ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของธนาคารกลาง

ความหมายและความเป็นมาของธนาคารกลาง
         ธนาคารเป็นสถาบันการเงินระดับสูงของประเทศที่มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมและดูแลการเงินและเครดิต ให้มีความเหมาะสมต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ และความมีเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
         ธนาคารกลางในประเทศส่วนใหญ่มีกำเนิดมาจากธนาคารพาณิชย์ ที่ได้ตั้งขึ้นและได้ช่วยเหลือรัฐบาลของตนทางด้านการเงินและอื่น ๆ 

หน้าที่สำคัญของธนาคารกลาง ได้แก่
         1. การออกพันธบัตร 
         2. การเป็นนายธนาคารของรัฐ 
         3. การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ 
         4. การเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินแหล่งสุดท้าย 
         5. การจัดระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคาร 
         6. การดำเนินนโยบายทางการเงินและการควบคุมปริมาณเงิน 
         7. การเป็นผู้จัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ 

    ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นธนาคารกลางของประเทศ  โดยมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยดังนี้
    1.  เป็นผู้ออกธนบัตร   เพื่อควบคุมปริมาณธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนให้พอดีกับความต้องการของภาคธุรกิจและ ประชาชนทั่วไป โดยมีกฎหมายควบคุมการออกธนบัตรและจัดการเกี่ยวกับธนบัตร เพื่อความมีเสถียรภาพของเงินตราของประเทศ

    2.  เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์   ในฐานะนายธนาคารของธนาคารพานิชย์ ธนาคารกลางจำทำหน้าที่ดังนี้คือ
        - รับฝากเงินจากธนาคารพานิชย์ ตามปกติธนาคารพาณิชย์จะต้องฝากเงินสดสำรอง ตามที่กำหนดไว้กับธนาคารกลาง
   และใช้เป็นเงินสดสำรองสำหรับชำระหนี้ หรือ โอนเงินระหว่างธนาคารพานิชย์ด้วยกัน 
        - รับหักบัญชีระหว่างธนาคาร   โดยที่ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งฝากเงินไว้ที่ธนาคารกลาง เมื่อมีหนี้สินระหว่างธนาคารพาณิชย์ด้วยกัน
        - เป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้าย   ธนาคารกลางเป็นแหล่งสุดท้ายที่ธนาคารพาณิชย์จะกู้ยืมได้โดยมีหลักทรัพย์รัฐบาลค้ำประกัน

    3. เป็นนายธนาคารและตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล   ธนาคารกลางจะทำหน้าที่ทางการเงินให้แก่รัฐบาลดังนี้ คือ - ถือบัญชีเงินฝาก ธนาคารกลางจะรักษาบัญชีเงินฝากของหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจ และองค์กรอื่นๆ ของรัฐบาล       และทำหน้าที่เป็นผู้จ่ายเงิน ตามเช็คที่หน่วยราชการต่างๆ และรัฐวิสาหกิจสั่งจ่าย - ให้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจกู้ยืม รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจอาจกู้ยืมเงินจากธนาคารกลาง โดยการขายตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตร - เป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล ธนาคารกลางจะเป็นตัวแทนจัดการทางการเงินของรัฐบาลทั้งในประเทศ และนอกประเทศ เช่น  ติดต่อหาแหล่งเงินกู้ให้รัฐบาล

    4.  ดำเนินนโยบายการเงิน    ธนาคารกลางมีบทบาทสำคัญในการควบคุมปริมาณเงินของประเทศให้มีปริมาณที่เหมาะสม  ใช้มาตรการต่างๆ ในการดำเนินนโยบายแก้ไขเงินเฟ้อให้มีปริมาณเงินในระดับที่เหมาะสม

    ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ มีหน้าที่ส่วนใหญ่คล้ายกัน เช่น การเป็นผู้พิมพ์ธนบัตร การเป็นนายธนาคารของรัฐบาล และของธนาคารพาณิชย์ และหน้าที่อื่น ๆ แม้ว่าบางแห่งอาจทำหน้าที่แตกต่างกับอีกแห่งหนึ่งก็ตาม แต่เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้น 

ที่มา : //www.thaigoodview.com/library/contest2553/type2/social04/05/page28.html
         
//guru.google.co.th/guru/thread?tid=113731c5ad392126

ธนาคารกลาง คือ หน่วยงานกลางที่ดูแลในเรื่องเกี่ยวนโยบายการเงินของประเทศแต่ละประเทศ หน้าที่ของธนาคารกลาง จะเป็นเหมือน ธนาคารของธนาคาร ที่คอยควบคุมธนาคารและสถาบันการเงินที่อยู่ในอำนาจการควบคุมของธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ

ดังนั้น ธนาคารกลาง (Central Bank) จะไม่ทำธุรกรรมกับประชาชนโดยตรง แต่จะทำธุรกรรมกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การควบคุมเท่านั้น ซึ่งหน้าที่ของธนาคารกลางของธนาคารกลางทุกประเทศจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ

  1. กำหนดนโยบายการเงินของประเทศ (Monetary Policy) เพื่อดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศ
  2. กำกับดูแลสถาบันการเงินที่อยู่ในประเทศ เพื่อคุ้มครองประชาชน

ธนาคารกลางของประเทศไทย คือ ธนาคารกลางแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ Bank of Thailand (BoT) หรือบางคนอาจจะเรียกว่า “แบงค์ชาติ”

นอกจากนี้ การที่ธนาคารกลาง (Central Bank) คือหน่วยงานที่คอยควบคุมเกี่ยวกับนโยบายการเงิน (Monetary Policy) ในแต่ละประเทศ นั่นหมายความว่าทุกประเทศมีธนาคารกลาง โดยธนาคารกลาง (Central Bank) ของประเทศที่สำคัญในเศรษฐกิจโลกมีดังนี้

  • Bank of Japan (BoJ) – ญี่ปุ่น
  • Federal Reserve System (Fed) – สหรัฐอเมริกา
  • European Central Bank (ECB) – ประเทศกลุ่มยูโรโซน
  • Bank of England (BoE) – อังกฤษ
  • Deutsche Bundesbank – เยอรมัน
  • People’s Bank of China (PBoC) – จีน
  • Reserve Bank of Australia (RBA) – ออสเตรเลีย

หน้าที่ของธนาคารกลาง

อย่างที่บอกไว้ว่า หน้าที่ของธนาคารกลาง ของธนาคารกลาง (Central Bank) ทุกประเทศจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน มาดูกันว่าในแต่ละหน้าที่ของ ธนาคารกลาง ดูแลเกี่ยวกับอะไรบ้าง

กำหนดนโยบายการเงินของประเทศ(Monetary Policy) มีเป้าหมายเพื่อดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศ ด้วยมาตรการต่างๆ เช่น การแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน และการออกนโยบายทางการเงินอื่นๆ

โดยหน้าที่ที่คุ้นเคยกันดีในส่วนนี้ของ ธนาคารกลาง คือ การควบคุมเพิ่ม/ลด/คงที่ดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate) ที่เป็นดอกเบี้ยอ้างอิงของประเทศ 

กำกับดูแลสถาบันการเงินที่อยู่ในประเทศ มีเป้าหมายในการคุ้มครองประชาชนจากสถาบันการเงิน (เป็นเหมือนตำรวจที่คอยคุมธนาคารกับสถาบันการเงิน) เช่น การออกกฎต่างๆ เกี่ยวกับธนาคารในประเทศ การควบคุมการให้กู้ หรือแม้กระทั่งจะสั่งปิดสถาบันการเงินหรือธนาคารที่มีความผิด

การกำกับดูแลสถาบันการเงินที่พบได้บ่อยของ ธนาคารกลาง คือ การควบคุมเงื่อนไขเกี่ยวกับสินเชื่อต่างๆ เพื่อทำให้ธนาคารพานิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อมากเกินไป และประชาชนไม่ก่อหนี้มากเกินไป

หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ในส่วนของธนาคารกลางของไทย หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand) มีหน้าที่ระบุไว้อย่างชัดเจน ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551

กำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน ได้แก่ รับฝาก ควบคุมอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมเงินสำหรับสถาบันการเงิน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ กู้ยืมเงินตราต่างประเทศ กู้ยืมเงินเพื่อการดำเนินนโยบายการเงิน ซื้อขายหลักทรัพย์เท่าที่จำเป็นและแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคตเพื่อควบคุมปริมาณเงินของประเทศ รวมถึงยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ตามที่กำหนดโดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทน

ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคาร โดยมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะออกบัตรธนาคารในราชอาณาจักร

บริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยการนำสินทรัพย์ไปลงทุนหาประโยชน์

กำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน ด้วยการวิเคราะห์และตรวจสอบการดำเนินงาน ไปจนถึงการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน

บริหารอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมถึงการบริหารสินทรัพย์ในทุนสำรอง

ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

จัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน ระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน รวมถึงทำให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล มีอำนาจรับจ่ายเงินเพื่อบัญชีฝากของกระทรวงการคลัง เป็นตัวแทนรัฐบาลในการซื้อขายหลักทรัพย์และสินทรัพย์ต่างๆ หรืออาจเป็นนายธนาคารของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล มีอำนาจกระทำการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ของรัฐบาล จ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย หรืออาจเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน ทำหน้าที่เหมือนธนาคารของธนาคาร เช่น ให้กู้ยืมเงิน ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน การรับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ ของมีค่าอย่างอื่นของสถาบันการเงิน รวมถึงสามารถสั่งให้ส่งรายงานหรือชี้แจงเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน หรือภาระผูกพัน

หน้าที่ของธนาคารกลางแห่งประเทศไทยแบบสรุปได้ที่เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทยอ้างอิงจาก: บทบาทหน้าที่ ธปท.

นอกจากนี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Fed หรือ Federal Reserve System ที่เป็นธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาได้ที่: Fed Rate คืออะไร? ทำไมสำคัญกับประเทศอื่น

Kris Piroj

บรรณาธิการ GreedisGoods | อดีตที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการเงิน | นักลงทุนที่สนใจในเศรษฐศาสตร์มหภาคและอนุพันธ์เป็นพิเศษ | หากบทความเป็นประโยชน์สามารถติดตามเราได้บน Facebook และ Twitter

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด