R3 ป มเรกคบนแต ง เบรคล างเด ม ด ไหม

จริงแล้ว เบรคใต้กระโหลกเนี่ย เขาออกแบบมาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น เพราะมันเป็น direct mount ซึ่งส่วนที่ยึดก้ามเบรคนั้นจะอยู่ตรงตะเกียบโซ่ที่ติดกับกระโหลกพอดี ทำให้มันเป็นจุดยึดที่แข็งแรงที่สุด จึงไม่ต้องกังวลเรื่องอาการย้วยของเฟรมในขณะที่กดเบรค เสือหมอบที่ใช้เบรคแบบ DM แล้วยึดที่ตะเกียบอานด้านบน ก็จะต้องออกแบบให้ตะเกียบอานอวบหนา หรือ ทำเป็นก้อนตัน เพื่อรับแรงต้านจากการเบรค ดังนั้นรถพวกนี้จะขี่ไม่สบาย feeling จากล้อหลังจะออกไปทางแข็ง กระด้าง ผิดกับการใช้ DM ใต้กระโหลกที่สามารถออกแบบตะเกียบอานด้านบนให้สามารถให้ตัวได้นิดๆ เพื่อช่วยซับแรงกระแทก แล้วออกแบบให้ตะเกียบโซ่ด้านล่าง ใหญ่ อวบ stiff ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

สำหรับผมจึงไม่มีปัญหา มีก็แต่เรื่องน่ารำคาญมากมาย ตั้งแต่ 1. การเลือกยี่ห้อ เฟรมผมได้เบรคของ TRP แบบ DM มาพร้อมกับเฟรม คือ ถามคนที่เขาใช้งานกับขอบอลูนี่ก็ไม่ค่อยเลวทรามนัก แต่พอใช้กับขอบล้อคาร์บอนด้วยแล้ว บ่องตง แรงเบรคมัน"ทราม"มากๆ กดกันเต็มเหนี่ยวกว่าจะสัมผัสอาการ"เบรค"ได้ ก็ดีอย่างเข้าโค้งแรงๆ เบรคแล้วไม่ต้องกลัวล้อล้อค ทางตรงยาวๆเร็วๆ เบรคไปก็ภาวนาไป สุดท้ายก็ยอมลงทุนคบกับ Dura Ace Direct mount แบบใต้กระโหลกแทน ผลลัพท์คือ ไม่แตกต่างจากเบรค Dura Ace DA-9000 ที่ร้อยผ่านรูหลักเบรคที่ตะเกียบอาน ปัญหาที่เป็นปัญหาจริงๆ ไม่ใช่เรื่องน่ารำคาญคือ เฟรมที่"บังคับ"ให้ใช้ DMแบบง่าวๆ (เปลี่ยนใช้ของ ultegra หรือ DuraAce ไม่ได้) เดินสายยาก ปรับแต่งยาก ที่สำคัญแรงเบรค"ทรามๆ" อันนี้ก็แล้วแต่กรณีนะครับ ถามใจผม ผมไม่ซื้อเฟรมรุ่นนั้น

2. การเดินสายเบรค ถ้าคุณไม่ได้ประกอบรถเองเหมือนผม ความน่ารำคาญก็จะไปตกที่ช่าง แล้วถ้าช่างไม่มีความชำนาญ เดินสายเบรคไม่ดี ตัดความยาวปลอกสายไม่เป๊ะ คราวนี้เรื่องน่ารำคาญจะกลับมาตกที่ตัวคุณเอง

3. ตัวปรับความตึงของสายเบรค ในบรรดาเบรคแบบ Direct mount ใต้กระโหลกที่มีตัวปรับแรงดึงสายเบรคในตัวของมันเอง และให้ประสิทธิภาพโดยรวมดีมากๆ น้ำหนักเบาด้วย ก็ต้องยกให้กับ EE direct mount แบบใต้กระโหลก เพราะถ้าเป็น EE แบบติดตั้งปกติ แฟน EE จะรู้เลยว่า ปัญหาเรื่องการเดินสายเบรคและการเลือกความยาวของปลอกสายเบรคเป็นอย่างไร แต่พอกลายมาเป็นแบบ DM ใต้กระโหลก ทิศทางของสายเบรคที่เข้าเบรคจะกลายเป็นข้อดีของมัน เรียนรู้วิธีการติดตั้งนิดหนึ่ง ที่สำคัญคือ การร้อยสายเบรคเข้าไปยีดนั้น ทำได้ง่ายกว่า Shimanoเสียอีก ที่สำคัญ ปรับระยะผ้าเบรค 2 ข้างทำได้ง่ายมากๆ แล้วยังปรับความตึงของสายเบรคได้ด้วยตัวของมันเอง ในขณะที่ DM ของ Shimano จะต้องดิ้นรนไปหาตัวปรับความตึงของสายเบรคมาแทน โดยจะทำหน้าที่ทั้งคลายก้ามเบรค และปรับความตึงสายเบรค แถมยังหนักและเกะกะอีกต่างหาก ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ผมใช้ขอบล้อค่อนข้างกว้าง ยาง 25C ก็เลยไม่มีปัญหาเรื่องต้องคลายก้ามเบรค ใส่ล้อไม่ยากเลย ส่วนตัวปรับแรงตึงสายเบรค ผมไปซื้อตัวปรับแรงตึงสายเบรคของดิสเบรคสายมาใช้แทน ก็ทดแทนกันได้ดี ปรับตั้งระยะเริ่มต้นไม่ยาก และที่สำคัญคือ Shimanoเองก็ออกแบบระบบต่างๆไว้ได้ดีสมกับเป็นญี่ปุ่น ป่วนๆนิดหนึ่งก็ตรงวิธีการร้อยสายเบรคเข้าไปยึดกับรูยึดนั่นแหละ ต้องทำให้ถูกวิธีด้วย โอกาสผิดมีได้สูงมาก ถ้าไม่หัดอ่านคู่มือ (​คู่มืออยู่ในอินเตอร์เนท ในกล่องไม่มีคู่มือมาซะด้วย ประมาณว่าระยะหลังๆ Shimano เน้นให้ช่างที่มีประสพการณ์ติดตั้งให้ ยกเว้นจะเป็น Advanced user ที่เก่งพอๆกับช่าง ก็คงต้องดิ้นรนไป D/L มาอ่านเอง )

4. เรื่องความสกปรก แน่นอนครับ ของมันอยู่ด้านล่าง มันก็เลอะเทอะได้ง่ายๆ แต่ข้อดีคือมันโปร่ง มันก็เลยทำความสะอาดง่าย

5. จะทำอะไร เช่น ปรับหน้าผ้าเบรค เป็นอะไรที่น่ารำคาญโดยเฉพาะด้านขวา เพราะจะต้องขัดใจกับโซ่สกปรกๆ ทำเสร็จต้องล้างมือชุดใหญ่เสมอๆ

โดยรวมแล้ว แบบเฉลี่ยๆ ก็ไม่ได้แย่ไปกว่าเบรคปกติหรอกครับ ยกเว้นจะเจอเฟรมที่บังคับให้ใช้เบรคเฉพาะรุ่นของเขาเท่านั้นแหละ อย่าให้เอ่ยเลย ผมรู้จักอยู่ 2 ยี่ห้อ ( เฉพาะรุ่นด้วยนะ ไม่ได้เหมาเข่ง )

ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน

ผ่านไป 3 ปีนับตั้งแต่ที่ Yamaha YZF-R3 ได้ถือกับเนิดออกมาครั้งแรก ด้วยการสร้างเสียงฮือฮาจากเครื่องยนต์ที่ใหญ่กว่าใครเพื่อน รวมถึงชุดสวิงอาร์มแบบอลูมิเนียมเป็นเจ้าแรกของคลาส ในที่สุดก็ได้เวลาที่ทางค่ายจะต้องทำการปรับโฉมเจ้าสปอร์ตไบค์พิกัด 300cc คันนี้ซักที่ด้วยหน้าตาที่ตรงปกกับพี่น้อง R-Series มากขึ้น

แน่นอนว่าในเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วการที่มันจะถูกนำมาเทียบกับ Kawasaki Ninja 400 ที่ชิงเปิดตัวดักหน้าไปเมื่อปลายปี 2017 ซึ่งถือเป็นสปอร์ตไบคืนในคลาสเดียวกันก็คงเป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นในวันนี้เราจึงของนำข้อมูลทางเทคนิคของมันมากางเทียบให้เพื่อนๆได้ดูรู้กันไเลยว่าทั้งสองคันนี้มีจุดได้จุดเสียตรงไหนกันบ้าง เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ

เครื่องยนต์ Yamaha YZF-R3 : 2 สูบเรียง / DOHC / 8 วาล์ว / ระบายความร้อนด้วยน้ำ / 321cc Kawasaki Ninja 400 : 2 สูบเรียง / DOHC / 8 วาล์ว / ระบายความร้อนด้วยน้ำ / 399cc

เริ่มจากในส่วนแรกก็คือเครื่องยนต์ที่ทั้ง 2 ค่ายนี้ต่างก็ใช้เลย์เอาท์เครื่องยนต์แบบ 2 สูบเรียงเหมือนกันทั้งคู่ โดยหลังจากที่ Yamaha ได้บลัฟเอาไว้ตั้งแต่ R3 เจนแรกด้วยการขยับความจุเครื่องยนต์เป็น 321cc ทาง Kawaski ก็ไม่รอช้า บลัฟกลับด้วยเครื่องยนต์ลูกใหม่ขนาด 399cc และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Ninja 400 ทันที่ แต่แทนที่ค่ายส้อมเสียงจะบลัฟคืนด้วยการขยยายความจุ หรือใส่ระบบ VVA นั้นกลับยังไม่เกิดขึ้นใน R3 เจนที่ 2 จึงส่งผลให้ตัวเลขกำลังโดยรวมยังด้อยกวาสอยู่เช่นเคยคือ

กำลังสูงสุด Yamaha YZF-R3 : 41.4 แรงม้า ที่ 10,750 รอบ/นาที และ แรงบิดสูงสุด 29.6 นิวตันเมตร ที่ 9,000 รอบ/นาที Kawasaki Ninja 400 : 44.8 แรงม้า ที่ 10,000 รอบ/นาที และ แรงบิดสูงสุด 38 นิวตันเมตร ที่ 8,000 รอบ/นาที

ใช่แล้วครับ ด้วยความที่ Yamaha YZF-R3 รุ่นใหม่นั้นยังคงใช้พื้นฐานเครื่องยนต์เดิมสนิท จึงทำให้ตัวเลขกำลังสูงสุดของมันยังคงด้อยกว่า Ninja400 อยู่เช่นเคย ซึ่งในฝั่งของแรงม้าอาจจะไม่ได้มีส่วนต่างมากมายนัก เพราะห่างกันแค่เพีง 3.4 ตัว แต่หากมองไปที่แรงบิดจะเห็นได้ชัดเลยว่ามันต่างกันถึง 8 นิวตันเมตร แถมในจุดนี้เองทาง Ninja 400 ยังสามารถรีดแรงได้ไวและกว้างกว่าอีกด้วย

ระบบส่งกำลัง Yamaha YZF-R3 : คลัทช์แผ่นเปียกซ้อนกันหลายแผ่น Kawasaki Ninja 400 : คลัทช์แผ่นเปียกซ้อนกันหลายแผ่น พร้อมชุดสลิปเปอร์คลัทช์

ด้านระบบส่งกำลังเองก็ยังต้องยกให้กับ Ninja 400 ต่อไปอีกเช่นกัน เพราะในขณะนี้ยังมีแค่ค่ายเดียวที่จัดชุดสลิปเปอร์คลััทช์มาให้ ส่วนตัว R3 รุ่นปี 2019 นั้นยังคงเป็นแบบคลัทช์เปียกซ้นกันหลายแผ่นธรรมดาๆเช่นเดิม

ระบบกันสะเทือน Yamaha YZF-R3 : ด้านหน้า โช้กหัวกลับขนาดแกน 37 มิลลิเมตร / ด้านหลัง โมโนครอสช็อค (โช้กเดี่ยว) ปรับความแข็ง-อ่อนได้ 5 ระดับ พร้อมสวิงอาร์มอลูมิเนียม Kawasaki Ninja 400 : ด้านหน้า โช้กตะเกียบคู่ ขนาดแกน 41 มิลลิเมตร / ด้านหลัง โช้กเดี่ยวปรับความแข็ง-อ่อนได้ 5 ระดับ พร้อมกระเดื่องทดแรง และสวิงอาร์มเหล็กกล่อง

ต่อกันด้วยระบบกันสะเทือนที่งานนี้ต้องยกให้ R3 ในเรื่องของรูปลักษณ์ช่วงหน้าที่ดูดีกว่า เพราะทางในที่สุดทาง Yamaha ก็ยอมจัดชุดโช้กหัวกลับมาให้เป็นรถสปอร์ตญี่ปุ่นพิกัด 300-400cc คันแรกของคลาส ส่วนระบบกันสะเทือนด้านหลังก็เป็นแบบโช้กเดี่ยวทำงานร่วมกันสวิงอาร์มอลูมิเนียมที่แค่นี้ก็ดูสวยงามพอในเชิงหน้าตาอยู่แล้ว ส่วน Ninja 400 นั้นแม้ว่าจะใช้โช้กตะเกียบคู่ธรรมดา แต่ก็ให้ขนาดแกนใหญ่กว่าคือ 41 มิลลิเมตร ส่วนระบบกันสะเทือนด้านหลัง แม้จะมีชุดกระเดื่องทดแรงมาให้ แต่ตัวสวิงอาร์มยังคงเป็นดีไซน์เหล็กกล่องธรรมดาๆอยู่เช่นเดิม

ระบบเบรก Yamaha YZF-R3 : ด้านหน้า จานเบรกขนาด 298 มิลลิเมตร ทำง่านร่วมกับปั๊มเบรก 2 ลูกสูบ / ด้านหลัง จานเบรกขนาด 220 มิลลิเมตร ทำง่านร่วมกับปั๊มเบรก 2 ลูกสูบ พร้อมระบบ ABS Kawasaki Ninja 400 : ด้านหน้า จานเบรกขนาด 310 มิลลิเมตร ทำง่านร่วมกับปั๊มเบรก 2 ลูกสูบ / ด้านหลัง จานเบรกขนาด 220 มิลลิเมตร ทำง่านร่วมกับปั๊มเบรก 2 ลูกสูบ พร้อมระบบ ABS

ด้านระบบเบรกด้านหน้าก็ดูจะไม่ต่างอะไรกันมากมายนักในเชิงเทคนิค เพราะยังคงอิงพื้นฐานคือใช้โฟลทติ้งคาลิปเปอร์ลูกสูบคู่ด้านหน้า ทำงานร่วมกับจานเบรกเดี่ยวเหมือนกัน แต่อาจจะต่างนิดหน่อยคือขนาดจานเบรก ที่ทางฝั่ง Ninja 400 นั้นให้มาใหญ่กว่า 12 มิลลิเมตร ซึ่งเมื่อเราได้ลองใช้งานจริงแล้วพบว่ามันไม่ได้ให้ประสิทธิภาพในการหยุดตัวรถที่ดีกว่ากันเท่าไหร่นัก (จับไวและอยู่กว่ากันนิดเดียว) ส่วนด้านหลังยิ่งให้มาเหมือนกันเป้ะทั้งขนาดจานและรูปแบบปั๊ม

ชุดล้อ Yamaha YZF-R3 : อลูมินัมอัลลอยด์ 5 ก้านตัว Y ด้านหน้ารัดด้วยยางขนาด 110/70-17, ด้านหลัง รัดด้วยยางขนาด 140/70-17 Kawasaki Ninja 400 : อลูมินัมอัลลอยด์ 5 ก้าน ด้านหน้ารัดด้วยยางขนาด 110/70-17, ด้านหลัง รัดด้วยยางขนาด 150/60-17

และในส่วนของชุดล้อจะเห็นได้ว่าต่างก็เป็นแบบอลูมินัมอัลลอยขอบ 17 เหมือนกันทั้งสอง แถมยังใช้ยาง OEM รุ่นเดียวกันอีกต่างหากคือเป็นยาง Dunlop Sportmax GPR-300 และจะไปต่างกันที่ไซส์ยางด้านหลัง คือทางฝั่ง Ninja 400 ที่ให้ยางใหญ่กว่า R3 อยู่ 1 ไซส์ เพื่อรองรับกับพละกำลังที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัดในข้างต้นนั่นเอง

ระยะฐานล้อ Yamaha YZF-R3 : 1,380 มิลลิเมตร Kawasaki Ninja 400 : 1,370 มิลลิเมตร

ด้วยความที่ตัว R3 ใหม่ยังคงใช้โครงสร้างตัวรถเดิมๆจาก R3 รุ่นก่อนหน้าจึงทำให้ตัวเลขระยะฐานล้อของมันยังเหมือนเดิมคืออยู่ที่ 1,380 มิลลิเมตร ซึ่งนั่นเท่ากับว่าระยะฐานล้อของมันจะยาวกว่า ตัวรถ Ninja 400 ที่มีพละกำลังเยอะกว่าอยู่ 10 มิลลิเมตร

น้ำหนัก Yamaha YZF-R3 : 169 กิโลกรัม Kawasaki Ninja 400 : 168 กิโลกรัม

ด้านน้ำหนักตัวรถนั้นแทบจะเท่ากันเป้ะ คือมีส่วนต่างกันแค่ 1 กิโลกรัมเท่านั้น จึงทำให้ความรู้สึกตอนขยับตัวรถหรือพลิกรถไปมาไม่ได้ต่างกันมากมายนัก แต่ที่จะเห็นได้ชัดแน่นอนก็คืออัตราเร่งของ Ninja 400 จะต้องเป็นต่อกว่าพอสมควรจากจุดนี้

ความสูงเบาะ Yamaha YZF-R3 : 780 มิลลิเมตร Kawasaki Ninja 400 : 785 มิลลิเมตร

จะเห็นได้ว่าทั้งสองคันนี้มีระดับความสูงเบาะที่ต่างกันแค่เพียง 5 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งเอาจริงๆจากการที่ผู้เขียนได้ลองนั่งคร่มมาแล้วทั้งสองรุ่น พบว่ามันแทบไม่ได้รู้สึกว่าต่างกันเลยแม้แต่น้อย ตอนท่ายืนจอด

ความจุถังน้ำมัน Yamaha YZF-R3 : 14 ลิตร Kawasaki Ninja 400 : 14 ลิตร

ด้านขนาดความจุุถังน้ำมันของทั้ง 2019 R3 และ 2018 Ninja 400 นั้นก็ให้มาเท่ากันที่ 14 ลิตร เรียกได้ว่ารองรับการขับขี่ระยะไกลระดับ 300 กิโลเมตรขึ้นไปได้สบายๆ แต่ในฝั่งของ Ninja 400 อาจจะต้องเติมน้ำมันเยอะกว่านิดหน่อย เนื่องจากอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันที่มากกว่า (แต่ก็แค่นิดเดียวเท่านั้น ต่างกันหลัก 2-3 กิโลเมตร/ลิตร)

มิติตัวรถ (กว้าง x ยาว x สูง) Yamaha YZF-R3 : 730 x 2,090 x 1,140 มิลลิเมตร Kawasaki Ninja 400 : 710 x 1,990 x 1,120 มิลลิเมตร

ปิดท้ายด้วยขนาดมิติตัวรถที่บอกตามตรงว่าแม้แต่ตัวเราเองก็ยังงงๆอยู่หน่อยๆเช่นกัน เพราะหากประมาณด้วยสายตายังไงเราก็คิดว่า Ninja 400 มีขนาดตัวใหญ่กว่า แต่เมื่อมองจากตัวเลขสเปคมิติตัวรถ ก็จะรู้ได้ทันทีว่าแท้จริงแล้ว R3 ต่างหากที่กว้างกว่าในทุกสัดส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความยาวที่ห่างกันถึง 10 เซนติเมตร ส่วนความกว้างเองก็เยอะกว่าไม่แพ้กันคือ ฝั่งละ 1 เซนติเมตร แต่เราคาดว่าตัวเลขความกว้างตรงนี้อาจจะมาจากไฟเลี้วที่ยื่นออกมาด้านข้างก็ได้ ดังนั้นหากเพื่อนคนไหนถอดออกแล้วใช้ไฟเลี้ยวแต่ง จึงน่าจะมุดตามเจ้า Ninja ได้ไม่ยากนักในช่วงทางแคบๆ

2018 Kawasaki Ninja 400

สรุป

จากข้อมูลในเชิงเทคนิคทั้งหมดที่เรากล่าวมานี้ จึงเท่ากับว่ายังไง Kawaski Ninja 400 ก็ยังเป็นที่หนึ่งในเรื่องเครื่องยนต์ต่อไป ซึ่งเป็นผลพวงมาจากขนาดความจุที่ใหญ่กว่า นอกจากนี้ยังมีชุดสลิปเปอร์คลัทช์มาให้อีกต่างหาก แต่ในขณะเดียวกันนั้นเองทางฝั่ง Yamaha YZF-R3 ก็จะได้ในเรื่องของภาพลักษณ์ที่ดูเป็นสปอร์ตเรพลิก้ามากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของโช้กหน้าหัวกลับ และยังไม่นับในเรื่องของชุดมาตรวัดหน้าตาเหมือน R1 กับแผงคอเซาะร่องและแฮนด์จับโช้กวางใต้แผงคออีก ซึ่งงานนี้คงแล้วแต่เพื่อนๆแล้วล่ะครับ ว่าจะมองหาความต้องการในด้านไหนมากกว่ากัน

R3 มีสลิปเปอร์คลัชไหม

"คล่องตัวมากขึ้น น้ำหนักแฮนด์ค่อยข้างเบากว่าเดิม มีอาการหน้าไว อาจต้องปรับตัวให้เข้ากับรถสักพัก ช่วงแฮนด์กับเบาะมีระยะสั้นตามสไตล์ MT คนตัวใหญ่อาจนั่งไม่คุ้นเคย ส่วนเรื่องอัตราเร่งของเครื่องยนต์ 155 ซีซี VVA นับว่าต้นจัดขึ้น แต่เสียดายที่รอบกลางถึงปลายไม่มีทางให้ลอง ส่วนระบบ Slipper Clutch ช่วยลดอาการล้อหลังล็อคขณะเชน ...

R3 กี่เเรงม้า

YZF-R3 ใช้ขุมพลังเครื่องยนต์ขนาด 321 ซีซี แบบ 2 สูบเรียง 8 วาล์ว ระบายความร้อน กำลังสูงสุด 42 แรงม้า พร้อมระบบหัวฉีดอัจฉริยะจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยความแม่นยำ เกียร์ 6 สปีด

R3 กินน้ํามันกี่กิโลต่อลิตร

อัตราสิ้นเปลือง.

จานเบรคหน้า R3 กี่มิล

จานดิสก์เบรค R3 / MSLAZ / MT15 / XSR155 330 มิล (จานหน้า)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด