วัฒนธรรมไทยคล้ายกับประเทศอะไร มาเลเซียมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับประเทศใด ประเทศเพื่อนบ้านของไทยมีอะไรบ้าง นาฏศิลป์ในอาเซียนประเทศใดบ้างที่มีความคล้ายคลึงกัน ประเพณีของลาวและพม่าที่คล้ายคลึงกับไทย คือประเพณีอะไร บ้านเรือนส่วนใหญ่ของประเทศเพื่อนบ้านของไทย มีลักษณะอย่างไร ประเพณี พิธีกรรมทางศาสนาของประเทศใดที่คล้ายคลึงกับไทย ประเทศเพื่อนบ้านที่มีวัฒนธรรมเป็นสังคมอิสลาม คือประเทศใด ประเทศเพื่อนบ้านประเทศใดที่มีวัฒนธรรมเป็นแบบ สังคมจีน ประเทศเพื่อนบ้านที่มีวัฒนธรรมเป็นสังคมชาวพุทธ คือประเทศใด ประเทศเพื่อนบ้านที่มีวัฒนธรรมเป็นสังคมชาวคริสต์ คือประเทศใด ประเทศที่รับประทานอาหารไม่แตกต่างจากคนไทย ได้แก่ประเทศใด

ประเทศใดมีภาษาพูดคล้ายคลึงกับไทย

และคงทราบว่า ภาษาราชการของประเทศสมาชิกอาเซียน แต่ละชาตินั้น มีทั้งความแตกต่างกันและความเหมือน สำหรับประเทศอินโดนีเซีย มีภาษาราชการคือ บาฮาซา อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) ประเทศมาเลเซีย ภาษาราชการคือ ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู (Bahasa Melayu) ประเทศฟิลิปปินส์ ภาษาราชการคือ ภาษาฟิลิปปินส์ (Filipino, ฟิลิปิโน หรือภาษาตากาล็อก) ประเทศบรูไน ภาษาราชการคือ ภาษามาเลย์ (Bahasa Melayu) ประเทศเวียดนาม ภาษาราชการคือ ภาษาเวียดนาม (Vietnamese) ประเทศลาว ภาษาราชการคือ ภาษาลาว (Laotian) ประเทศพม่า ภาษาราชการคือ ภาษาพม่า (Burmese) ประเทศกัมพูชา ภาษาราชการคือ ภาษาเขมร (Khmer) และประเทศไทย ภาษาราชการคือ ภาษาไทย (Thai)

ทั้งนี้ เพื่อให้การติดต่อสื่อสารให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประชาคมอาเซียนได้กำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการทำงานของอาเซียน ตามกฎบัตรอาเซียน ข้อ 34 โดยภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาที่ใช้ในระหว่างการประชุม การโต้ตอบทางจดหมาย การจัดทำรายงานการประชุม ผลการพิจารณาและมติที่ประชุมตลอดจนการจัดทำคำแถลงการณ์ และการปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ของอาเซียน ซึ่งในประเทศสมาชิกที่กล่าวมาในข้างต้นมีเพียงประเทศสิงค์โปร์ประเทศเดียวที่ใช้ภาษาราชการ เป็น ภาษาอังกฤษ และ เป็นภาษาอาเซียน

นอกจากภาษาราชการ และ ภาษาอังกฤษ (English) ในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้ง 10 ชาติยังมีภาษาถิ่นที่ประชาชนแต่ละพื้นที่ใช้ติดต่อสื่อสารกัน ยกตัวอย่าง ภาษาในประเทศไทย มีผู้พูดหลายภาษาด้วยกัน โดยมีภาษาหลักคือภาษาไทยมาตรฐาน นอกจากนั้นยังมีภาษาถิ่นย่อย และภาษาอื่น ๆ อีกหลายตระกูลภาษา โดยรวมมีผู้ใช้ภาษาราว 74 ภาษาในประเทศไทยได้แก่ ภาษาไทยภาคกลาง ภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาไทยโคราช ไทยอีสาน และภาษาไทยภาคเหนือ หรือภาษาไทยล้านนา (คำเมือง) ขณะเดียวกันก็มีภาษาจีนอีกหลายถิ่นย่อย เช่น จีนแต้จิ๋ว จีนกลาง จีนแคะ ภาษาจีนกวางตุ้ง และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย เช่น ตระกูลภาษาไทดำ/โซ่ง มอญ เขมร อ่าข่า กุย/กวย พม่า ไทยใหญ่ ปกาเกอะญอ และภาษามลายูถิ่น เป็นต้น

ทั้งนี้ ภาษาถิ่นแต่ละภาษาสะท้อนถึงระบบคิด ระบบความรู้ของมนุษย์ ในเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ทั้งในทางวัฒนธรรมของชาติ และวิถีชีวิต ซึ่งล้วนแต่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชุมชนท้องถิ่น ที่สำคัญการรักษาทุกภาษาให้คงอยู่ เปรียบได้กับการรักษามรดกของมนุษยชาติ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งนี้หากศัพท์บางศัพท์หายไป ก็อาจเป็นการสูญเสียภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นๆไปด้วย

เพื่อเป็นการรักษามรดกของมนุษย์ชาติ และสร้างความเสมอภาคทางสังคม ด้านการศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ให้การสนับสนุน “โครงการจัดการเรียนการสอนแบบทวิ-พหุภาษาไทย-มลายูปาตานี ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย” หรือ “ทวิภาษา”โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ เป็นหัวหน้าโครงการฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นของอาเซียน โดยมีโรงเรียนที่เข้าโครงการจำนวน 16 โรงเรียน ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล

สำหรับโครงการทวิภาษามีจุดมุ่งหมายที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งและความปรองดองด้วยการเรียนการสอนแบบทวิภาษาที่จัดขึ้นเพื่อกลุ่มคนมลายูถิ่นปัตตานี ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการศึกษาวิจัยตลอด 9 ปีที่ผ่านมามีผลวิจัยว่าเด็กมีผลการเรียนที่ดีขึ้น และมีพื้นฐานที่ดีในการอ่านเขียนภาษาไทย ควบคู่กับการอ่านและสื่อสารมลายูถิ่น เชื่อมโยงจากสื่อเก่าไปสู่สิ่งใหม่ที่เป็นภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นการลงทุนด้านการวิจัยที่มี “แอคชั่น” คือ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง

ที่สำคัญโครงการทวิภาษาฯ ใช้พลังของภาษาแม่เพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่เป็นปัญหาเรื้อรังมาเป็นเวลานาน ซึ่งจะช่วยสังคมและภาษาดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กๆรู้สึกภูมิใจในภาษาถิ่นของตน ได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับกลุ่มคนอื่นๆ ที่ใช้ภาษาที่แตกต่างจากตนเอง คนไทยและคนมลายูจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากพวกเขาต้องอาศัยอยู่ในประเทศเดียวกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการทวิภาษา จะถูกผลักดันให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป โดยเฉพาะในระดับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

แม้ที่ผ่านมาการดำเนินงานของทีมวิจัย จะมีเสียงต่อต้าน ด้วยข้อกังวลบางประการ แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งจากสถานการณ์ และวัน เวลา สังคมควรเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง และยอมรับทั้งนี้หากมองในแง่ลบโครงการนี้อาจมีผลต่อภาษาถิ่นที่มีการใช้มาอย่างยาวนาน แต่ถ้ามองในทางบวก เป็นการเก็บภาษามลายูอาไว้ในรูปแบบของภาษาไทย ในขณะเดียวกัน โครงการดังกล่าวเป็นการช่วยให้เด็กจังหวัดชายแดนใต้ในบางพื้นที่ ให้ได้มีโอกาสทางด้านการศึกษาอย่างเท่าเทียม และ เสมอภาค

ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษา (ภาษาไทย - มลายูถิ่น) ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับเยาวชนในพื้นที่อื่นๆ ที่มีภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นต่างไปจากภาษาและวัฒนธรรมส่วนกลาง ได้แก่ กลุ่มเขมรถิ่นไทย จ.สุรินทร์ กลุ่มขมุ จ.น่านกลุ่มละเวือะ จ.แม่ฮ่องสอน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้รับการเสนอให้เป็นต้นแบบ (Good Functioning Model) สำหรับการจัดศึกษาของประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาวและประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆซึ่งถือเป็นความร่วมมือในระดับอาเซียน

ทั้งนี้ ความสำเร็จในการอนุรักษ์ภาษาถิ่น และการแก้ปัญหาทางด้านการศึกษา โดยโครงการทวิภาษา ได้รับการยกย่อง และมอบรางวัล International Literacy Day เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี “วันรู้หนังสือโลก” 8 กันยายน 2559 จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO)...ที่น่ายินดี และชื่นชมยิ่ง

วัฒนธรรมในประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น มีความน่าสนใจหลายอย่าง
ซึ่งมีทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างไปจากวัฒนธรรมไทย ซึ่งการศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน
จะช่วยให้เรามีความรู้ความเข้าใจประเทศเพื่อนบ้านของเราได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึงวันนี้พวกเราก็จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักลักษณะของวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้านเเละความคล้ายเเละเเตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปดูกันเลยดีกว่าครับ
ลักษณะของวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน
ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมในประเทศเพื่อนบ้าน สามารถสรุปเป็นภาพรวมได้ ดังนี้
1.เป็นวัฒนธรรมสังคมเกษตรกรรม ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ถ้าไม่นับรวมสิงคโปร์ ทั้งหมดจะมีวัฒนธรรมแบบสังคมเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศจะทำการเพาะปลูกเป็นอาชีพหลัก
2.เป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน ถึงแม้จะมีแก่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน ประเทศเพื่อนบ้านได้รับเอาวัฒนธรรมภายนอกจากแหล่งเดียวกันเข้ามาใช้ วัฒนธรรมของประเทศก็จะคล้ายคลึงกัน
3.เป็นวัฒนธรรมที่มีศาสนาและลัทธิความเชื่อเป็นรากฐาน วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านมีรากฐานสำคัญมาจากศาสนาและลัทธิความเชื่อที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเคารพนับถือติดต่อกันมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่อดีต โดยศาสนาที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้ ได้แก่ พระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์
 4.เป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะของตน เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านของไทยเกือบทุกประเทศมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ซึ่งการที่ไทยเป็นชาติเก่าแก่ย่อมจะส่งผลให้มีมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมมาก ดังนั้น แม้จะมีพรมแดนติดต่อกันแต่หลายประเทศก็จะมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะของตน ไม่เหมือนเพื่อนบ้านใกล้เคียงดังจะเห็นได้จากหลายประเทศที่มีภาษาพูด ภาษาเขียน การแต่งกาย อาหารการกิน ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งเมื่อพบเห็นสามารถจะบอกได้ทันทีว่าเป็นของประเทศใด
ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านต่างก็มีลักษณะของวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ลักษณะทางวัฒนธรรมเหล่านี้แม้จะมีความโดดเด่นเฉพาะตัวของแต่ละประเทศ แต่ก็จะมีลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ว่าประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน มีการแลกเปลี่ยน รวมไปถึงการผสมผสานทางวัฒนธรรมอย่างลงตัว

ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม

ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มีประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันเป็นผลมาจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์รากฐานทางวัฒนธรรมและการนับถือศาสนา  ซึ่งจะสรุปให้เห็นเป็นภาพรวมได้  ดังนี้
 1.ศาสนา ศาสนาสำคัญที่เผยแผ่เข้ามาและได้รับการยอมรับนับถือจากชนชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ได้แก่  พระพุทธศาสนา  ซึ่งเป็นศาสนาที่ผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศไทย  พม่า  ลาว  กัมพูชา  ล้วนนับถือ  ดังนั้นประเพณี  พิธีกรรมทางศาสนา  ลัทธิความเชื่อต่าง ๆ ของพม่า  ลาว  กัมพูชา  ก็จะคล้ายคลึงกับคนไทย  เช่น  การทำบุญตักบาตร  การสวดมนตร์ไหว้พระ  การให้ความเคารพพระสงฆ์  การนิยมให้บุตรหลานเข้ารับการอุปสมบท  เป็นต้น


สำหรับประเทศมาเลเซีย  บรูไน  อินโดนีเซีย  ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม  จึงมีวัฒนธรรมแบบอิสลาม  ประเทศฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากคริสต์ศาสนา  ประเทศสิงคโปร์และเวียดนาม  นับถือหลายศาสนา  โดยนับถือลัทธิธรรมเนียมตามแบบจีนเป็นหลัก
 2.  ภาษา  ประเทศเพื่อนบ้านที่มีการพูด  เขียน  คล้ายคลึงกับไทยก็คือ  ลาวเพียงชาติเดียวเท่านั้น  ส่วนชาติอื่น ๆ ก็จะใช้ภาษาของตน  ไม่ว่าจะเป็นพม่า  เวียดนาม  อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์  โดยที่ภาษาอังกฤษและภาษาจีนจะเป็นภาษากลางที่ใช้ติดต่อกันได้ทั่วทั้งภุมิภาค

3.  ประเพณี  พิธีกรรม  หากชาติใดที่มีรากฐานการนับถือศาสนาเป็นพระพุทธศาสนา  ประเพณี  พิธีกรรมต่าง ๆ ก็จะคล้ายคลึงกับของไทย  เช่น  การทำบุญเลี้ยงพระ  การเวียนเทียนเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา  ประเพณีเข้าพรรษา  เป็นต้น  ส่วนประเพณีอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา  พบว่าหากเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับไทย  เช่น  พม่า  ลาว  กัมพูชา  ก็จะมีประเพณีหลายอย่างคล้ายคลึงกับไทย  เช่น  ประเพณีสงกรานต์  ประเพณีลอยกระทง  เพียงแต่รายละเอียดของการจัดพิธีจะแตกต่างกันออกไป

ขณะเดียวกันวัฒนธรรมไทยในการแสดงความเคารพ  โดยการไหว้ของคนไทย  ชาติเหล่านี้ก็จะมีธรรมเนียมการไหว้เช่นเดียวกัน
สำหรับชาติอื่น ๆ ได้แก่  มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  บรุไน  จะมีประเพณีพิธีกรรมตามแบบอิสลาม  เวียดนามกับสิงคโปร์จะมีประเพณีพิธีกรรมตามแบบจีน  และมีวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาผสมผสาน  ส่วนชาติที่มีแบบแผนประเพณี  พิธีกรรมเหมือนอย่างตะวันตก  คือ  ฟิลิปปินส์
4.  อาหาร  อาหารของประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยข้าว  พืชผัก  และเนื้อสัตว์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น  การปรุงอาหารโดยมากจะใช้เครื่องเทศประเภท  กะทิ  น้ำมันรสชาติจัดจ้าน  โดยอาหารของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีอยู่อย่างหลากหลาย  สีสันดูน่ารับประทาน  รสชาติเผ็ดร้อน  ประเทศที่รับประทานอาหารไม่แตกต่างจากคนไทยก็ยังคงเป็นพม่า  ลาว  กัมพูชา  ขณะเดียวกันก็มีอาหารจากชาติอื่น ๆ เช่น  ยุโรป  ญี่ปุ่น  เกาหลี  เข้ามาเผยแพร่ด้วย

 5.  การแต่งกาย  ผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  หากไม่นับชุดพื้นเมืองและชุดประจำชาติแล้ว  จะแต่งกายไม่แตกต่างกัน  กล่าวคือสังคมเมืองในปัจจุบัน  ผู้ชายสวมเสื้อ  กางเกง  ส่วนผู้หญิงสวมเสื้อ  กางเกง  หรือกระโปรง  แต่ในชนบทผู้หญิงจำนวนมากก็ยังคงสวมใส่ผ้าซิ่นกันอยู่  ทั้งนี้ชุดประจำชาติของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกัน  ทำให้เมื่อดูแล้วสามารถบอกได้ทันทีว่าชุดแต่งกายนั้น ๆ เป็นของชนชาติใด

กล่าวโดยสรุปวัฒนธรรมไทย  เป็นสิ่งดีงามที่บรรพบุรุษของเราได้สั่งสมและสืบทอดต่อกันมาจนเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาติไทย  อย่างไรก็ตามประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดและมีดินแดนติดต่อกัน  เช่น  ลาว  พม่า  กัมพูชา  และมาเลเซีย  จะมีวัฒนธรรมบางส่วนที่คล้ายคลึงกันหรือมีมติความเชื่อและประเพณีที่เหมือนหรือคล้ายกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านศาสนา  เช่น  พระพุทธศาสนา  เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดประเพณีที่คล้ายคลึงกัน  ส่วนศาสนาอิสลามในมาเลเซีย  ก็จะพบว่ามีความคล้ายคลึงกับจังหวัดชายแดนทางภาคใต้แต่กลับประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ห่างออกไป  เช่น  สิงคโปร์  บรูไน  ก็จะทำให้มีวัฒนธรรมบางอย่างที่แตกต่างกับของไทย  ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรม  นอกจากจะเป็นสิ่งที่สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ  ความเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาติแล้ว  วัฒนธรรมยังทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี  ความรู้สึกเป็นบ้านพี่เมืองน้องกับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย

ผู้เขียน

ด.ช.บวร มาเผือก ม.1/1 เลขที่ 8

ด.ช.ยุทธพงศ์ สมสกุล ม.1/1 เลขที่ 12

Advertisement

แบ่งปันสิ่งนี้:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

วัฒนธรรมไทยคล้ายกับประเทศอะไร

กล่าวโดยสรุปวัฒนธรรมไทย เป็นสิ่งดีงามที่บรรพบุรุษของเราได้สั่งสมและสืบทอดต่อกันมาจนเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาติไทย อย่างไรก็ตามประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดและมีดินแดนติดต่อกัน เช่น ลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย จะมีวัฒนธรรมบางส่วนที่คล้ายคลึงกันหรือมีมติความเชื่อและประเพณีที่เหมือนหรือคล้ายกัน โดยเฉพาะ ...

มาเลเซียมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับประเทศใด

มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเซีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมะละกา ประชากรนับถืออิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือคริสเตียน 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้น เมืองแห่งกรมตำรวจภูธรมาเลเซีย 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่น ที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทางภาครัฐจะไม่เปลี่ยน ...

ประเทศเพื่อนบ้านของไทยมีอะไรบ้าง

ประเทศไทยมีแนวพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 4 ประเทศ ได้แก่ พรมแดนด้านพม่า (เมียนมาร์) ยาว 2,202 กิโลเมตร พรมแดนด้านลาว 1,750 กิโลเมตร พรมแดนด้านกัมพูชายาว 798 กิโลเมตร พรมแดนด้านมาเลเซีย 576 กิโลเมตร โดยที่แนวพรมแดนส่วนใหญ่ยึดเอาแนวสันปันน้ำของภูเขา ทางน้ำหรือลำน้ำบริเวณแนวกลางของร่องน้ำที่ไหล แรงที่สุด เรียกว่า ...

นาฏศิลป์ในอาเซียนประเทศใดบ้างที่มีความคล้ายคลึงกัน

5. นาฏศิลป์ในอาเซียนประเทศใดบ้างที่มีความคล้ายคลึงกัน ตอบ (ไทย ลาว กัมพูชา ) 6. นาฏศิลป์ประเทศใดที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตก

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด