ถ้าไม่เสียภาษีจะเกิดอะไรขึ้น

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ไม่เคยยื่นภาษีมาก่อนเลย ถ้ายื่นปีนี้จะโดนภาษีย้อนหลังไหม ? และจะต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ? หลายคนมักจะมีคำถามแบบนี้เมื่อคิดว่าจะเริ่มต้นยื่นภาษีให้ถูกต้องใช่ไหมครับ ? ดังนั้นบทความนี้จะมาสรุปทุกอย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องทั้งหมดนี้กันครับ

Advertisements

สำหรับคนที่ไม่มีเวลา สามารถเลือกอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจได้เลยครับ

ความแตกต่างระหว่างการยื่นภาษี และ เสียภาษี

อันดับแรก ผมอยากให้ทำความเข้าใจความหมายระหว่างคำว่า ยื่นภาษี และ เสียภาษี กันก่อนครับ ว่าทั้งสองคำนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ?

  • ยื่นภาษี หมายถึง เรามีหน้าที่ยื่นภาษีเมื่อเป็นไปตามเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น เงินได้ การจดทะเบียนต่าง ๆ โดยภาษีแต่ละประเภทก็จะกำหนดเงื่อนไขในการยื่นแตกต่างกันออกไป
  • เสียภาษี หมายถึง จำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายสำหรับภาษีแต่ละประเภท ซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดไว้

หลาย ๆ คน อาจจะเคยเจอว่าภาษีบางประเภทต้องยื่นแม้ว่าจะไม่ต้องเสียภาษี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีประเภทอาจจะไม่ต้องยื่นแบบแต่ต้องชำระเมื่อได้รับการประเมินจากเจ้าหน้าที่ เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งนี่แหละครับคือความแตกต่างระหว่างการยื่นภาษี

Advertisements

แต่สิ่งที่คนส่วนใหญ่กังวลในหัวข้อนี้ มักจะเป็นเรื่องของการถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลังจากทางกรมสรรพากรมากกว่า จึงเป็นที่มาของคำถามในบทความนี้นั่นเองครับ

ไม่เคยยื่นภาษี จะถูกตรวจสอบย้อนหลังไหม

ถ้าคำถามมีแค่นี้ ผมคงตอบได้ตรง ๆ ว่า “ไม่รู้” ครับ เพราะเรื่องของการตรวจสอบย้อนหลังนั้น มันเป็นไปตาม อำนาจการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ครับ

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา บางคนโชคดีอาจจะไม่โดน บางคนโชคร้ายอาจจะโดนก็ได้ เพราะอำนาจทางกฎหมายที่มีอยู่นั้น มันไม่ได้เกี่ยวกับการยื่นภาษีโดยตรงครับ ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจอำนาจการตรวจสอบของกรมสรรพากรกันอีกสักหน่อยดีกว่าครับ

Advertisements

ถ้าลองทำความเข้าใจกฎหมายภาษีอย่างประมวลรัษฏากร เราจะพบข้อเท็จจริงว่า การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีในส่วนนั้น ๆ ในขณะที่ สรรพากรมีอำนาจการประเมินภาษี หากพบว่าผู้ที่มีหน้าที่ตามกฎหมายนั้นยื่นภาษีไว้ไม่ถูกต้อง ซึ่งกฎหมายได้ให้อำนาจทางเจ้าหน้าที่ไว้ตามนี้ครับ

ถ้าไม่เสียภาษีจะเกิดอะไรขึ้น

Advertisements

มาตรา 19  เว้นแต่จะมีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน และออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้น นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย ทั้งนี้ การออกหมายเรียกดังกล่าว จะต้องกระทำภายในเวลาสองปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการไม่ว่าการยื่นรายการนั้น จะได้กระทำภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไปหรือไม่ ทั้งนี้ แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง เว้นแต่กรณีปรากฏหลักฐานหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ยื่นรายการมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร หรือเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากร อธิบดีจะอนุมัติให้ขยายเวลาการออกหมายเรียกดังกล่าวเกินกว่าสองปีก็ได้ แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ แต่กรณีขยายเวลาเพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากรให้ขยายได้ไม่เกินกำหนดเวลาตามที่มีสิทธิขอคืนภาษีอากร 
มาตรา 23 ผู้ใดไม่ยื่นรายการ ให้อำเภอหรือเจ้าพนักงานประเมินแล้วแต่กรณี มีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวน และออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ ผู้ที่ไม่ยื่นรายการ หรือพยานนั้นนำบัญชี หรือพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย
โดยมาตรา 23 จะอ้างอิง มาตรา 193/30 จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องอายุความว่า "อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้มีกำหนดสิบปี"

จากข้อกฎหมายข้างต้น สรุปประเด็นสั้น ๆ ได้ว่า อำนาจการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ในกรณีที่เราไม่ยื่นภาษี คือ 10 ปี แต่ถ้าหากเรายื่นภาษี อำนาจตรวจสอบย้อนหลังจะเหลือเพียง 2 ปี และสามารถขยายสูงสุดได้ไม่เกิน 5 ปี หากกรณีความผิดที่เกิดขึ้นจากการหลีกเลี่ยงภาษีอากร

นอกจากนั้นแล้วยังมีเรื่องเรื่องของโทษต่าง ๆ ที่ต้องรู้เพิ่มเติมไว้ในกรณีที่ไม่ได้ยื่นภาษี ดังนี้ครับ

  • ค่าปรับอาญา คิดในกรณีที่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ถือว่าทำผิดกฎหมาย เป็นการลงโทษทางอาญา)
  • เบี้ยปรับ คิดจากยอดภาษีที่ต้องชำระ โดยกำหนดไว้สูงสุดคือ 2 เท่าของจำนวนภาษี
  • เงินเพิ่ม คิดจากยอดภาษีที่ต้องชำระ โดยกำหนดเป็นอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% ต่อเดือน แต่จำนวนเงินเพิ่มจะสูงสุดไม่เกินจำนวนภาษีที่คำนวณได้
  • หากใครคิดที่จะไม่ยื่นภาษีก็อย่าลืมมองต้นทุนที่เกิดขึ้นตรงนี้ที่นอกเหนือจากอำนาจการตรวจสอบของกรมสรรพากรไว้ด้วยนะครับ

    ถ้าไม่เสียภาษีจะเกิดอะไรขึ้น

    จากตัวอย่างข้างบนจะเห็นว่า ในกรณีที่ยื่นภาษี (ปีที่ 10) อำนาจการตรวจสอบย้อนหลังของปีที่ 10 จะเหลือสูงสุดเพียง 5 ปี ในขณะที่ปีที่ 1-9 ที่ไม่ได้ยื่นภาษี อำนาจการตรวจสอบย้อนหลังจะมีทั้งหมด 10 ปี ตามเงื่อนไขของกฎหมายที่ว่าไว้ครับ

    ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ผมบอกว่า “ไม่รู้” ในการตอบคำถามข้างต้นที่ว่ามา เพราะถ้าหากเราพิจารณาจากข้อกฎหมายแล้ว อำนาจการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่มันขึ้นอยู่กับการยื่นภาษี แต่ไม่ได้อยู่ที่ว่ายื่นแล้วจะโดนตรวจสอบหรือไม่ เพราะถ้าหากพบเจอขึ้นมาจริง ๆ ว่าปีที่ไม่เคยยื่นก่อนหน้านี้มันผิด ก็ยังมีสิทธิ์ตรวจสอบตามกฎหมายได้นั่นเองครับ

    แต่พูดแบบนี้แล้วหลายคนอาจจะรู้สึกเริ่มกลัวใช่ไหมครับ เอาเป็นว่าเรามาดูแนวปฎิบัติที่เกิดขึ้นจริงของสรรพากร ผ่านมุมมองและประสบการณ์ของผมกันดีกว่าครับ

    แนวปฎิบัติในการตรวจสอบภาษีย้อนหลังของกรมสรรพากร

    สำหรับคนที่กลัวว่ายื่นภาษีแล้ว จะถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลังหรือเปล่า ต้องบอกว่าปัจจุบันทางกรมสรรพากรเองมีแนวทางที่สนับสนุนให้ผู้เสียภาษีเข้าระบบให้ถูกต้องมากกว่าการตรวจสอบย้อนหลังครับ

    ผมอยากให้ลองคิดในมุมของสรรพากรครับว่า ถ้าหากเราเจอผู้เสียภาษีสองคนที่ทำผิด ระหว่างคนที่ไม่เคยยื่นภาษีมาก่อนและจงใจหลีกเลี่ยงภาษี กับ คนที่มีการปรับปรุงแก้ไขโดยเริ่มต้นยื่นภาษีไว้อย่างถูกต้อง คนไหนน่าจะถูกตรวจสอบมากกว่าในทางปฎิบัติ แบบนี้ก็พอจะเห็นภาพใช่ไหมครับ หรือถ้าหากพูดกันตรง ๆ เราต่างก็รู้ดีว่าคนไหนน่าจะได้รับความเห็นใจมากกว่า จริงไหมครับ ?

    ดังนั้นในทางปฎิบัติ การยื่นภาษีถูกต้องตั้งแต่ตอนนี้น่าจะมีประโยชน์กว่าการปล่อยทิ้งไว้ แล้วดันไปถูกตรวจสอบในภายหลังครับ ประกอบกับแนวทางการตรวจสอบของระบบและเทคโนโลยีที่เข้มข้นขึ้น จะทำให้ผู้เสียภาษีที่ยื่นภาษีไว้ไม่ถูกต้อง มีโอกาสถูกตรวจสอบได้ง่ายขึ้นเช่นกันครับ (อ่านเพิ่มเติมเรื่องนี้ได้ในบทความ อวสานคนหนีภาษี ครับ)

    นอกจากนั้น ถ้าหากใครอยากฟังสรุปทั้งหมดในบทความนี้เป็นแบบคลิป สามารถดูได้ที่นี่เลยครับ

    Advertisements

    บทสรุป : ถ้าอยากจะยื่นให้ถูกต้อง ควรทำอย่างไร

    สุดท้ายสำหรับใครที่คิดจะยื่นภาษีให้ถูกต้อง ผมมีคำแนะนำ 3 ข้อสั้น ๆ ที่เคยเขียนไว้ในแฟนเพจ TAXBugnoms ตามนี้ครับ

    1. ทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้ถูกต้อง สิ่งสำคัญที่เริ่มต้น คือ ข้อมูลทางบัญชีของเราครับ เพราะตัวเลขที่ใช้ยื่นภาษี และคำนวณกำไรต่างๆ มันจะต้องเริ่มต้นจากการมีข้อมูลรายได้และค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องครับ
    2. มีข้อมูลหลักฐานต่าง ๆ ให้พร้อม เพื่อสนับสนุนข้อมูลในการยื่นภาษีของเรา โดยสำหรับส่วนนี้ใช้เพื่อสนับสนุนข้อมูลในการทำบัญชีตามข้อ 1 และใช้เป็นหลักฐานในกรณีที่อยากจะหักค่าใช้จ่ายตามจริงในการคำนวณภาษี หรือเตรียมพร้อมไว้สำหรับการจดบริษัทในอนาคต (ถ้าต้องการ) ครับ
    3. กล้าที่จะยื่นข้อมูลอย่างถูกต้อง และเชื่อว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่อเราในอนาคต
      • ประเด็นเรื่อง “ความกล้า” ผมมองว่าคนไม่ยื่นภาษีส่วนใหญ่มักจะกลัวว่ายื่นไปแล้วจะถูกตรวจ ทำให้ไม่กล้ายื่นหรือแสดงข้อมูลตามจริง ดังนั้นถ้าหากข้อมูลพร้อมแล้ว มั่นใจแล้วยื่นไปน่าจะดีกว่าครับ เพราะสุดท้ายการตรวจกับยื่นมันแยกเป็นรายปีอย่างที่ว่ามาครับ
      • ประเด็นเรื่อง “ความเชื่อ” ก็คือมองให้เห็นว่าการยื่นภาษีดีกับเรายังไง เช่น การไม่ถูกตรวจสอบย้อนหลัง เอาข้อมูลไปทำอย่างอื่นได้ เช่น ขอสินเชื่อ หรือใช้วางแผนต่าง ๆ ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับเรามากกว่าหรือเปล่า

    อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ เป็นเพียงข้อแนะนำในมุมของผมเท่านั้นนะครับ สำหรับคนที่เชื่อแตกต่างไป หรือยังมองการการไม่เคยยื่นภาษีนั้นเป็นประโยชน์มากกว่า ตรงนี้ก็เป็นแนวคิดของแต่ละคนที่สามารถเลือกพิจารณาแตกต่างกันไปครับ

    แต่ขอให้เข้าใจว่าเลือกทางไหน ก็ต้องยอมรับผลของมันครับ

    TAXBugnoms

    ภาษี

    TaxBugnoms

    คือ นามปากกาของพรี่หนอม (ถนอม เกตุเอม) ผู้มีความเชื่อว่าภาษีเป็นเรื่องยาก แต่กลับชื่นชอบในการทำให้ภาษีกลายเป็นเรื่องเรียบง่าย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเข้าใจในการใช้ชีวิต