2024 สาธิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่าย มัธยม กรุงเท

ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Show

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chulalongkorn University Demonstration School
    2024 สาธิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่าย มัธยม กรุงเท
    ที่ตั้ง
    2024 สาธิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่าย มัธยม กรุงเท
    ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 ข้อมูลชื่ออื่นCUDประเภทโรงเรียนสาธิต สังกัด สกอ.คำขวัญความรู้คู่คุณธรรมก่อตั้งพ.ศ. 2501; 66 ปีที่แล้วผู้อำนวยการฝ่ายประถมพัชรี วรจรัสรังสีผู้อำนวยการฝ่ายมัธยมพรพรหม ชัยฉัตรพรสุขสีสีชมพูเพลง
  • มาร์ชสาธิตจุฬา (ประถม)
  • เพลงประจำโรงเรียน (มัธยม)

    ต้นไม้จามจุรีเว็บไซต์www.satitm.chula.ac.th www.satite.chula.ac.th โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีประวัติการก่อตั้งโรงเรียนสืบเนื่องมาจาก "โรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ซึ่งเป็นโรงเรียนสาธิตสังกัดแผนกวิชาครุศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อการฝึกหัดครู ชั้นประโยคครูมัธยม ครั้นต่อมาโรงเรียนมัธยมหอวังฯ ได้เปลี่ยนรูปงานเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แผนกวิชาครุศาสตร์จึงไม่มีโรงเรียนสำหรับฝึกหัดครูเป็นระยะเวลานานประมาณ 15 ปี เมื่อแผนกวิชาครุศาสตร์ขยายงานเป็น คณะครุศาสตร์ โดยมีศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เป็นคณบดีคนแรก ท่านได้เล็งเห็นความจำเป็นในการจัดตั้งโรงเรียนสาธิต เพื่อการฝึกหัดครูขั้นปริญญาขึ้นแทนโรงเรียนมัธยมหอวังฯ จึงได้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นโดยให้ชื่อว่า "โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" และทำพิธีเปิดป้ายชื่อโรงเรียนเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2501

    ประวัติโรงเรียน[แก้]

    2024 สาธิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่าย มัธยม กรุงเท
    โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2501 โดยศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เพื่อให้เป็นสถานฝึกปฏิบัติ การทางการศึกษาและเป็นสถานที่ฝึกการปฏิบัติงานครูของคณะครุศาสตร์ก่อนที่นิสิตจะจบการศึกษา ปีการศึกษา 2501 โรงเรียนได้เปิดรับนักเรียนเป็นปีแรก โดยรับนักเรียนเข้าเรียนสองระดับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมปีที่ 5 ในระยะเริ่มแรกของการจัดตั้งโรงเรียนมีปัญหาเรื่องสถานที่เรียนเป็นอันมาก แต่ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัย ให้ใช้สถานที่ ที่สร้างเป็นที่ประกอบอาหารของหอพักนิสิต (ตอนนั้นหอพักยังไม่ได้สร้างแต่ได้สร้างส่วนที่เป็นครัวขึ้นก่อน) เป็นสถานที่เรียนทั้ง 2 ระดับติดต่อกัน ตลอดปีการศึกษา 2501 ปีการศึกษา 2502 มหาวิทยาลัยมีความจำเป็นต้องต่อเติมอาคารหอพัก ที่ยังคั่งค้างอยู่ให้แล้วเสร็จรวมทั้งส่วนที่เป็นครัว ซึ่งใช้เป็นที่เรียนขณะนั้นด้วย โรงเรียนจึงจำเป็นต้องใช้สถานที่ใหม่ โดยไปเรียนที่ คณะครุศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นกำลังก่อสร้างอาคารสถานที่เช่นเดียวกัน คณะเห็นว่าการดำเนินงานของโรงเรียนมีปัญหาและอุปสรรคมาก จึงขอให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือ ในที่สุดก็ได้บ้านพักอาจารย์หลังหนึ่ง ซึ่งเดิม เป็นที่พักของอาจารย์ชาวต่างประเทศที่รับราชการในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนั้นอาคารชำรุดมากต้องซ่อมแซม เมื่อแล้วเสร็จจึงเปิดเป็นอาคารเรียนขึ้น จากนั้นบ้านหลังนี้ก็กลายสภาพเป็นโรงเรียนเรื่อยมา (ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบูรณะและอนุรักษ์ไว้ ตั้งชื่อว่า "เรือนภะรตราชา") ปี พ.ศ. 2512 คณะครุศาสตร์ ได้ปรับปรุงระบบงานใหม่ เพื่อให้โรงเรียนสาธิตทำหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติงานแก่อาจารย์ และนิสิตคณะครุศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น จึงได้แยก หน่วยงาน ออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายประถม และ ฝ่ายมัธยม มีอาจารย์ใหญ่ ทำหน้าที่ บริหารโรงเรียนแต่ละฝ่าย โดยมีแผนกวิชาประถมศึกษา และ แผนกวิชามัธยมศึกษา ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านวิชาการ ภายหลังที่ได้แยกงานบริหารโรงเรียนออกเป็น 2 ฝ่ายแล้ว ผู้ที่ทำหน้าที่อาจารย์ใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไปตามวาระของการบริหารงานในโรงเรียน

    สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้] ตราประจำโรงเรียน ตราประจำโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ พระเกี้ยว สีประจำโรงเรียน สีประจำโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ สีชมพู คำขวัญประจำโรงเรียน คำขวัญประจำโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ ความรู้ คู่คุณธรรม เพลงประจำโรงเรียน เดิมโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เพลง มหาจุฬาลงกรณ์ เป็นเพลงประจำโรงเรียน จนกระทั่งปีพ.ศ. 2527 ได้มีการประกวดแต่งเพลงโรงเรียนขึ้น และใช้เพลงที่ชนะเลิศเป็นเพลงประจำโรงเรียนมาจนถึงปัจจุบัน

    • เพลงประจำฝ่ายประถมคือ มาร์ชสาธิตจุฬาฯ ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย ระพินทร บรรจงศิลป์
    • เพลงประจำฝ่ายมัธยมคือ สาธิตจุฬาฯ ประพันธ์คำร้องโดย ชามานันท์ สุจริตกุล และทำนองโดย พฤทธิธร สุมิตร

      ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

      ราชวงศ์[แก้] พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล (รุ่น 31) ภานุมา ยุคล (รุ่น 34)

      การเมืองและงานราชการ[แก้] สุกำพล สุวรรณทัต (รุ่น 4) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม (รุ่น 10) อดีตกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ปลัดกระทรวงพลังงาน ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย (รุ่น 10) อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สุธาวัลย์ เสถียรไทย (รุ่น 11) นันทวัลย์ ศกุนตนาค (รุ่น 11) ปลัด กระทรวงพาณิชย์ พรวุฒิ สารสิน (รุ่น 11) นักธุรกิจ นักการเมือง นักแสดง และประธานกรรมการ บริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด วีรชัย พลาศรัย (รุ่น 12) อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ บุษยา มาทแล็ง (รุ่น 12) อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน ดาการ์ มาดริด และบรัสเซลส์ ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ธัชพล กาญจนกูล (รุ่น 13) ผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติ อุตตม สาวนายน (รุ่น 13) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ต.ท. หม่อมหลวง กิติบดี ประวิตร (รุ่น 13) ผู้ว่าราชการ จังหวัดกระบี่ อดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี นางสนองพระโอษฐ์และนักธุรกิจชาวไทย พลตำรวจโทชินภัทร สารสิน (รุ่น 16) ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เนตรปรียา (มุกสิกไชย) ชุมไชโย (รุ่น 17) ครูสอนภาษาอังกฤษ, รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้ประกาศข่าว พิธีกร นักเขียน รณดล นุ่มนนท์ (รุ่น 17) รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (รุ่น 17) อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตนายกรัฐมนตรี พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ (รุ่น 17) อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นภรรยาอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย ทรงวิทย์ หนุนภักดี (รุ่น 18) ผู้บังคับการ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (รุ่น 19) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 17 ยุทธ์ ชัยประวิตร (รุ่น 20) สมาชิกพรรคมัชฌิมาธิปไตย และ กรรมการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ วโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล (รุ่น 22) ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและการคลัง กระทรวงการคลัง และ อดีตที่ปรึกษาอาวุโสประจำกรรมการบริหาร ธนาคารโลก ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต (รุ่น 27) อดีตโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ (รุ่น 28) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กฤชนนท์ อัยยปัญญา (รุ่น 33) นักธุรกิจ อาจารย์พิเศษระดับมหาวิทยาลัย และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ นักวิชาการและนักการเมือง พริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและผู้จัดการด้านการสื่อสารนโยบาย พรรคก้าวไกล

      สถาปนิก นักออกแบบ[แก้] เกรียงไกร กาญจนะโภคิน (รุ่น 15) นักครีเอทีฟ และประธานร่วม บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด(มหาชน) ดวงฤทธิ์ บุนนาค (รุ่น 19) สถาปนิก และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด สิรินทรา วัณโณ (รุ่น 31) ภูมิสถาปนิก อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      นักวิชาการ นักวิจัย นักวิชาชีพ[แก้] สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ (รุ่น 8) ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ดิษยา รัตนากร (รุ่น 13) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหลอดเลือดสมอง สมิทธ์ ตุงคะสมิต (รุ่น 16) อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และ เครือข่ายอนุรักษ์เพื่อคัดค้าน EHIA โครงการเขื่อนแม่วงก์ ประวิตร อัศวานนท์ (รุ่น 17) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ผิวหนัง รุ่งโรจน์ พิทยศิริ (รุ่น 22) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพาร์กินสัน และ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2557 วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ (รุ่น 22) ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2555 สุชนา ชวนิชย์ (รุ่น 25) นักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่ไปศึกษาวิจัยยังทวีปแอนตาร์กติก และ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ (รุ่น 28) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคอัลไซเมอร์

      นักธุรกิจ ผู้บริหาร[แก้] พันธ์เลิศ ใบหยก (รุ่น 6) ประธานกรรมการเครือโรงแรมใบหยก นที พานิชชีวะ (รุ่น 11) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด นิพิฐ อรุณวงษ์ ณ อยุธยา (รุ่น 13) อดีตผู้บริหารบริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) กลินท์ สารสิน (รุ่น 14) ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ชาติชาย พานิชชีวะ (รุ่น 15) ประธานกรรมการบริษัท ชีวาทัย จำกัด นภาพร วิมลอนุพงษ์ (รุ่น 16) กรรมการบริหารบริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน) สาระ ล่ำซำ (รุ่น 22) กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) โยธิน พิบูลย์เกษตรกิจ กรรมการ อาคเนย์ กลุ่มธุรกิจประกันและการเงิน

      ศิลปิน ผู้กำกับ นักแสดง นักดนตรี[แก้] ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง (รุ่น 7) ศิลปินแห่งชาติ อิ๋ง กาญจนะวณิชย์ (รุ่น 12) นักเขียน นักเขียนบทภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ ภาพยนตร์สารคดี และนักวิพากษ์เรื่องสิ่งแวดล้อม กฤตย์ อัทธเสรี (รุ่น 13) นักแสดง กนิษฐ์ สารสิน (รุ่น 17) พิธีกรรายการโทรทัศน์ ถกลเกียรติ วีรวรรณ (รุ่น 19) ผู้กำกับการแสดงละคร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มของบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) นุติ เขมะโยธิน นักแสดง ประกาศิต โบสุวรรณ (รุ่น 21) ศิลปินวงสุเมธแอนด์เดอะปั๋ง รัดเกล้า อามระดิษ (รุ่น 22) ศิลปิน นักแสดง มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ (รุ่น 28) ศิลปิน นักแสดง ศตวรรษ เมทะนี (รุ่น28) ศิลปิน นักร้อง นักแสดง อันธิยา เลิศอัษฎมงคล (รุ่น 29) นักแสดง พิธีกร วีเจทางช่องเอ็มทีวีไทยแลนด์ วิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์ (รุ่น 29) นักแสดง และนักออกแบบกราฟิก นิวมีเดีย และมีเดียอาร์ต ของดั๊กยูนิต ศุภกร เหรียญสุวรรณ (รุ่น 29) ผู้กำกับ อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา (รุ่น 30) นักร้องนำวงพาราดอกซ์ สิตมน ผลดี (รุ่น 32) นักแสดง และภรรยาเจษฎาภรณ์ ผลดี อรลีฬห์ โสตถิวันวงศ์ (รุ่น 39) นักแสดง ปัณฑพล ประสารราชกิจ (รุ่น 38) อดีตอาจารย์ผู้ช่วยคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และนักร้องนำวงค็อกเทล ธีรดล ธีโอดอร์ แกสตัน นักกีตาร์ วงฟลัวร์ วรรัตน์ พัวไพโรจน์ นักกีตาร์ วงฟลัวร์ อัศม์เดช ลิมตระการ มืกลอง วงฟลัวร์ ปณต คุณประเสริฐ คอรัส มือกีตาร์ ซินธิไซเซอร์ และนักแต่งเพลง วงเก็ตสึโนวา ภากร ธนศรีวนิชชัย (รุ่น 45) นักแสดง พชร จิราธิวัฒน์ (รุ่น 46) นักแสดง มนภัทร เตชะกำพุ (รุ่น 47) นักแสดง ศรัณย์ นราประเสริฐกุล (รุ่น 47) นักแสดง ภานุวัฒน์ เกิดทองทวี (รุ่น 50) นักแสดง ต้นหน ตันติเวชกุล (รุ่น 52) นักแสดง นักดนตรีวง Mints ชนิกานต์ ตังกบดี (รุ่น 57) นักแสดง วันใหม่ ฉัตรบริรักษ์ นักแสดง ต้นตะวัน ตันติเวชกุล (รุ่น 54) นักแสดง, นักร้อง, พิธีกร เมธัส โอภาสเอี่ยมขจร (รุ่น 59) นักแสดง

      สื่อสารมวลชน[แก้] จุฑา ติงศภัทิย์ (รุ่น 7) ผู้บรรยายกีฬาฟุตบอลและเทนนิส อภิชาติ นันทเทิม (รุ่น 9) ผู้บรรยายกีฬากอล์ฟ และ ผู้บริหารระดับสูง Golf Channel Thailand ตวงพร อัศววิไล (รุ่น 24) ผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที

      นักกีฬา[แก้] ระดับ กาญจนะวณิชย์ (รุ่น 9) อดีตนักกีฬาเรือใบทีมชาติไทย เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ศิรินทร์ วังศพ่าห์ (รุ่น 12) อดีตนักกีฬายิงปืนทีมชาติไทย เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ไผทสันต์ โพธิทัต (รุ่น 14) อดีตนักกีฬายิงเป้าบินทีมชาติไทย ศิริลักษณ์ พาณิชชีวะ (รุ่น 22) อดีตนักกีฬาวายน้ำทีมชาติไทย คุณากร สุทธิโสตถิ์ (รุ่น 27) อดีตนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย อุไรวรรณ ขมวัฒนา (รุ่น 28) อดีตนักกีฬายิมนาสติกลีลาทีมชาติไทย ชายไทย กาญจนาคพันธ์ (รุ่น 26) อดีตนักกีฬาฮอกกี้และลอนโบว์ลสทีมชาติไทย สุรเชษฐ์ วิศวธีรานนท์ (รุ่น 28) อดีตนักกีฬาฮอกกี้ทีมชาติไทย เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 1995-ซีเกมส์ 1999 ชนนภัทร วิรัชชัย (รุ่น 41) นักต่อสู้แบบผสมชาวไทย อนุพงษ์ วรรณไกรโรจน์ (รุ่น 44) อดีตนักกีฬาเทเบิลเทนนิสเยาวชนทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี พ.ศ. 2551 ยศการ ไพสิฐวิโรจน์ (รุ่น 45) อดีตนักกีฬาเทเบิลเทนนิสเยาวชนทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี พ.ศ. 2549 ยศวรรษ ไพสิฐวิโรจน์ (รุ่น 46) อดีตนักกีฬาเทเบิลเทนนิสเยาวชนทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี พ.ศ. 2552 และ รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี พ.ศ. 2550 อนวัช ปิติเจริญ (รุ่น 46) อดีตนักกีฬาหมากรุกไทย เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาหมากรุกสากลระดับอาเซียน ศิมาภรณ์ เศรษฐวงศ์ (รุ่น 49) อดีตนักกีฬาหมากล้อมทีมชาติไทย เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 2010 ชานิศา เตชวรสินสกุล (รุ่น 49) อดีตนักกีฬาแบดมินตันเยาวชนทีมชาติไทย ศุภณัฐ วิสุทธิ์เมธางกูร (รุ่น 49) นักกีฬาเทเบิลเทนนิสทีมชาติไทย อดีตนักกีฬาเทเบิลเทนนิสเยาวชนทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี พ.ศ. 2556 และ 2557 ฑิตยา ธนบุญสมบัติ (รุ่น 50) อดีตนักกีฬาระบำใต้น้ำทีมชาติไทย เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2011 พิมพ์นารา เตชะสนธิชัย (รุ่น 50) อดีตนักกีฬาวายน้ำเยาวชนทีมชาติไทย อัษฎางค์ กาญจนกูล (รุ่น 51) อดีตนักกีฬาสแต็กเยาวชนทีมชาติไทย วรท โชติเลอศักดิ์ (รุ่น 52) อดีตนักกีฬาเทเบิลเทนนิสเยาวชนทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี พ.ศ. 2556 นวพรรษ พิษณุวงษ์ (รุ่น 54) นักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย กษม สินธุภิญโญ (รุ่น 59) นักกีฬาธนูประเภทคันธนูโค้งกลับ รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี และนักกีฬาลีลาศ มาหยา บุญญาอรุณเนตร (รุ่น 60) นักกีฬาเทนนิสเยาวชนทีมชาติไทย

      นักเรียนทุน[แก้] ชวิน โอภาสวงศ์ (รุ่น 46) นักเรียนทุนอานันทมหิดล แผนกวิศวกรรมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2558 ไปศึกษา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ธนกฤต พงพิทักษ์เมธา (รุ่น 46) นักเรียนทุนโครงการเยาวชน รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2559 ไปศึกษาสาขาประสาทวิทยา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ธาวิต แสงวีระพันธุ์ศิริ (รุ่น 47) นักเรียนทุนอานันทมหิดล แผนกวิศวกรรมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2559 ไปศึกษา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ชานน ธนิตกุล (รุ่น 49) นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง ประจำปี 2557 ต่อพงศ์ นิธยานนท์ (รุ่น 49) นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง ประจำปี 2557 ชนุตม์ ศิริโสภณศิลป์ (รุ่น 49) นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง ประจำปี 2557 ณัฐ ตู้จินดา (รุ่น 49) นักเรียนทุนอานันทมหิดล แผนกวิศวกรรมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2561 ไปศึกษาสาขา Materials Science and Engineering ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ศุภลาภินี ภักดีฉนวน (รุ่น 54) นักเรียนทุนกระทรวงการต่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2562 ไปศึกษาสาขา East Asia Studies ณ สหราชอาณาจักร

      อ้างอิง[แก้] "ร้อยเรื่องราว 100ปี จุฬาฯ ตอน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่มาของการฝึกสอน". มติชน. 14 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 21/6/2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= () "มาร์ชสาธิตจุฬา ฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-09. สืบค้นเมื่อ 2020-11-01. เพลงประจำโรงเรียนสาธิตจุฬาฯฝ่ายมัธยม

      แหล่งข้อมูลอื่น[แก้] โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม เก็บถาวร 2018-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ข่าวสารนักเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม เก็บถาวร 2020-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สมาคมนักเรียนเก่าสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สโมสรสาธิตจุฬา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สาธิตจุฬาฯประถมคว้า 19 รางวัลนวัตกรรมระดับนานาชาติ สาธิตจุฬาฯ โชว์นวัตกรรม “CUD Thermal Scan” สู้โควิด-19 พาดูบรรยากาศการเรียนใน 'สาธิตจุฬาฯ' กับแนวคิดต้นแบบโรงเรียนอัจฉริยะ เก็บถาวร 2020-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นักเรียนสาธิตจุฬาฯ กับชีวิต New Normal แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      • ภาพถ่ายดาวเทียมจาก หรือกูเกิลแมปส์
      • แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
      • ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์ พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′08″N 100°31′31″E / 13.735567°N 100.525372°E
    • 2024 สาธิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่าย มัธยม กรุงเท
      รายชื่อโรงเรียนสาธิตในประเทศไทย มหาวิทยาลัยรัฐ/ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เกษตรศาสตร์ • เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน • ขอนแก่น • ขอนแก่น หนองคาย • จุฬาลงกรณ์ • เชียงใหม่ • ธรรมศาสตร์ • นครพนม • นเรศวร • บูรพา • บูรพา อาชีวศึกษา • พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง • พระจอมเกล้าธนบุรี • พะเยา • มหาสารคาม • มหิดล • รามคำแหง • รามคำแหง บางนา • ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน • ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร • ศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ • ศิลปากร • สงขลานครินทร์ • สงขลานครินทร์ อิสลามศึกษา • สวนดุสิต • สวนดุสิต ลำปาง • สวนดุสิต สุพรรณบุรี • สวนดุสิต นครนายก มหาวิทยาลัยราชภัฏ กาญจนบุรี • จันทรเกษม • เชียงราย • เชียงใหม่ • เทพสตรี • ธนบุรี • นครปฐม • นครราชสีมา • นครศรีธรรมราช • นครสวรรค์ • บ้านสมเด็จเจ้าพระยา • พระนคร • พระนครศรีอยุธยา • พิบูลสงคราม • เพชรบุรี • เพชรบูรณ์ • มหาสารคาม • ยะลา • ร้อยเอ็ด • รำไพพรรณี • เลย • วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ • ศรีสะเกษ • สกลนคร • สงขลา • สวนสุนันทา • สุรินทร์ • หมู่บ้านจอมบึง • อุดรธานี • อุตรดิตถ์ • อุบลราชธานี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล สาธิตนวัตกรรม ธัญบุรี • อนุบาลสาธิตราชมงคล ธัญบุรี • อีสาน มหาวิทยาลัยเอกชน กรุงเทพธนบุรี • การจัดการปัญญาภิวัฒน์ • รังสิต • รังสิต เชียงใหม่ • สาธิตปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

      สาธิตจุฬา มัธยม รับกี่คน

      ข้อมูลนักเรียน.

      โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม รับ ม.4 ไหม

      ลิงก์สมัครเรียน SAT ENG และ SAT MATH (นักเรียน ม.4-ม.6) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564.

      รร.สาธิตจุฬา สังกัดอะไร

      โรงเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม).

      สาธิตจุฬาลงสถานีไหน

      ป้่าย/สถานี สถานีรถไฟใต้ดินที่ใกล้ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมที่สุดในปทุมวัน คือ Mrt สามย่าน;Mrt Sam Yan. โดยมันอยู่ห่างไป3 นาที