สิ่งแวดล้อมประกอบด้วยอะไรบ้าง

ความหมายสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ

    สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ

  • สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร
  • สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม
ที่มา : รวบรวมจากหนังสือเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

  

สิ่งแวดล้อม ( environment ) หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา

ทรัพยากรธรรมชาติ ( natural resources ) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ ดิน แร่ธาตุ ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ และอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสิ่งแวดล้อมหนึ่งอาจจะประกอบด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมีทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ดังนั้น จึงอาจจำแนกสิ่งแวดล้อมได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

            1. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ( physical environment ) คือ สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เช่น อุณหภูมิ ความชื้น กระแสลม กระแสน้ำ อากาศ แร่ธาตุ ความเป็นกรด-เบส ภูเขา ก้อนหิน แม่น้ำ รวมทั้งอาคารบ้านเรือนที่มนุษย์สร้างขึ้น

            2. สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ( biological environment ) คือ สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต เช่น พืช สัตว์ มนุษย์

            สิ่งแวดล้อมทุกชนิดมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต การดำรงชีวิต การแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมแต่ละชนิดมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตแตกต่างกัน หากปัจจัยใดมีความจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตมาก ถ้าขาดไปจะทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้ เรียกปัจจัยนั้นว่า ปัจจัยจำกัด ( limiting factor) ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ เช่น แก๊สออกซิเจนเป็นปัจจัยจำกัดของมนุษย์ ถ้ามนุษย์ขาดแก๊สออกซิเจนจะทำให้เสียชีวิต

สิ่งแวดล้อมทางกายภาพมีความสำคัญดังนี้

            1. แสงสว่าง มีความสำคัญต่อพืชและสัตว์ พืชสีเขียวมีคลอโรฟิลล์ ได้รับพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ เพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง พืชแต่ละชนิดต้องการปริมาณแสงแตกต่างกัน เช่น ต้นมะลิต้องการแสงปริมาณมาก แต่ต้นพลูด่างต้องการแสงเพียงเล็กน้อย สัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีพืชดังกล่าวจึงมีความแตกต่างกัน

นอกจากนี้แสงสว่างยังมีผลต่อสัตว์บางชนิด เช่น นกฮูก นกค้างคาว ซึ่งชอบออกหากิน ในเวลากลางคืน เนื่องจากมีแสงสว่างน้อย ส่วนสัตว์หลายชนิดออกหากินในเวลากลางวัน เช่น นก ไก่ ผีเสื้อ วัว

            2. อุณหภูมิ สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอย่างปกติในช่วงอุณหภูมิประมาณ 10-30 องศาเซสเซียส ในระบบนิเวศที่มีอุณหภูมิสูงมาก มีสัตว์อาศัยอยู่น้อยทั้งจำนวน ชนิด และปริมาณ เช่น ระบบนิเวศทะเลทราย มีอูฐ นกกระจอกเทศ แมลง งูบางชนิดที่เคลื่อนที่ได้เร็วมาก พืชที่ขึ้นในทะเลทรายจะมีใบเปลี่ยนไปเป็นหนามเพื่อลดอัตราการคายน้ำ เช่น ต้นกระบองเพชร การงอกของเมล็ดพืชจะงอกได้ดีที่อุณหภูมิเหมาะสม คือ ประมาณ 20-40 องศาเซสเซียส ส่วนบริเวณขั้วโลกมีสัตว์อาศัยอยู่น้อย เช่น หมีขวา นกเพนกวิน

 

รูปแสดงอูฐในทะเลทราย

            3. น้ำหรือความชื้น ความชื้นในบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล ซึ่งมีผลต่อสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ ในเขตร้อนฝนตกชุกจะมีพันธุ์พืชและสัตว์หลายชนิด ซึ่งมากกว่าในเขตหนาวที่อากาศแห้งแล้ง

                                                                              รูปแสดงกวางกินน้ำ                                            รูปแสดงม้าน้ำ

            4. แร่ธาตุและแก๊ส แร่ธาตุที่อยู่ในดินมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช สัตว์บางชนิดกินแร่ธาตุในดินเพื่อการดำรงชีวิต แร่ธาตุและแก๊สที่สำคัญ ได้แก่ ออกซิเจน ไนโตรเจน คาร์บอน ฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม ในระบบนิเวศที่ต่างกันจะมีปริมาณแร่ธาตุต่างกัน ปริมาณแร่ธาตุที่เหมาะสมจะช่วยให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตได้ดี แต่บางครั้งถ้ามีแร่ธาตุมากเกินไปจะมีผลไปทำลายสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น เช่น ในทะเลสาบบางแห่งมีแร่ธาตุโคบอลต์มากเกินไป ทำให้แพลงตอนพืชหยุดการเจริญเติบโตและไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้

            5. ความเป็นกรด-เบสของดินและน้ำ พืชแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีค่าความเป็นกรด-เบสแตกต่างกัน ถ้าความเป็นกรด-เบสของดินและน้ำไม่เหมาะสมจะมีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เช่น ถ้าความเป็นกรด-เบสต่ำกว่า 5 หรือสูงกว่า 9 อาจทำให้พืชไม่เจริญเติบโตและตายได้

            6. ความเค็มของดิน พืชส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดีในดินทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีเกลือโซเดียมคลอไรด์น้อยมาก แต่พืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินกร่อยหรือดินเค็ม เช่น ผักบุ้งทะเล โกงกาง ต้นชะคราม

รูปแสดงต้นโกงกาง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด