มลพิษทางเคมี (Chemical Hazards) คือ ข้อใด

สถานการณ์ด้านอาชีวอนามัย(ต่อ)

อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางเคมี (Chemical Environmental Hazards) 

สามารถจำแนกลักษณะของสารเคมีที่ฟุ้งกระจายในอากาศได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
1. สารเคมีฟุ้งกระจายในรูปอนุภาค (Particulate) 
เป็นรูปหนึ่งของสารเคมีที่อาจอยู่ในรูปของแข็งหรือของเหลวมีขนาดตั้งแต่โมเลกุลเดี่ยว ไปจนถึงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 ไมครอน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 ฝุ่น (Dust) ประกอบด้วยสารที่เป็นของแข็งที่มีสภาพที่เป็นฝุ่นที่ฟุ้งกระจายในอากาศ ได้จากการทำงานที่มีการตัด การกด การบด แบ่งฝุ่นออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน ชนิดแรก คือฝุ่นขนาดใหญ่กว่า 10 ไมครอนขึ้นไป ส่วนใหญ่จะติดค้างอยู่ที่ทางเดนหายใจส่วนต้น ฝุ่นชนิดที่สอง คือฝุ่นที่มีขนาดตั้งแต่ 10 ไมครอนลงไป ซึ่งจะหายใจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนปลายได้
1.2 ฟูม (Fume) เป็นอนุภาคของแข็งที่เกิดขึ้นจากการควบแน่นของสารที่อยู่ในสถานะที่เป็นก๊าซ โดยทั่วไปสารนั้นๆ จะอยู่ในสถานะของแข็งที่อุณหภูมิห้อง เมื่อได้รับความร้อนก็จะระเหยและจะควบแน่นทันที ตัวอย่างฟูมที่พบในการทำงาน ได้แก่ ฟูมของตะกั่วออกไซด์ ฟูมของเหล็กออกไซด์
1.3 ละออง (Mist) เป็นหยดของเหลวที่แขวนลอยในอากาศ เกิดจากการควบแน่นของสารจากสถานะที่เป็นก๊าซ มาเป็นสถานะที่เป็นของเหลว ตัวอย่างเช่นละอองของสารฆ่าแมลงที่เกิดจากการฉีดพ่น
1.4 เส้นใย (Fiber) อนุภาคของแข็งที่มีรูปร่างยาวและบาง ตัวอย่างเช่น แร่ใยหินหรือแอสเบสตอสและฝุ่นหินที่มีซิลิก้าปนอยู่
1.5 หมอกควัน (Smog) เป็นคำที่มาจากคำว่า ควัน (Smoke) และหมอก (Fog) รวมกัน ใช้ในการอธิบายสภาวะมลพิษทางอากาศที่เกิดจากสภาวะอากาศเย็นที่มีหมอก เกิดการปนเปื้อนกับกลุ่มควันที่ปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดประเภทต่างๆ
2. สารเคมีฟุ้งกระจายในรูปก๊าซและไอระเหย (Gas and vapour)
สารเคมีในรูปของก๊าซ หมายถึง สารเคมีในรูปของไหลที่มีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ เมื่อรั่วไหลออกจากภาชนะก็จะฟุ้งกระจายไปทั่วห้อง เช่น ออกไซด์ของไนโตรเจนจากการเชื่อม
สารเคมีในรูปของไอระเหย หมายถึง สถานะก๊าซของสารที่เป็นของเหลวหรือของแข็งที่อุณหภูมิและความดันปกติ เช่น ไอของลูกเหม็น ไอของเบนซินขณะเติมน้ำมันรถ

ทางเข้าสู่ร่างกายของสารเคมี
 - ทางการหายใจ (Inhalation)
เป็นทางที่พบมากในการรับสารเคมีจากการทำงาน สารเคมีประเภทก๊าซและไอเมื่อถูกหายใจเข้าไปจะดูดซึมเข้ากระแสโลหิต สารเคมีที่อยู่ในรูปอนุภาค เมื่อหายใจเข้าไปแล้ว ถ้ามีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน จะเข้าไปสะสมที่ถุงลมปอด ส่วนอนุภาคที่มีขนาดใหญ่จะถูกร่างกายขับออกโดยการไอ จาม หรือขับออกมากับเสมหะ
 - ทางการดูดซึมทางผิวหนัง (Skin Absorption)
การดูดซึมสารเคมีผ่านทางผิวหนังอาจเกิดผลได้หลายประการ โดยมีได้ตั้งแต่ อาจไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย ทำให้เกิดการระคายเคือง ผิวหนังถูกทำลายเกิดบาดแผล และการเกิดผวจากสารเคมี
 - ทางการกิน (Ingestion)
อาจเกิดจากอุบัติเหตุพลั้งเผลอ หรือการที่คนงานมีสุขวิธีส่วนบุคคลที่ไม่ดี รวมทั้งเกิดจากการจงใจกินเข้าไป เพื่อฆ่าตัวตาย
 - ทางการฉีดเข้าผิวหนัง (Injection through Skin)
เป็นวิธีที่สารเคมีจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้มากที่สุด ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากความจงใจ

      สารเคมีจะทำลายอวัยวะต่างๆ ของร่างมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารเคมี และระยะเวลาที่สารเคมีนั้นๆ เข้าสู่ร่างกาย โดยถ้าหากสัมผัสกับสารเคมีนั้นๆ ในความเข้มข้นสูงและระยะเวลาไม่นาน จะเกิดความเป็นพิษเฉียบพลัน แต่ถ้าหากสัมผัสกับสารเคมีนั้นๆ ในความเข้มข้นต่ำ แต่สัมผัสในระยะเวลานานจะทำให้เกิดความเป็นพิษเรื้อรัง และถ้าหากสัมผัสกับสารเคมีนั้นๆ ในความเข้มข้นต่ำ ระยะเวลาไม่นานก็จะไม่มีผลใดๆ ต่อร่างกาย

พิษของสารเคมีต่อร่างกาย
1. กลุ่มที่ทำให้เกิดการระคายเคือง
เป็นสารที่มีผลทำให้เกิดการกัดกร่อน ตุ่มพอง แสบร้อน มีการอักเสบที่เนื้อเยื่อต่างๆ ในกรณีที่สารเคมีนั้นอยู่ในรูปก๊าซหรือไอ สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อต่างๆ ของระบบทางเดินหายใจ
2. กลุ่มที่ทำให้มีอาการแพ้ 
3. กลุ่มที่ทำให้เกิดการขาดออกซิเจน
เนื่องจากการแย่งที่ของออกซิเจนในอากาศ เมื่อหายใจเข้าไปทำให้มีปริมาณออกซิเจนในร่างกายไม่เพียงพอ เช่น ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ฮีเลี่ยม
4. กลุ่มที่ทำให้เกิดภาวะหลับลึกหรือง่วงซึม
เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการกดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น อเซทิลีน เอททิลีน
5. กลุ่มที่ทำให้เกิดพิษต่อระบบต่างๆ
เมื่อได้รับสารเคมีจะทำให้เกิดอันตรายต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น อันตรายต่อระบบการสร้างโลหิต ระบบประสาท และระบบสืบพันธุ์ 
6. กลุ่มที่ทำให้เกิดมะเร็ง
หมายถึง สารที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ เบนซีน แอสเบสตอส และไวนีลคลอไรด์
7. กลุ่มสารเคมีที่ทำให้ทารกมีรูปวิปริต
เป็นสารเคมีที่มีอันตรายต่อตัวอ่อนของทารกในครรภ์ ทำให้การเจริญเติบโตของทารกภายในครรภ์ผิดปกติ ทำให้ทารกมีโอกาสพิการ เช่น สไตรีน (ไวนีลเบนซีน)
8. กลุ่มสารเคมีที่ส่งผลต่อพันธุกรรม
เป็นสารที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนหรือเกิดความผิดปกติทางด้านยีนส์พันธุกรรม โดยจะมีผลต่อดีเอ็นเอภายในโครโมโซม ทำให้สเปิร์มหรือไข่ที่สร้างขึ้นมามียีนส์ที่ผิดปกติไปด้วย
9. กลุ่มสารเคมีที่ทำให้เกิดโรคปอดนิวโมโคนิโนซิส
เกิดจากฝุ่นของสารที่มีอนุภาคขนาดเล็ก สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจจนถึงถุงลมปอด และสะสมทำให้เกิดเยื่อพังผืด ทำให้ความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและความจุปอดลดลง ทำให้หายใจไม่ทัน

อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environmental Hazards)

1. มลพิษทางเสียง (Noise Pollution)

สามารถแบ่งชนิดและแหล่งกำเนิดเสียงออกได้ ดังนี้

1.1 เสียงที่ดังสม่ำเสมอ (Steady – state Noise)
เป็นเสียงที่มีความดังต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน มีระดับเสียงที่เปลี่ยนแปลงไม่เกิน 5 เดซิเบล ใน 1 วินาที โดยมากจะพบในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วๆ ไป เช่น เสียงเครื่องจักร เครื่องทอผ้า หรือเสียงจากพัดลม
1.2 เสียงที่เปลี่ยนแปลงระดับเสมอ (Fluctuation)
เป็นเสียงที่มีระดับความเข้มที่ไม่คงที่ สูงๆ ต่ำๆ มีการเปลี่ยนแปลงระดับเสียงที่เกินกว่า 5 เดซิเบล ใน 1 วินาที เช่น เสียงเลื่อยวงเดือน เสียงจากกบไสไม้ไฟฟ้า หรือเสียงไซเรน
1.3 เสียงที่ดังเป็นระยะ (Intermittent Noise)
เป็นเสียงที่มีความดังไม่ต่อเนื่อง แตกต่างจากเสียงกระแทกในด้านที่มีระยะเวลานานกว่า และมีลักษณะที่ไม่แน่ชัด จะพบเสียงนี้จากเครื่องอัดลม เครื่องเป่าหรือระบายไอน้ำ เสียงจากการจราจร หรือเสียงจากเครื่องบิน
1.4 เสียงกระแทก (Impulse Noise or Impact Noise)
เป็นเสียงที่เกิดจากการกระทบหรือกระแทก เกิดจากการกระทบของวัตถุ เสียงจะเกิดขึ้นแล้วค่อยๆหายไป อาจเกิดติดๆ กัน หรือเกิดขึ้นนานๆ ครั้งก็ได้ เช่น เสียงจากการตีหรือทุโลหะ จากการตอกเสาเข็ม เสียงเครื่องเจาะ หรือเสียงระเบิด

ผลกระทบของเสียงรบกวน
- ต่อระบบการได้ยิน แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ แบบแรก จะเป็นการสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว และแบบหลังเป็นการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร ซึ่งไม่สามารถทำการรักษาให้การได้ยินกลับคืนสภาพเดิมได้
- ต่อสุขภาพทั่วไปและจิตใจ ทำให้การทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบประสาท ระบบต่อมต่อไร้ท่อ ทำให้สมดุลร่างกายเปลี่ยนแปลง โดยทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติ การเต้นของหัวใจผิดปกติ และการหดตัวของเส้นเลือดผิดปกติ
- ต่อการสื่อสาร ทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้ยินสัญญาณอันตรายที่ดังขึ้น หรือไม่ได้ยินเสียงตะโกนบอกให้ระวังอันตราย ทำให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานได้
- ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ในงานที่ต้องใช้สมองหรือใช้ความคิด งานที่ยุ่งยากซับซ้อน งานที่มีรายละเอียดมาก และงานที่ต้องมีการรับส่งข่าวสาร
- ต่อความปลอดภัยในการทำงาน การมีเสียงดังตลอดเวลาการทำงานอาจมีผลให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานได้

2. การสั่นสะเทือน (Vibration)

ปัญหาสุขภาพอนามัยที่มีสาเหตุมาจากการสั่นสะเทือนนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

2.1 อันตรายที่เกิดจากการสั่นสะเทือนทั้งร่างกาย 
อันตรายที่เกิดจากการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายชนิดเรื้อรังที่เกิดขึ้นในระยะยาวนั้นยะงไม่ทราบแน่ชัด แต่การศึกษาถึงอันตรายในระยะสั้น อาจก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะและส่วนต่างๆ ของร่างกายมากมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของการสั่นสะเทือน อาจจะทำให้ไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมาก ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดลดต่ำลง และระดับขอกรดแอสคอร์บิกต่ำด้วย
2.2 อันตรายที่เกิดจากการสั่นสะเทือนเฉพาะบางส่วนของร่างกาย
อันตรายที่เกิดจากการสั่นสะเทือนเฉพาะบางส่วนจะเกิดขึ้นเฉพาะที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นิ้วมือ และมีที่ต้องจับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีการสั่นสะเทือน เช่น เลื่อยไฟฟ้า เครื่องย้ำหมุด หรือเครื่องเจาะหิน อาจทำให้เกิดอาการผิดปกตินานาชนิด เช่น ทำให้กระดูกขากแคลเซียมหรือเกลือแร่ ทำให้เกิดปวดข้อโดยไม่มีสาเหตุ ทำให้เกิดการผิดปกติของหลอดเลือดที่เรียกว่า Raynaud’s Phenomenon บางครั้งเรียกว่า โรคมือตาย

3. อันตรายจากความร้อน (Heat)

ผู้ที่ทำงานในที่ร้อนมากๆ จะพบอันตรายดังนี้

3.1 การเกิดผดผื่นจากความร้อน
เกิดขึ้นกับผู้ทำงานในที่ร้อนและมีความชื้น ทำให้เหงื่อไม่ระเหย ส่งผลให้ท่อเหงื่ออุดตัน มีเม็ดผดผื่นขึ้นตามผิวหนัง
3.2 ตะคริวจากความร้อน
เป็นอันตรายจากความร้อนที่ทำให้ร่างกายขาดของไหลและเกลือแร่
3.3 ความอ่อนล้าจากความร้อน
เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายมีการไหลเวียนของเลือดที่ไม่เพียงพอที่จะนำออกซิเจนไปทั่วร่างกาย และไม่เพียงพอที่จะลดความร้อนภายในร่างกาย
3.4 การเป็นลมเนื่องจากความร้อน
เป็นอันตรายที่สำคัญที่สุดเพราะอาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
3.5 โรคจิตประสาท


อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environmental Hazards)

หมายถึง การที่ร่างกายมีการติดเชื้อ หรือเกิดการสัมผัสกับสิ่งที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย หรือทำให้มีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น ความรุนแรงของอันตรายขึ้นอยู่กับ 
1. เชื้อที่ทำให้เกิดโรค (Agent)
2. วิธีที่สัมผัสเพื่อรับเชื้อ (Type of Exposure)
3. ความรุนแรงของเชื้อ (Intensity) เชื้อมาก รุนแรงมา / เชื้อน้อย รุนแรงน้อย
4. เวลาในการสัมผัสเชื้อ (Duration) ต่อเนื่อง / ไม่ต่อเนื่อง

เชื้อไวรัส การติดเชื้อเกิดจากการจับต้องสัตว์ ถูกสัตว์กัด หรือสัมผัสผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ที่เป็นโรค เกิดอุบัติเหตุ หรือการติดเชื้อจากผู้ป่วยในสถานพยาบาล เช่น
- โรคตับอักเสบ (Hepatitis)
- โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
- โรคเอดส์ (AIDS)

เชื้อรา พบในอาชีพเกษตรกร ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง อาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น
- ฮิสโตพลาสโมซิส (Histoplasmosis)
- สรปโรทริโคซิส (Sporotrichosis)
- คริพโตคอกโคซิส (Cryptococcosis)

เชื้อแบคทีเรีย เกิดจากการติดเชื้อในบุคคลอาชีพต่างๆ ส่วนมากเกิดเนื่องจากการปล่อยปละละเลยบาดแผลหรือรอยถลอกเล็กๆ น้อยๆ เช่น
- โรคบรูเซลโลซิส (Brucellosis) 
- โรคแอนแทรกซ์ (Antax) 
- โรคฉี่หนู (Leptospirosis) 
- บาดทะยัก (Tetanus) 
- วัณโรค (Tuberculosis)

อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางด้านการยศาสตร์ (Ergonomics)

     การปฏิบัติงานที่มีการใช้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติของโครงสร้าง และขีดความสามารถของอวัยวะภายในร่างกาย อาจก่อให้เกิดอันตราย หรือเกิดโรคเกี่ยวกับระบบโครงสร้าง กล้ามเนื้อ กระดูก และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ โรคในกลุ่มนี้เรียกว่า กลุ่มโรคจากการยศาสตร์ผิดปกติ เช่น

- บริเวณคอ ได้แก่ อาการปวดตึงบริเวณคอ (Tension neck syndrome)
- บริเวณไหล่ ได้แก่ อาการอักเสบของเอ็นกลล้ามเนื้อไบเซพ (Bicipital Tendinitis)
- บริเวณหลัง ได้แก่ อาการปวดหลัง (Low back pain)
- อันตรายที่เกิดขึ้นทางด้านจิตใจ เช่น ความเบื่อหน่าย ความเครียด เป็นผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

มลพิษทางกายภาพ (Physical Hazard) คือ ข้อใด

อันตรายทางกายภาพ (physical hazard) ได้แก่ ความสั่นสะเทือน (vibration), ความร้อน (heat), เสียง (noise), รังสี (radiation) และการบาดเจ็บ (trauma) อันตรายจากชีววัตถุ (biological hazard) ได้แก่ การติดเชื้อโรค เช่น โรคไวรัสลงตับ, โรคเอดส์ และวัณโรค เป็นต้น

มลพิษทางเคมี (Chemical Hazards) คือ ข้อใด *

อันตรายทางเคมี (chemical hazard) หมายถึง อันตรายที่เกิดจากสารเคมี ที่มีอยู่ในธรรมชาติในวัตถุดิบที่ใช้แปรรูปอาหาร หรือเกิดการปนเปื้อน (contamination) ในระหว่างการผลิตวัตถุดิบ การแปรรูปอาหาร การบรรจุ และการเก็บรักษา ก่อนที่จะถึงมือผู้บริโภค อันตรายทางเคมีที่มีโอกาสพบในอาหาร หรือผลิตภัณฑ์อาหารแบ่งได้เป็น

ข้อใดเป็นอันตรายทางเคมี (chemical hazard) ในอาหาร

2 อันตรายทางเคมี (chemical hazard) หมายถึง อันตรายที่เกิดจากสารเคมี ที่อยู่ในธรรมชาติ เช่นในดิน น้ำ และสารเคมีที่ใช้ทางการเกษตร เช่นยากำจัดศัตรูพืช ปุ๋ย สารกระตุ้นการเจริญเติบโต ยารักษาโรค รวมถึงสารพิษในธรรมชาติและสารพิษจากเชื้อจุลินทรีย์ 2.1 สารเคมีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ (Naturally Occuring Chemicals)

การปนเปื้อนทางเคมี คืออะไร

การปนเปื้อนทางเคมี เป็นการปนเปื้อนจากสารอันตรายที่นำมาใช้เพื่อคงความสดและทำให้อาหารมีสีสันน่ารับประทานยิ่งขึ้น โดยมีสารเคมีที่พบว่าเกิดการปนเปื้อนบ่อย เช่น สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารกันเชื้อรา และสารฟอกขาว เป็นต้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด