กฎหมายแรงงานสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์อย่างไร

พนักงานหรือแรงงานทุกคนมีสิทธิในการลางาน แต่ว่าจะต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดตามเงื่อนไขของบริษัทและภายใต้กฎหมายแรงงานด้วย เราจะลาหยุดไปเองแบบสุ่มสี่สุ่มห้านั้นไม่ได้ โดนเตือนและถูกเชิญออกได้เร็วแน่นอนหากทำแบบนั้น
วันลา คือ วันที่ลูกจ้างนั้นใช้สิทธิในการลาหยุดงานได้อันเนื่องจากเหตุต่าง ๆ โดยต้องได้รับการอนุญาตจากนายจ้าง ไม่ว่าจะลาอะไรก็ตาม ก็มีทั้ง ลาป่าย ลากิจ ลาไปพัฒนาตัวเอง ลาคลอด ฯลฯ มาดูกันว่าสิทธิในการลาในแต่ละอย่างตามกฎหมายแล้วเป็นแบบไหน จะได้ทำตามกฎได้อย่างถูกต้อง

1. การลาป่วย

สำหรับการลาป่วยตามมาตรา 32 นั้นลูกจ้างมีสิทธิลาได้เท่าที่ป่วยจริง ๆ หากป่วยและลาตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ที่เป็นวันทำงานจะต้องแสดงใบรับรองแพทย์ หากในกรณีที่แสดงไม่ได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี 

ตามมาตรา 57 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 นี้จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ตามมาตรา 146 ฉะนั้นแล้วในการลาป่วยก็ต้องทำให้ถูกกฎหมายแรงงานด้วย บางกรณีเราก็ยังได้รับค่าจ้างอยู่เหมือนเดิม

2. การลาไปทำหมัน

เป็นสิทธิที่ลูกจ้างสามารถลาได้เพื่อการทำหมัน ระยะเวลาขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและการออกใบรับรองแพทย์ ให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนในวันลาเพื่อทำหมันเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ตามใบรับรองแพทย์ (มาตรา 57) นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 146)

3. การลากิจ (ธุระอันจำเป็น)

การลาแบบนี้เอาไว้ใช้ในการกรณีที่มีเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วนจำเป็นจะต้องลา พนักงานก็สามารถใช้สิทธิในการลากิจได้เพื่อไปทำธุระจำเป็น ซึ่งการลากิจไปทำอะไรนั้นก็จะต้องเป็นธุระที่คนอื่นไม่สามารถจะทำแทนได้ 

และต้องเป็นการลาภายใต้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและตามกฎหมายแรงงาน ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันเพื่อกิจธุระอันจำเป็น เท่ากับในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 3 วัน/ปี หากนายจ้างไม่จ่าย อาจจำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. ลาเพื่อรับราชการทหาร

หลายบริษัทเลยมักจะรับพนักงานที่ผ่านการเกณฑ์ทหารมาแล้วเพื่อเลี่ยงการที่พนักงานจะใช้วันลาข้อนี้นั่นเอง ตามมาตรา 35 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารเพื่อฝึกวิชาชีพทหารได้ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อรับราชการทหารเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 60 วัน/ปี (มาตรา 58) นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 58 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท  (มาตรา 146)

5. การลาเพื่อไปพัฒนาความรู้

ตามมาตรา 36 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ ความสามารถได้ไม่เกิน 30 วันหรือ 3 ครั้ง/ปี ซึ่งลูกจ้างจะต้องมีหลักสูตรและกำหนดวันเวลาที่แน่นอนชัดเจน ลูกจ้างต้องแจ้งต่อนายจ้างไม่น้อยกว่า 7 วันให้ถือเป็นการลาโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งก็ต้องดูเป็นกรณีไป 

6. การลาเพื่อคลอดบุตร

ตามมาตรา 41 ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 98 วัน/ปี ยื่นคำขอเพื่อลาคลอดล่วงหน้าพร้อมใบรับรองแพทย์ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ไม่เกิน 45 วัน (มาตรา 59) นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 59 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 146)

ตามกฎหมายแรงงานแล้วการลาทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นพนักงานก็มีสิทธิในการใช้วันลาตามเหตุสมควร หากบริษัทไหนไม่ให้ลาก็จะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย นอกจากการมีสิทธิลาแล้วในกรณีอย่างอื่นกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็ช่วยได้อย่างกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน จ่ายแต่ไม่ครบ หรือกรณีที่พนักงานเองทำผิดก็มีบทลงโทษอย่างสมควรเช่นกัน

 

    หลักกฎหมายและวัตถุประสงค์การคุ้มครองแรงงาน คือการจัดระเบียบของสังคมการจ้างแรงงาน และใช้แรงงาน มุ่งเน้นให้นายจ้างต้องปฏิบัติตามหลักกฎหมายที่บัญญัติไว้ การไม่ปฏิบัติหรือฝ่าฝืนอาจ ได้รับโทษ โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐทําหน้าที่ในการควบคุม กํากับ ดูแล แม้ลูกจ้างจะไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษ พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอํานาจตามกฎหมาย สามารถเข้าไปควบคุม ดําเนินการให้นายจ้างปฏิบัติตาม ระเบียบและหลักกฎหมายได้

    การจะทําให้สังคมในองค์กรนายจ้างลูกจ้างมีความเป็นธรรมและสงบสุข งานดําเนินไปด้วย ความราบรื่น รัฐได้วางหลักไว้ในกฎหมายเพื่อกําหนดมาตรฐานขั้นต่ําการใช้แรงงาน ด้วยการตรากฎหมาย เกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้ เพื่อให้สังคมใช้เป็นคําถาม คําตอบได้ อาทิเช่น

    1. ลักษณะงานที่ทํา เหมาะสมกับวัยหรือเพศของลูกจ้างหรือไม่ 

    2. วันและเวลาทํางานของลูกจ้าง ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ 

    3. ค่าจ้างที่ให้ รวมทั้งค่าจ้างทํางานล่วงเวลา ทํางานวันหยุด ถูกต้องหรือไม่ 

    4. สวัสดิการของลูกจ้าง ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน มีเพียงพอหรือไม่

    5. เมื่อมีการเลิกจ้าง ลูกจ้างได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง และได้รับเงินชดเชยถูกต้องตามที่ กฎหมายกําหนดหรือไม่

    สรุปได้ว่า หลักกฎหมายและวัตถุประสงค์การตรากฎหมายคุ้มครองแรงงาน ก็เพื่อประสงค์ให้ นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย จึงกําหนดเงื่อนไขการจ้างไว้เพื่อคุ้มครองลูกจ้างมิให้ถูกเอาเปรียบ และได้รับ ความปลอดภัยขณะทํางาน มีเวลาพักผ่อนที่เหมาะสม มีสวัสดิการและได้รับค่าจ้างถูกต้องตามกฎหมาย กําหนด อันจะทําให้ลูกจ้างสามารถปฏิบัติงานที่จ้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความหวังและมีความสุข ในการทํางาน เกิดความสงบสุขและความเป็นธรรมในสังคม ส่วนลักษณะการจ้างแรงงาน การใช้สิทธิและ หน้าที่ของนายจ้างจะต้องปฏิบัติตามหลักของการจ้างแรงงาน แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เว้นแต่ กฎหมายคุ้มครองแรงงานนี้จะกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด