2024 ทำไม การทำบายพาส ถ งเป นทางเล อกส ดท าย

การรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ด้วยการผ่าตัดทำบายพาสหัวใจมีอยู่ 2 วิธีหลัก โดยหนึ่งวิธีคือการผ่าตัดบายพาสหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม (Off-Pump CABG) หรือหัวใจไม่หยุดเต้นนั้นเหมาะสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีอัตราเสี่ยงสูง ผู้ป่วยที่มีหลายโรคแทรกซ้อน โดยมีข้อดีดังนี้

2024 ทำไม การทำบายพาส ถ งเป นทางเล อกส ดท าย

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคหัวใจที่เกิดจากการตีบและแข็งตัวของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง มักเป็นผลจากผนังหลอดเลือดมีไขมันเกาะ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความเสื่อมของร่างกายและความเสี่ยง เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง, การสูบบุหรี่จัด, โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, ความอ้วน, การขาดการออกกำลังกาย

อาการแสดง จะเจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้าย บางรายร้าวขึ้นไปตามคอ อาการเป็นมากขึ้นเมื่อออกแรง หลังจากนั่งพักอาการจะดีขึ้น ในรายที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบมากจนตัน จะทำให้มีการขาดเลือดอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง กระสับกระส่าย เหงื่อออกตัวเย็น ถ้านำส่งโรงพยาบาลไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้

การรักษา ขึ้นอยู่กับอาการผู้ป่วย อาจจะรักษาโดยการใช้ยา รักษาโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจและใส่ขดลวดในกรณีที่เหมาะสม หรือรักษาโดยการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โดยการสร้างทางเบี่ยงข้ามส่วนที่อุดตันของเส้นเลือดซึ่งจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น อาการขาดเลือดจะลดลงหรือหายไปและหัวใจจะทำงานได้ดีขึ้น

การผ่าตัดบายพาส (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG) เป็นการผ่าตัดต่อเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ เพื่อทำทางเบี่ยงเสริมหลอดเลือดบริเวณที่ตีบหรือตันทำให้เลือดผ่านส่วนที่ตีบหรือตันได้ดีขึ้น ส่งผลทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น

ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการตรวจรักษา

  1. มีอาการปวดเพิ่มขึ้นหลังบริหารข้อเท้า
  2. มีอาการชา เนื่องจากการรัดด้วยผ้ายืดเป็นเวลานาน

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  • ฝึกการหายใจ (Breathing exercise)
  • ฝึกการหายใจแบบปากจู๋ (pursed lip breathing exercise)
  • ฝึกการไอ (Coughing training)
  • ฝึกการใช้สไปโรมิเตอร์ (Incentive spirometer)
  • การออกกำลังกาย

การปฏิบัติตน

ข้อบ่งชี้ในการหยุดออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

  1. หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
  2. รู้สึกเหนื่อยล้ามาก มีอาการเจ็บหน้าอกขณะออกกำลัง
  3. อัตราชีพจรเพิ่มมากกว่า 20 - 30 ครั้งต่อนาที
  4. ความดันโลหิตลดลงมากกว่า 10 มิลลิเมตรปรอท
  5. ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้ามืด สับสน คลื่นไส้ เขียวคล้ำ
  6. ในช่วงแรก ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ตื่นเต้น กิจกรรมที่มีความเสี่ยง ทำให้หัวใจเต้นเร็ว

แนวทางการปฏิบัติตน หลังผ่าตัดหัวใจ ในระยะ 3 เดือนแรก

1. ฝึกการหายใจ (Breathing exercises) อย่างถูกวิธี

1.1 ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด เพิ่มความยืดหยุ่นของการขยายตัวของผนังทรวงอก เพิ่มการระบายอากาศและการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน ป้องกันภาวะปอดแฟบ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อในการหายใจ เพิ่มการผ่อนคลาย เพิ่มความสามารถการทำงานในชีวิตประจำวัน

1.2 ขั้นตอนการฝึก

1.2.1 ให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงที่ข้างเตียง หรือช่วยให้อยู่ในท่านอนศีรษะสูง งอเข่าสองข้างเล็กน้อย

1.2.2 ใช้มือทั้งสองข้างจับที่ท้องจะได้รู้สึกเวลาหน้าอกขยายจะบ่งชี้ว่าปอดขยายตัว

1.2.3 ขณะหายใจเข้า ให้สูดลมหายใจเข้าทางจมูกช้าๆ ลึกๆ (หน้าท้องขยาย/ท้องป่อง)

1.2.4 จากนั้นหายใจออก โดยการค่อยๆผ่อนลมหายใจออกทางปาก (หน้าท้องแฟบ)

1.2.5 แนะนำให้ปฏิบัติบ่อยๆ เท่าที่จะทำได้อย่างน้อย 5 - 10 ครั้งทุกชั่วโมง

1.2.6 ความถี่ในการฝึก ควรทำวันละ 6 - 10 ครั้งติดต่อกัน ประมาณ 5

2024 ทำไม การทำบายพาส ถ งเป นทางเล อกส ดท าย

1.2.7 กรณีหลังผ่าตัดช่วงแรก อาจจะต้องแนะนำให้ผู้ป่วยประคองแผล โดยการใช้หมอนใบเล็กวางแนบสนิทบริเวณรอยแผลผ่าตัด จากนั้นใช้มือกดให้ แน่น เพื่อให้เกิดแรงกระชับ เป็นการลดแรงดันและควบคุมความเจ็บปวดขณะฝึกการหายใจ

2024 ทำไม การทำบายพาส ถ งเป นทางเล อกส ดท าย
2. ฝึกการหายใจแบบปากจู๋ (Pursed lip breathing exercises)

2.1 เป็นเทคนิควิธีการฝึกการหายใจที่สำคัญอย่างมาก เพื่อลดภาวะหลอดลมตีบหรือเกร็ง ประโยชน์ของเทคนิคนี้ ทำให้ลมมีการย้อนกลับไปในดันหลอดลมที่ตีบแคบให้ขยายตัวออก ทำให้อากาศสามารถเข้าออกอย่างช้าๆ ได้มากขึ้น ช่วยลดอาการหอบเหนื่อย และช่วยผ่อนคลาย

2.2 ขั้นตอนการฝึก

2.2.1 นั่งพิงพนักหรือนอนหัวสูง หรือนั่งโน้มตัวมาด้านหน้า

2.2.2 ให้หายใจเข้าทางจมูกและออกทางปากปกติ เป็นจำนวน 2 - 3 ครั้ง

2.2.3 ให้หายใจเข้าเต็มที่ปิดปาก จากนั้นให้หายใจออกช้าๆ ให้ลมดันกระพุ้งแก้มให้ป่องออกมา จากนั้นค่อยๆ เปิดปากเป็นลักษณะปากจู๋ ให้ลมค่อยๆ ออกมา นับ 1-2-3-4

2.2.4 ให้ทำจำนวน 2 - 3 รอบ สลับกับหายใจปกติ ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น

2024 ทำไม การทำบายพาส ถ งเป นทางเล อกส ดท าย
3. ฝึกการไออย่างถูกวิธี (Coughing training)

3.1 การไอเป็นเทคนิคการรักษาช่วยขับเสมหะออกมาจากหลอดลมได้

3.2 ขั้นตอนการฝึก

3.2.1 ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือท่านอนศีรษะสูง งอเข่าสองข้างเล็กน้อย

3.2.2 ก่อนฝึกไอแนะนำให้ผู้ป่วยประคองแผลโดยการใช้หมอนใบเล็กวางแนบสนิทบริเวณรอยแผลผ่าตัด จากนั้นใช้มือกดให้แน่น เพื่อให้เกิดแรงกระชับ เป็นการลดแรงดันและควบคุมความเจ็บปวดขณะไอ

3.2.3 ขั้นตอนต่อมาแนะนำให้ผู้ป่วยสูดลมหายใจเข้าลึกๆทางจมูก สลับกับหายใจออกโดยการค่อยๆผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ ทำซ้ำ 3 ครั้ง

3.2.4 จากนั้นให้หายใจเข้าลึกเต็มเต็มที่ กลั้นหายใจไว้สักครู่ และไอออกมาอย่างแรงและเร็วทันที ตามด้วยการหายใจเข้าออกตามปกติ

4. การใช้ Triflo อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ

4.1 เป็นชุดช่วยบริหารปอดใช้สำหรับลดภาวะแทรกซ้อนก่อนและหลังการผ่าตัด ป้องกันและลดอาการปอดอักเสบ ปอดบวมหรือสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายหรือนอนบนเตียงเป็นเวลานานๆ เครื่องนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยได้ฝึกการหายใจเข้าลึกๆ อย่างช้าๆ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ และช่วยให้การทำงานของปอดเป็นปกติ 4.2 ขั้นตอนการใช้ Triflo

4.2.1 ให้ผู้ป่วยนั่งหลังตรง ถือเครื่องมือไว้ระดับอก โดยให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าลึกๆ แล้ว ผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ประมาณ 2 - 3 ครั้ง

4.2.2 ค่อยๆ ดูด จนกระทั่งลูกบอลลอยขึ้นทั้ง 3 ลูก ดูดขึ้นค้างไว้ ประมาณ 3 - 5 วินาที (นับ 1 - 5) หรือเท่าที่ร่างกายจะสามารถทำได้ แล้วผ่อนลมหายใจออกทำเช่นนี้ 10 - 20 ครั้ง วันละ 3 - 4 รอบ (พยายามให้ผู้ป่วยดูดได้อย่างน้อยวันละ 100 ครั้ง/วัน ก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอดได้ดีขึ้น)

4.2.3 กรณีนั่งหลังตรงไม่ได้ ให้ดูดท่านอนได้ แต่ควรดูดขณะนอนอยู่ในท่าต่างๆ เช่น ท่านอนหงาย ท่าตะแคงซ้าย-ขวา เพื่อให้ปอดขยายได้ทุกทิศทาง

4.2.4 กรณีผู้ป่วยเด็ก ที่ไม่สามารถดูด Triflo ได้ อาจใช้เทคนิคโดยการเป่าลูกโป่ง หรือกระตุ้นให้ผู้ป่วยร้อง