของความโหดร้ายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในกาญจนบุรี

ชื่อเรียกอื่น ๆ ของกาญจนบุรี เช่น เมืองกาญจน์ ปากแพรก ศรีชัยยะสิงหปุระ (ซึ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เรียกเมืองกาญจนบุรีว่า ศรีชัยยะสิงหปุระ) และเมืองขุนแผน เป็นต้น

ภูมิศาสตร์[แก้]

อาณาเขตติดต่อ[แก้]

ตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคตะวันตก แต่ในทางการปกครองแบบ 4 ภูมิภาค (เหนือ อีสาน กลาง ใต้)และกรมอุตุนิยมวิทยา จะถูกจัดอยู่ในภาคกลาง มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ 5 จังหวัด ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ อำเภออุ้มผาง (จังหวัดตาก) อำเภอบ้านไร่ (จังหวัดอุทัยธานี) รัฐมอญและรัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า)
  • ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอบ้านไร่ (จังหวัดอุทัยธานี) อำเภอด่านช้าง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอดอนเจดีย์ อำเภออู่ทองและ อำเภอสองพี่น้อง(จังหวัดสุพรรณบุรี)
  • ทิศใต้ ติดกับ อำเภอกำแพงแสน (จังหวัดนครปฐม) อำเภอสวนผึ้ง อำเภอจอมบึง อำเภอโพธารามและ อำเภอบ้านโป่ง(จังหวัดราชบุรี)
  • ทิศตะวันตก ติดกับรัฐมอญ และภาคตะนาวศรี (ประเทศพม่า) โดยมีแนวเขาสำคัญแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าคือทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาตะนาวศรี

ภูมิประเทศ[แก้]

แม่น้ำรันตีทางตอนใต้ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเขาแหลม

พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นป่าไม้และภูเขาสูง โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านเหนือและตะวันตกของจังหวัด ถึงแม้จังหวัดกาญจนบุรีจะมีเขตพื้นที่ติดกับจังหวัดตากทางด้านทิศเหนือ แต่ก็ไม่มีถนนเชื่อมต่อกัน เนื่องจากมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกและมีป่าที่อุดมสมบูรณ์รกทึบสลับกับมีภูเขาอันสลับซับซ้อน หากจะเดินทางติดต่อกันต้องอ้อมไปทางจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร แล้วจึงเข้าจังหวัดตาก ซึ่งมีระยะทางกว่า 490 กิโลเมตร และหากต้องการเดินทางไปอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดกาญจนบุรี จะต้องเดินทางย้อนลงมาทางใต้รวมระยะทางกว่า 700 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดกาญจนบุรี แบ่งออกได้ 3 ลักษณะดังนี้

  1. เขตภูเขาและที่สูง พื้นที่ทางด้านทิศเหนือของจังหวัด ได้แก่ บริเวณอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอไทรโยค มีลักษณะเป็นเทือกเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขาถนนธงชัยถัดไปทางด้านตะวันตกของจังหวัด เทือกเขาตะนาวศรีซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับประเทศพม่าทอดยาวลงไปทางด้านใต้ บริเวณนี้จะเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัด คือ แม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย ซึ่งในแถบนี้จะมีรอยเลื่อนอยู่หลายรอยและมักเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่บ่อยครั้ง
  2. เขตที่ราบลูกฟูก ได้แก่ พื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขาสลับกับเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่บริเวณอำเภอเลาขวัญ อำเภอบ่อพลอย และบางส่วนของอำเภอพนมทวน
  3. เขตที่ราบลุ่มน้ำ ได้แก่ พื้นที่ทางด้านใต้ของจังหวัด ลักษณะเป็นที่ราบ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ อยู่บริเวณอำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง และบางส่วนของอำเภอพนมทวน อำเภอเมืองกาญจนบุรี

ภูมิอากาศ[แก้]

  • ฤดูร้อน ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม มีลมฝ่ายใต้พัดมาปกคลุม ทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยมีอากาศร้อนจัดอยู่ในเดือนเมษายน
  • ฤดูฝน ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน ในระยะนี้เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้มีฝนตกชุกโดยตกชุกที่สุดในเดือนกันยายน
  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยในช่วงนี้ ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทำให้อากาศหนาวเย็นและความแห้งแล้งแผ่ปกคลุมจังหวัดกาญจนบุรี

จังหวัดกาญจนบุรีมีอุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย 22.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย 36.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำที่สุดวัดได้ 3.7 องศาเซลเซียส (เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2517) อุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ 44.2 องศาเซลเซียส (เมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2559) และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1496.2 มิลลิเมตรต่อปี

ธรณีวิทยา[แก้]

ในด้านทรัพยากรดิน พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรีมีภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ที่เหมาะสำหรับเกษตรกรรมคือ ที่ราบระหว่างภูเขาซึ่งมีแม่น้ำและลำน้ำสายต่าง ๆ ไหลผ่าน เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีหินปูน หินแกรนิต หินแกรไนโอออไรท์ หินไนล์ หินดินดาน หินควอทโซฟีลไลท์ เป็นวัตถุต้นกำเนิดดิน ที่ราบระหว่างหุบเขาและสองฝั่งแม่น้ำจึงมีลักษณะเป็นตะกอนที่เกิดจากการสลายตัวของหินดังกล่าวแล้วถูกน้ำพัดพามาทับถม และเนื่องจากพื้นที่ส่วนนี้มีหินปูนเป็นส่วนใหญ่ ดินจึงมีปฏิกิริยาเป็นกลางหรือเป็นด่าง มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงดี จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชไร่ที่สำคัญของประเทศเช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง และสับปะรด ส่วนในบริเวณที่ราบต่ำใช้ปลูกข้าวแต่มีเนื้อที่ไม่มากนัก

อุทกวิทยา[แก้]

ในด้านทรัพยากรน้ำ จังหวัดกาญจนบุรีมีแหล่งน้ำที่สำคัญ 3 ประเภทคือ

  • น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ต้นกำเนิดของแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่มาจากน้ำฝนซึ่งตกสู่ผิวดินลงไปกับเก็บใต้ชั้นดิน พื้นที่ทางตอนบนและทางตะวันตกของจังหวัดซึ่งมีสภาพเป็นที่สูงภูเขา รองรับด้วยหินแปรปริมาณน้ำบาดาลจึงมีน้อยมาก ส่วนพื้นที่ทางตะวันออกและทางใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำบาดาลสามารถนำขึ้นมาใช้ได้ แต่ยังคงมีปริมาณน้อย
  • น้ำผิวดิน แหล่งน้ำผิวดินมีต้นน้ำอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี ลักษณะทางน้ำเป็นร่องลึกในระหว่างหุบเขา มีธารน้ำบางสายไหลขึ้นไปทางเหนือสู่ประเทศพม่า แต่ลำธารส่วนใหญ่ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่ ก่อนจะรวมตัวกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง ส่วนด้านตะวันออกมีลำตะเพินเป็นธารน้ำสำคัญของบริเวณนี้ แหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ (ศรีสวัสดิ์) แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำลำตะเพิน
  • น้ำจากการชลประทาน จังหวัดกาญจนบุรีเป็นที่ตั้งของเขื่อนซึ่งมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่หลายแห่งเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่สิ่งที่ได้รับผลประโยชน์ตามมาคือการชลประทานที่สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูก ประกอบด้วย เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนท่าทุ่งนา ในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ในอำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี และเขื่อนแม่กลองในอำเภอท่าม่วง แหล่งน้ำที่สำคัญ
  • แม่น้ำแควใหญ่ (แม่น้ำศรีสวัสดิ์)
  • แม่น้ำแควน้อย (แม่น้ำไทรโยค)
  • แม่น้ำแม่กลอง
  • แม่น้ำบีคลี่
  • แม่น้ำซองกาเลีย
  • แม่น้ำรันตี
  • แม่น้ำภาชี
  • แม่น้ำสุริยะ (แม่น้ำทรยศ ไหลย้อนไปทางเหนือเข้าเขตพม่า)
  • ทะเลสาบเขื่อนศรีนครินทร์
  • ทะเลสาบเขาแหลม
  • ทะเลสาบท่าทุ่งนา

หน่วยการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

283 ม.1 ต.ลาดหญ า อ.เม องกาญจนบ ร กาญจนบ ร
แผนที่อำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี

จังหวัดกาญจนบุรีแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 13 อำเภอ 98 ตำบล 959 หมู่บ้าน 206 ชุมชน โดยทั้ง 13 อำเภอ มีดังนี้

  1. อำเภอเมืองกาญจนบุรี
  2. อำเภอไทรโยค
  3. อำเภอบ่อพลอย
  4. อำเภอศรีสวัสดิ์
  5. อำเภอท่ามะกา
  6. อำเภอท่าม่วง
  7. อำเภอทองผาภูมิ
  8. อำเภอสังขละบุรี
  9. อำเภอพนมทวน
  10. อำเภอเลาขวัญ
  11. อำเภอด่านมะขามเตี้ย
  12. อำเภอหนองปรือ
  13. อำเภอห้วยกระเจา

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 122 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี, เทศบาลเมือง 3 แห่ง (ได้แก่ เทศบาลเมืองกาญจนบุรี เทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น และเทศบาลเมืองปากแพรก), เทศบาลตำบล 46 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 72 แห่ง รายชื่อเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี มีดังนี้

อำเภอเมืองกาญจนบุรี

  • เทศบาลเมืองกาญจนบุรี
  • เทศบาลเมืองปากแพรก
  • เทศบาลตำบลแก่งเสี้ยน
  • เทศบาลตำบลลาดหญ้า
  • เทศบาลตำบลหนองบัว
  • เทศบาลตำบลท่ามะขาม

อำเภอไทรโยค

  • เทศบาลตำบลน้ำตกไทรโยคน้อย
  • เทศบาลตำบลวังโพธิ์
  • เทศบาลตำบลไทรโยค

อำเภอบ่อพลอย

  • เทศบาลตำบลบ่อพลอย
  • เทศบาลตำบลหนองรี

อำเภอศรีสวัสดิ์

  • เทศบาลตำบลเอราวัณ
  • เทศบาลตำบลเขาโจด

อำเภอท่ามะกา

  • เทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น
  • เทศบาลตำบลลูกแก
  • เทศบาลตำบลท่ามะกา
  • เทศบาลตำบลท่าไม้
  • เทศบาลตำบลพระแท่น
  • เทศบาลตำบลหวายเหนียว
  • เทศบาลตำบลดอนขมิ้น
  • เทศบาลตำบลหนองลาน
  • เทศบาลตำบลพระแท่นลำพระยา

อำเภอท่าม่วง

  • เทศบาลเมืองกาญจนบุรี
  • เทศบาลตำบลท่าม่วง
  • เทศบาลตำบลสำรอง
  • เทศบาลตำบลหนองขาว
  • เทศบาลตำบลหนองตากยา
  • เทศบาลตำบลวังขนาย
  • เทศบาลตำบลวังศาลา
  • เทศบาลตำบลท่าล้อ
  • เทศบาลตำบลม่วงชุม
  • เทศบาลตำบลหนองหญ้าดอกขาว

อำเภอทองผาภูมิ

  • เทศบาลตำบลทองผาภูมิ
  • เทศบาลตำบลสหกรณ์นิคม
  • เทศบาลตำบลท่าขนุน
  • เทศบาลตำบลลิ่นถิ่น

อำเภอสังขละบุรี

  • เทศบาลตำบลวังกะ

อำเภอพนมทวน

  • เทศบาลตำบลพนมทวน
  • เทศบาลตำบลตลาดเขต
  • เทศบาลตำบลหนองสาหร่าย
  • เทศบาลตำบลรางหวาย
  • เทศบาลตำบลดอนเจดีย์

อำเภอเลาขวัญ

  • เทศบาลตำบลเลาขวัญ
  • เทศบาลตำบลหนองฝ้าย

อำเภอด่านมะขามเตี้ย

  • เทศบาลตำบลด่านมะขามเตี้ย

อำเภอหนองปรือ

  • เทศบาลตำบลหนองปรือ
  • เทศบาลตำบลหนองปลาไหล
  • เทศบาลตำบลสมเด็จเจริญ

อำเภอห้วยกระเจา

  • เทศบาลตำบลห้วยกระเจา
  • เทศบาลตำบลสระลงเรือ

รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]

รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 1 พระยาประสิทธิสงคราม ไม่ทราบข้อมูล 2 พระยาประสิทธิสงคราม รามภักดีศรีวิเศษ (พระยาตาแดง) 2368 - 2375 3 พระยาประสิทธิสงคราม 2375 - ? 4 พระยาประสิทธิสงคราม (น้อย) ไม่ทราบข้อมูล 5 พระยาประสิทธิสงคราม ไม่ทราบข้อมูล 6 พระยาประสิทธิสงคราม (ชัง) ไม่ทราบข้อมูล 7 พระยาประสิทธิสงคราม (ขำ) ไม่ทราบข้อมูล 8 พระยาประสิทธิสงคราม (สว่าง) ไม่ทราบข้อมูล 9 พระยาประสิทธิสงคราม (โป) ไม่ทราบข้อมูล 10 พระยาประสิทธิสงคราม (ขำ) ไม่ทราบข้อมูล 11 พระยาประสิทธิสงคราม (แช่ม) ? - 2442 12 พระยาประสิทธิสงคราม (นุช มหานีรานนท์) 2442 -2458 13 พระยาสุรินทรฤๅชัย (จันทร์ ตุงคสวัสดิ์) 10 มิ.ย. 2458 – 1 พ.ย. 2465 14 พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ 1 ก.พ. 2466 – 2 พ.ค. 2466 15 หลวงอร่ามคีรีรักษ์ (ศุข หังศภูติ) 3 พ.ค. 2466 – 28 ก.ย. 2466 16 หลวงบำรุงบุรีราช (พงษ์ บุรุษชาติ) 16 ก.ย. 2467 – 1 ก.พ. 2471 17 พระยาวิเศษฤๅชัย (หม่อมหลวงเจริญ อิศรางกูร) 15 มี.ค. 2471 – 28 ต.ค. 2475 18 พระวุฒิภาคภักดี (หอมจันทร์ สรวงสมบูรณ์) 29 ต.ค. 2475 - 20 พ.ค. 2476 19 พระประธานธุรารักษ์ (กลึง เสมรดิษฐ์) 24 พ.ค. 2476 - 18 ต.ค. 2476 20 พระบำรุงบุรีราช (วิง สิทธิเทศานนท์) 1 เม.ย. 2477 – 4 มี.ค. 2478 21 หลวงนครคุณูปถัมภ์ (หยวก ไพโรจน์) 1 เม.ย. 2479 – 5 มิ.ย. 2481 22 หลวงอัศวินศิริวิลาศ (อิน ศิริวิลาศ) 6 มิ.ย. 2481 - 1 พ.ค. 2484 23 หลวงทรงสารการ (เล็ก กนิษฐสุต) 1 พ.ค. 2484 - 1 ก.ย. 2485 24 ร้อยเอก สุรจิต อินทรกำแหง 5 ก.ย. 2485 - 7 มี.ค. 2488 25 พันตำรวจตรี ขุนพิชัยมนตรี (ชื่น มนตริวัต) 8 มี.ค. 2488 - 2 ต.ค. 2488 26 นายทำนุก รัตนดิลก ณ ภูเก็ต 6 ต.ค. 2488 - 18 มี.ค. 2489 27 ขุนสนิทประชากร (ปลาด สนิทประชากร) 18 มี.ค. 2489 - 12 ต.ค. 2489 28 นายจรัส ธารีสาร 17 ต.ค. 2489 - 6 ก.ย. 2490 29 นายสง่า ศุขรัตน์ 6 ก.ย. 2490 – 5 มี.ค. 2492 30 พันตรี ขุนทะยานราญรอน (วัชร วัชรบูล) 9 เม.ย. 2492 - 1 มี.ค. 2494 31 ขุนอักษรสารสิทธิ์ 1 มี.ค. 2494 - 1 เม.ย. 2496 32 ขุนสนิทประชากร 1 มิ.ย. 2496 – 1 ต.ค. 2497 รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด (ต่อ) ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 33 นายแสวง ชัยอาญา 1 ต.ค. 2497 - 2 มี.ค. 2500 34 นายเครือ สุวรรณสิงห์ 2 มี.ค. 2500 - 23 พ.ค. 2500 35 นายลิขิต สัตยายุทย์ 1 ก.ค. 2500 – 25 ม.ค. 2509 36 นายพัฒน์ พินทุโยธิน 25 มี.ค. 2509 - 30 ก.ย. 2513 37 นายวงษ์ ช่อวิเชียร 1 ต.ค. 2513 – 30 ก.ย. 2514 38 นายเวทย์ นิจถาวร 1 ต.ค. 2514 - 30 ก.ย. 2517 39 นายประเทือง สินธิพงษ์ 1 ต.ค. 2517 - 28 พ.ค. 2520 40 นายจำลอง พลเดช 4 มิ.ย. 2520 - 23 มี.ค. 2521 41 นายเจริญศุข ศิลาพันธุ์ 27 มี.ค. 2521 - 1 ต.ค. 2523 42 นายชาญ กาญจนาคพันธุ์ 1 ต.ค. 2523 - 1 มิ.ย. 2524 43 หม่อมหลวงภัคศุก กำภู 1 มิ.ย. 2524 - 30 ก.ย. 2528 44 นายประกอบ แพทยกุล 1 ต.ค. 2528 - 30 ก.ย. 2530 45 นายปรีดา มุตตาหารัช 1 ต.ค. 2530 - 30 ก.ย. 2532 46 นายคงศักดิ์ ลิ่วมโนมนต์ 1 ต.ค. 2532 - 30 ก.ย. 2534 47 ร้อยตรี ณรงค์ แสงสุริยงค์ 1 ต.ค. 2534 - 30 ก.ย. 2535 48 นายณัฎฐ์ ศรีวิหค 1 ต.ค. 2535 - 30 ก.ย. 2537 49 นายสุชาญ พงษ์เหนือ 1 ต.ค. 2537 - 30 เม.ย. 2540 50 นายขวัญชัย วศวงศ์ 1 พ.ค. 2540 – 11 ม.ค. 2541 51 นายดิเรก อุทัยผล 12 ม.ค. 2541 - 30 ก.ย. 2541 52 นายศักดิ์ เตชาชาญ 1 ต.ค. 2541 - 30 ก.ย. 2542 53 นายจเด็จ อินสว่าง 1 ต.ค. 2542 - 29 ก.พ. 2543 54 นายกำพล วรพิทยุต 1 ม.ค. 2543 - 14 เม.ย. 2545 55 นายประสาท พงษ์ศิวาภัย 1 พ.ค. 2545 – 27 ต.ค. 2545 56 นายรุ่งฤทธิ์ มกรพงศ์ 28 ต.ค. 2545 - 9 ก.ค. 2547 57 นายเชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ 1 ต.ค. 2547 - 12 พ.ย. 2549 58 นายอำนาจ ผการัตน์ 13 พ.ย. 2549 - 19 ต.ค. 2551 59 นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี 20 ต.ค. 2551 - 30 ก.ย. 2553 60 นายณฐพลษ์ วิเชียรเพริศ 1 ต.ค. 2553 - 24 พ.ย. 2554 61 นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ 29 ธ.ค. 2554 - 30 ก.ย. 2557 62 นายวันชัย โอสุคนธ์ทิพย์ 1 ต.ค. 2557 - 30 ก.ย. 2558 63 นายศักดิ์ สมบุญโต 1 ต.ค. 2558 - 4 เม.ย. 2560 64 นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ 1 ต.ค. 2560 - 30 ก.ย. 2565 65 ร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ 1 ต.ค. 2565 - ปัจจุบัน

ประชากรศาสตร์[แก้]

ประชากรจังหวัดกาญจนบุรีแบ่งตามปีปีประชากร±% 2536 724,675— 2537 736,996+1.7% 2538 744,933+1.1% 2539 756,528+1.6% 2540 766,352+1.3% 2541 775,198+1.2% 2542 778,456+0.4% 2543 786,001+1.0% 2544 792,294+0.8% 2545 801,836+1.2% 2546 797,372−0.6% 2547 810,339+1.6% 2548 826,169+2.0% 2549 834,447+1.0% 2550 835,282+0.1% 2551 840,905+0.7% 2552 839,423−0.2% 2553 839,776+0.0% 2554 838,914−0.1% 2555 838,269−0.1% 2556 842,882+0.6% 2557 848,198+0.6% 2558 882,146+4.0% 2559 885,112+0.3% 2560 887,979+0.3%อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ตามข้อมูลจำนวนประชากรของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 จังหวัดกาญจนบุรีมีประชากร 887,979 คน คิดเป็นอันดับที่ 25 ของประเทศ โดยแบ่งเป็นประชากรเพศชาย 446,262 คน และประชากรเพศหญิง 441,717 คน มีความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ย 43.53 คนต่อตารางกิโลเมตร คิดเป็นอันดับที่ 74 ของประเทศ อำเภอที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุด คือ อำเภอท่ามะกา ซึ่งมีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 400.14 คนต่อตารางกิโลเมตร ส่วนอำเภอที่ประชากรเบาบางที่สุด คือ อำเภอศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 8.09 คนต่อตารางกิโลเมตร

การขนส่ง[แก้]

ระยะทางจากอำเภอเมืองกาญจนบุรีไปอำเภอต่าง ๆ[แก้]

  • อำเภอท่าม่วง 14 กิโลเมตร
  • อำเภอพนมทวน 25 กิโลเมตร
  • อำเภอท่ามะกา 32 กิโลเมตร
  • อำเภอด่านมะขามเตี้ย 32 กิโลเมตร
  • อำเภอบ่อพลอย 40 กิโลเมตร
  • อำเภอไทรโยค 50 กิโลเมตร
  • อำเภอห้วยกระเจา 54 กิโลเมตร
  • อำเภอหนองปรือ 76 กิโลเมตร
  • อำเภอเลาขวัญ 85 กิโลเมตร
  • อำเภอศรีสวัสดิ์ 125 กิโลเมตร
  • อำเภอทองผาภูมิ 144 กิโลเมตร
  • อำเภอสังขละบุรี 215 กิโลเมตร

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

283 ม.1 ต.ลาดหญ า อ.เม องกาญจนบ ร กาญจนบ ร
วัดถ้ำเสือ

  • น้ำตกเอราวัณ - ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 – 400 เมตร แบ่งเป็น 7 ชั้น เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกาญจนบุรี ความพิเศษของน้ำตกเอราวัณ คือ น้ำเป็นสีฟ้าใสอมเขียว ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 62 กม.
  • วัดหินแท่นลำภาชี ตั้งอยู่บ้านหินแท่น ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย เป็นวัดที่เลื่องชื่ออุโบสถที่สวยที่สุดในจังหวัดกาญจนบุรี ที่มีสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่หน้าอุโบสถ โดยอุโบสถที่สวยงามแห่งนี้เรียกว่า โบสถ์สำเภาแก้วร้อยล้าน ถูกสร้างขนาบข้างด้วยเรืออนันตนาคราชลักษมีหนึ่งเดียวในประเทศไทย
  • วัดถ้ำเสือ อยู่ที่ ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง วัดและสถานที่ท่องเที่ยวตั้งอยู่บนยอดเขา สวยงามสะดุดตา เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวมหัศจรรย์ในจังหวัดกาญจนบุรี
  • สะพานข้ามแม่น้ำแคว ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองกาญจนบุรี เป็นสะพานข้ามทางรถไฟสายมรณะ
  • ด่านเจดีย์สามองค์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี เป็นจุดผ่านแดนระหว่างไทยกับพม่า มีตลาดชายแดน เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของอำเภอสังขละบุรี

บุคคลสำคัญ[แก้]

283 ม.1 ต.ลาดหญ า อ.เม องกาญจนบ ร กาญจนบ ร
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

  • สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร – สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
  • พระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร (เจริญ กิ๊นเจี๊ยว) – อดีตเจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย
  • พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (เย็นเต็ก) – เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย
  • พระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร (ถนอม เถี่ยนถึก) – เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย
  • พระสมณานัมวุฑฒาจารย์ไพศาลคณกิจ (โฝ พ็องเดี้ยว) – อดีตรองเจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย
  • พระคณานัมธรรมเมธาจารย์ (ณรงค์ ติ่นเรียน) – เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย
  • พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธโชติ) – พระเกจิอาจารย์
  • พระเทพเมธาภรณ์ (ประสงค์ วราสโย) – พระสงฆ์ไทย
  • พระวิสุทธรังษี (เปลี่ยน อินฺทสโร) – อดีตเจ้าอาวาสวัดไชยชุมพล
  • หลวงปู่ยิ้ม จนฺทโชติ – พระเกจิอาจารย์
  • พระโสภณสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) – พระเกจิอาจารย์
  • พระราชอุดมมงคล (เอหม่อง อุตฺตมรมฺโภ) – พระเกจิอาจารย์
  • พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร) – เจ้าคณะภาค1
  • พระราชวัชรรังษี (เอี่ยม สิริวณฺโณ)- อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
  • พระเผด็จ ทตฺตชีโว – พระสงฆ์
  • พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) – นายกรัฐมนตรีไทย
  • ฉาย วิโรจน์ศิริ – นักการเมืองชาวไทย
  • บุญหลง พหลพลพยุหเสนา – ภริยานายกรัฐมนตรีไทย
  • พิจ พหลพลพยุหเสนา – ภริยานายกรัฐมนตรีไทย
  • กรรณาภรณ์ พวงทอง – นักแสดง
  • พุทธิดา สมัยนิยม – มิสแกรนด์กาญจนบุรี 2016/ ผู้เข้าแข่งขัน The Face Thailand ซีซั่น3/ผู้เข้าแข่งขัน Miss Fabulos Thailand 2023
  • จำรัส มังคลารัตน์ – นักการเมือง
  • ฉัตรชัย เปล่งพานิช – นักแสดง
  • ไพโรจน์ สังวริบุตร – นักแสดง
  • ฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร – นักการเมือง
  • สุรพงษ์ ปิยะโชติ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  • ชาญ อังศุโชติ – นักการเมือง
  • สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ – อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • สมชาย วิษณุวงศ์ – นักการเมือง
  • แมน เนรมิตร – นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง เจ้าของผลงานเพลง "ชวนชม"
  • ดวงตา คงทอง – นักร้อง
  • นิภาภัทร สุดศิริ – นางสาวไทย พ.ศ. 2514
  • สยามรัฐ บัวเจริญ – นักแสดง
  • ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ – คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์
  • ทัศน์พล วิวิธวรรธน์ - นักเเสดง
  • ตี๋ ดอกสะเดา – นักแสดงตลก
  • โป๊งเหน่ง เชิญยิ้ม – นักแสดงตลก
  • ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ – นักการเมือง
  • ธัญญ์ ธนากร – นักแสดง
  • ธัญญา โสภณ – นักแสดง
  • ธนวัฒน์ ประสิทธิสมพร – นักแสดง
  • เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ – กวีไทย
  • บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ – อดีตนายกเทศมนตรีเมืองกาญจนบุรี
  • ปฏิภาณ เพ็ชรพูล – นักฟุตบอลทีมชาติไทย
  • สุพจน์ จดจำ – นักฟุตบอลอาชีพ
  • ประเวศ วะสี – นักวิชาการด้านสาธารณสุขและการศึกษาชาวไทย
  • ปราโมทย์ ธีระวิวัฒน์ – อดีตนักกีฬาแบดมินตันชายชาวไทย
  • แผน สิริเวชชะพันธ์ – นักการเมือง
  • พิจิตตรา สิริเวชชะพันธ์ – นักแสดง นางแบบ
  • รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ – อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 ที่ปรึกษาทางด้านประวัติศาสตร์แก่กองทัพบก
  • วิกรม กรมดิษฐ์ – นักธุรกิจและนักเขียนชาวไทย
  • วิไล พนม – นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
  • วีระเดช โค๊ธนี – นักกีฬาฟันดาบ
  • สมคิด พงษ์อยู่ – นักกีฬาฟันดาบ
  • ศตวรรษ เศรษฐกร – นักร้องนักแสดงชาวไทย
  • ศรชัย มนตริวัต – นักการเมือง
  • สมศักดิ์ ชัยสงคราม – อดีตนักแสดงชาวไทย
  • สุพจน์ จดจำ – นักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทย
  • สุเชาว์ นุชนุ่ม – นักฟุตบอลทีมชาติไทย
  • หนึ่งเดียว ศักดิ์จารุพร – นักมวย
  • ปฐมสิทธิ์ ปฐมโพธิ์ทอง – นักมวย
  • อารีย์ วิรัฐถาวร – เล่นกีฬายกน้ำหนัก
  • เดชา พิศสมัย – นักคาราเต้-โด ทีมชาติไทย
  • สุทัตตา เชื้อวู้หลิม – นักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติไทย
  • หนึ่งเดียว ศักดิ์จารุพร – นักมวย
  • พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย - เชฟชาวไทย
  • เวฬุรีย์ ดิษยบุตร – มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2557 / นักแสดง / พิธีกรรายการสตรอเบอรี่ชีสเค้ก
  • นันทิกานต์ สิงหา – นักแสดง / พิธีกรรายการสตรอเบอรี่ชีสเค้ก
  • กิติพัทธ์ ชลารักษ์ – พิธีกรรายการเทยเที่ยวไทย / นักแสดง
  • ศักดา แก้วบัวดี – นักแสดงภาพยนตร์เทศกาลภาพยนตร์เมืองกาน
  • อินทรีน้อย ลูกหนองไก่ขัน – นักมวยไทยในชุดลิเก
  • เฉลียว ยางงาม – วีรบุรุษสงครามเวียดนาม
  • ชนัตถ์ ดำรงเถกิงศักดิ์ – นักร้อง
  • พินิจ จันทร์สมบูรณ์ – นักการเมือง
  • ปารเมศ โพธารากุล – นักการเมือง
  • นที รักษ์พลเมือง – คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มนตรี มงคลสมัย – อดีตศาสตราจารย์และหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นพดล อินนา – นักการเมือง
  • สุชาติ หนองบัว – ราชองค์รักษ์พิเศษ
  • อิสรพงศ์ ดอกยอ – นักร้อง / นักแสดง
  • รัชพงศ์ ทิวะธนเศรษฐ์ – นักแสดง
  • จรัญ งามดี – นักแสดง

อ้างอิง[แก้]

  • ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  • กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 5 มีนาคม 2565.
  • ↑ "ประวัติศาสตร์ จังหวัดกาญจนบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oceansmile.com/K/Kanjanaburi/Kan1.htm สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.
  • "ประวัติความเป็นมาของจังหวัดราชบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.finearts.go.th/fad1/parameters/km/item/ประวัติความเป็นมาของจังหวัดราชบุรี.html เก็บถาวร 2020-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.
  • “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” วิษัยนครตะวันตก .....ที่สาบสูญ สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.
  • กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. "สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp 2556. สืบค้น 20 กันยายน 2556. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 จังหวัดกาญจนบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showDistrictData.php?rcode=71&statType=1&year=60 สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.