นักประพันธ์ดนตรีสากลท่านใดอยู่ในยุคบาโรก *

Antonio Vivaldi

เมื่อพูดถึงความหรูหรา โอ่อ่า อลังการ ในยุคประวัติศาสตร์คงจะไม่พ้นยุคบาโรก ยุคที่ผู้คนต่างใช้ชีวิตอย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย ทุกอย่างต้องประดับประดาตกแต่งไว้อย่างดี ซึ่งยุคบาโรกมีความเจริญทางด้านดนตรีมากเช่นกัน ถือว่าเป็นยุคที่มีชื่อเสียงทางด้านดนตรีมาก

รูปแบบดนตรีของบาโรก จะเป็นดนตรีคลาสสิคที่เป็นที่ยอมรับ นักดนตรีในยุคนี้มีมากมาย และมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ซึ่งดนตรียุคบาโรกเผยแพร่ไปมากในฝรั่งเศส  ในยุคนี้มีนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงจำนวนมากอย่างเช่น  Johann Sebastian Bach, George Frideric Handel และ Antonio Vivaldi เป็นต้น

เครื่องดนตรีและบทเพลงที่ใช้ในยุคนี้จะใช้ Concerto Grosso บทเพลงจะเป็นบทเพลงโซนาตาและซิมโฟเนีย ดนตรีจะใช้จะเป็นเครื่องดนตรีประเภทสายอย่างไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส และที่สำคัญใช้เปียโน ปี่และขลุ่ยในการบรรเลงเพลง ดนตรีบาโรกจะมีการแต่งเพลงในรูปแบบหลากหลายและใช้เครื่องดนตรที่ไม่ซำ้กัน

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
Jean-Baptiste Lully

ในฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นกษัตริย์ที่หลงใหลในศิลปะ สถาปัตยกรรม และรักการดนตรีเป็นอย่างมาก ซึ่งประชาชนทุกคนในฝรั่งเศสก็ชอบดนตรีมากเช่นกัน ในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 บุคคลที่มีบทบาทมากด้านดนตรีคือ Jean-Baptiste Lully คีตกวีชาวฝรั่งเศสเชื้อสายอิตาลี เขาถือเป็นผู้บุกเบิกดนตรีด้านนี้ในฝรั่งเศสเลยก็ว่าได้ Lully เป็นคนมีพรสวรรค์ทางด้านดนตรีมาตั้งแต่เด็กๆ โดยเฉพาะกีตาร์ ไวโอลิน และการเต้นรำ จุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาได้มีโอกาสเข้ามาทำงานในวังโดยเขาได้รู้จักกับดุ๊กแห่งกีซ ที่ชักนำให้เข้าสู่วงการทางดนตรี เริ่มแรกในการทำงานในวัง เขาเป็นนักเต้นรำ และได้ประพันธ์เพลง ซึ่งเพลงที่เขาแต่งเป็นที่ถูกใจแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นอย่างมาก แม้นิสัยบางอย่างของ Lully จะไม่น่าประทับใจนัก แต่ด้วยผลงานและพรสวรรค์ของเขาทำให้เขาได้ตำแหน่งเป็นเมอซีเยอเดอลูว์ลี

ภาพจิตรกรรมที่แสดงถึงการเล่นดนตรีในยุคบาโรก
ภาพจิตรกรรมที่แสดงถึงการเล่นดนตรีในยุคบาโรก

ดนตรีบาโรกเป็นดนตรีที่มีความงามดุจดั่งภาพจิตรกรรม มีความอ่อนช้อย ละมุนละไม มีความหลากหลายในภาษาและดนตรี ช่วยจรรโลงจิตใจ และอารมณ์ของคน ทำให้ผู้ฟังนึกถึงภาพและจินตนาการถึงสิ่งสวยงาม ความหรูหรา ที่ช่วยก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ทางบวก

ประวัติดนตรีตะวันตก(ยุคบาโรก)

Posted: กุมภาพันธ์ 24, 2012 by musicwinn in Uncategorized

3. ยุคบาโรก (The Baroque Period : ค.ศ. 1600 – 1750)

ยุคนี้กินเวลาประมาณ 150 ปี เป็นยุคของความตื่นตัวทางภูมิปัญญาและการใช้เหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นยุคของการล่าอาณานิคมและแสวงหาแหล่งวัตถุดิบสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในต่างแดน เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างอันเป็นผลมาจากการที่กาลิเลโอ (Galileo : ค.ศ. 1564 – 1642) พบทฤษฎีใหม่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลมิใช่โลกตามที่เคยเชื่อกันมา การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ทำให้วิทยาการเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ มีการค้นพบกฎคณิตศาสตร์ และการประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ของนิวตัน ฯลฯ

ดนตรียุคนี้พัมนาเปลี่ยนแปลงไปจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการเป็นอย่างมาก
เพลงบรรเลงเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายเช่นเดียวกับเพลงร้อง ผู้ประพันธ์เพลงคิดค้นการประพันธ์เพลงแบบใหม่ ๆ มีการพัฒนาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและคีย์บอร์ดให้ได้มาตรฐาน สถานที่แสดงอุปรากร (opera) เกิดขึ้นในอิตาลีเป็นแห่งแรกใร ค.ศ. 1637 และได้รับความนิยมแพร่หลายไปยังฝรั่งเศส เยอรมัน และประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ทั้งในราชสำนักและในหมู่สามัญชน ผู้ชมเริ่มอยากชมอุปรากรที่แต่งเนื้อร้องขึ้นมาใหม่หรือสะท้อนภาพชีวิตจริงมากกว่าอุปรากร ที่นำเนื้อเรื่องมาจากเพทนิยายหรือตำนานขิงกรีกและโรมัน

การประพันธ์เพลงในยุคบาโรกนิยมประพันธ์ 2 ทำนองขึ้นไปในเวลาเดียวกัน
ลวดลายการประพันธ์ดังกล่าวเรียกว่า polyphony โดยมีการประพันธ์ในลักษณะทำนองเสียงสูง แล้วอาจเล่นซ้ำอีกครั้งด้วยเสียงต่ำ เช่นเดียวกับทำนองเสียงต่ำอาจสลับไปเล่นทำนองเดิมอีกครั้งแต่ใช้เสียงสูงลักษณะเช่นนี้เรียกว่าการสอดประสานทำนอง (contrapuntal) นอกจากนี้ยังนิยมประพันธ์ให้เกิดลูกล้อลูกขัด เรียกว่าแคนนอน ซึ่งหมายถึงการเล่นไล่กันของทำนอง 2 ทำนองที่เหมือนกันแต่บรรเลงในเวลาต่างกัน และฟิวก์ (fuque) ซึ่งหมายถึงเพลงที่มีลักษณะการบรรเลงที่มีการไล่ล้อกันขนานใหญ่ทำนองหลักจะถูกขัดด้วยทำนองหนึ่งเป็นช่วงสั้นหรือยาว ในยุคบาโรกเริ่มใช้บันไดเสียงเมเจอร์ (major) และไมเนอร์ (monor) แทนบันไดเสียงโบราณที่เรียกว่าโมด (mode ) และการกำหนดอัตราจังหวะความเร็วชัดเจนเช่น เร็ว (allegro) เร็วปานกลาง (moderato) หรือช้าปกติ (andante) เป็นต้น

นอกจากในแต่ละบทเพลงจะมีหลายทำนองในเวลาเดียวกันแล้ว การทำให้
เสียงต่ำหรือเสียงเบส (bass) เคลื่อนที่ตลอดเวลาเรียกว่าบาสโซกอนตินูโอ (basso continuo) เป็นลักษณะเด่น ของดนตรียุคบาโรก เครื่องดนตรีที่นิยมใช้เล่นแนวดังกล่าวคือฮาร์พซิคอร์ด (harpsichord) นอกจากนี้แสดง (improvisition) โดยอยู่บนพื้นฐานสัญลักษณ์ตัวเลข (figure base) ในการสร้างเสียงและซึ่งหมายถึง การบรรเลงเครื่องดนตรีเดี่ยว ประชันกับวงดุริยางค์ขนาดใหญ่ (orchestra) โดยให้ผู้เล่นเดี่ยวสามารถเล่นแบบด้นสด (improvisation) หรือตกแต่งทำนองในช่วงบรรเลงซ้ำทวนได้ตามความเหมาะสมของผู้เล่นแต่ละคน

ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีชิ้นสำคัญที่ได้รับการพัฒนารูปร่าง ขนาด ชนิดของ ไม้ และน้ำเสียงเป็นระยะเวลายาวนานจนสตราดิวารี (Stradivari) ช่างทำไวโอลินชาวอิตาลีผู้เป็นลูกศิษย์ของนิกโกโล อมาติ (Niccolo Amati) สร้างไวโอลินมาตรฐานขึ้นใน ค.ศ. 1715 เรียกว่าสตราดิวาริอุส(Stradivarius) ได้รับความนิยมตั้งแต่ยุคบาโรกมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดชิ้นสำคัญเกิดขึ้นตอนปลายยุคบาโรกคือเปียโน โดยชาวอิตาลีชื่อบาร์โตโลเมโอ คริสโตโฟรี (Bartolomeo Cristofori) ชื่อเดิมของเปียโนคือ เปียโนฟอร์เต (Pianoforte) ซึ่งหมายถึง เบา (piano) และดัง (forte) เพราะเครื่องดนตรีดังกล่าวสามารถควบคุมการเล่นให้เบาและดังได้จากน้ำหนักที่กดลงไปบนลิ่มนิ้ว (keyboard)

โยฮันน์ เซบาสเตียน บาก (Johann Sebastian Bach : ค.ศ. 1685 – 1750)

คีตกวีชาวเยอรมันคนสำคัญของยุคบาโรก ประพันธ์เพลงชุด ?The well ? Tempered Clavier? รวม 24 บท เป็นชุดเพลง Preludes and Fugue ซึ่งมีครบทุกบันไดเสียง ( 12 major และ 12 monor) สำหรับเดี่ยวคลาวิคอร์ด (clavichord) หรือฮาร์พซิเคอร์ด แต่ปัจจุบันนิยมบรรเลงด้วยเปียโน บทประพันธ์ดังกล่าวแต่งขึ้นเพื่อแสดงให้เห้นว่าการปรับความห่างของเสียงให้เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดเป็นมาตรฐานเท่ากัน (tempering) จะทำให้สามารถเล่นเพลงได้ทุกบันไดเสียง นอกจากนี้บากยังประพันธ์ P-artitas และ Sonatas สำหรับเดี่ยวไวโอลิน และ 6 Suites สำหรับเดี่ยวเซลโล ผลงานดังกล่าวยังนิยมเล่นกันอยู่ในปัจจุบัน คีตกวีที่สำคัญในยุคบาโรกยังมีอีกหลายคน อาทิ เฮนเดล (Handel) วิวัลดี (Vivaldi) และกอเรลลี (Corelli)

ยุคบาโรก นิยมการประพันธ์เพลงแบบใด

เพลงโบสถ์ยังเป็นที่นิยมในการประพันธ์ เพลงที่ประพันธ์กันในยุคนี้ คือ เพลงแมส โมเท็ต คันตาตา ออราทอริโอ และแพสชั่น (Passion) คือเพลงที่บรรยายเกี่ยวกับพระเยซูถูกตรึงกางเขน เป็นต้น

บาคเป็นคีตกวีในยุคใด

บัคเป็นนักประพันธ์ดนตรีสมัยบาโรก เขาสร้างดนตรีของเขาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของยุคสมัย บัคมีอิทธิพลอย่างสูงและยืนยาวต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตก แม้แต่นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่ เช่น โมทซาร์ท, เบทโฮเฟิน ยังยอมรับบัคในฐานะปรมาจารย์

เจ้าพ่อแห่งดนตรียุคบาโรก คือใคร

นักประพันธ์เ พลงที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนี้เป็นชาวเยอรมัน คือ เจ. เอส. บาค (Johann Sebastian Bach ค.ศ. 1685 - 1750) และ แฮนเดล (George Frideric Handel ค.ศ. 1685 - 1759) สำหรับบาคนั้น ได้แต่งเพลงต่างๆ ไว้เป็นจำนวนหลายร้อยเพลง และยังได้วางรากฐานทางดนตรีไว้มากจนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของดนตรีสากล” และส่วนแฮน ...

สังคีตกวีผู้มีชื่อเสียงในยุคบาโรค คือใคร

นักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนี้เป็นชาวเยอรมัน คือ เจ. เอส. บาค (Johann Sebastian Bach ค.ศ. 1685 - 1750) และ แฮนเดล (George Frideric Handel ค.ศ. 1685 - 1759)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด