ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาในภาพรวมมีลักษณะอย่างไร

            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นายพลยูลิสซิส เอส. แกรนด์ ได้เดินทางมาเยือนเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๒ นายพล แกรนด์ เคยเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ อยู่สองสมัย ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๑๒ - ๒๔๒๐
            พระมหากษัตริย์องค์แรกของไทยที่เสด็จพระราชดำเนินสหรัฐ ฯ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร เมื่อพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษา จากประเทศอังกฤษ แล้วเสด็จกลับเมืองไทยโดยผ่านทางสหรัฐ ฯ ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ ได้เสด็จเยือนสถานที่ต่าง ๆ เช่นมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สุสานทหารอาร์ลิงตัน โรงเรียนนายร้อยเวสต์ปอยต์ สภาคองเกรส และศาล เป็นต้น

            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีได้เสด็จสหรัฐ ฯ เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อทรงรับการรักษาพระเนตร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ ได้เสด็จไปกรุงวอชิงตัน และทรงพบกับประธานาธิบดี เฮอร์เบิต ฮูเวอร์ รัฐบาลสหรัฐ ฯ ได้จัดงานเลี้ยงถวายการต้อนรับ มหาวิทยาลัยยอร์ช วอชิงตันจัดพิธีถวายปริญญากิตติมศักดิ์แก่พระองค์ เสด็จเมืองนิวยอร์ค นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์คได้จัดพิธีต้อนรับอย่างสมเกียรติ ในการเสด็จเยือนสหรัฐ ฯ ครั้งนี้ หนังสือพิมพ์อเมริกันถวายคำสดุดียกย่องพระองค์ว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ และมีน้ำพระทัยเป็นนักประชาธิปไตย พระราชจริยวัตรส่วนพระองค์เป็นที่ชื่นชมแก่ชาวอเมริกัน
            พระองค์ได้แสดงสุนทรพจน์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองไว้ตอนหนึ่งว่า
            "ในประเทศสยาม มีความรู้สึกชื่นชมอย่างสูงในความสำเร็จของมหาประเทศแห่งนี้  และยังมีความรู้สึกอันเป็นมิตรทั้งต่อประชาชน และต่อรัฐบาลอเมริกันทั้งนี้สาเหตุใหญ่ก็เป็นเพราะชาวอเมริกันได้มีส่วนเป็นอย่างมาก ในการพัฒนาประเทศของข้าพเจ้าให้ก้าวหน้าทันสมัย และรัฐบาลอเมริกันก็ยังได้แสดงความเข้าใจอย่างเห็นอกเห็นใจ ทั้งในความปรารถนา และความสำเร็จของประเทศของข้าพเจ้า
            พระองค์ได้ประทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์อเมริกันว่า พระองค์ทรงเตรียมการที่จะให้สิทธิในการปกครองตนเองในรูปของเทศบาลแก่ประชาชน อันเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย การพระราชทานสัมภาษณ์ครั้งนี้โด่งดังมาก ได้ลงพิมพ์ในหนังสือ นิวยอร์คไทม์ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๗๔
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เคยประทับอยู่ในสหรัฐ ฯ สมัยยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระราชบิดาของพระองค์ประทับอยู่ที่เมืองบอสตัน เพื่อทรงศึกษาวิชาแพทย์
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพที่โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น ในเคมบริดจ์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๐ และต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๓ พระองค์ได้เสด็จเยือนสหรัฐ ฯ เป็นทางการในฐานะองค์พระประมุขของประเทศไทย ในสมัยที่ ดไวท์ ดี.ไฮเซนเฮาร์ เป็นประธานาธิบดี
ไทยและสหรัฐ ฯ กับสงครามโลกครั้งที่สอง
            ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๔ - ๒๔๘๘ ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสหรัฐ ฯ ได้ขาดตอนลงไป เนื่องจากเหตุการณ์บีบบังคับให้ไทยต้องเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งรวมทั้งสหรัฐ ฯ ในฐานะฝ่ายตรงข้ามในสงคราม
            ก่อนญี่ปุ่นเปิดฉากสงครามมหาเอเซียบูรพา ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างญี่ปุ่นกับมหาอำนาจตะวันตก ในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศไทยหลายประการด้วยกัน ทั้งสองฝ่ายแข่งขันในการรับซื้อวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการสงคราม เช่นยางพารา และดีบุก เวลานั้นเมืองไทยกำลังขาดแคลนปัจจัยต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น น้ำมัน อาวุธ และเครื่องบิน จึงได้เจรจาขอความช่วยเหลือจากสหรัฐ ฯ และอังกฤษ แต่ทั้งสองประเทศดังกล่าวไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ไทยได้ อังกฤษได้แสดงท่าทีเต็มใจที่จะช่วยเหลือไทย แต่สหรัฐ ฯ มีท่าทีลังเล และไม่เต็มใจนัก อังกฤษเกรงว่าถ้าไทยพึ่งอังกฤษ และสหรัฐ ฯ ไม่ได้ก็จะหันไปพึ่งญี่ปุ่น จึงพยายามช่วยเหลือไทยเท่าที่ทำได้ เช่น เมื่อไทยเดือดร้อนเรื่องขาดแคลนน้ำมัน อังกฤษก็ส่งมาให้จากสิงคโปร์ ขณะเดียวกันก็ขอซื้อยางพารา และดีบุกเพิ่มขึ้น ส่วนสหรัฐ ฯ ได้เคยสั่งกักเครื่องบิน ซึ่งไทยได้สั่งซื้อ และชำระเงินแล้วไว้ที่ฟิลิปปินส์ ในเดือน ตุลาคม ๒๔๘๓
            ในด้านการเมือง นายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยได้เคยเจรจากับเอกอัครราชทูตสหรัฐ ฯ และอังกฤษให้ประเทศทั้งสองยืนยันเป็นทางการว่า ถ้าญี่ปุ่นบุกเมืองไทยแล้วให้ถือว่าเป็นการรุกรานอังกฤษ และสหรัฐ ฯ ด้วย ในเดือนสิงหาคม ๒๔๘๓ นายแอนโทนี อีเดน รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษได้แถลงในสภาสามัญว่า การกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นการคุกคามความมั่นคง และบูรณะภาพของประเทศไทยแล้ว รัฐบาลอังกฤษถือว่ากระทบถึงประโยชน์ของอังกฤษด้วย แต่สหรัฐ ฯ ไม่เห็นด้วยกับอังกฤษในสมัยที่นายฮิว แกรนต์ ซึ่งมีทัศนคติไม่ดีนักต่อประเทศไทย เป็นอัครราชทูตสหรัฐ ฯ ประจำประเทศไทย
            ต่อมาเมื่อ ๑๒ กันยายน ๒๔๘๔ ทางสหรัฐ ฯ ได้ตั้งนายวิลลิส อาร์. เป๊ก มาเป็นอัครราชทูตสหรัฐ ฯ ประจำประเทศไทย ก็ได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยอย่างดีที่สุด ท่าทีของสหรัฐ ฯ ได้เปลี่ยนแปลงไปและเห็นคล้อยตามอังกฤษในการสนับสนุนไทยทุกทางเท่าที่จะทำได้ นายเป๊กได้เสนอไปยังรัฐบาลสหรัฐ ฯ ว่าควรสนับสนุนไทยในด้านเศรษฐกิจเพื่อเป็นการเสริมกำลังใจให้ไทยยันญี่ปุ่นไว้ และไม่ควรเรียกร้องสิ่งตอบแทนทางการเมืองใด ๆ เพียงแต่สนับสนุนให้ไทยรักษาความเป็นกลางไว้ก็เพียงพอแล้ว
            ก่อนกองทหารญี่ปุ่นเข้าประเทศไทยประมาณสองเดือน ทูตอเมริกันได้แจ้งกับรัฐบาลไทยว่า สหรัฐ ฯ จะให้ความช่วยเหลือไทยในลักษณะเดียวกับที่ช่วยเหลือจีน เรื่องเครื่องบิน และยุทธปัจจัยต่าง ๆ นั้นไม่สามารถส่งมาให้ได้ เพราะจะต้องช่วยเหลืออังกฤษก่อน สำหรับเรื่องน้ำมันก็กำลังพยายามหาทางช่วยเหลืออยู่
            เมื่อญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ล ฐานทัพเรือของสหรัฐ ฯ ในมหาสมุทรแปซิฟิค เมื่อ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๔๘๔ และประกาศสงครามกับอังกฤษ และสหรัฐ ฯ และเช้าวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ญี่ปุ่นก็บุกประเทศไทย ได้มีการต่อสู้กันอย่างดุเดือด เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นได้เจรจากับรัฐบาลไทย ขอให้กองทัพญี่ปุ่นเดินผ่านไทยไปมลายู และพม่าโดยรับรองจะเคารพอธิปไตยของไทย ในการนี้เอกอัครราชทูตอเมริกาได้มีโทรเลขถึงรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ มีความตอนหนึ่งว่า "เขาได้ต่อว่าโดยกล่าวถึงความเพียรพยายามที่จะขออาวุธ เพื่อมาเตรียมต่อสู้ แต่ก็ไม่สำเร็จ... เขากล่าวว่า หัวใจคนไทยนั้นอยู่กับสหรัฐ ฯ และอังกฤษมาตลอด ข้าพเจ้านั้นไม่อาจเห็นอย่างอื่น นอกจากจะยอมรับว่าประเทศไทยได้แสดงความพยายามอย่างสุจริตใจที่จะต่อสู้ญี่ปุ่น แต่ก็ต้องยอมจำนนในที่สุด เพราะไม่มีกำลังจะต่อสู้ได้"
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

            วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ญี่ปุ่นยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ประกาศทันทีว่าไทยอยู่ในฐานะสันติภาพ และให้ถือว่าคำประกาศสงครามต่อประเทศสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๕ เป็นโมฆะ เพราะขัดรัฐธรรมนูญ และไม่ต้องด้วยเจตนารมย์ของประชาชนชาวไทย
            ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม นายเจมส์ เบิร์น รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของสหรัฐ ฯ ได้ประกาศรับทราบคำประกาศสันติภาพของไทย มีข้อความตอนหนึ่งว่า " รัฐบาลอเมริกันได้เชื่อมาตลอดว่า การประกาศสงครามในครั้งนั้นมิต้องด้วยเจตนาของประชาชนชาวไทย ด้วยเหตุนั้น เราจึงมิได้ยอมรับคำประกาศสงครามฉบับนั้น และยังคงรับรองสถานะของอัครราชทูตไทยในกรุงวอชิงตันต่อไป และไม่รับรองรัฐบาลไทยในกรุงเทพ ฯ ซึ่งอยู่ใต้อำนาจญี่ปุ่น... ในระหว่างสี่ปีที่ผ่านมา เรามิได้ถือประเทศไทยเป็นศัตรู แต่ถือว่าประเทศไทยเป็นดินแดนที่เราจะเข้าไปช่วยกู้ให้พ้นจากอำนาจศัตรู และเมื่อมีการกอบกู้ประเทศสำเร็จผลแล้ว เราจึงใคร่เห็นประเทศไทยเข้าอยู่ในสังคมของนานาชาติที่มีเสรีภาพ มีอธิปไตย และมีเอกราชของตน"
            แต่แถลงการณ์ของรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศอังกฤษ มีท่าทีตรงข้าม อย่างเห็นได้ชัด ตอนหนึ่งมีความว่า" ท่าทีของอังกฤษขึ้นอยู่ที่ว่าคนไทยจะปฏิบัติตามความต้องการของทหารอังกฤษ ซึ่งกำลังจะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยนั้นอย่างไร และคนไทยจะแก้ไขความผิดซึ่งคนรุ่นก่อนได้กระทำไว้ และจะชดใช้คืนสำหรับความเสียหายความพินาศบุบสลายที่เกิดขึ้นแก่ผลประโยชน์ และสัมพันธมิตรเพียงใด และจะมีส่วนช่วยในการจะให้มีสันติภาพ ความสงบเรียบร้อย และการบูรณะทางเศรษฐกิจในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้เพียงใด

            ในการเจรจาครั้งแรกที่เมืองแคนดีเกาะลังกา เพื่อเลิกสงครามระหว่างไทยกับสัมพันธมิตรนั้น อังกฤษได้เป็นผู้เสนอร่างความตกลง ๒๑ ข้อ ต่อรัฐบาลไทย ถ้าไทยตกลงตามนั้นไทยจะต้องตกอยู่ในอิทธิพลของอังกฤษ ทั้งในด้านการทหาร เศรษฐกิจ และสังคมไม่ต่างกับเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ สหรัฐ ฯได้คัดค้านร่างความตกลงนี้ รัฐบาลอเมริกันได้ประท้วงไปยังรัฐบาลอังกฤษว่า ร่างที่ยื่นต่อไทยนั้นทำในนามของสัมพันธมิตร รัฐบาลอเมริกันยังไม่ได้เห็นชอบด้วย ขณะเดียวกันก็แจ้งให้ไทยทราบว่า ให้ยับยั้งการลงนามไว้ ต่อมาจึงได้มีการเจรจาตกลงกันใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๙ รัฐบาลไทยสมัย ม.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้ตกลงทำสัญญาที่เรียกว่า "ความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อเลิกสถานสงคราม" ประกอบด้วยสัญญา ๒๔ ข้อ มีข้อหนึ่งที่เป็นภาระหนักของไทยคือ ไทยจะต้องให้ข้าวโดยไม่คิดมูลค่า จำนวน ๑ ๑/๒ ล้านตัน แก่องค์การซึ่งอังกฤษจะเป็นผู้ระบุ ข้าวจำนวนนี้คิดเป็นเงินไทยในเวลานั้น คิดเป็นเงินประมาณ ๒,๕๐๐๐ ล้านบาท ส่วนเงื่อนไขประการอื่น ๆ ในสัญญานั้นก็ลดลงไปจากร่างความตกลงเดิม
            การสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ  เป็นเหตุการณ์สำคัญอีกครั้งหนึ่งในการยกฐานะของประเทศไทยให้เท่าเทียมกับประเทศอื่น ๆ ในโลกเสรี เรื่องนี้สหรัฐ ฯ ได้ให้การสนับสนุนมาตั้งแต่ต้น ฝรั่งเศสได้แถลงยับยั้งด้วยเรื่องที่ไทยได้ดินแดนไปจากฝรั่งเศสตามอนุสัญญากรุงโตเกียว และฝรั่งเศสยังถือว่าอยู่ในสถานะสงครามกับไทยจนกว่าไทยจะคืนดินแดนให้แก่อินโดจีน นอกจากนั้นผู้แทนโซเวียตรุสเซียก็ไม่สนับสนุนประเทศไทยเช่นกัน เพราะไทยยังไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับโซเวียตรุสเซีย รัฐบาลอเมริกันพยายามหาทางสนับสนุนให้สมัชชาสหประชาชาติรับประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกพร้อม ๆ กับประเทศอื่นอีกแปดประเทศ ในชั้นแรกแต่ไม่สำเร็จ ไทยต้องเจรจากับฝรั่งเศสจึงตกลงกันได้ในกรณีอินโดจีน และได้เจรจากับโซเวียตจนเป็นผลสำเร็จ สมัชชาสหประชาชาติจึงได้ประกาศรับประเทศไทยเป็นสมาชิกใหม่ของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๙

| หน้าแรก | ชาติ | ศาสนา | พระมหากษัตริย์ | ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


ความสัมพันธ์ของไทยกับอเมริกาด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างไร

สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่ที่สุดของไทย โดยได้ซื้อสินค้าจากไทยเมื่อปี 2564 รวมมูลค่ากว่า 47,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และการค้าสองฝ่ายในปีเดียวกันมีมูลค่ารวม 63,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ความสัมพันธ์ของเรา ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การแลกเปลี่ยนค้าขายสินค้าบริโภคและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรไปจนถึงความร่วมมือในอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ ได้ ...

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเป็นไปในลักษณะใด

ความสัมพันธ์ไทยกับสหรัฐอเมริกามีความต่อเนื่องยาวนานมากว่า 182 ปี ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์กันหลากหลายมิติทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคงและการทหาร โดยเฉพาะไทยได้รับสถานะเป็น Major Non-NATO Ally (MNNA) ของสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2546 อย่างไรก็ดี ความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยส่งผลให้สหรัฐฯ เกิดความกังวลทั้งในแง่ของ ...

ประเทศไทยเปิดความสัมพันธ์ครั้งแรกกับสหรัฐอเมริกาในสมัยใด

มิตรภาพไทย-สหรัฐฯ เริ่มต้นขึ้นอย่างน้อยที่สุดเมื่อ 200 ปีที่แล้วในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกัปตันสตีเฟน วิลเลียมส์ พ่อค้าชาวอเมริกันคนแรกที่เดินทางมาไทยในปี 2361 (ค.ศ. 1818) นอกจากจะขนสินค้าสำคัญจากสยาม คือ น้ำตาลกลับไปยังสหรัฐฯ แล้ว ยังได้นำจดหมายจากพระยาสุริยวงศ์มนตรี (ดิศ บุนนาค) ไปมอบให้ ...

ไทยเป็นพันธมิตรกับใครบ้าง

เนื้อหา.
4.1 บังกลาเทศ.
4.2 จีน 4.2.1 ช่วงสงครามเย็น 4.2.2 ช่วงหลังสงครามเย็น 4.2.3 ความตกลงด้านเศรษฐกิจ 4.2.4 ข้อตกลงภาคเอกชน.
4.3 อินเดีย.
4.4 อิสราเอล.
4.5 ญี่ปุ่น 4.5.1 ช่วงสงครามภาคพื้นแปซิฟิก 4.5.2 ช่วงหลังสงครามภาคพื้นแปซิฟิก 4.5.3 การติดต่อระหว่างพระราชวงศ์ของญี่ปุ่นและไทย 4.5.4 การค้า ... .
4.6 ไต้หวัน.
4.7 เกาหลีใต้.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด