ข้อใดเป็นความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป

ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1967 หรือ 52 ปีที่แล้ว ตอนแรกมี 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และมาเลเซีย

วัตถุประสงค์หลักของการร่วมมือกัน ณ ขณะนั้น คือเรื่องความมั่นคง เนื่องจากการแผ่ขยายของแนวคิดคอมมิวนิสต์ ทำให้เกิดข้อพิพาทในหลายพื้นที่

เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุดลง กลุ่มจึงหันมามุ่งเน้นด้านสังคมและเศรษฐกิจแทน โดยประเทศที่เหลือ ได้แก่ ลาว, เวียดนาม, พม่า, กัมพูชา และบรูไน ได้เข้ามารวมกันเป็น 10 ประเทศ

จากนั้น ASEAN ได้พัฒนาสถานะของตนเองขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งล่าสุดในปี 2015 ได้เปิดเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community)

ภายใต้ข้อตกลงนี้ ประเทศสมาชิกจะสามารถเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินทุน และแรงงาน ระหว่างกันได้อย่างเสรี รวมทั้งมีการยกเว้นภาษีบางประเภทด้วย

ทำให้แต่ละคน มีโอกาสเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และอำนาจต่อรองกับต่างประเทศได้

Cr. Founder's Guide

อย่างไรก็ตาม ในระดับโลก มีกลุ่มประเทศที่เป็นเสมือนรุ่นพี่อยู่ นั่นคือ อียู

EU (ชื่อเต็มว่า European Union) คือสหภาพยุโรป ก่อตั้งขึ้นก่อน เมื่อ ค.ศ.1957 หรือ 62 ปีที่แล้ว

ปัจจุบัน มีสมาชิกอยู่ทั้งหมด 28 ประเทศ แต่จะหายไปหนึ่งรายในอีกไม่นาน เพราะสหราชอาณาจักร กำลังเตรียมตัวออกจากกลุ่ม

Cr. Fullfact.org

แล้วถ้าเปรียบเทียบสองกลุ่มนี้ ใครใหญ่กว่ากัน?

ASEAN
มีพื้นที่ 4.52 ล้านตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากรทั้งหมด 651 ล้านคน
ปี 2018 มูลค่า GDP อยู่ที่ 94 ล้านล้านบาท
และรายได้เฉลี่ยต่อหัว เท่ากับ 1.4 แสนบาทต่อปี

ที่น่าสนใจคือ หากมองว่า ASEAN เป็นประเทศหนึ่ง พวกเขาจะมีมูลค่า GDP สูงเป็นอันดับ 5 ของโลกเลยทีเดียว

ส่วน EU
มีพื้นที่ 4.48 ล้านตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากรทั้งหมด 513 ล้านคน
ปี 2018 มูลค่า GDP อยู่ที่ 588 ล้านล้านบาท
และรายได้เฉลี่ยต่อหัว เท่ากับ 1.1 ล้านบาทต่อปี

จะเห็นได้ว่า ในเชิงกายภาพ ทั้งคู่มีพื้นที่ และจำนวนคน ใกล้เคียงกัน ซึ่งน่าสนใจมากที่จะนำมาเปรียบเทียบกัน

แต่ในเชิงเศรษฐกิจ EU มีมูลค่า GDP ที่สูงกว่า 6 เท่า และประชากรโดยเฉลี่ย รวยกว่าถึง 8 เท่า

ทั้งนี้ EU มีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันที่ก้าวไปไกลกว่าของ ASEAN

เพราะนอกจากเปิดตลาดแบบเสรีแล้ว ยังได้ปรับมาใช้สกุลเงินเดียวกันด้วย คือ เงินยูโร

รวมไปถึง มีการจัดตั้งรัฐสภาและคณะมนตรีของสหภาพยุโรป ซึ่งมีอำนาจนิติบัญญัติ ในการจัดสรรงบประมาณส่วนกลางไปในด้านต่างๆ

แน่นอนว่า การร่วมมือกันอย่างเต็มรูปแบบ ย่อมสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่น้อย แต่ไม่ได้หมายความว่า มันจะเป็นปัจจัยเดียวที่ส่งผลให้สหภาพยุโรป มีความร่ำรวยกว่า เพราะเดิมที พื้นฐานของประเทศสมาชิกนั้น มีความแตกต่างกัน

และในบางครั้ง มันก็ก่อให้เกิดปัญหาที่อ่อนไหวได้

เนื่องจากประเทศต่างๆ ต้องจ่ายค่าสมาชิกให้กับสหภาพยุโรป แต่สหภาพยุโรปอาจเทงบประมาณจำนวนมาก ไปช่วยเหลือประเทศที่เผชิญวิกฤติเศรษฐกิจ เช่น กรณีประเทศกรีซ

ซึ่งทำให้ประชาชนบางประเทศไม่พอใจ ที่ภาษีของพวกเขากลับถูกนำไปให้ประเทศอื่นใช้แทน จนบานปลายเหมือนที่สหราชอาณาจักร มีประชามติถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป

ในขณะที่ ASEAN กำลังพัฒนาความสัมพันธ์ ก้าวเข้าสู่ AEC และ ไม่แน่ว่าในอนาคต AEC อาจจะอยากเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินเดียวกันในอนาคตแบบ EU

แต่จากปัญหาที่เกิดขึ้นใน EU ก็อาจทำให้ ASEAN ต้องหันมาหยุดคิดว่า ทางที่จะเดินไปมีผลดี และ ผลเสียอย่างไร

จากเรื่องนี้เราได้เห็นว่า

ประเทศขนาดเล็ก เมื่ออยู่ตัวคนเดียว อาจไม่ได้มีความสำคัญอะไรเท่าไรในสายตาคนอื่น

แต่ถ้ารวมตัวกันเป็นกลุ่ม ดังเช่น AEC ก็จะทำให้มีอำนาจทางเศรษฐกิจ ไม่แพ้ประเทศมหาอำนาจในโลก อย่าง สหรัฐอเมริกา หรือ จีน

หาก ASEAN มีความเข้มแข็ง เรียนรู้ความสำเร็จและบทเรียนต่างๆ จากรุ่นพี่อย่าง EU และแน่นอนว่า โดยเฉลี่ยแล้วตอนนี้ประเทศใน ASEAN มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เร็วกว่า EU

ตลอดระยะเวลามากกว่า 50 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) และได้ก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยเร่งเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันทั้งด้านกายภาพ กฎระเบียบ และระหว่างประชาชน เพื่อทำให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแท้จริง

อาเซียนได้ขยายความความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือกับภาคีภายนอก (ASEAN External Relations) เพื่อสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียนและส่งเสริมให้มหาอำนาจมีปฏิสัมพันธ์กับอาเซียนอย่างสร้างสรรค์ โดยให้ความสำคัญกับการรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN centrality) ในโครงสร้างสถาปัตยกรรมภูมิภาค ภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม (ASEAN PLUS THREE) การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit : EAS) และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการดำเนินความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและภาคีภายนอกอื่น ๆ โดยมีท่าทีหนึ่งเดียวของอาเซียนเพื่อส่งเสริมบทบาทและรักษาผลประโยชน์อาเซียนเป็นสำคัญ

ปัจจุบัน อาเซียนมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ 10 คู่เจรจา (Dialogue Partner) ซึ่งประกอบด้วย 9 ประเทศ คือ อาเซียน – ญี่ปุ่น อาเซียน – ออสเตรเลีย อาเซียน – นิวซีแลนด์ อาเซียน – สหรัฐอเมริกา อาเซียน – แคนาดา อาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี อาเซียน – อินเดีย อาเซียน – จีน อาเซียน – รัสเซีย และ 1 องค์กรระดับภูมิภาค คือ อาเซียน – สหภาพยุโรป (อียู) นอกจากนี้ ตามกฎบัตรอาเซียนข้อ 44 อาเซียนยังมีปฏิสัมพันธ์กับภาคีภายนอกในสถานะอื่นๆ เช่น การเป็นคู่เจรจาเฉพาะสาขา (Sectoral Dialogue Partner) ได้แก่ ปากีสถาน นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ และตุรกี และการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) คือ เยอรมนี และยังมีปาปัวนิวกินีเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์พิเศษ (Special Observer) ของอาเซียนอีกด้วย

ความสัมพันธ์และความร่วมมือกับภาคีภายนอกเหล่านี้ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างสันติภาพและส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแล้ว ยังมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาท้าทายร่วมกัน ทั้งปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนผ่านความร่วมมือด้านการศึกษา สาธารณสุข และการพัฒนาที่ยั่งยืน

ใดเป็นความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป

1.2 ปัจจุบัน ความสัมพันธ์อาเซียน-EU อยู่ในระดับ 'enhanced partnership' โดยการดำเนินความสัมพันธ์อาเซียน-EU เป็นไปตามเอกสาร Nuremberg Declaration on an EU-ASEAN Enhanced Partnership (2007) โดยมี Bandar Seri Begawan Plan of Action to Strengthen the ASEAN-EU Enhanced Partnership (2013-2017) เป็นแผนงานความร่วมมือ โดย ...

อาเซียนมีความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปเมื่อใดและมีความร่วมมือด้านใดบ้าง

สหภาพยุโรป (European Union – EU) เริ่มต้นความสัมพันธ์กับอาเซียนตั้งแต่ปี 2515 (ค.ศ. 1972) และได้พัฒนาเป็นคู่เจรจาอย่างเป็นทางการในปี 2520 (ค.ศ. 1977) ปัจจุบัน เวียดนามเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-EU โดยมีวาระ 3 ปี (กรกฎาคม 2555-กรกฎาคม 2558) และไทยจะรับตำแหน่งประเทศ ผู้ประสานงานฯ ต่อจากเวียดนามในปี 2558.

อาเซียนกับสหประชาชาติมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติ (United Nations - UN) เริ่มขึ้นบทพื้นฐานของความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างอาเซียนกับ UNDP ซึ่งได้เริ่มขึ้นในช่วงปี 2513 และต่อมา UNDP ได้รับสถานะประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partner) ของอาเซียนในปี 2520 ต่อมาสหประชาชาติพยายามที่จะพัฒนาความร่วมมือกับอาเซียน โดยส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ ...

กลไกความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติอยู่ในรูปแบบใด

ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรปจัดอยู่ในรูปแบบอาเซียน+1 กับกลุ่มประเทศ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติจัดอยู่ในรูปแบบอาเซียน+1 กับองค์การระหว่างประเทศ โดยสหภาพยุโรป และสหประชาชาติต่างก็มีความร่วมมือระหว่างกันทั้งด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านความร่วมมือเพื่อ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด