ข้อใดแสดงถึงการให้ความเอาใจใส่สมาชิกในครอบครัว ได้ ชัดเจนที่สุด

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

1.ความหมายและความสำคัญของบ้าน

ความหมายของบ้าน

               บ้านเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ให้ความรัก ความอบอุ่น ความปลอดภัย เป็นศูนย์รวมของสมาชิกทุกคนในครอบครัวที่จะใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 

               ครอบครัว หมายถึง หน่วยหนึ่งของสังคม ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน ให้การศึกษา อบรมเลี้ยงดู

ความหมายของคำว่า บ้าน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน บ้าน ความหมาย ที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้างสำหรับเป็นที่อาศัย เช่น บ้านพักตากอากาศ บ้านเช่า โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อาศัยซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง และหมายรวมถึง แพ หรือ เรือ ซึ่งจอดเป็นประจำ

                ความสำคัญของครอบครัว ให้การศึกษา อบรมเลี้ยงดู ถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆและสร้างเสริมประสบการณ์ต่างๆ ให้กับสมาชิกที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ตั้งแต่เกิดจนเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ให้ความรัก ความเมตตา การเอาใจใส่ ห่วงใย อาทร สร้างความเข้าใจ พยายามเข้าใจ และสร้างสมาชิกในครอบครัวให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สังคมต้องการ

2. ความหมายและความสำคัญของครอบครัว

ครอบครัวเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมซึ่งประกอบด้วยสมาชิกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปอยู่ร่วมบ้านเดียวกันช่วยกันดูแลรักษาและออกค่าใช้จ่ายภายในบ้านร่วมกัน

       นอกจากนี้ครอบครัวยังเป็นรากฐานหรือสถาบันที่สำคัญของสังคมในการให้การศึกษาอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูและสร้างประสบการณ์ด้านต่างๆแก่สมาชิกที่อาศัยอยู่ร่วมกันตั้งแต่ยังเด็กจนเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์

ความหมายของครอบครัว

    ครอบครัว หมายถึง การอยู่ร่วมกันของกลุ่มบุคคลที่เป็นสมาชิก ซึ่งมีความสัมพันธ์กันผูกพันกัน เช่น ความสัมพันธ์ทางสายเลือด หรือการรับเป็นบุตรบุญธรรม สมาชิกที่มีความสัมพันธ์กันและมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกัน เช่น เป็นบิดา เป็นมารดา เป็นสามีหรือภรรยา     หรือเป็นบุตร ฯลฯ ซึ่งสมาชิกเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทยได้ให้ความหมายของครอบครัวในเชิงสหวิทยาการ ดังนี้ (รุจา ภู่ไพบูลย์ , 2537 : 1-4)

1. ด้านชีววิทยา ครอบครัวหมายถึง กลุ่มคนที่มีความผูกพันทางสายโลหิต

2. ด้านเศรษฐศาสตร์ ครอบครัวหมายถึง กลุ่มบุคคลที่ใช้จ่ายเงินจากงบประมาณเดียวกัน แม้จะอาศัยอยู่ต่างสถานที่กัน

3. ด้านสังคมศาสตร์ ครอบครัวหมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ร่วมเคหะสถานหรือบ้านเดียวกันมีปฏิสัมพันธ์ สนใจต่อทุกข์ซึ่งกันและกัน มีความผูกพันกัน มีความรักความปรารถนาดีต่อกัน โดยไม่จำเป็นต้องสืบสายโลหิตเดียวกัน

4. ทางกฎหมาย หรือนิติศาสตร์ ครอบครัวหมายถึง ครอบครัวที่ชายหญิงจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งครอบคลุมถึงบุตรและบุตรบุญธรรม กฎหมายยังได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของบิดา มารดา สามี ภรรยา และบุตรที่มีต่อกัน และกำหนดสิทธิในการรับมรดกตามกฎหมาย

   สรุปได้ว่าครอบครัวจะมีลักษณะ ดังนี้

ประกอบด้วยคนมากกว่า 1 คนขึ้นไป ที่มีความผูกพันกันสัมพันธ์กันทางสายโลหิต หรือกฎหมาย

ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มอื่นๆในสังคม

สมาชิกในครอบครัวจะมีบทบาทตามที่สังคมให้ความหมาย เช่น บิดา มารดา บุตร เป็นต้น

ความสำคัญของครอบครัว ให้การศึกษา อบรมเลี้ยงดู ถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆและสร้างเสริมประสบการณ์ต่างๆ ให้กับสมาชิกที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ตั้งแต่เกิดจนเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ให้ความรัก ความเมตตา การเอาใจใส่ ห่วงใย อาทร สร้างความเข้าใจ พยายามเข้าใจ และสร้างสมาชิกในครอบครัวให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สังคมต้องการ ปัญหาครอบครัว

ครอบครัวเป็นการรวมตัวของบุคคลที่มีความรัก ความผูกพันกัน มีปฏิสัมพันธ์กันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ครอบครัวเป็นสถาบันสังคมที่เล็กที่สุดแต่เป็นสถาบันที่มีความสำคัญที่สุด เพราะเป็นหน่วยสังคมแรกที่หล่อหลอมชีวิตของคนในครอบครัวให้การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอน ครอบครัวเป็นแหล่งผลิตคนเข้าสู่สังคม สังคมจะดีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับครอบครัว เพราะครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่ให้การอบรมสั่งสอน หล่อหลอมพฤติกรรม การกระทำ ความคิด ความรู้สึก เรียกโดยรวมว่า ช่วยหล่อหลอมบุคลิกภาพของมนุษย์ สร้างและพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ในสังคม

          สังคมไทยในอดีต สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวจะมีความใกล้ชิดสนิทสนมมีความผูกพัน มีสัมพันธภาพแน่นแฟ้น มีความเคารพนับถือ ให้ความช่วยเหลือ ดูแลกันอย่างทั่วถึง มีการติดต่อไปมาหาสู่หมู่ญาติพี่น้องสม่ำเสมอ ครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย (Extended Family) คือเป็นครอบครัวใหญ่ที่ประกอบไปด้วยญาติพี่น้องของสามีหรือภรรยา เช่น พี่ ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น อยู่ร่วมในครอบครัวด้วย

 ปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงในสังคม ส่งผลให้สภาพครอบครัวไทยในอดีตเปลี่ยนแปลงไป เช่นเดียวกัน กล่าวคือ ครอบครัวปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family ) จะมีเฉพาะสามี ภรรยา บุตร และอาจมีผู้ช่วยทำงานบ้าน พ่อแม่ลูก ไม่ค่อยมีความใกล้ชิดกันมากนัก เพราะจะต้องออกไปหารายได้นอกบ้าน มาช่วยจุนเจือครอบครัว ลูกต้องจ้างคนอื่นเลี้ยง หรือให้ญาติดูแล หรือต้องฝากเข้าโรงเรียนก่อนวัยเรียน การไปมาหาสู่กับญาติพี่น้องน้อยลง

 ความผูกพัน ความเอาใจใส่ซึ่งกันและภายในครอบครัวลดลง สิ่งแวดล้อมภายนอก คือ กลุ่มเพื่อนมีความสำคัญมากกว่าครอบครัวถ้าได้ไปเข้ากลุ่มกับเพื่อนที่ไม่ดีเป็นคนเลวร้าย ปัญหาอื่นๆ อาจตามมา เช่น ติดการพนัน ยาเสพติด

ซ่องโจร สำส่อนทางเพศ ก่ออาชญากรรม เป็นต้น

          สภาพที่เกิดขึ้นเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึง ความล้มเหลวของสถาบันครอบครัวซึ่งสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ ความแตกแยกของพ่อแม่ในการครองชีวิตคู่ ความไม่สนใจ ใส่ใจดูแลลูก การทุ่มเทให้กับการทำมาหากิน หรือสิ่งอื่นๆ มากกว่าลูก

 ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เด็กในครอบครัวรู้สึกขาดความมั่นคง ขาดความรักความอบอุ่นและขาดรูปแบบที่เหมาะสมที่จะยึดเป็นแนวทางได้ ทำให้เด็กมีโอกาสง่ายต่อการเดิน หลงทางชีวิต

ครอบครัวอบอุ่น คือครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ การ มีครอบครัวที่อบอุ่นทำให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข คนที่มีครอบครัวอบอุ่นย่อมมีความได้เปรียบ เพราะสามารถ ทำหน้าที่ได้เหมาะสม และทำให้สมาชิกในครอบครัวมีสุขภาพจิตดีไปด้วย

10 ลักษณะ ครอบครัวที่อบอุ่น

1. มีขอบเขตที่เหมาะสม ทั้งขอบเขตส่วนบุคคล และคนในครอบครัว

2. มีความผูกพันทางอารมณ์ที่เหมาะสม ไม่ห่างเกิน ไป และไม่ใกล้ชิดกันเกินไป สมาชิกในครอบครัวมีความเป็นตัวของตัวเอง แต่ยังคงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในครอบครัวได้

3. มีการจัดลำดับอำนาจ และความเป็นผู้นำที่ชัดเจน

4. สมาชิกมีบทบาทหน้าที่ชัดเจน และปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสอดคล้องกัน

5. โครงสร้างและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวมีความยืดหยุ่นดีและเหมาะสม

6. สามารถแก้ไขความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. มีการจัดระบบภายในครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ

8. มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

9. มีเครือข่ายทางสังคมที่ดี และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว

10. สมาชิกในครอบครัวใช้เวลาอยู่ร่วมกันตามสมควร

การสร้างเสริมสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัว

          การได้อยู่ในครอบครัวที่มีความสัมพันธภาพอบอุ่นเป็นความสุขอย่างหนึ่งที่คนทุกเพศทุกวัยและทุกฐานะ ปรารถนาและเป็นกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพจิตที่แข็งแรงสมบูรณ์

          สมาชิกในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นสามีภรรยา หรือลูกก็ตามที่ได้อยู่ในครอบครัวอันอบอุ่นจะรู้สึกว่าอยากกลับบ้านเมื่อเลิกงานหรือเลิกเรียน อยากมีกิจกรรมกับคนที่บ้าน เช่น รับประทานอาหารเย็นร่วมกันเล่นกีฬาร่วมกัน มีข่าวร้ายข่าวดีอยากบอกคนที่บ้าน เพื่อให้ความช่วยเหลือหรือร่วมดีอกดีใจด้วย

          ส่วนครอบครัวที่มีสัมพันธภาพไม่ดีนั้นไม่มีใครอยากอยู่บ้าน ไม่มีใครอยากปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับใครทุกคนไขว่คว้าหาความสุขนอกบ้าน จะกลับบ้านเมื่อจำเป็น เช่น เงินหมด หรือต้องการพักผ่อนนอนหลับเท่านั้น สัมพันธภาพในครอบครัวเริ่มต้นจากความรักความอบอุ่นของสามีภรรยาที่ดีต่อกัน เมื่อมีลูกสัมพันธภาพนั้นจะขยายไปสู่ลูก เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง พ่อ แม่ ลูก ซึ่งทุกคนเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับประกอบกับมีความผูกพันทางสายเลือดของพ่อแม่ที่มีต่อลูก ครอบครัวจึงเป็นแหล่งความรัก ความอบอุ่นที่สำคัญและยั่งยืนกว่าสัมพันธภาพใดๆ การสร้างเสริมสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัวมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้

        1. ความผูกพันในครอบครัว สามีภรรยาต้องช่วยกับประคับประคองชีวิตครอบครัวให้ราบรื่นมั่นคง

และช่วยกันเลี้ยงดูลูกด้วยความรักและเอาใจใส่ ในครอบครัวที่พ่อแม่หย่าร้างกันใหม่ๆ ความผูกพันฉันสามีภรรยาและพ่อแม่ลูกที่เคยมีถูกตัดหายไป คนเหล่านี้จะรู้สึกขาดความรักความอบอุ่น ถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว โดยเฉพาะเด็กที่ยังพึ่งตนเองไม่ได้จะรู้สึกว้าเหว่มาก ดังนั้นการที่จะสร้างเสริมสัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัวจึงจำเป็นต้องรักษาความผูกพันไว้เป็นอันดับแรก ความผูกพันระหว่างแม่กับลูกนั้นเป็นความผูกพันที่แน่นแฟ้นด้วยการที่แม่เป็นผู้ให้กำเนิดและฟูมฟักดูแลจนลูกเจริญเติบโต ส่วนผู้เป็นพ่อนั้นมีความผูกพันการลูกด้วยการช่วยเลี้ยงดู ปกป้องคุ้มครองเป็นตัวอย่าง และชี้แนะแนวทางให้ลูกเดินในทางที่ถูกต้อง สำหรับผู้เป็นลูกนั้นก็ควรให้ความเคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนอบรมของพ่อแม่ และแสดงความรักต่อพ่อแม่โดยการขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน ประพฤติตนเป็นคนดี ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ไม่เกเร เสพสารเสพติด เล่นการพนัน รวมทั้งปฏิบัติกิจกรรมภายในยามว่างร่วมกับครอบครัว เช่น ออกกำลังกายร่วมกัน ไปเที่ยวนอกบ้านด้วยกัน นอกจากนี้ความผูกพันที่ครอบครัวไม่ควรละเลยอีกประการหนึ่ง คือ ความกตัญญูต่อปู่ย่าตายาย การให้ความรักเอาใจใส่ ตอบแทนพระคุณท่านที่ได้เลี้ยงดูแลเรามา

        2.การเอาใจใส่ คือ การให้ความสนใจและสนับสนุนตามความต้องการอย่างเหมาะสม การเอาใจใส

ต้องมีความพอดี เช่น ลูกจะเรียนแล้วกลับบ้านกี่โมงก็ได้ไม่มีใครสนใจ จะทำให้ครอบครัวมีสภาพเหมือนต่างคนต่างอยู่ การเอาใจใส่มากเกินไปก็จะทำให้รำคาญ ไม่เป็นตัวของตัวเองนอกจากนี้การเอาใจใส่ต้องมีความเป็นธรรม ได้รับความสำคัญเท่าเทียมกันทุกคนไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่หรือลูกก็ตาม

การเอาใจใส่ที่ควรระมัดระวัง คือ การใช้เงินทดแทนการเอาใจใส่ พ่อแม่ไม่มีเวลาก็ให้เงินลูกไว้ใช้เที่ยวเตร่หรือซื้อของตามที่ต้องการ เมื่อถึงวันเกิดก็ซื้อของมียี่ห้อราคาแพงให้เพื่อแสดงถึงความสนใจใส่ใจของพ่อแม่ สิ่งเหล่านี้จะสร้างความอบอุ่นแบบจอมปลอมและความเป็นนักวัตถุนิยมให้แก่ลูก

        3.ความเข้าใจ คำนี้เป็นปัญหาสำหรับครอบครัวเสมอมา สามีภรรยาไม่เข้าใจกัน พ่อแม่ไม่เข้าใจลูก

ลูกไม่เข้าใจพ่อแม่ สิ่งที่ครอบครัวควรเข้าใจกันก็คือ ลักษณะนิสัยใจคอ ข้อดี ข้อบกพร่องของแต่ละคนเพื่อเป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันหรือปรับตัวเข้าหากัน เช่น พ่อชอบบ้านที่เงียบสงบแต่แม่ชอบบ่น พ่ออาจจะต้องพูดคุยกับแม่ถึงเรื่องหรือสาเหตุที่ทำให้แม่รำคาญใจ ส่วนพ่อก็ปรับปรุงแก้นิสัยของตนเองให้แม่เกิดความพอใจ เมื่อพ่อแก้ไขแล้วแม่ก็ควรลดหรือหยุดพฤติกรรมการบ่น   

        4.การพูดจา เป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างหรือทำลายสัมพันธภาพอันอบอุ่นในครอบครัว นอกจากการ

พูดจาสุภาพและให้เกียรติกันแล้ว สมาชิกในครอบครัวควรรู้จักการแสดงความรู้สึกที่ดีต่อกัน เช่น การแสดงความรัก คำชมเชย การให้กำลังใจ การปลอบใจ การพูดถึงข้อดีและข้อเสนอแนะให้แก้ไขปรับปรุง ส่วนเมื่อเกินความไม่พอใจหรือความขัดแย้ง ควรหาโอกาสพูดหรือสื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าใจถึงความรู้สึกเพื่อปรับความเข้าใจกัน และในครอบครัวจะไม่มีการพูดจาเกิดขึ้นเลยถ้าไม่มีการฟัง ดังนั้นนอกจากการพูดแล้วทุกคนควรยอมรับการรับฟังและความคิดเห็นของกันและกันด้วย

    สิ่งที่มักจะเป็นอุปสรรคสำคัญของการสร้างสัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัว ได้แก่

1.การอ้างว่าไม่มีเวลา  ต้องทำมาหากิน  แต่ถ้าเห็นสัมพันธภาพที่อบอุ่นของครอบครัวมีคุณค่าต่อจิตใจของทุกคนในครอบครัว  คำกล่าวอ้างนั้นอาจหายไปหรือลดน้อยลง

2.การอ้างว่าให้แล้ว  เช่น  ให้เงินลูกแล้วอยากได้อะไรก็ไปซื้อเอาเอง  ให้เวลากับครอบครัวแล้วแต่เวลาที่ให้คือดูรายการโทรทัศน์ร่วมกัน

3.การอ้างว่าจะทำให้เหลิง  คำนี้มักเป็นคำอ้างของพ่อที่ไม่อยากแสดงท่าทางให้ลูกรู้ว่าพ่อรักลูก  ทำให้ลูกกลัวไม่กล้าใกล้ชิดพ่อ  ซึ่งบางครั้งกว่าจะถึงเวลาที่พ่อบอกว่ารักลูกก็สายเกินไปเสียแล้ว  ความรักความอบอุ่นเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ  ดังนั้นต้องช่วยกันสร้างสัมพันธภาพที่อบอุ่นเพื่อความสุขของทุกๆคนในครอบครัว

3. บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว

สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันออกไป ครอบครัวจะมีควานมสุขถ้าบุคคลในครอบครัวรู้บทบาทและปฏิบัติหน้าที่ของตน ดังนี้

 บทบาทและหน้าที่ของบิดามารดา

บิดามารดาเป็นบุคคลที่สำคัญของบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่บิดาจะทำหน้าที่เป็นผู้นำของครอบครัวหรือหัวหน้าครอบครัว เป็นที่พึ่งพาของสมาชิกในครอบครัว โดยทั่วไป บิดามารดามีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้

1. ประกอบอาชีพเพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัวให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย

2. รับผิดชอบเลี้ยงดูบุตรหรือบุคคลในครอบครัวให้กินอยู่อย่างมีความสุข

3. ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ไม่ทะเลาะวิวาท ไม่ระบายอารมณ์กับบุตร ไม่นินทาให้ร้ายผู้อื่น ไม่เล่นการพนัน ไม่เสพสิ่งเสพติดและของมึนเมาทั้งหลาย เป็นต้น

4. ให้การอบรมบุตรหลานหรือบุคคลในครอบครัว ทั้งด้านจริยธรรม คุณธรรม เพื่อการเป็นคนดีในสังคม เช่น รู้จักคุณค่าของการประหยัด อดทน และปกิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา เป็นต้น

5. ให้ความปลอดภัยแก่บุตรและบุคคลในครอบครัว เช่น ดูแลรักษาเมื่อบุตรเจ็บป่วย ให้ที่อยู่อาศัย ให้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

6. ดูแลเอาใจใส่ให้ความรักความอบอุ่น มีเมตรตา ไม่ใช้วาจาหยาบคาย ข่มขู่ ให้เกิดความหวาดกลัว หรืออับอายผู้อื่น รวมทั้งซักถาม และให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาต่างๆ

7. ให้การศึกษาต่อบุตร เพื่อให้บุตรมีความรู้อันเป็นรากฐานถึงความมั่นคงในชีวิต

8. ปกครองดูแลบุตรด้วยความยุติธรรม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เช่น ไม่ลำเอียงเข้าข้างบุตรคนใดคนหนึ่ง

9. ส่งเสริมสุขภาพจิตและสุขภาพกาย เช่น ให้รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนอย่างเพียงพอ

บทบาทและหน้าที่ของบุตร

บุตรเป็นแก้วตาดวงใจและเป็นความหวังของพ่อแม่ที่จะพึ่งพาอาศัยในยามเจ็บป่วย และแก่ชรา โดยปกติพ่อแม่ทุกคนอยากให้บุตรของตนเองมีความสุข มีอนาคตที่ดี ดังนั้นบุตรควรปฏิบัติตน ดังนี้

1. ให้การเคารพและเชื่อฟังบิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ในบ้านทุกคน มีสัมมาคารวะ มีมารยาทในการพูด ไม่แสดงกิริยาหยาบกระด้างต่อผู้อาวุโสและต่อบุคคลในครอบครัว

2. ช่วยเหลือการงานเท่าที่จะทำได้เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระงานในครอบครัว เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน เลี้ยงน้อง เป็นต้น

3. มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาหาความรู้ เพื่อความมั่นคงในอนาคต

4. ปฏิบัติตนเป็นคนมีระเบียบวินัย ไม่สร้างความเดือดร้อนหรือไม่สร้างความเสื่อมเสียให้ครอบครัว เช่น ไม่ลักขโมย ไมเที่ยวกลางคืน ไม่มั่วสุมกับเพื่อยต่างเพศและเสพยาเสพติด แต่งกายสุภาพตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เป็นต้น

5. มีความกตัญญู รู้จักช่วยเหลือพ่อแม่หรือบุคลอื่นในครอบครัว เช่น ดูแลเมื่อเจ็บป่วย หรือรับใช้ผู้อาวุดสในบ้านซึ่งเป็นผู้มีพระคุณแก่เรา

6. ช่วยเหลือครอบครัวในด้านเศรษฐกิจ โดยไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยช่วยประหยัดหรือช่วยเพิ่มรายได้ เช่น ปลูกผักเพื่อประกอบอาหารในครอบครัว หรือจำหน่ายของขวัญในเทศกาลปีใหม่ เป็นต้น

4. การดูแลช่วยเหลือและบริการบุคคลในครอบครัว

การช่วยเหลือและให้บริการบุคคลในครอบครัว

การดูแลช่วยเหลือและให้บริการกับบุคคลในครอบครัว เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในครอบ ครัวได้ สมาชิกทุกคนต้องการปัจจัยสี่และต้องการมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขและเป็นที่รักของทุกคน ดังนั้นเราควรช่วยกันดูแลบุคคลในครอบครัวเพื่อชีวิตที่เป็นสุข ดังนี้

1. การดูแลสุขภาพกาย การดูแลสุขภาพกายของสมาชิกทุกคนในครอบครัวที่ควรปฏิบัติ ดังนี้

ควรจัดอาหารหรือ การประกอบอาหารที่เป็นประโยชน์ครบถ้วนตามอาหารหลัก  5  หมู่ ให้เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกายให้แก่สมาชิกในครอบครัว เพื่อช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง

ดูแลเรื่องที่อยู่อาศัยให้ถูกสุขลักษณะ สะอาด ปราศจากฝุ่นละออง และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวกหมั่นทำความสะอาด ปัดกวาด เช็ดถู

ดูแลเรื่องเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ที่นอน หมอน มุ้ง ให้สะอาดและมีเพียงพอกับการใช้สอย

ดูแลช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัวเมื่อเจ็บป่วย เช่น พาไปพบแพทย์ จัดหายาให้รับประทาน เป็นต้น

 2. การดูแลสุขภาพจิต ในการดูแลสุขภาพจิตของสมาชิกในครอบครัวควรปฏิบัติ ดังนี้

ให้ความรักต่อ บุคคลในครอบครัวทุกคน เพราะความรักเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกัน ผู้ที่ขาดความรักจะรู้สึกเหงาว้าเหว่ และจิตใจไม่มั่นคง

ให้ความร่วมมือและส่งเสริมให้บุคคลในครอบครัวได้ปฏิบัติกิจกรรมอันก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใน สิ่งที่ประสบความสำเร็จ เช่น การประดิษฐ์สิ่งของ การทำขนม การหยิบจับสิ่งของต่างๆ ของเด็กเพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างบุคลิกภาพที่ดี สร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้เกิดขึ้น และเกิดความภาคภูมิใจ

รับฟังปัญหาต่างๆ ของคนในครอบครัว ทั้งปัญหาจากเพื่อนที่โรงเรียน ปัญหาจากครู รวมทั้งปัญหาส่วนตัวอื่นๆ และช่วยกันแก้ไขหรือให้แนวทางปฏิบัติที่ทำให้สมาชิกในครอบครัวคลายจากความ กังวลในปัญหานั้น สมาชิกในครอบครัวที่มีสุขภาพจิตไม่ปกติ จะสังเกตได้ เช่น เหมอลอย เศร้าซึม เก็บตัว ก้าวร้าว เป็นต้น

 3. การดูแลช่วย เหลือเด็ก ในบางครอบครัวจะมีน้อง หรือมีหลานที่เป็นทารกและ เด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งโดยปกติในบ้านของเราถ้ามีเด็กจะมีผู้ที่เป็นหลักคอยดูแลเลี้ยงดูอยู่ แล้ว ส่วนตัวเราควรมีความรู้ ความเข้าใจ และช่วยดูแลตามโอกาสตามควร เพื่อแบ่งเบาภาระการเลี้ยงดูและส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ต่อกัน เกิดความรักความอบอุ่นในครอบครัวเราควรดูแลช่วยเหลือ ดังนี้

ช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็กทารกที่เปียกชื้น เปลี่ยนเสื้อกางเกงหรืออุ้มในบางโอกาส และไม่ควรจูบบริเวณปากและจมูกทารก เพื่อความปลอดภัยแก่ทารก

ช่วยดูแลไม่ให้ร้องเป็นเวลานาน ถ้าเป็นเด็กทารกควรสังเกตว่าร้องไห้เพราะหิวนมหรือเปียกชื้น หรือไม่สบาย ถ้าไม่สามารถช่วยเหลือได้ ควรบอกกล่าวแก่ผู้ใหญ่ในบ้าน

พูดจาด้วยความไพเราะ อ่อนโยน ไม่เสียงดังเพราะเด็กจะรับรู้และมีความรู้สึกเช่นเดียวกับผู้ใหญ่

ในกรณีที่มีน้องหรือหลานวัยก่อนเรียนเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง ควรฟังอย่างตั้งใจ เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น และควรยกย่องชมเชยเมื่อเด็กช่วยทำงานบ้านหรืองานอื่นๆ ได้สำเร็จ

4. การดูแลช่วยเหลือคนวัยชรา คนชราในบ้านโดยทั่วไป ได้แก่ ปู่ย่า ตายาย ความชราของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางคนอายุมากแต่ร่างกายแข็งแรง สามารถทำกิจกรรมในบ้านได้อย่างคล่องแคล่ว แต่บางคนเฉื่อยชา หรือ เจ้าอารมณ์ จู้จี้ ขี้บ่น ต้องการลูกหลานเอาอกเอาใจ ดังนั้น เราควรดูแลช่วยเหลือ ดังนี้

ให้ความสำคัญและความสนใจ พูดคุยอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง คอยดูแลโดยไม่ใช้อารมณ์หรือแสดงกิริยาเกรี้ยงกราดเมื่อไม่พอใจ ดูแลเรื่องเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มให้สะอาดอยู่เสมอ จัดอาหารที่มีประโยชน์ให้รับประทานครบ 5 หมู่ เป็นอาหารที่ย่อยง่ายและไขมันต่ำ และน้ำดื่มที่สะอาดเพียงพอ ดูแลเรื่องที่พักผ่อนหลับนอนให้ถูกสุขลักษณะ อากาศถ่ายเทได้สะดวก หาโอกาสหรือวิธีการให้ท่านได้เดิน หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรง

5.การดูแลผู้ป่วยในบ้าน เมื่อมีสมาชิกในครอบครัวเจ็บป่วย เราต้องช่วยกันดูแลและหาทางรักษาให้หายเร็วที่สุด ดังนี้

ในกรณีที่เจ็บป่วย และช่วยเหลือตัวเองได้ จัดหาเครื่องใช้หรือสิ่งจำเป็นให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบาย เช่น เก้าอี้ ผ้าห่ม ยาดม น้ำดื่ม เป็นต้น

สอบถามอาการหรือพูดคุยกับผู้ป่วยบ่อยๆ เพื่อทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกอบอุ่นไม่ถูกทอดทิ้ง

หาวิธีให้ผู้ป่วยเกิดความเพลิดเพลิน เช่น จัดหาหนังสือไว้ให้อ่าน หรือมีวิทยุ โทรทัศน์ ไว้ดู เป็นต้น

พาไปพบแพทย์ในกรณีที่เจ็บป่วยมากต้องให้แพทย์ช่วยเหลือ

ช่วยดูแลให้ผู้ป่วยได้รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง

จัดอาหารให้ผู้ป่วยได้รับประทานตามที่แพทย์อนุญาตหรือให้เหมาะสม เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด

จัดที่พักผ่อนให้ผู้ป่วยได้อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และไม่ถูกรบกวนจากเสียงเด็ก หรือเสียงอื่นๆที่ทำให้รำคาญใจ

6 หลักการอยู่ร่วมกันในครอบครัว

ครอบครัวจะอยู่อย่างสงบสุข สมาชิกในครอบครัวจะต้องรู้จักหน้าที่ ปฏิบัติต่อกันอย่างเหมาะสมและยึดหลักในการอยู่ร่วมกันดังต่อไปนี้

1. มีความรัก ความห่วงใย เมตตากรุณาต่อกันด้วยความจริงใจ และคอยดูแลทุกข์สุขของคนในครอบครัว

2. มีน้ำใจต่อกัน รู้จักช่วยเหลือกัน มีการให้การรับตามความเหมาะสม

3. มีความเกรงใจกัน เคารพในสิทธิส่วนบุคคล รู้จักกาลเทศะ

4. รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนในบ้าน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันเสนอแนะแนวทางแก้ไขด้วยความจริงใจ

5. มีความยุติธรรม ไม่ลำเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง ต้องปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

6. มีสัมมาคารวะแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ที่มีอายุมากกว่า มีความรู้สูงกว่าควรเคารพอย่างเหมาะสมตามฐานะของบุคคลนั้นๆ

7. รู้จัก รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายทั้งหน้าที่ภายในครอบครัวและหน้าที่ การงาน ด้วยความขยัน ซื่อสัตย์ และอดทน

     นี้อาจเป็นสิ่งเล็กที่เราสามารทำให้ครอบครัวมีความสุข

บางที่ใครบางคนในสมาชิกครอบครัวของคุณอาจมีปัญหา เค้าเลยหาทางออกโดยการมีเพศสัมพันธ์ และนั้นเป็นทางออกที่ผิด...วันนี้คุณ...ได้ดูแลเค้าหรือยัง....

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด