กล อง ม อ ถ อ vs กล อง mirrorless

ขณะเลือกกล้องตัวแรก คุณอาจได้เห็นคำว่า “ฟูลเฟรม” และ “APS-C” มาแล้วหลายครั้ง หรือคุณอาจกำลังสงสัยว่าควรเปลี่ยนจากกล้อง APS-C มาใช้กล้องฟูลเฟรมดีหรือไม่ กล้องทั้งสองรุ่นมีความแตกต่างกันอย่างไร และส่งผลอย่างไร มาหาคำตอบได้จากบทความนี้

1. 2. 3. 4. 5. 6.

ในกล้องดิจิตอล เซนเซอร์ภาพคือชิ้นส่วนของกล้องที่ทำหน้าที่รับแสงที่ผ่านเข้ามาทางเลนส์ และแปลงแสงเหล่านั้นให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สามารถดู วิเคราะห์ หรือจัดเก็บได้ เซนเซอร์ภาพมีรูปทรงและขนาดแตกต่างกันไป แต่จะมีรูปแบบมาตรฐานบางอย่างที่บริษัทผู้ผลิตกล้องนิยมใช้

ไม่ว่าคุณจะซื้อกล้อง DSLR หรือกล้องมิเรอร์เลส รูปแบบที่คุณจะได้พบเห็นมากที่สุดสองชนิดคือ “ฟูลเฟรม” และ “APS-C” ในขณะที่กล้องแต่ละรุ่นอาจมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่โดยทั่วไป ขนาดของเซนเซอร์ภาพจะเป็นดังนี้ ฟูลเฟรม: 36 x 24 มม. APS-C (Canon): 22.3 x 14.8 มม.

ฟูลเฟรม 35 มม.

“ฟูลเฟรม” มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ฟูลเฟรม 35 มม.” และมีต้นกำเนิดมาจากฟิล์ม 35 มม. ที่ใช้ในกล้องฟิล์ม หากคุณวัดขนาดฟิล์มเนกาทีฟ 35 มม. คุณจะพบว่าพื้นที่ภาพคือ 36 x 24 มม. ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับเซนเซอร์ภาพในกล้องฟูลเฟรม

นอกจากนี้ ฟิล์ม 35 มม. เองยังถูกดัดแปลงมาจากม้วนฟิล์ม 35 มม. ที่ใช้ในโรงภาพยนตร์อีกด้วย อ่านความเป็นมาและเรียนรู้เกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพยนตร์ได้ที่ 6 สิ่งเกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพยนตร์ที่นักสร้างวิดีโอมืออาชีพควรทราบ

แบบ APS-C

“APS-C” ย่อมาจาก “Advanced Photo System type-C” มีที่มาจากรูปแบบ C (“Classic”) ของรูปแบบฟิล์มเนกาทีฟ APS ที่ผู้ผลิตนำมาใช้เป็นครั้งแรกในปี 1996 เพื่อช่วยให้ผู้ใช้กล้องทั่วไปสามารถเข้าถึงกล้องถ่ายรูปได้มากขึ้น เมื่อการถ่ายภาพดิจิตอลได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้ผลิตกล้องจึงนำเซนเซอร์ภาพแบบดิจิตอลที่มีขนาดใกล้เคียงกันมาใช้

ข้อพิจารณาที่ 1: ผลกระทบต่อขนาดของกล้องและเลนส์

เมื่อคุณถอดเลนส์ออกจากกล้องมิเรอร์เลสบางรุ่น คุณจะเห็นเซนเซอร์ภาพได้ทันที และจะเห็นความแตกต่างของขนาดได้อย่างชัดเจนเมื่อวางกล้องฟูลเฟรมและกล้องมิเรอร์เลส APS-C เทียบกัน สำหรับกล้อง DSLR เซนเซอร์ภาพจะอยู่ด้านหลังกระจกแต่ขนาดก็จะแตกต่างเช่นกัน

ขนาดของกล้อง

ผลกระทบจากขนาดของเซนเซอร์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีคือขนาดของกล้อง เพราะไม่ว่าอย่างไร ตัวกล้องก็ต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะบรรจุเซนเซอร์และส่วนประกอบอื่นๆ เข้าไปได้! และในกล้อง DSLR ขนาดเซนเซอร์ยังส่งผลต่อขนาดของกระจกที่อยู่ด้านหน้าเซนเซอร์และเพนทาปริซึมหรือเพนทามิเรอร์ที่อยู่ด้านบนด้วย ซึ่งจะทำให้มีขนาดและน้ำหนักที่มากขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้องฟูลเฟรมมีขีดจำกัดด้านความเบาและขนาดที่กะทัดรัด เมื่อเทียบกับกล้องรุ่นที่มีเซนเซอร์ภาพแบบ APS-C

แถวหลัง: กล้อง DSLR EOS 6D Mark II (ฟูลเฟรม) และ EOS 200D II (APS-C) แถวหน้า: กล้องมิเรอร์เลส EOS R6 (ฟูลเฟรม) และ EOS M50 Mark II (APS-C) กล้อง APS-C สามารถทำให้มีขนาดเล็กกว่าและเบากว่ากล้องฟูลเฟรมได้

ขนาดของเลนส์

ภาพที่ฉายมาจากเลนส์จะเป็นรูปวงกลม เซนเซอร์ภาพแบบฟูลเฟรมจำเป็นต้องใช้วงภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าเซนเซอร์ภาพ APS-C ซึ่งหมายความว่า ชิ้นส่วนกระจกภายในเลนส์จะต้องมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่เซนเซอร์ทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบกัน วงภาพที่มีขนาดเล็กกว่ามากของเซนเซอร์ภาพ APS-C จะทำให้เลนส์สำหรับกล้อง APS-C มีขนาดที่เล็กกว่าและน้ำหนักเบากว่า

ข้อนี้ส่งผลต่อการตัดสินใจของคุณอย่างไร

ขนาดของเซนเซอร์ภาพมีผลต่อขนาดและน้ำหนักของตัวกล้องและเลนส์ และยังส่งผลต่อต้นทุนในการผลิตด้วย หากคุณต้องการกล้องที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา และ/หรือมีงบประมาณที่น้อยกว่า คุณอาจพบว่าตนเองสนใจเลือกดูกล้องรุ่น APS-C มากกว่า

ข้อพิจารณาที่ 2: ประสิทธิภาพในสภาวะแสงน้อยและความไวแสง ISO สูง

ขนาดของเซนเซอร์ยังส่งผลต่อขนาดพิกเซลที่เป็นไปได้ด้วย ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในสภาวะแสงน้อยของกล้อง

ด้านล่างนี้คือภาพประกอบอย่างง่ายที่แสดงให้เห็นจำนวนพิกเซลที่เท่ากันในเซนเซอร์ภาพ APS-C และเซนเซอร์ภาพฟูลเฟรมจะเป็นอย่างไร สังเกตเห็นหรือไม่ว่าพื้นที่ที่ใหญ่กว่าของเซนเซอร์ฟูลเฟรมทำให้พิกเซลมีขนาดใหญ่ขึ้น

พิกเซลบนเซนเซอร์ภาพคือ Photosite ที่ทำหน้าที่เก็บรวบรวมแสง ซึ่งจะถูกนำมาแปลงเป็นข้อมูล ข้อมูลนี้ไม่ได้ใช้ในการสร้างภาพเท่านั้น แต่ยังใช้ในกระบวนการต่างๆ เช่น การวัดแสงหรือวัดการเปิดรับแสง หรือในการคำนวณของ Dual Pixel CMOS AF ด้วย* ภายใต้สภาวะแสงแบบเดียวกัน ในทางเทคนิค พื้นที่ของ Photosite ที่มีขนาดใหญ่กว่าจะสามารถรวบรวมแสงได้มากกว่า จึงเป็นการเพิ่มความไวแสงและลดอัตราสัญญาณเสียงต่อคลื่นรบกวน ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดจุดรบกวนที่ความไวแสง ISO สูง น้อยลง รวมถึงมีประสิทธิภาพ AF ในสภาวะแสงน้อยโดยรวมดีขึ้นด้วย*

* สำหรับกล้องมิเรอร์เลสและกล้อง DSLR ขณะถ่ายแบบ Live View กล้อง DSLR มีเซนเซอร์ AF แยกกันสำหรับการถ่ายผ่าน OVF

แล้วเซนเซอร์ฟูลเฟรมที่มีจำนวนพิกเซลมากกว่าเป็นอย่างไร

ในความเป็นจริง มีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่างที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในสภาวะแสงน้อย:

- พิกเซลที่เล็กกว่าหมายถึงความละเอียดที่มากกว่า และยังทำให้จุดรบกวนที่เกิดขึ้นดูเล็กลงและเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก

- โครงสร้างของเซนเซอร์ภาพ: เซนเซอร์ภาพทั่วไปจะมีวงจรรอบแต่ละพิกเซล ซึ่งกินพื้นที่บนเซนเซอร์และส่งผลต่อขนาดพิกเซลจริง วงจรและขนาดพิกเซลจริงขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้อง อย่างไรก็ตาม โครงสร้างเซนเซอร์แบบซ้อนกัน เช่น ได้ย้ายวงจรไปไว้ด้านหลังพิกเซล จึงทำให้มีพื้นที่มากขึ้นสำหรับ Photosite ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี: สิ่งต่างๆ เช่น เทคโนโลยีการลดจุดรบกวนและประสิทธิภาพของพิกเซลนั้นมีการพัฒนาอยู่เสมอ

ดังนั้น นอกจากขนาดของเซนเซอร์ภาพแล้ว คุณอาจต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย กล้อง APS-C ระดับไฮเอนด์รุ่นใหม่ๆ อาจมีประสิทธิภาพในสภาวะแสงน้อยที่เทียบเท่าหรือดียิ่งกว่ากล้องฟูลเฟรมระดับต่ำที่จำหน่ายในปีก่อนหน้า

EOS RP (ฟูลเฟรม) ที่ 35 มม., f/4, 1/60 วินาที, ISO 12800

EOS M6 Mark II (APS-C) ที่ 13 มม., f/11, 1/15 วินาที, ISO 12800

ข้อพิจารณาที่ 3: คุณสมบัติการครอป 1.6 เท่า

เซนเซอร์ภาพ APS-C มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เซนเซอร์ครอป” คุณเดาได้หรือไม่ว่าเพราะเหตุใด

มาดูกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเราถ่ายภาพจากจุดเดียวกัน โดยใช้ทางยาวโฟกัสเท่ากัน แต่ใช้เซนเซอร์กล้องที่มีขนาดต่างกัน

สังเกตเห็นหรือไม่ว่ามุมรับภาพที่ถ่ายด้วยเซนเซอร์ APS-C นั้นแคบกว่า ความจริงแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้เหมือนกันกับที่คุณจะได้จากการถ่ายภาพด้วยทางยาวโฟกัสที่ยาวกว่า 1.6 เท่าของกล้องฟูลเฟรม ยกตัวอย่างเช่น หากคุณใช้เลนส์ 50 มม. กับกล้อง APS-C ภาพที่ได้จะมีมุมรับภาพเท่ากับภาพที่ถ่ายที่ระยะ 80 มม. (50 x 1.6) ด้วยกล้องฟูลเฟรม เอฟเฟ็กต์เช่นนี้เรียกว่า “การครอปแบบ APS-C” และ 1.6 เท่าคือ “คุณสมบัติการครอป”

ในบทความนี้ เราจะเรียกทางยาวโฟกัสที่สัมพันธ์กับมุมรับภาพหลังผ่านการครอปแบบ APS-C ว่า “ทางยาวโฟกัสเทียบเท่า”

คุณสมบัตินี้มีความสำคัญเมื่อใด

มุมรับภาพยังขึ้นอยู่กับระยะห่างของคุณจากตัวแบบด้วย ดังนั้น สำหรับตัวแบบทั่วไปส่วนใหญ่ คุณจะไม่เห็นความแตกต่างมากนัก อย่างไรก็ตาม จะเกิดความแตกต่างขึ้นหากคุณชอบถ่ายภาพตัวแบบในระยะใกล้ และหากคุณชอบถ่ายภาพมุมกว้างแบบอัลตร้าไวด์

APS-C: เหมือนคุณใช้เลนส์ที่ยาวกว่าอยู่เสมอ

ด้วยคุณสมบัติการครอปดังกล่าว จึงแทบจะเหมือนว่าคุณมีเลนส์ที่ยาวกว่าโดยอัตโนมัติ เลนส์ 100 มม. ทำงานได้เช่นเดียวกับเลนส์ 160 มม. เลนส์ 200 มม. ทำงานได้เช่นเดียวกับเลนส์ 320 มม. และเลนส์ 400 มม. ทำงานได้เช่นเดียวกับเลนส์ 640 มม. จึงเหมาะสำหรับตัวแบบเช่นสัตว์และสัตว์ป่า ซึ่งระยะที่ไกลกว่านั้นเป็นประโยชน์เสมอ

EOS M50 (กล้อง APS-C) + EF‑M55‑200mm f/4.5‑6.3 IS STM ที่ 187 มม. (เทียบเท่า 299.2 มม.)

คุณไม่มีทางรู้เลยว่าการมีระยะที่เพิ่มขึ้นจะเป็นประโยชน์เมื่อใด แต่สำหรับการถ่ายภาพดอกบัวนี้ในระยะใกล้ด้วยมุมที่โดดเด่นจากอีกฝั่งหนึ่งของสระน้ำนั้น คุณได้ใช้ประโยชน์อย่างแน่นอน! การใช้กล้อง APS-C ร่วมกับเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ในภาพนี้มีน้ำหนักที่เหมาะสำหรับการพกพาเพียง 647 ก. ซึ่งเบากว่าการใช้เลนส์และกล้องฟูลเฟรมที่เทียบเท่ากันในปัจจุบันทุกรุ่นอย่างมาก

โหมดการครอป 1.6 เท่าในกล้องฟูลเฟรมบางรุ่นเป็นอย่างไร

กล้องฟูลเฟรมบางรุ่นมีโหมดครอป 1.6 เท่า ซึ่งช่วยให้คุณสามารถดูและถ่ายภาพโดยใช้เอฟเฟ็กต์การครอปแบบ APS-C ได้ คุณสมบัตินี้เป็นประโยชน์มากเนื่องจากคุณสามารถตรวจสอบองค์ประกอบภาพด้วยเอฟเฟ็กต์ระยะใกล้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องใช้เลนส์ที่ยาวกว่า

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเพียงบางส่วนของเซนเซอร์ภาพเท่านั้นที่จะถูกนำมาใช้ในการบันทึกภาพครอป 1.6 เท่า ภาพที่ได้จึงมีความละเอียดต่ำกว่าความละเอียดสูงสุดของกล้อง ยกตัวอย่างเช่น สำหรับภาพด้านล่าง การใช้โหมดครอป 1.6 เท่าในกล้อง EOS R ความละเอียด 30.3 ล้านพิกเซลทำให้ได้ภาพขนาด 4176 x 2784 เท่ากับประมาณ 11.6 ล้านพิกเซล

ซึ่งคงไม่เป็นปัญหาหากคุณเพียงต้องการแบ่งปันภาพผ่านช่องทางออนไลน์โดยไม่ปรับแต่งมากนัก แต่หากคุณต้องการครอปภาพเพิ่มขึ้นอีกในระหว่างการปรับแต่ง จำนวนพิกเซลที่น้อยกว่าจะจำกัดปริมาณการครอปของคุณ

การครอปที่ 2000 พิกเซลจากภาพที่ถ่ายในโหมดครอป 1.6 เท่า ภาพต้นฉบับถ่ายที่ระยะ 200 มม. ด้วยกล้อง EOS R (ฟูลเฟรม) + EF70-200mm f/4L IS II USM

โดยทั่วไปภาพจะต้องมีขนาดอย่างน้อย 2000 พิกเซลในแนวยาวเพื่อคุณภาพที่ดีที่สุดขณะรับชมผ่านจอแสดงผลส่วนใหญ่ ภาพด้านบนถ่ายในโหมดครอป 1.6 เท่าด้วยกล้อง EOS R และการครอปภาพที่ 2000 พิกเซล (ภาพล่าง) ทำให้ได้ผลลัพธ์ดังภาพบนสุด การครอปเพิ่มอาจทำให้คุณภาพของภาพมีความคมชัดน้อยลงและมีจุดพิกเซลมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งบนหน้าจอขนาดใหญ่

สำหรับกล้องที่มีเซนเซอร์ APS-C ความละเอียด 24 ล้านพิกเซลเช่น EOS M50 คุณจะได้ภาพต้นฉบับที่มีขนาดใหญ่กว่า (6000 x 4000 พิกเซล) ซึ่งการครอปที่ 2000 พิกเซลจะทำให้ตัวนกกินพื้นที่ในเฟรมภาพมากขึ้น อีกตัวเลือกที่มีราคาสูงกว่าคือการใช้เลนส์ที่ยาวกว่า หรือใช้กล้องฟูลเฟรมที่มีจำนวนพิกเซลมากกว่า

