ทำไมเจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้ชาย

��� ��ҡ�з�Һ��� ������ǹ����� ���˭ԧ���� ����¤� ������§�Ѻ���͹ ���͹�͡����´�˹ѧ�չ����ͧ�֧ �˹ѧ����ͧ���������ǹ����繼�������������Ҩպ�����ҡ� �֧�;�������ͧ�繼��˭ԧ...����ҳ����Ф� ������������ ������ǹ����繼��˭ԧ�ҵ�ʹ �֧��ҡú�ǹ���͹��������º͡����͸Ժ�������ҡ�Ш�ҧ���¹Ф� �ͺ�س�ҡ���¤�

�ҡ�س: �١����紵�� ��¹�����: 27 �.�. 55 21:59:33
แต่แท้จริงแล้ว พระอวโลกิเตศวรไม่ว่าจะอยู่ในปางใด พระองค์ก็ทรงมีพระเมตตาและพลานุภาพมาก จนสามารถแปลงพระองค์ได้หลายรูปแบบ และไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นเพศใด ผู้หญิงหรือผู้ชาย

สำหรับพระโพธิสัตว์กวนอิมนี้ เชื่อว่าคติพุทธศาสนามหายานถูกนำมาผสมผสานกับเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ตำนานพื้นบ้านในแผ่นดินจีน จนก่อให้เกิดเป็นพระอวโลกิเตศวรในปางที่เป็นผู้หญิงขึ้น

เรื่องราวที่กล่าวข้างต้นมีที่มาที่ไปอย่างไร? ความเชื่อเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์กวนอิมในจีนเป็นอย่างไร? อาจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ อธิบายข้อมูลไว้ในบทความ “ลัทธิพิธีเจ้าแม่กวนอิม” (ศิลปวัฒนธรรม ฉบับสิงหาคม 2537) เนื้อหาบางส่วนดังนี้

 

ดังที่ทราบกันทั่วไปอยู่แล้วว่า กวนอิมหรือกวนซีอิมเป็นพระนามจีนของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นักวิชาการฝรั่งเชื่อว่าการที่เรียกพระนามของอวโลกิเตศวรว่ากวนซีอิมนั้น เป็นเพราะจีนสับสนในการแปลภาษาสันสกฤตตรงคำว่า “อิศวร” ท้ายพระนาม ในภาษาสันสกฤต พระนามของพระองค์แปลว่า “ผู้ยิ่งใหญ่ที่มองลงมา” แต่จีนกลับแปลว่าผู้ยิ่งใหญ่ที่เงี่ยหูฟังความทุกข์ของโลก เนื่องจากสับสนคำว่า “อิศวร” กับคำว่า “สวร” ซึ่งแปลว่าเสียง จึงเรียกว่ากวนซีอิม ให้หมายความว่า “พระผู้เงี่ยโสตสดับความทุกข์ของสรรพสัตว์”

ไม่ว่าจะเป็นผู้ “มอง” ลงมายังโลก หรือ “เงี่ยหู” ฟังเสียงทุกขเวทนาของโลกก็ตาม ความหมายหลักก็เหมือนกันคือเป็นพระโพธิสัตว์ที่ทรงพระเมตตาทยาธิคุณกว้างใหญ่ไพศาล และคอยบำบัดความทุกขเวทนาแก่ผู้ที่ศรัทธาในพระองค์และพระอมิตาภพุทธ ผู้เป็นธยานิพุทธของพระองค์ ยังมีคำอธิบายอีกว่า อวโลกิเตศวรหรือกวนอิม ทั้งในจีนและเอเชียกลางนี้เป็นตัวแทนของความเมตตาทางโลกียะ ช่วยปกป้องคุ้มภัยต่าง ๆ ความเชื่อเช่นนี้มีรากฐานอยู่กับคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร ในส่วนความเชื่อของจีนที่มีต่อกวนอิมซึ่งแตกต่างออกไปจากคัมภีร์เดิมนี้ บางที่ก็ว่ามีมูลมาจากลัทธิพุทธตันตระ

ในเมืองจีนมักนิยมทำรูปกวนอิมเป็นผู้หญิง จนบางครั้งก็เข้าใจผิดว่ากวนอิมคือพระอวโลกิเตศวรในปางที่เป็นผู้หญิง แต่ดังที่กล่าวแล้วว่าพระนามกวนอิมหมายถึงพระอวโลกิเตศวรในภาษาจีน ไม่ว่าจะอยู่ในปางใด พระอวโลกิเตศวรทรงมหิทธานุภาพมาก สามารถแปลงพระองค์ไปได้หลายรูปแบบ รูปของพระองค์ในประเทศจีน-ญี่ปุ่น ที่มี “พันแขน-พันมือ” ก็มีอยู่มาก เป็นสัญลักษณ์ของพระเมตตาที่ทรงช่วยเหลือสัตว์โลกอยู่ตลอดเวลา

บางครั้งก็พบคำอธิบายว่าเมื่อกวนอิมจะไปโปรดสัตว์ ก็จะแปลงพระองค์ได้หลายรูปตามแต่ความเหมาะสม ที่แปลงเป็นหญิงก็เพื่อโปรดนางท้าวพระยา ยังมีตำราอธิบายความเชื่อของประชาชนจีนทั่วไปว่าทำไมมีรูปเป็นหญิงอีกสองเรื่อง บ้างก็ว่าผู้หญิงมาขอบุตร เมื่อปรากฏพระองค์เป็นชาย สตรีเหล่านั้นก็ตื่นตกใจวิ่งหนีไปหมด อีกกระแสหนึ่งว่าทรงได้ศัพท์สำเนียงร้องของหญิงที่คลอดบุตรยาก ไม่อาจเสด็จมาโปรดในที่คลอดในรูปอื่นใดได้นอกจากรูปของหญิง

อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจว่ากวนอิมในประเทศจีนล้วนเป็นหญิงทั้งสิ้นนี้เป็นความเข้าใจผิด นักประวัติศาสตร์ศิลปะยืนยันว่ารูปของพระอวโลกิเตศวรหรือกวนอิมในประเทศจีนไม่ได้มีรูปเป็นหญิงจนหลังพุทธศตวรรษ 17-18 ไปแล้วเท่านั้น แม้แต่ภาพที่มักนิยมเรียกกันว่า “เทพในชุดขาว” (เปะอีกวนอิม) หรือภาพที่ทรงอุ้มเด็กก็ไม่ใช่ภาพสตรี หลายภาพด้วยกันเมื่อพิจารณาอย่างละเอียดแล้วจะเห็นได้ว่ามีหนวดด้วย หากจะมีปฏิมาสตรีอยู่ก็อาจเป็นภาพนางดารา (ชายาของพระอวโลกิเตศวร)

นักประวัติศาสตร์ศิลปะยืนยันว่าพระโพธิสัตว์ในคติพุทธย่อมอยู่เหนือเพศหญิงหรือชาย ปฏิมาที่สร้างขึ้นตามคตินี้ต้องการจำลองแนวคิดของผู้ที่อยู่เหนือการแบ่งเพศในทางโลกย์เช่นนี้ ทั้งนี้จนหลังสมัยราชวงศ์ซ้องไปแล้ว ปฏิมาของพระโพธิสัตว์ในจีนจึงถูกผสมปนเปด้วยเทพของจีน, ความเชื่อท้องถิ่น และเทพีท้องถิ่นมากขึ้น ยิ่งในสมัยราชวงศ์หงวนยังถูกผสมด้วยนิกายลามะจากทิเบตอีกด้วย (ว่ากันว่ากวนอิมของต้นตระถึงกับเปลือกกายเลย) ทำให้ภาพและปฏิมากวนอิมกลายเป็นสตรีไปโดยบริบูรณ์

ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีสำริด ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์ ประเทศฝรั่งเศส (ที่มา Helen Ibbitson Jessup and Thierey zephie ed. Sculptur of Angkor and Ancient Cambodia Millennium of Glory. USA. : Thames and Hudson Inc., 1997, p.313.)

ในญี่ปุ่นซึ่งรับกวนอิมหรือกันนอนไปจากจีนตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 พร้อมกับที่พระพุทธศาสนาแพร่เข้าไปในญี่ปุ่น แต่กระแสอิทธิพลวัฒนธรรมจีนก็ไม่หลั่งไหลไปญี่ปุ่นอีกหลังสมัยซ้อง จะพบได้ว่า กันนอนของญี่ปุ่นล้วนเป็นชายทั้งสิ้น หรือเป็นปฏิมาที่ “เหนือเพศ” ดังที่กล่าวแล้ว ทั้งนี้เพราะกันนอนเป็นกวนอิมที่เข้าไปยังญี่ปุ่นก่อนที่กวนอิมจะกลายเป็นหญิงในจีน

อย่างไรก็ตาม กวนอิมตามความเชื่อของชาวบ้านจีนนั้นไม่ค่อยสัมพันธ์กับหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนามหายานมากนัก แต่ไปมีนิทานเกี่ยวกับกำเนิดของกวนอิมอีกทางหนึ่ง คือนิทานเรื่อง ราชธิดาเมี่ยวซาน (องค์หญิงสาม) ราชธิดาของแคว้นหนึ่งในจีนโบราณ (บางสำนวนว่าเป็นราชธิดากษัตริย์แคว้นหนึ่งในอินเดีย) ซึ่งอุทิศพระองค์ให้แก่พระศาสนาจนถึงที่สุดก็ได้ “ตรัส” เป็นพระโพธิสัตว์กวนอิม นิทานเรื่องนี้เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วในประเทศไทย เพราะหนังสือชื่อ “กวนอิม” ของเสฐียรโกเศศได้แปลจากภาษาอังกฤษมาเล่าไว้อย่างละเอียด และยังมีภาพยนตร์จีนมาฉายในเมืองไทย รวมทั้งฉายทางโทรทัศน์ก็หลายครั้ง จนอาจกล่าวได้ว่ากวนอิมในเมืองไทยนั้นมีพื้นฐานอยู่บนนิทานเรื่องนี้เพียงอย่างเดียว เช่นเดียวกับกวนอิมตามความเชื่อของชาวบ้านจีนทั่วไป

นิทานเรื่องเมี่ยวซานซึ่งแพร่หลายที่สุดในภาษาจีนปัจจุบัน เป็นหนังสือที่แต่งขึ้นรุ่นหลังมากทีเดียว ชื่อหนังสือนี้แปลว่า “ชีวประวัติกวนอิมแห่งทะเลใต้ฉบับสมบูรณ์” และตามหนังสือเล่มนี้ ไม่อาจกล่าวได้แน่ชัดนักว่ากวนอิมในนิทานนี้เป็นพุทธหรือเป็นเต๋ากันแน่ อย่างไรก็ตาม น่าประหลาดที่ต้นกำเนิดของนิทานเรื่องนี้อาจสืบย้อนถอยหลังไปได้ไกลมาก ในพุทธศตวรรษที่ 12 ภิกษุรูปหนึ่งนามว่า Tao Suan เป็นคนร่วมสมัยกับพระภิกษุห้วนจาง เพราะเป็นมิตรกัน ปรากฏว่าเมื่อก่อนมรณภาพพระภิกษุรูปนี้มีสติวิปลาส อ้างว่าได้สนทนากับเทพต่าง ๆ อีกทั้งได้ลงแรงจดคำสนทนาที่มีกับเทพเหล่านี้เอาไว้ แต่ต้นฉบับก็อ่านไม่รู้เรื่องได้ตลอด ศิษย์ของท่านคนหนึ่งแกะอักษรที่เขียนไว้นี้เฉพาะตอนที่พออ่านรู้เรื่องมาพิมพ์ไว้ ปรากฏว่ามีนิทานเรื่องนางเมี่ยวชานอยู่ในนั้นด้วย

แต่นิทานที่ปรากฏขึ้นนี้ก็หายสาบสูญไป เพราะบ้านเมืองวุ่นวายเป็นจลาจล กลับมาปรากฏอีกครั้งหนึ่งในสมัยราชวงศ์หงวน กลายเป็นนิทานของเซียนในลัทธิเต๋า นิทานเรื่องนี้เล่าและแต่งสืบต่อกันมาจนเป็นนิทานเรื่องเมี่ยวซานที่รู้จักกันดีและกล่าวถึงไว้แล้วนั้น

ได้พบนิทานเรื่องนี้แต่เล่าอีกสำนวนหนึ่งว่า ในสมัยหงวน หญิงผู้หนึ่งศรัทธาพุทธศาสนา บิดาบังคับให้แต่งงานจึงหนีไปบวชชี บิดาให้คนเผาสำนักชี นางถึงแก่กรรมในกองเพลิง ได้เกิดเป็นเทพธิดา ต่อมาบิดาเสียจักษุ หมอบอกต้องใช้ดวงตาของลูกสาว นางเทพธิดาจึงควักดวงตาให้ บิดาสำนึกในความผิด ส่วนนางเทพธิดาก็ไม่ตาบอด กลายเป็นเทพธิดาแห่งความเมตตากรุณาหรือกวนอิม ที่จริงอาจเป็นนิทานเรื่องเดียวกันแต่เล่าย่อ ๆ เท่านั้นก็ได้

ได้กล่าวแล้วว่านิทานเรื่องเมี่ยวซานเคยปรากฏในฐานะประวัติของเซียนในลัทธิเต๋า ฉะนั้นกวนอิมจึงเป็นที่นับถือในลัทธิเต๋าของชาวบ้านอยู่ด้วย จากการสัมภาษณ์ “อาจารย์” ของสำนักธรรมเต๋าแห่งหนึ่ง พบว่าลัทธิเต๋าไม่ได้ให้บทบาทพิเศษแก่กวนอิม แต่เนื่องจากต้นกำเนิดของธรรมชาติ เรียกว่า “ปฐมมารดา” เป็นฝ่ายหญิง (หยิน) จึงเหมาะที่จะใช้กวนอิมซึ่งเป็นที่นับถือของชาวบ้านอยู่แล้ว เป็นตัวแทนของ “ปฐมมารดา” นั้น ดังมนตร์บทหนึ่งกล่าวว่า

“น้อมกราบองค์ธรรมปฐมมารดา ทรงมหาเมตตาจุติมรรคธรรม ล้ำคุณค่า…รู้คุณต้องคุณองค์ธรรมมารดา…”

(ซ้าย) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรปัทมปาณี พบที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี, (ขวา) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร พบที่ Kurkihor ทางตะวันออกของอินเดีย ซึ่งมีการสันนิษฐานว่า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรปัทมปาณีที่พบที่ไชยา หากอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ก็น่าจะมีลักษณะใกล้เคียงกัน (ภาพจากหนังสือ Khandalavala, Karl and Sadashiv Gorakshkav. Eastern Indian Bronzes. Bombay : Lalit Kalā Akademi, 1986)

ลัทธิเต๋าพูดถึงความเมตตากรุณาของกวนอิมเช่นกัน อีกทั้งมีปฏิมากวนอิมตั้งบูชาในหมู่เทพต่าง ๆ บนโต๊ะใหญ่ด้วย แต่ในขณะเดียวกัน “อาจารย์” ก็เตือนว่า “ใคร ๆ ก็มีกวนอิมอยู่ในตัว จะไปหาทางทิศใต้ได้อย่างไรเล่า”

กล่าวโดยสรุป ลัทธิเต๋าให้ความหมายและความสำคัญแก่กวนอิมอย่างกำกวม ในแง่หนึ่งก็ยอมรับในมหิทธานุภาพและพระเมตตาทยาธิคุณของกวนอิมอย่างที่ชาวบ้านจีนทั่วไปยึดถือ แต่ในอีกแง่หนึ่ง กวนอิมก็เป็นเพียงสัญลักษณ์ของธรรมชาติ หรือปฐมมารดา ซึ่งมีอยู่ในตัวเราทุกคนอยู่แล้ว ใครที่เข้าหาลัทธิเต๋า (ตามคำประกาศของสำนักธรรมไตรรัตน์ที่ผู้เขียนได้สัมภาษณ์) ก็มีอิสระที่จะยึดถือกวนอิมในความหมายใดก็ได้

กวนอิมซึ่งเป็นที่นับถือของชาวบ้านในจีนคือ “กวนอิมให้ลูก” ภาพกวนอิมที่มักอุ้มเด็กคงจะมาจากความเชื่อเรื่องนี้ นอกจากภาพอุ้มเด็กจะเป็นสัญลักษณ์แห่งความเมตตาที่เห็นได้ชัดเจนดีแล้ว

กวนอิมเป็นที่นับถือกันมากพิเศษในหมู่ชาวจีนทางใต้ มักมีหิ้งบูชากวนอิมในบ้าน ตั้งรูปอยู่กลางระหว่างเจ้าครัวไฟและเจ้าที่ ในวันบูชาก็จะถวายอาหารเจและธูป เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำหรับขอลูก บางคนที่เคร่งครัดก็จะปฏิญาณไม่กินเนื้อสัตว์ตามวัน (เช่น ครบรอบวันเกิดในรอบสัปดาห์) หรืออาจตลอดไป

กวนอิมในเมืองไทยสังกัดอยู่ฝ่ายพุทธเสียเป็นส่วนใหญ่ นิทานเรื่องนางเมี่ยวซานที่เล่าในเมืองไทยก็ระบุชัดเจนว่า ธรรมที่นางเมี่ยวซานใฝ่หานั้นเป็นพุทธธรรม บทสวดภาษาจีนที่ใช้ในการสวดบูชากวนอิมก็มีเนื้อความเป็นพุทธ และในหมู่ผู้รู้ก็ยืนยันจะอธิบายว่ากวนอิมคือปางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวร แต่ในบรรดาผู้นับถือโดยทั่วไป ไม่ค่อยได้สนใจว่าเป็นปางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรหรือไม่ หากนับถือกวนอิมเหมือนเป็นเทพที่คอยช่วยบำบัดทุกข์ภัยต่าง ๆ ที่ตนเผชิญอยู่มากกว่า

อันที่จริงปฏิมาพระอวโลกิเตศวรนั้นไม่ค่อยได้เห็น มักมีอยู่เฉพาะในวัดจีนเท่านั้น นักวิชาการฝรั่งคนหนึ่งก็ตั้งข้อสังเกตทำนองเดียวกันว่าศาลกวนอิม (ปางที่เป็นสตรีอย่างชัดแจ้ง) ในประเทศจีนมักอยู่นอกวัด ส่วนในวัดก็จะเป็นปฏิมาพระอวโลกิเตศวรปางต่าง ๆ

เจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้หญิงไหม

สำหรับรูปประติมากรรมพระแม่กวนอิมในลักษณะของเพศหญิงที่เป็นที่นับถือกันในปัจจุบันนั้น แท้จริงแล้ว เมื่อครั้งศาสนาพุทธแรกเผยแผ่จากอินเดียสู่จีนนั้น รูปลักษณ์ของพระอวโลกิเตศวร(พระโพธิสัตว์กวนอิม)ก็เป็นภาพของพระโพธิสัตว์เพศชายเช่นเดียวกับในอินเดีย สันนิษฐานว่า คติเกี่ยวกับรูปเคารพพระโพธิสัตว์กวนอิม น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยสาม ...

เจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้ชายเพราะอะไร

และด้วยคุณสมบัติความเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตาของพระองค์นี่แหละ ที่ทำให้เพศของพระองค์เกิดความแตกต่างขึ้นมาเพราะความกรุณาในแต่ละวัฒนธรรมมีการตีความที่แตกต่างกันออกไป อย่างในอินเดีย ในญี่ปุ่น หรือในเกาหลี ความกรุณานั้นแทนที่ด้วยเพศชาย ดังนั้น พระโพธิสัตว์องค์นี้ในวัฒนธรรมเหล่านี้จึงเป็นผู้ชาย ในขณะที่คุณสมบัติความ ...

เจ้าแม่กวนอิมเกี่ยวกับอะไร

พระแม่กวนอิมเป็นพระโพธิสัตว์ ของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากพระสูตรมหายานในอินเดีย โดยผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมของจีน คือตำนานเรื่องพระธิดาเมี่ยวซ่าน จนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมดังที่เห็นในปัจจุบัน เพื่อสื่อถึงความอ่อนโยน ความเมตตาปราณี ทั้งนี้ผู้ที่นับถือพระแม่กวนอิม ตามความเชื่อจะไม่บริโภค ...

พระแม่กวนอิมถืออะไร

ลักษณะปางของเจ้าแม่กวนอิม “ปางหยางหลิ่วกวนอิน” ปางนี้พระโพธิสัตว์กวนอิมพระหัตถ์หนึ่งถือกิ่งต้นหลิว อีกพระหัตถ์ถือน้ำอมฤต เชื่อกันว่าสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด