การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งล่าสุดจัดขึ้นที่ไหน

กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา เปิดเผยกำหนดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และครั้งที่ 41 รวมทั้งการประชุมอื่นๆ ที่กรุงพนมเปญของกัมพูชา วันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2565 โดยการประชุมหลัก ได้แก่ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และครั้งที่ 41 , การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 25

นอกจากนี้ ยังมีการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 25 , การประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 23 และการประชุมสุดยอดอาเซียน พลัส ทรี ครั้งที่ 25

ทั้งนี้ ในพิธีปิดการประชุมนั้น นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา จะส่งต่อตำแหน่งประธานอาเซียน ปี 2566 ให้แก่ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด้ ของอินโดนีเซีย

วันที่ 25 ตุลาคม 2564 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีกำหนดการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการประชุมทางไกล ระหว่างวันที่ 26-28 ตุลาคม 2564 ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล

การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นบทสรุปของการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของบรูไนดารุสซาลาม ภายใต้แนวคิดหลัก “เราห่วงใย เราเตรียมพร้อม เรารุ่งเรือง” (We care, We prepare, We prosper) ซึ่งถือว่าเป็นปีที่มีความท้าทายในทุกมิติทั้งจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์ และสถานการณ์ในภูมิภาค โดยเฉพาะสถานการณ์ในเมียนมา

ทั้งนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ จะทรงเป็นองค์ประธานการประชุมสุดยอดทั้งหมด โดยมีผู้นำ หรือผู้แทนของประเทศสมาชิกอาเซียน เลขาธิการอาเซียน ตลอดจนผู้นำของคู่เจรจาเข้าร่วมการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย อินเดีย รัสเซีย และนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกและองค์การการค้าโลกได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 16 ในช่วงเริ่มต้นการประชุมเพื่อบรรยายสรุปเกี่ยวกับการบรรเทาผลกระทบของโควิด-19 และการสร้างเสริมความร่วมมือเพื่อรับมือกับภาวะวิกฤติในอนาคต

โดยนายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วมการประชุมในกรอบอาเซียนทั้งหมดจำนวน 12 การประชุม ตามเวลาประเทศไทย ดังนี้

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2564
08.00 น. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38
10.00 น. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 39
12.30 น. การประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 22
14.00 น. การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 24
20.00 น. การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 9

วันพุธที่ 27 ตุลาคม 2564
09.30 น. การประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 24
11.30 น. การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย ครั้งที่ 1
14.00 น. การประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 24
18.00 น. การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 16

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564
10.15 น. การประชุมระดับผู้นำแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ สามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ครั้งที่ 13
12.30 น. การประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 18
14.00 น. การประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 4
15.30 น. พิธีปิดและส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียน

โดยนายกรัฐมนตรีจะหยิบยกประเด็นสำคัญที่จะผลักดัน อาทิ การรับมือกับการแพร่ระบาดและผลกระทบของโควิด-19 ซึ่งถือเป็นประเด็นหลักในการหารือของทุกกรอบการประชุม โดยไทยสนับสนุนความร่วมมือในกรอบอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาเพื่อรับมือการแพร่ระบาดและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโควิด-19 อย่างรอบด้าน การฟื้นฟูและสร้างอนาคตที่ยั่งยืนควบคู่ไปกับการใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อสร้างความสมดุลของสรรพสิ่งในการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในยุค “Next Normal” และการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค เพื่อรับมือกับสภาพภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2565 กัมพูชาจะรับไม้ต่อในการเป็นประธานอาเซียน และในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีจะร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และครั้งที่ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 25 ฉบับ.

          ที่ประชุมได้รับรองปฏิญญากรุงกัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยอาเซียนที่ยึดประชาชนเป็นพื้นฐานและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Kuala Lumpur Declaration on a People – Oriented , People-Centered ASEAN) ซึ่งได้รวมข้อเสนอของไทยในการส่งเสริมเกษตรกรรมเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและยั่งยืนด้านอาหาร ปฏิญญาว่าด้วยประชาคมอาเซียนและประชาชนอาเซียนที่มีความเข้มแข็ง รู้รับ ปรับตัว ฟื้นกลับจากภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นทางการ (Declaration on Institutionalising the Resilience of ASEAN and its Communities and Peoples to Disaster and Climate Change) และปฏิญญาลังกาวีว่าด้วยขบวนการผู้ยึดถือแนวทางสายกลางระดับโลก (Lankawi Declaration on the Global Movement of Moderates)

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2562 ระหว่างเวลา 10.00 – 12.00 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 ที่กรุงเทพฯ โดยการประชุมดังกล่าวเป็นเวทีให้ผู้นำอาเซียนร่วมกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาค รวมทั้งแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับประเด็นภายในภูมิภาคและ ระหว่างประเทศ เพื่อหาแนวทางในการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ร่วมกัน อย่างตรงไปตรงมาในบรรยากาศของมิตรภาพ

ที่ประชุมย้ำความสำคัญของการรักษาความเป็นเอกภาพ ผลประโยชน์ร่วมกัน และความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมภูมิภาค รวมทั้งความสำคัญของการส่งเสริมความร่วมมือของอาเซียนในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและอินโด-แปซิฟิก โดยที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับมุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific) ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการมีท่าทีร่วมกันของอาเซียน นอกจากนี้  ที่ประชุมยังได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของอาเซียนที่จะบริหารจัดการผลกระทบจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียนโดยยืนยันพันธกรณีต่อระบบการค้าพหุภาคีการเร่งรัดการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งจะช่วยให้อาเซียนรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในภูมิภาค การส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ในอนุภูมิภาค ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นปัญหาระหว่างประเทศ อาทิ ทะเลจีนใต้ สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี และสถานการณ์ในรัฐยะไข่ รวมทั้งได้แสดงเจตนารมณ์ของอาเซียนที่จะร่วมกันเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกหรือฟีฟ่าเวิล์ดคัพในปี ค.ศ. 2034

ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมฯ นายกรัฐมนตรีได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนสรุปสาระสำคัญของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 ทั้งในส่วนของการประชุมแบบเต็มคณะ การประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ตลอดจนการหารือระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้แทนภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ สมัชชารัฐสภาอาเซียน ผู้แทนเยาวชนอาเซียน และสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ตามลำดับ โดยกิจกรรมต่าง ๆ ล้วนตอกย้ำความมุ่งมั่นของอาเซียนที่จะร่วมมือกันในการสร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และมองไปสู่อนาคต ภายใต้แนวคิดหลักของการเป็นประธานอาเซียนของไทย “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” ซึ่งส่งเสริมความยั่งยืนในทุกมิติ เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่าง ๆ อาทิ การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแข่งขันระหว่างประเทศนอกภูมิภาค เป็นต้น ซึ่งตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา ไทยในฐานะประธานอาเซียนได้ขับเคลื่อนการดำเนินการตามแนวคิดหลักดังกล่าวและก่อให้เกิดความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการเสริมสร้างความมั่นคงที่ยั่งยืน การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและมีพลวัต การสร้างอาเซียนที่เชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อเพื่อมุ่งไปสู่ดิจิทัลอาเซียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อเพิ่มคุณค่าทางยุทธศาสตร์ให้กับอาเซียน และเสริมสร้างเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคของเรา โดยผู้นำทุกท่านให้การสนับสนุนแนวคิดหลักดังกล่าวอย่างเต็มที่ และได้ร่วมกันรับรองวิสัยทัศน์ผู้นำอาเซียน ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน ซึ่งแสดงความมุ่งมั่นในการร่วมผลักดันความร่วมมือต่าง ๆ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะนำผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 ไปนำเสนอต่อที่ประชุมผู้นำ G20 ที่นครโอซากาในวันที่ 28-29 มิถุนายน 2562 เพื่อสื่อแนวคิดของอาเซียนในประเด็นที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมท่าทีร่วมกันของอาเซียน (ASEAN Voice) ในเวทีระหว่างประเทศด้วย

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณทุกหน่วยงานและประชาชนไทยที่ให้ความร่วมมือในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนในครั้งนี้ ทำให้การประชุมประสบความสำเร็จด้วยดี เรียบร้อยสง่างาม และสมเกียรติ เป็นที่ชื่นชมของทุกประเทศ รวมทั้งแจ้งว่า ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2562 โดยจะมีผู้นำจากนอกภูมิภาคเข้าร่วมด้วย และหวังว่า ทุกภาคส่วนของไทยจะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีต่อไป

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด