2024 มหาวิทยาลัย สุโขทัย ธร ร มา ธิ ราช จ นนทบุรี

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 24-25 มิถุนายน 2566 ณ อาคารอเนกนิทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยผู้สำเร็จการศึกษาที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจะต้องผ่านการฝึกซ้อมย่อยและซ้อมใหญ่ ดังนี้

Show

วันที่ 3 - 4 มิถุนายน 2566

ภาคแรก

08.00 – 8.30 น. ลงทะเบียนรายงานตัว

ภาคหลัง

12.30 – 13.00 น. ลงทะเบียนรายงานตัว

ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ จังหวัดลำปาง สุโขทัย นครสวรรค์ อุบลราชธานี อุดรธานี นครนายก เพชรบุรี จันทบุรี นครศรีธรรมราช และ ยะลา

วันที่ 10 - 11 มิถุนายน 2566

ภาคแรก

08.00 – 8.30 น. ลงทะเบียนรายงานตัว

ภาคหลัง

12.30 – 13.00 น. ลงทะเบียนรายงานตัว

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี

วันที่ 22 - 23 มิถุนายน 2566

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี

● พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

วันที่ 24 - 25 มิถุนายน 2566

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี

2024 มหาวิทยาลัย สุโขทัย ธร ร มา ธิ ราช จ นนทบุรี

บัณฑิตที่จะเข้ารับการฝึกซ้อมย่อย การฝึกซ้อมใหญ่ และการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จะต้องตรวจสอบรายชื่อและพิมพ์บัตรประจำตัวบัณฑิต ที่นี่

● ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องกรอกข้อความในใบ มสธ.16 เพื่อขึ้นทะเบียนบัณฑิต พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียม 800 บาท ผ่านการบริการ Pay @ Post ณ ที่ทำการไปรษณีย์ นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษามหาวิทยาลัยจะจัดส่งหนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษามายังท่านพร้อมกับใบขอขึ้นทะเบียนบัณฑิต (มสธ.16) พร้อมคำชี้แจงเพื่อให้บัณฑิตทุกท่านกรอกข้อความลงในใบขึ้นทะเบียนบัณฑิต ทั้งนี้ขอให้ดำเนินการภายในหนึ่งสัปดาห์หลังจากได้รับหนังสือรับรองสำเร็จการศึกษา

● ผู้สำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก จะได้รับใบคำร้องขอขึ้นทะเบียนดุษฎีบัณฑิตหรือมหาบัณฑิต (มสธ.บ16) และใบคำร้องขอใบรายงานผลการศึกษาและหนังสือรับรองสำเร็จการศึกษา (มสธ. บ10) พร้อมหนังสือเชิญสอบดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ จะต้องกรอกข้อมูลและส่งกลับมายังมหาวิทยาลัยพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียม ดังนี้

ดุษฎีบัณฑิต ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียน 3,000 บาท

มหาบัณฑิต ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียน 1,000 บาท

การจัดส่งปริญญาบัตร กรณีไม่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร

ผู้สำเร็จการศึกษาที่ไม่ได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยจะจัดส่งปริญญาบัตรไปตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้ให้กับมหาวิทยาลัยครั้งล่าสุด ภายใน 45 วัน หลังพิธีพระราชทานปริญญาบัตร กรณีที่ไม่ได้รับปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยจะดำเนินการติดตามการจัดส่งปริญญาบัตรดังกล่าวโดยเร่งด่วน เนื่องจากการดำเนินการไต่สวนกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มีระยะเวลาเพียง 6 เดือน ดังนั้นจึงขอความกรุณาบัณฑิตตรวจสอบการจัดส่งปริญญาบัตรแจ้ง หากล่าช้าเกินกำหนดหรือพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว

2024 มหาวิทยาลัย สุโขทัย ธร ร มา ธิ ราช จ นนทบุรี

[ ดูแผนที่ขนาดใหญ่ ]

สถานที่ตั้งของ มสธ. เลขที่ 9/9 หมู่ 9 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์. 0-2504-7777 โทรสาร. 0-2503-3607

รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน สาย 52 หมอชิต – ปากเกร็ด สาย 166 ทางด่วนอนุสาวรียชัยฯ – เมืองทองธานี – ปากเกร็ด สาย 150 บางกะปิ – ปากเกร็ด สาย 356 รังสิต – ดอนเมือง – สะพานใหม่ – ปากเกร็ด รถตู้ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – เมืองทองธานี เมเจอร์รังสิต – เมืองทองธานี สนามหลวง – เมืองทองธานี งามวงศ์วาน – เมืองทองธานี

—————–

BSRUAnnouncement แผนที่เดินทาง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี

BSRUNews

2024 มหาวิทยาลัย สุโขทัย ธร ร มา ธิ ราช จ นนทบุรี

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี แบบมหาวิทยาลัยเปิดโดยรับนักศึกษาไม่จำกัดจำนวน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเปิดการศึกษาถึงระดับดุษฎีบัณฑิตในบางสาขาวิชา โดยมีการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาเหมือนมหาวิทยาลัยปิดทั่วไป

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชไม่มีชั้นเรียนตามปกติเหมือนมหาวิทยาลัยทั่วไป แต่ดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกล ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากเอกสารชุดวิชาจากสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้ให้นักศึกษา เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อต่าง ๆ เป็นต้น

ผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในอดีต ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แต่ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจนถึงปัจจุบัน ภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศที่ 1/2560 เข้าควบคุมมหาวิทยาลัยเนื่องจากกรณีกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ขอลาออกจากตำแหน่งจนทำให้เหลือกรรมการไม่ครบองค์ประกอบตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521 และยกเลิกประกาศควบคุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561เนื่องจากมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีแบบ "มหาวิทยาลัยเปิด" กล่าวคือรับนักศึกษาไม่จำกัดจำนวน โดยมหาวิทยาลัยไม่มีชั้นเรียนตามปกติเหมือนมหาวิทยาลัยปิดและมหาวิทยาลัยตลาดวิชาซึ่งดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกล จัดการเรียนการเรียนการสอนแบบตลาดวิชาโดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากเอกสารชุดวิชาจากสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้ให้นักศึกษา เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อต่าง ๆ เป็นต้น

แนวคิดของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเปิดในประเทศไทย[แก้]

การก่อตั้งมหาวิทยาลัยเปิด เป็นความพยายามของรัฐบาลในการที่จะขยายโอกาสการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชนให้มากที่สุด แนวคิดนี้ได้เคยนำมาใช้แล้วในประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2476 ได้จัดการศึกษาระบบ "ตลาดวิชา" โดยไม่จำกัดรับนักศึกษา เป็นครั้งแรก แต่ต่อมาก็ได้เปลี่ยนมาเป็นระบบมหาวิทยาลัยปิด (จำกัดการรับนักศึกษา) เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ต่อมาปี พ.ศ. 2514 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาขึ้นอีกแห่งหนึ่ง คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่มหาวิทยาลัยรามคำแหงยังคงจัดการศึกษาโดยอาศัยชั้นเรียนเป็นหลัก ทำให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงประสบปัญหาในด้านอาคารสถานที่เรียนเป็นอันมาก ทำให้ไม่สามารถขยายให้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นทุกปีได้ ทางรัฐบาลเล็งเห็นว่าหากรัฐบาลให้การสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดการศึกษาให้เพียงพอกับความต้องการของผู้เรียนแล้ว จะทำให้ภาครัฐต้องรับผิดชอบภาระด้านงบประมาณมากขึ้นอย่างไม่มีวันสิ้นสุด

ดังนั้นเพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้แก่ประชาชน ให้กว้างที่สุด โดยใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชขึ้น โดยดำเนินการในระบบมหาวิทยาลัยเปิด จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบการศึกษาทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จึงเป็นมหาวิทยาลัยเปิด โดยใช้ระบบการศึกษาทางไกล แห่งเดียวในประเทศไทย

การสถาปนามหาวิทยาลัย[แก้]

2024 มหาวิทยาลัย สุโขทัย ธร ร มา ธิ ราช จ นนทบุรี
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตามพระนามทรงกรมของ "สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ์เดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา" (รัชกาลที่ 7) โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงปรับสร้อยพระนามทรงกรมของรัชกาลที่ 7 เล็กน้อย (ภาพ:หนังสือแจ้งพระราชทานนามมหาวิทยาลัยฯ ยังทบวงมหาวิทยาลัย)

มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" ตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็น "กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา" และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์ นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงสุโขทัย เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ใน พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521 มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้ วันที่ 5 กันยายน ของทุกปีเป็น วันสถาปนามหาวิทยาลัย

อธิการบดีคนแรก[แก้]

ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยชุดแรก รวมทั้งได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสอ้าน ให้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีคนแรก

การเปิดดำเนินการการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย[แก้]

2024 มหาวิทยาลัย สุโขทัย ธร ร มา ธิ ราช จ นนทบุรี
สาขาวิชาที่เปิดสอน 5 สาขาวิชาแรกของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช คือ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาการจัดการ (ภาพ:ห้องประชุมอาคารวิทยทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

หลังจากได้ใช้เวลาเตรียมการด้านต่าง ๆ เพื่อให้พร้อมที่จะเปิดสอนเป็นเวลาประมาณ 2 ปี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2523 สาขาวิชาที่เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาการจัดการ โดยมี ผู้สนใจลงทะเบียนเรียน จำนวน 11,152 คน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 มหาวิทยาลัยได้ขยายการรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นในสาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์(มนุษยนิเวศศาสตร์) และสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ ปีการศึกษา 2526(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์) มหาวิทยาลัยได้เปิดสอนสาขาวิชารัฐศาสตร์ ปีการศึกษา 2527 เปิดสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ในปีการศึกษา 2538 มหาวิทยาลัยได้เปิดสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และในปี พ.ศ. 2544 ได้เปิดสอนสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ เพิ่มขึ้นอีกสาขาวิชาหนึ่ง รวมเป็น 12 สาขาวิชา

ปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช[แก้]

ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงมีอำนาจให้ปริญญาบัตร และประกาศนียบัตรที่มีศักดิ์และสิทธิเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยของรัฐอื่น ๆ ทุกประการ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรก ณ อาคารใหม่สวนอัมพร เมื่อวันที่ 26 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2527 โดยเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยรุ่นแรก (ประจำปีการศึกษา 2525) ซึ่งในปีนั้นมีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 9,594 คน จาก 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์และสาขาวิชาวิทยาการจัดการ

ในอดีต ผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจนถึงปัจจุบัน นับเป็นความภูมิใจของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อย่างหาที่สุดมิได้

สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย[แก้]

ตราประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

มหาวิทยาลัยได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์เรียงกันบนบันไดแก้ว ได้แก่ "พระแสงศรพรหมศาสตร์" "พระแสงอัคนิวาต" "และพระแสงศรพลายวาต" ประดิษฐานอยู่ภายใต้ พระมหามงกุฏ นำมาประกอบกับส่วนยอดของ "เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงสุโขทัย และมีข้อความ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช" อยู่ในแถบริ้วเบื้องล่าง เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย

เสื้อครุยของมหาวิทยาลัย[แก้]

เสื้อครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเป็นเสื้อคลุม ผ้าโปร่งสีขาว ผ่าอกตลอดรอบขอบและที่ต้นแขนกับปลายแขน มีแถบสีทองทาบทับด้วยแถบทองบริเวณอกเสื้อทั้งสองข้างมีวงกลมสีทอง กลางวงมีตรามหาวิทยาลัย ปริญญาตรี มี 1 วง ปริญญาโทมี 2 วง ปริญญาเอก มี 3 วง

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

มหาวิทยาลัยกำหนดให้ ต้นปาริชาตหรือต้นทองหลางลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เนื่องจากมีใบเป็นสีเขียวและเส้นใบเป็นสีทอง ตรงกับสีเขียว-ทองซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย

สีประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

"สีเขียว - ทอง" เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย

  • ██ สีเขียว เป็นสีประจำวันพุธ ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • ██ สีทอง เป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคล

อาคารที่สำคัญในมหาวิทยาลัย[แก้]

2024 มหาวิทยาลัย สุโขทัย ธร ร มา ธิ ราช จ นนทบุรี
อาคารทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดในมหาวิทยาลัย

  • อาคารพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นอาคารสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งได้ประยุกต์สถาปัตยกรรมไทยสมัยสุโขทัยมาใช้ในการออกแบบก่อสร้าง โดยมี รองศาสตราจารย์ ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ออกแบบ การจัดวางอาคารนั้นตั้งอยู่กึ่งกลางของอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก จัดเป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดในมหาวิทยาลัย
  • อาคารอเนกนิทัศน์ เป็นหอประชุมขนาดใหญ่ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2549 ปัจจุบันใช้เป็น
  • หอพระ ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 60 นิ้ว ตัวอาคารหอพระออกแบบโดย รองศาสตราจารย์ ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ โดยตัวอาคารมีเอกลักษณ์สะท้อนรูปลักษณะศิลปสุโขทัย อันเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย ตัวอาคารสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2551 การจัดวางอาคารนั้นตั้งอยู่บริเวณมุมด้านเหนือของอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก ใกล้กับถนนหลักภายในมหาวิทยาลัย ตัวอาคารยกพื้นสูงจากระดับปกติ จึงทำให้มีความโดดเด่นสะดุดตา
  • ห้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ตั้งอยู่ ณ อาคารบรรณสาร ชั้นสอง ออกแบบตกแต่งด้วยรูปลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 7 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและให้บริการข้อมูลทางประวัติศาสตร์ระหว่าง พ.ศ. 2468–2477

หน่วยงาน[แก้]

หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีดังนี้

  • สำนักงานอธิการบดี
    • กองการเจ้าหน้าที่
    • กองกลาง
    • กองแผนงาน
    • กองคลัง
    • กองพัสดุ
    • งานวิเทศสัมพันธ์
    • ศูนย์สารสนเทศ
    • ศูนย์สัมมนาและฝึกอบรม
    • ศูนย์ประสานงานการประกันคุณภาพการศึกษา
    • สำนักงานสภามหาวิทยาลัย
    • สถานตรวจสอบภายใน
  • สำนักทะเบียนและวัดผล
  • สำนักเทคโนโลยีการศึกษา
  • สำนักบริการการศึกษา
  • สำนักวิชาการ
  • สำนักบรรณสารสนเทศ
  • สำนักพิมพ์
  • สำนักการศึกษาต่อเนื่อง
  • สำนักคอมพิวเตอร์
  • สำนักบัณฑิตศึกษา
  • สถาบันวิจัยและพัฒนา
  • ศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์แห่งชาติ

สาขาวิชาที่เปิดสอน[แก้]

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดทำการเรียนการสอนทั้งในระดับประกาศนียบัตร, ปริญญาบัณฑิต, ประกาศนียบัตรบัณฑิต, และปริญญามหาบัณฑิต กระจายไปตามสาขาวิชาต่าง ๆ โดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีสาขาวิชาทั้งหมด 12 สาขาวิชา (เป็นหน่วยงานตามประกาศกระทรวงฯ 10 สาขาวิชา เป็นหน่วยงานภายใน 2 สาขาวิชา) ดังนี้

  • สาขาวิชานิติศาสตร์
  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์
  • สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • สาขาวิชาศิลปศาสตร์
  • สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

หมายเหตุ: สาขาวิชาเทียบเท่ากับคณะวิชาของมหาวิทยาลัยทั่วไป

โครงการเรียนล่วงหน้า[แก้]

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ยังเปิดการเรียนทางไกลให้สำหรับนักเรียนหรือบุคคลที่ต้องการเรียนล่วงหน้าได้โดยไม่ต้องมีวุฒิการศึกษา ไม่ต้องสมัครเป็นนักศึกษาในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งก็ได้ เมื่อสอบผ่านแล้วผู้เรียนยังสามารถ โอนชุดวิชาที่เรียนผ่านเข้าเป็นชุดวิชาในหลักสูตรที่ต้องการศึกษาในภายภาคหน้าได้ ซึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • โครงการสัมฤทธิบัตร (สำหรับชุดวิชาในหลักสูตรปริญญาตรี)
  • โครงการสัมฤทธิบัตรบัณฑิต (สำหรับชุดวิชาในหลักสูตรปริญญาโท)
    2024 มหาวิทยาลัย สุโขทัย ธร ร มา ธิ ราช จ นนทบุรี
    อาคารวิชาการ 3 (ตึกด้านขวามือ) สถานที่ตั้งที่ทำการสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์[แก้]

ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ศวช.) เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัย โดยเริ่มเปิดศูนย์วิทยพัฒนามหาวิทยาลัยฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแห่งแรกในปี พ.ศ. 2534

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ทั้งสิ้น 10 ศูนย์ กระจายไปตามจังหวัดต่าง ๆ ครบทุกภาคของประเทศไทย ดังนี้

  • ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ. จังหวัดลำปาง
  • ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ. จังหวัดสุโขทัย
  • ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ. จังหวัดนครสวรรค์
  • ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ. จังหวัดอุดรธานี
  • ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ. จังหวัดอุบลราชธานี
  • ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ. จังหวัดนครนายก
  • ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ. จังหวัดเพชรบุรี
  • ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ. จังหวัดจันทบุรี
  • ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ. จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ. จังหวัดยะลา

ศูนย์บริการการศึกษาในต่างประเทศ[แก้]

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดการศึกษาสำหรับคนไทยในต่างประเทศโดยได้รับความร่วมมือจากกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ สำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงแรงงาน เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาตลอดชีวิตให้กับคนไทยในต่างประเทศ ได้เพิ่มพูนความรู้และเพิ่มคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีการจัดการศึกษาสำหรับคนไทยในประเทศต่างประเทศ ดังนี้

  • ศูนย์บริการการศึกษามสธ. ประเทศสิงคโปร์
  • ศูนย์บริการการศึกษามสธ. ประเทศมาเลเซีย
  • ศูนย์บริการการศึกษามสธ. ประเทศไต้หวัน
  • ศูนย์บริการการศึกษามสธ. ประเทศซาอุดีอาระเบีย
  • ศูนย์บริการการศึกษามสธ. ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
  • ศูนย์บริการการศึกษามสธ. ฮ่องกง
  • ศูนย์บริการการศึกษามสธ. ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (เมืองดูไบ)

ทั้งนี้นักศึกษาจะต้องเดินทางมาเข้ารับการฝึกอบรมชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ หรือชุดวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติ ณ สถานที่ที่มหาวิทยาลัยฯ จัดให้โดยใช้เวลาในการฝึกอบรมประมาณ 4–5 วัน นอกจากประเทศ/เมืองที่มหาวิทยาลัยยังมีการให้บริการจัดสอบในต่างประเทศ

รายนามอธิการบดี[แก้]

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีอธิการบดีมาแล้ว 6 คน และ รักษาการแทนอธิการบดี 6 คน ดังรายนามต่อไปนี้

รายนามอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง 1. ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสอ้าน

7 มกราคม พ.ศ. 2522 – 7 มกราคม พ.ศ. 2526 (วาระที่ 1) 7 มกราคม พ.ศ. 2526 – 6 มกราคม พ.ศ. 2530 (วาระที่ 2) 7 มกราคม พ.ศ. 2530 – 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 (วาระที่ 3)

2. ศาสตราจารย์ เอี่ยม ฉายางาม

19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 (วาระที่ 1) 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 (วาระที่ 2) 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 (วาระที่ 3)

3. รองศาสตราจารย์ ทองอินทร์ วงศ์โสธร

22 มีนาคม พ.ศ. 2543 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547

4. ศาสตราจารย์ ปรัชญา เวสารัชช์

1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551

5. รองศาสตราจารย์ ปราณี สังขะตะวรรธน์

30 มิถุนายน พ.ศ. 2551 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี)

6. รองศาสตราจารย์ สมจินต์ สันถวรักษ์

30 มิถุนายน พ.ศ. 2555 – 31 มกราคม พ.ศ. 2556 (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี) 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2560 (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี)

7. รองศาสตราจารย์ ชัยเลิศ พิชิตพรชัย

31 มกราคม พ.ศ. 2556 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559

8. รองศาสตราจารย์ ภาณุมาศ ขัดเงางาม

25 มีนาคม พ.ศ. 2560 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2561 (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้แทนสภาวิชาการ รักษาการแทนอธิการบดี)

9. ศาสตราจารย์ ประสาท สืบค้า

23 มีนาคม พ.ศ. 2561 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี)

10. รองศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา

1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี)

11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พนมพัทธ์ สมิตานนท์

1 มกราคม พ.ศ. 2567 (กรรมการสภามหาวิทยาลัย รักษาการแทนอธิการบดี)

รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย[แก้]

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีนายกสภามหาวิทยาลัยมาแล้ว 5 คน และทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัย 2 คน ดังรายนามต่อไปนี้

รายนามนายกสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง 1. ศาสตราจารย์กิตติคุณ เกษม สุวรรณกุล

24 ตุลาคม พ.ศ. 2521 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2523 (วาระที่ 1) 21 เมษายน พ.ศ. 2524 – 20 เมษายน พ.ศ. 2526 (วาระที่ 2) 5 ตุลาคม พ.ศ. 2526 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2528 (วาระที่ 3) 13 ธันวาคม พ.ศ. 2528 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2530 (วาระที่ 4) 14 ตุลาคม พ.ศ. 2542 – 22 กันยายน พ.ศ. 2544 (วาระที่ 5) 22 กันยายน พ.ศ. 2544 – 21 กันยายน พ.ศ. 2546 (วาระที่ 6) 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 (วาระที่ 7)

2. ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสอ้าน

9 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 (วาระที่ 1) 30 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (วาระที่ 2) 26 มกราคม พ.ศ. 2552 – 25 มกราคม พ.ศ. 2554 (วาระที่ 3) 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 – 21 กันยายน พ.ศ. 2563 (วาระที่ 4) 21 กันยายน พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566 (วาระที่ 5)

3. ศาสตราจารย์ ชัยอนันต์ สมุทวณิช

22 กันยายน พ.ศ. 2533 – 21 กันยายน พ.ศ. 2535

4. อาชว์ เตาลานนท์

26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 (วาระที่ 1) 23 มีนาคม พ.ศ. 2538 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (วาระที่ 2) 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 (วาระที่ 3) 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2542 (วาระที่ 4)

5. ศาสตราจารย์ คณิต ณ นคร

พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2557 (ทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัยและอุปนายกสภามหาวิทยาลัย)

6. รองศาสตราจารย์ องค์การ อินทรัมพรรย์

24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

7. นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์

1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน (อุปนายกสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัย)

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย[แก้]

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 มสธ. อยู่ในอันดับที่ 5,571 ของโลก อันดับที่ 265 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 47 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช[แก้]

  • รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อ้างอิง[แก้]

  • มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. คณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  • "ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2016.
  • "ข้อมูลการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา". มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019.
  • มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ลักษณะการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  • ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 1/2560. เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง. หน้า ๓๓. ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐.
  • ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/2561. เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๙๐ ง. หน้า ๖๐. ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑.
  • ราชกิจจานุเบกษา. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" (PDF).. เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๔๙ ง. ๖ มีนาคม ๒๕๖๑.
  • "เรียน ป.ตรี ทางไปรษณีย์...มีอยู่จริง กับ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช". True Digital & Media Platform. 23 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2022.
  • ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521. เล่ม ๙๕ ตอน ๙๙. หน้า ๑. ๒๑ กันยายน ๒๕๒๑. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.