1000เพข น พ นธ ภาค 2 เต ม เร อง

วิเชียร เต็มทอง มีชะตากรรมไม่ต่างจากชาวอีสานของไทยที่ต้องเผชิญกับความยากจน และเลือกเดินทางไปอิสราเอลเพื่อหางานที่ได้ค่าตอบแทนดีกว่า

  • Author, โจนาธาน เฮด
  • Role, ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • 19 ธันวาคม 2023

"นี่ผมโชคดีหรือโชคร้ายกันแน่" วิเชียร เต็มทอง ตัวประกันชาวไทยที่รอดชีวิตกลับมาจากอิสราเอลรำพึงรำพันกับคำถาม "เดาว่า ผมโชคดีนะ เพราะผมยังอยู่ที่นี่ และยังมีชีวิตอยู่"

แรงงานเกษตรชาวไทยวัย 37 ปี คนนี้ เป็นหนึ่งใน 23 ตัวประกันชาวไทยที่กลุ่มฮามาสปล่อยตัวเมื่อเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ตอนนี้วิเชียรเดินทางกลับมาประเทศไทย และอาศัยอยู่ในห้องเช่าเล็ก ๆ กับภรรยาที่ชื่อว่า มาลัย ในเขตอุตสาหกรรมทางตอนใต้ของกรุงเทพ ฯ

ถึงแม้ว่าเขารอดชีวิตมาได้ แต่ไม่ใช่สำหรับชายอิสราเอล 3 คนที่วิเชียรพบในที่คุมขัง เพราะพวกเขาถูกทหารอิสราเอลยิงเสียชีวิตในฉนวนกาซา ด้วยความเข้าใจผิด เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

1000เพข น พ นธ ภาค 2 เต ม เร อง

คำบรรยายวิดีโอ,

ตัวประกันไทยเล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ชีวิตตลอด 51 วัน ในระหว่างถูกฮามาสคุมขังในอุโมงค์ใต้ฉนวนกาซา

วิเชียรเพิ่งเดินทางไปอิสราเอลเมื่อช่วงปลายเดือน ก.ย. ด้วยเหตุผลเดียวกับแรงงานไทยหลาย ๆ คนที่มาจากพื้นที่ยากจนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย นั่นคือ การแสวงหางานในฟาร์มเกษตรของอิสราเอลซึ่งให้ค่าตอบแทนดีกว่า แต่หลังจากย้ายไปทำงานในไร่อะโวคาโดชุมชนการเกษตร "ฟาร์ อาซาร์" (Kfar Aza) ได้เพียง 9 วัน เขาตื่นขึ้นมาในเช้าวันที่ 7 ต.ค. ซึ่งเป็นเช้าวันแรกในไร่นั้น พร้อมกับเสียงปืนที่ดังขั้น

เพื่อนแรงงานคนไทยด้วยกันให้ความมั่นใจกับเขาว่า มันเป็นเรื่องปกติของที่นั่น แต่เมื่อเสียงปืนดังขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึงช่วงเที่ยงวัน พวกเขาจึงตัดสินใจหลบเข้าไปขังตัวเองในอาคารแห่งหนึ่ง แต่ พบว่ากลุ่มชายติดอาวุธบุกเข้ามา ก่อนที่จะล็อกประตู หนึ่งในนั้นถือระเบิดมือ และเริ่มทุบตีคนไทยด้วยกระบอกปืนไรเฟิล

"ผมหมอบลงแบบนี้ แล้วตะโกน ไทยแลนด์ ไทยแลนด์ ไทยแลนด์" วิเชียรเล่า แล้วทำท่าว่าเขายกมือขึ้นเหนือหัว "แต่พวกเขาก็ยังทุบตีผมต่อไป ผมทำได้แค่เพียงก้มหน้า ผู้ชายคนหนึ่งเหยียบลงบนตัวผม ผมจึงคลานไปหลบที่ใต้เตียง ผมพยายามจะส่งข้อความไปที่ภรรยาของผม ว่ากำลังโดนจับตัวไป แต่พวกเขาลากขาผมออกมา"

ในที่สุด วิเชียรก็ถูกนำตัวมาไว้ในอุโมงค์ลึกใต้ฉนวนกาซา และถูกคุมขังไว้ที่นั่นเป็นเวลา 51 วัน เขารู้สึกโดดเดี่ยว เพราะเป็นคนไทยคนเดียวและยังสื่อสารภาษาอังกฤษไม่ได้ ดังนั้นการสื่อสารผ่านการวาดมือหรือภาษามือ คือ วิธีการสื่อสารเดียวที่เขาทำได้เท่านั้น

สภาพภายในที่คุมขังแย่มาก ตัวประกันได้รับอาหารเพียงวันละครั้ง บางครั้งมีเพียงเศษขนมปังและอินทผาลัมตากแห้ง 1 เม็ด

“เวลาผมทุกข์ใจ พวกเขา [ตัวประกันคนอื่น ๆ ] จะเข้ามาคุยกับผม เพื่อทำให้สงบสติลงบ้าง แต่ผมไม่เข้าใจพวกเขา วิธีเดียวที่ทำให้ผมผ่านแต่ละวันไปได้คือ คิดถึงหน้าของลูก ๆ เมีย และแม่ของผม”

“เมื่อไม่มีอะไรทำ ผมจะนั่งพิงผนังและทำสมาธิ ผมคิดอยู่เรื่องเดียวซ้ำ ๆ คือ ผมต้องรอด”

วิเชียรยังจำตัวประกันคนอื่น ๆ ที่ถูกคุมขังอยู่ในอุโมงค์เดียวกันกับเขาได้ นั่นคือ ชายหนุ่มอิสราเอล 3 คน ชื่อ โยธาม ฮาอิม, ซาเมอร์ ทาลาลกา, และ อาลอน ชามริซ ซึ่งยังคงถูกจองจำในวันที่เขาถูกปล่อยตัวออกมา แต่สุดท้ายชายหนุ่มอิสราเอลทั้ง 3 คน กลับเสียชีวิตขณะออกมาแล้วโบกผ้าขาว เพราะถูกยิงโดยทหารอิสราเอลที่เกิดอาการตื่นตระหนก เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

1000เพข น พ นธ ภาค 2 เต ม เร อง

ที่มาของภาพ, HOSTAGE AND MISSING FAMILIES FORUM

คำบรรยายภาพ,

(จากซ้ายไปขวา) เอลอน ชามริซ, โยธาม ฮาอิม และ ซาเมอร์ ทาลาลกา

วิเชียรเพิ่งทราบข่าว และเห็นภาพถ่ายตัวประกันชาวอิสราเอลที่เสียชีวิต เมื่อทีมข่าวบีบีซีเดินทางมาถึงเพื่อสัมภาษณ์เขา

“ในทุก ๆ วัน ผมและเพื่อนชาวต่างชาติต่างพยายามให้กำลังใจกันและกัน เราจะจับมือแล้วก็ชนกำปั้น พวกเขาจะให้กำลังใจผมด้วยการสวมกอดและตบที่ไหล่ แต่เราสื่อสารกันผ่านภาษามือเท่านั้น” เขาย้อนเล่าให้ฟังขณะที่เขายังถูกจับตัวไว้ในอุโมงค์ใต้ดิน

เขาทราบว่า โยธามเป็นมือกลอง แซมมี่ชอบขี่มอเตอร์ไซค์และทำงานในฟาร์มเลี้ยงไก่ วิเชียรพยายามสอนคำไทยให้พวกเขาบ้าง

วิเชียร บอกว่า ชาวอิสราเอล 2 คนนี้ ถูกขังอยู่ในอุโมงค์พร้อมกับเขาตั้งแต่วันแรก ส่วนคนที่ 3 ถูกจับมาคุมขังด้วยกันในวันที่ 9 ต.ค. ที่ผ่านมา

เขายังบอกอีกว่า ผู้ที่ควบคุมตัวไม่ค่อยเคร่งครัดกับเขามากนัก แต่ในช่วงสัปดาห์แรก ตัวประกันชาวอิสราเอลถูกฟาดด้วยสายไฟ

“พวกเรารู้สึกหิวตลอดเวลา ได้แค่จิบน้ำบ้างเท่านั้น น้ำขวดใหญ่ต้องอยู่ให้ได้ 4-5 วัน แต่ถ้าเป็นขวดเล็กก็ต้องอยู่ให้ได้สัก 2 วัน”

วิเชียรต้องทนอยู่ในสภาพไม่ได้อาบน้ำ และได้รับอนุญาตให้นอนเฉพาะเวลากลางวัน แต่ห้ามนอนในเวลากลางคืน พวกเขาอยู่ในที่ชื้นแฉะไปหมด ไม่มีที่ใดในอุโมงค์เป็นที่แห้ง

วิเชียรพยายามทำตัวให้ยุ่งด้วยการทำความสะอาดบริเวณที่คุมขัง เขายังช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของกลุ่มฮามาสเคลื่อนย้ายเศษหินภายในอุโมงค์ที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือนของการทิ้งระเบิดด้านบน

1000เพข น พ นธ ภาค 2 เต ม เร อง

คำบรรยายภาพ,

ภาพวิเชียร ภรรยา และลูก ๆ ทั้ง 2 คน เขาบอกว่าจะกลับไปอิสราเอลอีกหากมีโอกาส เพื่อหาและเก็บเงินให้ได้มากกว่านี้

ตัวประกันทั้ง 4 คนถูกย้ายไปยังอุโมงค์แห่งใหม่หลังถูกจองจำได้ 1 เดือน “ประมาณ 1 ทุ่ม เขาก็พาพวกเราออกมา แต่เมื่อได้ขึ้นมาจากอุโมงค์ ใจของผมก็อยากถอยกลับไปยังอุโมงค์เหมือนเดิม"

“เห็นแสงจ้าจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลไปทั่วบริเวณ ผมได้ยินเสียงโดรนบินไปทั่ว และก็เสียงปืน พวกเราต้องวิ่งเป็นเวลา 20 นาที เพื่อพยายามหลีกเลี่ยงโดรนต่าง ๆ”

วิเชียร บอกว่า ผู้คุมคอยกระตุ้นให้กับนับไล่วันตามปฏิทิน และยังนำนาฬิกามาให้ด้วย เพราะเขามักจะถามเวลากับพวกผู้คุมอยู่เสมอ

อยู่ ๆ ประสบการณ์อันแสนทรมานของเขาก็สิ้นสุดลงอย่างกะทันหัน “เขาเดินมาชี้ที่ผม แล้วพูดว่า ยู ยู โก โฮม ไทยแลนด์ [คุณ คุณ กลับบ้าน ประเทศไทย]” เขาเห็นแสงตะวันเป็นครั้งแรกในรอบ 51 วัน ก่อนจะถูกส่งมอบตัวให้เจ้าหน้าที่กาชาด แล้วถูกนำตัวขึ้นรถข้ามแดนไปยังอียิปต์

“ตลอดเวลาที่ผมอยู่ในอุโมงค์ ผมไม่เคยหลั่งน้ำตาเลย แต่พอได้ออกมา และเห็นคนไทยอีก 2 คนที่ถูกปล่อยตัวมาเหมือนกัน ผมก็สวมกอดเขาแล้วก็ร้องไห้ เรากอดกันเป็นกลุ่มแล้วนั่งลงพร้อมกับน้ำตาที่ไหลออกมา เฝ้าถามตัวเองว่าพวกเรารอดกันมาได้ไง”

“เมื่อผมกลับถึงไทย พวกเขาตั้งชื่อให้ผมใหม่ด้วยนะ ชื่อว่า บุญรอด กับ บุญหลาย”

อย่างไรก็ดี แม้ว่าวิเชียรยังไม่มีโอกาสได้เงินที่อิสราเอลเลยก็ตาม แต่เขายังต้องใช้หนี้อีก 230,000 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางไปทำงานที่นั่น

ปัจจุบัน วิเชียรได้งานที่โรงงานเดียวกันกับภรรยาของเขา ได้ค่าตอบแทนต่ำ เพียงวันละ 800 บาท พวกเขาไม่สามารถเก็บออมได้มากนัก ขณะที่ลูก ๆ ต้องอาศัยอยู่กับตายายของพวกเขาที่บ้าน จังหวัดบุรีรัมย์

ในบางคราว วิเชียรเผชิญกับปัญหานอนไม่หลับและผวาตื่นเรียกชื่อแม่ แต่เขาบอกว่าจะกลับไปอิสราเอลอีกหากมีโอกาส เพื่อหาและเก็บเงินให้ได้มากกว่านี้