คำถามที่พบบ่อย: สามารถใช้เลนส์ APS-C กับกล้องฟูลเฟรมได้หรือไม่

เลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้อง DSLR แบบ APS-C (เลนส์เมาท์ EF-S และ EF-M) จะใช้ไม่ได้กับกล้อง Canon DSLR แบบฟูลเฟรม แม้คุณจะสามารถติดตั้งเลนส์ลงไปได้ แต่วงภาพที่มีขนาดเล็กกว่าจะทำให้เกิดขอบมืดบนเซนเซอร์ภาพฟูลเฟรม กล้องมิเรอร์เลสระบบ EOS R แบบฟูลเฟรมสามารถรองรับเลนส์ RF-S ได้โดยตรง และรองรับเลนส์ EF-S ได้เมื่อใช้กับเมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R แต่จะทำให้คุณต้องเปลี่ยนมาใช้โดยอัตโนมัติ ซึ่งใช้เซนเซอร์ภาพเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้ใช้กล้องฟูลเฟรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คุณจะต้องใช้เลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้องฟูลเฟรม

กล้องฟูลเฟรม: ใช้ประโยชน์จากเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ได้อย่างเต็มที่

ถ่ายที่ระยะ 14 มม. ด้วยกล้อง EOS R5 (ฟูลเฟรม) + RF14-35mm f/4L IS USM

หากต้องการถ่ายภาพมุมกว้างเป็นจำนวนมาก คุณควรลองพิจารณาถึงเลนส์ต่างๆ ที่มีให้เลือก เนื่องจากการครอปแบบ APS-C จะทำให้มุมรับภาพแคบกว่าของกล้องฟูลเฟรมโดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น การติดตั้งเลนส์ 16 มม. ลงบนกล้อง APS-C จะทำให้คุณได้มุมรับภาพเช่นเดียวกับที่ถ่ายที่ 25.6 มม. (16 x 1.6) ด้วยกล้องฟูลเฟรม (“เทียบเท่า 25.6 มม.”)

ซึ่งไม่เป็นปัญหามากนักหากคุณใช้เลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้อง APS-C โดยเฉพาะ เช่น - EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM (สำหรับกล้องซีรีย์ EOS M) - EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM - EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM

เลนส์เหล่านี้มีช่วงทางยาวโฟกัสที่กว้างถึงเทียบเท่า 16 มม. (สำหรับเลนส์ EF-S) หรือเทียบเท่า 17.6 มม. (สำหรับเลนส์ EF-M) และให้ผลลัพธ์ที่ดีอย่างไม่น่าเชื่อ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความท้าทายด้านเทคนิคในการออกแบบเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ให้มีความบิดเบี้ยวน้อยที่สุด หากคุณต้องการมุมที่กว้างขึ้นอีก คุณจะมีตัวเลือกมากกว่าหากใช้กล้องฟูลเฟรม

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของเลนส์มุมกว้างได้ใน พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์

6: เลนส์มุมกว้าง

สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 1: เอฟเฟ็กต์ภาพที่ได้จากเลนส์มุมกว้าง

ดูเคล็ดลับน่ารู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ได้ที่ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์: ชื่อเลนส์มีความหมายอย่างไรและทำไมเลนส์บางรุ่นจึงเป็นสีขาว

ข้อควรรู้: เอฟเฟ็กต์ฟิชอายทรงกลมจะเกิดขึ้นได้เมื่อใช้กล้องฟูลเฟรมเท่านั้น

หากคุณชอบลองใช้เลนส์หลายชนิด หากคุณมีโอกาสได้ใช้เลนส์ฟิชอาย EF8-15mm f/4L Fisheye USM อันเป็นเอกลักษณ์ กล้องฟูลเฟรมจะทำให้คุณได้ภาพที่ไม่เหมือนใครซึ่งไม่สามารถถ่ายได้ด้วยกล้อง APS-C:

EOS R + EF8-15mm f/4L Fisheye USM ที่ 8 มม.

เอฟเฟ็กต์นี้เรียกว่าเอฟเฟ็กต์ฟิชอายทรงกลม และทำให้เห็นฉากที่มุมมอง 180 องศา ซึ่งถ่ายได้ด้วยกล้องฟูลเฟรมเท่านั้น เอฟเฟ็กต์การครอปของกล้อง APS-C จะครอปภาพออกไปจึงได้ภาพที่ไม่เต็มวง

ฟิชอายแบบแนวทแยง: ถ่ายได้ด้วยกล้องฟูลเฟรมและ APS-C

EOS R + EF8-15mm f/4L Fisheye USM ที่ 15 มม.

ไม่ว่าคุณจะใช้กล้อง APS-C หรือกล้องฟูลเฟรม คุณจะสามารถถ่ายภาพให้ดูมีพลังได้ด้วยเอฟเฟ็กต์ฟิชอายแนวทแยง ซึ่งจะเกิดขึ้นที่ระยะประมาณเทียบเท่าฟูลเฟรม 12 มม. เมื่อใช้เลนส์ฟิชอาย

ไม่ใช่แค่ความบิดเบี้ยวอันเป็นเอกลักษณ์เท่านั้น หาคำตอบว่าเลนส์ฟิชอายสามารถถ่ายภาพทิวทัศน์ดวงดาวให้สวยงามได้อย่างไรที่ EF8-15mm f/4L Fisheye USM: เลนส์ที่ผมใช้เป็นประจำในการถ่ายภาพดวงดาว

ข้อพิจารณาที่ 4: ระยะชัดของภาพ

คุณอาจเคยได้ยินว่ากล้องฟูลเฟรมสามารถสร้างระยะชัดที่ตื้นกว่า (เห็นพื้นหลังเบลอ/โบเก้ได้ชัดกว่า) เมื่อเทียบกับกล้อง APS-C สาเหตุหลักข้อหนึ่งของคุณสมบัตินี้คือขนาดของเซนเซอร์ที่ส่งผลต่อระยะการถ่ายภาพของคุณจากตัวแบบ

แต่ก่อนอื่น เราจะมาทบทวนปัจจัยสี่ข้อที่ส่งผลต่อโบเก้ในแบ็คกราวด์/ระยะชัดตื้น:

  1. ระยะห่างระหว่างตัวแบบและแบ็คกราวด์
  2. ค่ารูรับแสง
  3. ทางยาวโฟกัสที่ใช้
  4. ระยะห่างระหว่างกล้องและตัวแบบ

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเราถ่ายภาพด้วยกล้องฟูลเฟรมและ APS-C โดยให้ปัจจัยในข้อ 1) และ 2) เท่ากัน ในภาพด้านล่าง ให้สังเกตขนาดของวงโบเก้ในแบ็คกราวด์และลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป

ทั้งสองภาพนี้ถ่ายด้วยเลนส์ 50 มม. ชนิดเดียวกันที่ f/1.8 เราใช้โหมดครอป 1.6 เท่ากับกล้องฟูลเฟรมเพื่อให้ทั้งสองภาพมีมุมรับภาพเหมือนกัน

กล้องฟูลเฟรมที่ระยะ 50 มม. ในโหมดครอป 1.6 เท่า, f/1.8

กล้อง APS-C ที่ระยะ 50 มม. (เทียบเท่า 80 มม.), f/1.8

วงโบเก้มีขนาดใกล้เคียงกันในทั้งสองภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า หลังจากนำคุณสมบัติการครอปมาใช้ ที่ตำแหน่งการถ่ายภาพและการตั้งค่าเดียวกัน จะไม่เห็นความแตกต่างของระยะชัดระหว่างภาพที่ถ่ายด้วยกล้องฟูลเฟรมและกล้อง APS-C

และจะเกิดอะไรขึ้นหากเราขยับกล้องฟูลเฟรมให้เข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้นเพื่อให้มีขนาดเท่ากับภาพ APS-C แทนที่จะใช้โหมดครอป 1.6 เท่าเพื่อให้เข้าใกล้ได้มากขึ้น

กล้องฟูลเฟรมที่ระยะ 50 มม., f/1.8, เข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้น

กล้อง APS-C ที่ระยะ 50 มม. (เทียบเท่า 80 มม.), f/1.8

ระยะชัดของภาพจากกล้องฟูลเฟรมจะตื้นกว่า วงโบเก้จึงมีขนาดใหญ่กว่า การถ่ายภาพใกล้ตัวแบบมากกว่าจะลดระยะชัดของภาพ

ข้อนี้บอกอะไรกับเรา

เมื่อใช้กล้องฟูลเฟรม เรามักจะถ่ายภาพโดยขยับเข้าไปใกล้ตัวแบบมากกว่า หากเทียบกับตอนที่เราใช้ทางยาวโฟกัสเท่ากันบนกล้อง APS-C นี่เป็นสาเหตุที่มักทำให้เกิดระยะชัดที่ตื้นกว่าและโบเก้ที่เห็นได้ชัดเจนกว่า

ดูวิธีการสร้างแบ็คกราวด์ฟรุ้งฟริ้งได้ที่นี่

สรุป: กล้อง APS-C หรือกล้องฟูลเฟรม

ต่อไปนี้คือสรุปข้อดีและข้อเสียของกล้องทั้งสองชนิด

ข้อดีของกล้อง APS-C - มักมีขนาดที่เล็กกว่า เบากว่า และราคาถูกกว่า - เลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้อง APS-C มักมีขนาดเล็กกว่า เบากว่า และถูกกว่าด้วยเช่นกัน - การครอป 1.6 เท่าช่วยให้คุณเข้าใกล้ตัวแบบได้มากขึ้นโดยอัตโนมัติ - โดยปกติแล้วจะสามารถใช้เลนส์ฟูลเฟรมเพิ่มเติมจากเลนส์ APS-C ได้ (แต่ขึ้นอยู่กับระบบเมาท์ อาจต้องใช้เมาท์อะแดปเตอร์)

ข้อเสียของกล้อง APS-C - ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเลนส์มุมกว้างได้อย่างเต็มที่ - อาจเห็นจุดรบกวนได้มากกว่าเมื่อถ่ายภาพด้วยความไวแสง ISO สูงในสภาวะแสงน้อย

ข้อดีของกล้องฟูลเฟรม - ถ่ายภาพได้ด้วยมุมรับภาพที่กว้างกว่าเมื่อเทียบกับกล้อง APS-C ที่ใช้เลนส์เดียวกันและจุดถ่ายภาพเดียวกัน - สามารถใช้ประโยชน์จากเลนส์มุมกว้างได้อย่างเต็มที่ - มักจะมีจุดรบกวนน้อยกว่าเมื่อถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อยด้วยความไวแสง ISO สูง

ข้อเสียของกล้องฟูลเฟรม - มีราคาแพงกว่า - ใช้งานกับเลนส์ APS-C ได้อย่างจำกัด

ลองถามตัวเองว่า คุณต้องการหรือสามารถลงทุนได้มากเพียงใด

ข้อดีที่สำคัญที่สุดของกล้อง APS-C และเลนส์คือมีราคาที่ค่อนข้างถูก หากนี่เป็นกล้องตัวแรกของคุณและคุณมีงบประมาณจำกัด คุณสามารถสร้างคลังอุปกรณ์ที่ดีพอได้ด้วยกล้อง APS-C เลนส์สองชิ้น และอาจซื้อแฟลช Speedlite ได้ด้วยในราคาเท่ากับชุดกล้องฟูลเฟรมใหม่เอี่ยม

ระบบกล้องฟูลเฟรมต้องใช้การลงทุนที่สูงกว่ามาก แต่สิ่งที่จะได้รับคือความอเนกประสงค์ในสภาวะการถ่ายภาพที่หลากหลายกว่า นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ช่างภาพมืออาชีพหลายคนชอบใช้กล้องฟูลเฟรมมากกว่า และเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้รักการถ่ายภาพหลายคนตัดสินใจว่าพวกเขาต้อง “เลื่อนระดับ” ขึ้นมาจากระบบกล้อง APS-C ในที่สุด

ไม่มีกฎตายตัวว่าเส้นทางการถ่ายภาพควรมีจุดเริ่มต้นอย่างไร คุณอาจเริ่มจากจุดเล็กๆ ด้วยระบบกล้อง APS-C และลองดูว่าเป็นอย่างไร หรืออาจลงทุนไปกับชุดกล้องฟูลเฟรมแล้วค่อยๆ พัฒนาทักษะให้สูงขึ้น (และเรียนรู้ไปในขณะเดียวกัน) ท้ายที่สุดแล้ว อุปกรณ์กล้องคือเครื่องมือที่คุณใช้ในการถ่ายทอดอารมณ์ด้วยภาพ และสิ่งสำคัญคือคุณต้องเรียนรู้ที่จะใช้อุปกรณ์เหล่านั้นให้ได้เป็นอย่างดี! ซึ่ง SNAPSHOT อยู่ตรงนี้เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่คุณ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด