เพราะ เหตุใด จึงต้องมีการประเมินคุณค่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ Quiz


วิธีการทางประวัติศาสตร์

หมายถึง ขั้นตอน กระบวนการ ในการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ซึ่งเกิดจากการค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่

1.       การกำหนดหัวข้อเรื่อง

คือ การกำหนดเรื่องที่สนใจ สงสัย โดยตั้งเป็นประเด็นคำถาม เช่น ท่าเตียนทำไมถึงเรียกว่าท่าเตียน, ผู้สร้างวัดโพธิ์คือใคร เป็นต้น

2.       การค้นคว้า และรวบรวมหลักฐาน

คือ การค้นคว้า หลักฐานที่เกี่ยวข้องจากหลาย ๆ แหล่ง เช่น พ่อค้า และแม่ค้าที่อยู่บริเวณท่าเตียน หรือบุคคลต่าง ๆ ที่ทำงานอยู่ในวัดโพธิ์ เป็นต้น

3.       การวิเคราะห์ และประเมินคุณค่าของหลักฐาน

คือ การตรวจสอบ และประเมินคุณค่าของหลักฐาน เพราะหลักฐานบางอย่างอาจไม่ใช่ของจริง เช่น ใครเป็นผู้เล่าตำนานยักษ์วัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งว่าสู้กันจนทำให้บริเวณท่าเตียนเรียกว่าท่าเตียน เป็นต้น

4.       การสรุปข้อเท็จจริง

คือ การนำข้อมูลที่ค้นคว้ามาได้ ตอบคำถามที่ตั้งไว้ในขั้นตอนที่ 1 โดยพิจารณาข้อเท็จจริงจากหลักฐานที่ได้จากหลาย ๆ แหล่ง อย่างมีหลักเกณฑ์ เช่น ท่าเตียนถูกเรียกว่าท่าเตียน เพราะ บริเวณท่าเตียนโดนไฟไหม้จนกลายเป็นที่โล่งเตียน จึงทำให้บริเวณนั้นเรียกว่าท่าเตียน

5.       การเรียบเรียง และนำเสนอ

คือ การนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาอธิบายอย่างสมเหตุสมผล มีหลักฐานอ้างอิง และจัดลำดับเวลาก่อนหลัง และต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เช่น การนำเสนอด้วยบอร์ดความรู้

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอารยธรรม

อารยธรรม คือ สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอารยธรรม ได้แก่

1.       ปัจจัยทางภูมิศาสตร์

อารยธรรมที่เกิดจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เช่น บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ เพราะความอุดมสมบูรณ์ซึ่งเกิดจากการสะสมดินตะกอน ทำให้เหมาะแก่การเกษตร ก่อให้เกิดอารยธรรมในการเพาะปลูก เนื่องจากมีการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์เป็นผลให้เกิดการสร้างสรรค์เครื่องมือในการเพาะปลูก เช่น จอบ คันไถ เป็นต้น นอกจากอารยธรรมในการเพาะปลูกแล้วยังก่อให้เกิดอารยธรรมในการเลี้ยงสัตว์ คือ (1) การเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภค (2) การเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้งาน (3) การเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้ประโยชน์ 

2.       ปัจจัยทางด้านการปกครอง ก่อให้เกิดความเชื่อทางสถานภาพของผู้นำ ทำให้เกิดอารยธรรมที่แตกต่างกันระหว่างชนชั้น เช่น (1) การแต่งกายที่ต่างกัน (2) ภาษาที่ใช้ต้องแบ่งชนชั้นกัน (3) ธรรมเนียมการปฏิบัติ      เป็นต้น 

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ

1.     ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์   ซึ่งยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ยุค ดังนี้

1)    .ยุคหิน มีทั้งหมด 3 ยุค ได้แก่

1.1             ยุคหินเก่า 

เป็นการใช้ชีวิตเร่ร่อนหาของป่าล่าสัตว์ ไม่มีที่อยู่ถาวร เครื่องมือเครื่องใช้เป็นหินหยาบ ไม่มีการสร้างเครื่องมือที่ซับซ้อน มีการวาดรูปตามผนังถ้ำ แต่ไม่มีความหมาย เห็นอะไรก็วาดลงไป

1.2             ยุคหินกลาง 

เริ่มอยู่เป็นชุมชน แต่การดำรงชีวิตยังเหมือนเดิม เริ่มรู้จักการใช้ไฟในการปรุงอาหาร เครื่องมีการเปลี่ยนแปลงเป็นการใช้หินกระเทาะ เริ่มรู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา ทอเส้นใยธรรมชาติเป็นเครื่องนุ่งห่ม มีความเชื่อและประเพณีเรื่องการฝังศพ

1.3             ยุคหินใหม่ 

เริ่มทำการเกษตรมากขึ้น มีที่อยู่ถาวร ส่วนมากอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีการดำรงชีวิตด้วยการเกษตร และเสี้ยงสัตว์เล็ก ๆ เครื่องมือมีความประณีตมากขึ้น โดยการทำให้มีความคม และเรียบขึ้น เรียกว่า “หินขัด” มีการวาดลวดลายลงเป็นเครื่องปั้นดินเผา และมีความหมายทั้งหมด มีการทำเครื่องประดับ และเครื่องรางติดตัว

2)    ยุคเหล็ก แบ่งเป็น 2 ยุค คือ

2.1    ยุคสำริด 

เป็นชุมชนเกษตรมากขึ้น มีการเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้ประโยชน์ เครื่องมือเปลี่ยนมาใช้สำริด คือ แร่ทองแดง และดีบุก เพราะมีความทนทาน และยือหยุ่นมากกว่าหิน เครื่องประดับของเพศชายทำมาจากเขา หรือกระดูกของสัตว์ เหมือนในยุคหินใหม่ แต่เพศหญิงเริ่มมีการใช้ทองคำเป็นเครื่องประดับ

2.2    ยุคเหล็ก 

เจริญสูงสุด เปลี่ยนเป็นการอยู่แบบชุมชน สังคมเมือง อยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ จัดชนชั้นซับซ้อนขึ้น เป็นครั้งแรกที่มีการค้าขายกับชาวต่างชาติ เครื่องมือเปลี่ยนมาใช้เหล็กแทน มีการเขียนตามผนังถ้ำ เพื่อสื่อความหมาย

การแบ่งยุคสมัยตามแบบสากล

1.สมัยโบราณ(ยุคแห่งการศึกษาค้นคว้า คิดค้นสิ่งประดิษฐ์)

มีการร่วมกลุ่มกันเป็นชุมชนเป็นสังคมเมือง พัฒนาการทางด้านอารยธรรม พัฒนาการที่เด่นชัดคือ การประดิษฐืตัวอักษร เช่น อารยธรรมเมโสโปเตเมีย คือ เป็นชนชาติแรกที่มีการประดิฐ์ตัวอักษร เป็นต้น

2.สมัยกลาง(ยุคแห่งการสำรวจ)

ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-ต้นพุทธศตวรรตที่ 21มีการเดินเรือสำรวจรอบโลก เพื่อพิสูจน์ความเชื่อว่าโลกแบน

3.ยุคสมัยใหม่(ยุคแห่งการปฏิวัติวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม)

เปลี่ยนจากรูปแบบการผลิตจากการผลิตเพื่อบริโภคเป็นการผลิตเพื่อทำการค้าขายเป็นหลัก

4.สมัยปัจจุบัน-ร่วมสมัย(ยุคโลกาภิวัติ)

พัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างเดียว พัฒนาการสื่อสารเป็นการสื่อสารไร้พรมแดน ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็น เทคโนโลยีสีเขียว

ความสำคัญของเวลาต่อประวัติศาสตร์

เวลามีความสำคัญกับประวัติศาสตร์มาก เพราะเวลาเป็นตัวที่ใช้บอกช่วง และระยะที่เกิดเหตุการณ์นั้น ๆ ทำให้เราทราบว่าเหตุการณ์นั้นเริ่มต้น และสิ้นสุดลงเมื่อใด เช่น ทำให้เราทราบเกี่ยวกับช่วงเวลาที่โรงเรียนราชินีสร้าง ว่าสร้างเมื่อไหร่ และเสร็จเมื่อไหร่ มีครูใหญ่กี่คน และใครบ้าง ทำหน้าที่อยู่ในช่วงเวลาไหน เป็นต้น  

แด่ชาวด๋อยทั้งหลาย  By VEESAMA 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด