ชนเผ่าใดเป็นผู้สร้างเครื่องดนตรี

ผู้รับรางวัลศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรดีเด่น สาขาผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสังคม ประจำปี 2563 นี้ มาเหนือความคาดหมายของผู้ติดตามข่าวนี้มานาน เพราะด้วยวัยเพียง 32 ปี สาวเท่อย่างคุณศิรษา บุญมา หรือคุณเม สามารถทำให้ดนตรีชนเผ่าซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยมีเสน่ห์น่าสนใจสำหรับชนกลุ่มใหญ่ขึ้นมาได้

จากเด็กที่เริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่วัยเพียง 6-7 ขวบ ตามด้วยไวโอลิน ปิดท้ายด้วยกีต้าร์คลาสสิก ซึ่งอย่างหลังนี้เธอเรียนจนกระทั่งจบปริญญาตรี คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

“ป่าป๊าอยากให้เมเรียนดนตรีตั้งแต่เด็กค่ะ เพราะท่านอยากให้เมมี EQ  ท่านเห็นว่าสุดท้ายคนที่ประสบความสำเร็จแทบทุกคนจะต้องทำกิจกรรมเสริม และสามารถร่วมงานกับคนอื่นได้ ป่าป๊าไม่ได้สอนให้เมเป็นคนเก่งแล้วทิ้งคนอื่น แต่ป่าป๊าสอนให้เมทำงานร่วมกับคนอื่นเป็น ก็เลยให้เมกับน้องเรียนดนตรีและทำกิจกรรมตั้งแต่ยังเล็กค่ะ

“ที่สอบดุริยางคศาสตร์ เพราะรู้สึกว่าเราชอบทางนี้ แต่ไม่รู้ว่าจะสอบเข้าคณะไหน จนอาจารย์บอกว่าถ้าชอบดนตรี ในประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยที่สอนดนตรีด้วย แต่ต้องเรียนทฤษฎีดนตรีกับ Ear Training เพิ่ม ก็เลยไปลองเรียน ปรากฏว่าชอบ มันเหมือนอีกภาษาหนึ่ง สนุกมาก ก็เลยสอบเข้าเรียนสาขาเชิงพาณิชย์ โดยเน้นเรื่องการแต่งเพลง การเป็น Sound Engineerและ Sound Production ก็สนุกดีค่ะ

เมื่อต้องรับหน้าที่เป็นดีเจ

“ช่วงสองปีสุดท้ายเมเริ่มฝึกแต่งเพลง พัฒนาเพลงของตัวเอง และพัฒนาความสามารถในการทำงานหลากหลายรูปแบบ จนตอนปีสี่ เมได้ทำกิจกรรม Music & Community ที่แม่ฮ่องสอนกับสุรินทร์ เราไปอยู่กับน้องๆในชุมชนที่อาจจะไม่มีโอกาสได้สัมผัสดนตรีสากล ให้เขาสนุกกับการฟังเสียงต่างๆ แล้วเขามาสร้างสรรค์เป็นผลงานของเขาเอง โดยมีเราเป็นพี่เลี้ยง

“ที่แม่ฮ่องสอนเราไปสอนชนเผ่ามูซอ ลีซู แล้วก็กระเหรี่ยง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เปิดโลกเมมากที่สุด เพราะเครื่องดนตรีที่เราเจอไม่ใช่เครื่องดนตรีคลาสสิกหรือเครื่องดนตรีสากลที่เราเคยเห็นเลย แต่เขาเอาไม้ไผ่ใส่ลิ้นมาต่อกันเรียกว่าจ๊องหน่อง เวลาดีดจะมีเสียงดังป่อยป่อย  เพื่อเล่นเพลงที่ไม่มีโน้ตไม่มีเนื้อร้อง แต่พอถามคุณพ่อเขาว่าเล่นทำไม คือเมโตมากับเพลงที่มีเมโลกดี้ชัด รู้ว่าร้องอะไร เขาบอกว่าใช้จีบสาว เราก็งงว่าใช้จีบสาวได้ด้วยหรือ เขาก็บอกจีบติดนะ แล้วก็ชี้ไปที่ภรรยาบอกว่านั่งอยู่นี่ไง  ซึ่งโมเมนท์นั้นมันทัชเรา ที่เมเล่าเรื่องนี้ให้ทุกคนฟังก็เพราะเราไปเจออีกโลกหนึ่งที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนเลย เป็นการผูกดนตรีกับชีวิตโดยที่เราไม่รู้ เพราะถ้าเป็นดนตรีสากลเพลงจะมาจากตัวเรา แต่อันนี้ span มันกว้างขึ้น เพราะมันรวมกับชีวิตกับสังคม เรารู้สึกว่ามันจี้จุดเรา แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรด้านนี้ต่อ”

เหินฟ้าสู่แดนผู้ดี

หลังเรียนจบจากมหาวิทยาลัยศิลปากร คุณเมทำงานที่ TCDC และทำงานด้าน Sound Production อยู่ราว 5-6 ปี จึงไปเรียนปริญญาโทต่อที่ประเทศอังกฤษ

“เมอยากเป็นเจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับดนตรีมาตั้งแต่เรียนตรีแล้วค่ะ พอเห็นเพื่อนไปเรียนด้าน Creative and Cultural Entrepreneurship (Music Pathway) ที่ Goldsmiths University of London เมเลยอยากเรียนบ้าง เพราะคิดว่าคงถึงเวลาแล้วที่เราจะเรียนรู้เรื่องการเป็นผู้ประกอบการ เลยสมัครไป 4 แห่ง SOAS, Goldsmiths University of London, University of Sheffield และ University of Westminster เมสอบติดสามแห่งแรก คิดว่าถ้าเราจะเป็นผู้ประกอบการมากกว่าเทคนิเชียน ก็เลยเลือกโกลด์สมิธ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังตั้งอยู่ในลอนดอน เมจึงเลือกที่นั่นเพราะคิดว่าเราจะได้ดูงานนิทรรศการดีๆ เพื่อว่าจะได้แฮปปี้กับชีวิตที่นั่น”

ระหว่างซัมเมอร์ทริป

เวลาหนึ่งปีในลอนดอน คุณเมมีความสุขกับการใช้ชีวิตนักเรียนที่นั่นอย่างมาก เพราะได้ไปอยู่ท่ามกลางคนที่พร้อมจะริเริ่มสิ่งใหม่ๆ

“เดเมียน เฮิร์สก็จบจากสถาบันนี้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยก็เก่งเรื่องทฤษฏีโพสต์โมเดิร์น นอกจากจะมีการคิดแบบ Critical Thinking มีการวิจารณ์ศิลปะต่างๆนานา สุดท้ายที่นี่สอนเมว่า จริงๆทฤษฏีมีไว้แหก ต้องการคนที่มีหัวปฏิวัติประมาณหนึ่ง นี่คือ Identity ของโกลด์สมิธ

“ระหว่างเรียนเมได้ช่วยงาน Bournemouth Art Festival ซึ่งรุ่นพี่คนไทยที่เรียนปริญญาเอกที่โกลด์สมิธเป็นคนจัด เขาให้เมไปเป็น Manager ของงาน โดยเชิญศิลปินไทยในยุโรปและไทยไปแสดงงาน”

ริเริ่ม Hear & Found

จากอังกฤษ คุณเมกลับมาทำงานกับ Local Alike ซึ่งเป็นธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ทำให้เธอได้ท่องไปทั่วประเทศไทย ได้พบเจอคนในชุมชนต่างๆ

“เมเจอแต่คนแก่ หนุ่มสาวไปทำงานต่างถิ่นกันหมด ทำให้เมรู้สึกลึกๆว่า ต่อไปสิ่งที่เรียกว่า ภูมิปัญญาชาวบ้าน อย่างเรื่องการทอผ้าต้องหายไปแน่ๆเลย  ก็ค้นลึกไปเรื่อยๆ จนเจอว่าหนึ่งในสาเหตุของการสูญหายทางวัฒนธรรม เกิดจากการที่ชาวบ้านไม่รู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง และที่เกิดขึ้นมากเลยก็คือคนที่มีวัฒนธรรมสูงอย่างชนเผ่าในไทย ซึ่งกลุ่มชนเผ่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่อยู่ชายขอบ เขารู้สึกว่าไม่มีตัวตน ไม่มีพื้นที่ทางสังคม การใส่ชุดชนเผ่าไปโรงเรียน เทำให้ขาถูกเพื่อนแกล้ง หรือพ่อแม่ของเด็กในเมืองไม่อยากให้ลูกเรียนกับเพื่อนที่มาจากชนเผ่า แล้วมักจะถูกตราหน้าว่าเเป็นคนผาป่าค้ายา ทำให้กลุ่มชนเผ่ารุ่นใหม่รู้สึกว่าไม่รู้จะเป็นตัวเองไปทำไม

คุณเมในคอสตูมกลมกลืนไปกับศิลปินชนเผ่า

“พอเจอปัญหาแบบนี้มากๆเข้า ปี 2018 เมก็เลยทำ Hear & Found ขึ้นมา เพื่อลบการเหยียดชน กลุ่มน้อยให้หมดไป ผ่านการใช้วัฒนธรรมที่งดงามของพวกเขามาเป็นเครื่องมือ เริ่มด้วยการออกแบบประสบการณ์ดนตรีชนเผ่าและดนตรีอีสานให้คนรู้จัก เราต้องสร้างสังคมที่คนรู้สึกว่าความหลากหลายมีข้อดี แต่ก็ยากมาก เพราะมันใหม่มาก ยังไม่มีใครเข้าใจว่าทำไปทำไม

“ตอนนี้เราแบ่งโมเดลเป็น 2 ก้อน ก้อนแรกคือเพิ่มความภูมิใจให้เขา ก่อนที่จะไปสร้าง execution บนวัฒนธรรมของเขา ส่วนอีกก้อนเราอยากให้เกิดความยั่งยืน ไม่ใช่ว่าพอเราไม่ได้ทำแล้ว พี่เขาอยู่ไม่ได้เหมือนกัน เราถึงคิดว่าจะจัด World Music Festival ขึ้นในไทย เแต่เราอยากเริ่มจากงานเล็กๆ ก่อน ครั้งแรกเป็นงานดนตรีปกากะญอ ทุกวันนี้เราจัดมาแล้วสิบกว่างาน มีคนมาร่วมเป็นพันคน ส่วนวิดีโอที่เราโพสต์ในเฟซบุ๊ครีชถึงหลักแสน

“ทุกครั้งที่เมรู้สึกท้อ จะมีคนเดินมาบอกว่า ดีแล้ว ทำต่อเถอะ ซึ่งเมก็เห็นว่าเราสามารถพาพี่ๆชนเผ่าไปยังเวที UNDP ได้ ทำให้เขาภูมิใจมากที่มีคนเห็น แล้วสามารถแก้ปัญหาให้เขาได้ เพราะถ้าเขาทำเองแรงขับเคลื่อนคงไม่เท่ากัน อิมแพคท์ของ Hear & Found อาจไม่สามารถนับเป็นตัวเลข แต่คือความเข้าใจ ซึ่งต้องยอมรับว่าในไทยมีผู้สนับสนุนเรื่องนี้น้อยมาก เพราะเขารู้สึกว่าไม่ใช่ปัญหาปากท้องที่ต้องรีบแก้ไข”

บรรยากาศการแสดงดนตรีโดยศิลปินชนเผ่าซึ่งมีแฟนคลับอยู่จำนวนไม่น้อย

เป้าหมายต่อไปของศิษย์เก่าดีเด่นฯ คนนี้

เมื่อถามถึงความรู้สึกที่ได้รับเลือกให้เป็นศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรดีเด่น ประจำปีนี้ ว่าเป็นอย่างไร คุณเมตอบอย่างเต็มไปด้วยความรู้สึกเต็มตื่้น

“ตอนที่ทราบว่าตัวเองได้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นฯ เมดีใจมาก เพราะตอนแรกคิดว่าจะขอถอนตัว เนื่องจากอิมแพคท์เราไม่ถึง แต่โชคดีที่คนอังกฤษเข้าใจเรื่องนี้ดี”

สำหรับเป้าหมายต่อไปของเธอจะเป็นอย่างไรนั้น เราขอให้เธอพูดเองจะดีกว่า

“สำหรับเป้าหมายต่อไปของเม คิดว่าภายในสองปีนี้จัด World Music Festival ครั้งแรกให้เกิดขึ้นให้ได้ เราอยากสร้างคอมมิวนิตี้ของคนที่อยากอนุรักษ์วัฒนธรรมที่หลากหลายซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่มาก คนที่เคยมางานเราก็บอกว่า มันไม่ใช่แค่เพื่อสนุก แต่เป็นความอิ่มเอมใจ ซึ่งเมก็อยากคง Identity นี้เอาไว้ค่ะ”    

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด