ความหมายของจริยธรรมหมายถึงอะไร

                              พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..2542 ราชบัณฑิตยสถาน, 2542, หน้า 291)ได้ให้ความหมายของคำว่า จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม คำว่า จริยธรรม มาจากคำว่า จะริยะ ซึ่งเป็นภาษาบาลี แปลว่า อันบุคคลควรประพฤติ ความประพฤติกรรม กับคำว่า ธรรม ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า หน้าที่ การทรงไว้ กฎเกณฑ์ การปฏิบัติ ความดีงาม ความถูกต้อง จริยธรรมจึงเป็นคำสมาส มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า หน้าที่ที่บุคคลควรประพฤติ (โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์ 2541, หน้า 21)

            ดวงเดือน พันธุมนาวิน(2548, หน้า 8)ได้อธิบายว่า จริยธรรม ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Ethics และ Morality ซึ่งแบ่งเป็นสองสายในสายจิตวิทยาจะใช้คำว่า Morality ส่วนในสายปรัชญาจะใช้คำว่า Ethics พระธรรมปิฎก(2551, หน้า 406) อธิบายคำว่า จริยธรรม มีความหมายเดียวกับคำว่า Ethic ซึ่ง ดุจเดือน พันธุมนาวิน (2551, หน้า 4)  ได้อธิบายไว้ว่า จริยธรรม ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Morality ส่วนคำว่า Ethics ตรงกับคำว่า จรรยาบรรณ ในภาษาไทย ส่วนWebster’s Ninth New Collegiate Dictionary (1991) (2551 : 407)  ให้ความหมายคำว่าจริยธรรม ตรงกับคำว่า Moral มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า Moralis มีความหมายเหมือนกับคำว่า Ethics ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า Ethice เหมือนกัน

            จริยธรรมตามความหมายของนักวิชาการต่างประเทศให้ความหมายของจริยธรรมเน้นหนักไปที่สังคมโดยให้สังคมเป็นตัวกำหนด รวมเรียกว่าพฤติกรรมทางสังคม ดังจะเห็นความหมายจากนักวิชาการต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น Jean Piaget (1932, pp.1) ได้ให้ความหมายไว้ว่าจริยธรรม คือ องค์ประกอบของกฎเกณฑ์ ที่บุคคลยอมรับว่าถูก ว่าดี ว่าควร เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคม  Lawrence Kohlberg (1976, pp. 4-5) ให้คำจำกัดความไว้ว่าจริยธรรมเป็นพื้นฐานของความยุติธรรมถือเอาการกระจายสิทธิและหน้าที่อย่างเท่าเทียมกัน โดยมิได้หมายถึงกฎเกณฑ์ที่บังคับทั่วไปแต่เป็นกฎเกณฑ์ที่มีความเป็นสากลที่คนส่วนใหญ่รับไว้ ทุกสถานการณ์ไม่มีการขัดแย้งเป็นอุดมคติ James Rest (1976, pp. 6)ให้ความหมายไว้ว่า จริยธรรมเป็นมโนทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับหลักความยุติธรรม ในการมีปฏิสัมพันธ์กันในสังคม โดยไม่เกี่ยวข้องกับคุณค่าหรือความรู้สึกส่วนตัวของแต่ละบุคคล Albert  Schweitzer พัชนี นันทศักดิ์ และคณะ, 2549 หน้า 47)ให้คำจำกัดความไว้ว่า จริยธรรม คือ ความเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมที่ดี คนเรามีหน้าที่ไม่ใช่แต่เพียงเพื่อสวัสดิภาพของตัวเราเท่านั้นแต่ต้องคำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้อื่นด้วย

            ส่วนจริยธรรมตามความหมายของนักวิชาการในประเทศไทยให้ความหมายเน้นไปที่ความประพฤติของบุคคล ซึ่ง โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์ (2541, หน้า 21)ได้รวบรวมความหมายของจริยธรรมจากนักวิชาการหลายท่านดังต่อไปนี้ วศิน  อินทสระ ได้ให้ความหมาย จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติ การกระทำ ความคิดที่ถูกต้องเหมาะสม การทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ เว้นในสิ่งที่ควรเว้นกระทำในสิ่งที่ควรกระทำด้วยความฉลาด รอบคอบ รู้เหตุรู้ผล ถูกต้องกาละเทศะและบุคคล ก่อ  สวัสดิ์พาณิชย์ ได้ให้ความหมายว่าจริยธรรม คือ ประมวลความประพฤติและความนึกคิดในสิ่งที่ดีงามเหมาะสม มีนักวิชาการไทยส่วนหนึ่งมีความเห็นแตกต่างจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นโดยมีความคิดเห็นไปในแนวทางของนักวิชาการต่างประเทศ เช่น ความเห็นของดุจเดือน พันธุมนาวิน (2551, หน้า 2)ให้ความหมายครอบคลุมว่า จริยธรรม หมายถึง ลักษณะทางสังคมหลายลักษณะของมนุษย์และมีขอบเขตรวมถึงพฤติกรรมทางสังคมประเภทต่างๆ อันเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งสอดคล้องกับนงลักษณ์ วิรัชชัย ศจีมาศ ณ วิเชียร และพิศสมัย อรทัย(ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม(ศูนย์คุณธรรม)2551, หน้า 408)ที่ว่า จริยธรรม เป็นกรอบหรือหลักประพฤติปฏิบัติของกลุ่มคนหรือกลุ่มบุคคล ที่สอดคล้องกับมาตรฐานที่ดีงาม

            จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นสรุปได้ว่า จริยธรรม หมายถึง หลักประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับการทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์และสอดคล้องกับมาตรฐานที่ดีงามอันเป็นที่ยอมรับของสังคมของกลุ่มคนหรือกลุ่มบุคคล

จริยธรรมคืออะไร

เรื่องจริยธรรมนั้นมีนักปราชญ์ให้ความหมายเอาไว้มาก  แนวคิดของแต่ละท่านมีทั้งเหมือนกัน  คล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน  ถือว่าเป็นเรื่องนานาทัศนะ  เพราะจริยธรรมเป็นการตีกรอบความประพฤติให้คนในสังคมได้แนวทางปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะและอาจกล่าวได้ว่า

จริยธรรมคือเครื่องประดับของบุคคลในสังคมนั้น ๆ เพราะเป็นการบ่งบอกถึงลักษณะและคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่โดดเด่นให้เห็นได้ชัดเจน

คำว่า  จริยธรรม  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. 2525  ได้ให้ความหมายดังต่อไปนี้  ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ  ศีลธรรม  กฎศีลธรรม  ( ราชบัณฑิตยสถาน. 2539: 216 )

จริยธรรม ( Ethical  Rules ) คือประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติ ( กีรติ  บุญเจือ . 2538 : 4 )

จริยธรรมหมายถึงธรรมชาติหรือหลักธรรมที่บุคคลควรประพฤติ  จัดว่าเป็นคุณธรรมที่แสดงออกทางร่างกายในลักษณะที่ดีงามถูกต้อง  อันเป็นสิ่งที่ประสงค์ของสังคมและจริยธรรมจะมีได้จำต้องอาศัยหลักคำสอนทางศาสนา  อันได้แก่  ศีล ( Precept ) อันหมายถึงหลักหรือกฎเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติเพื่อดัดหรือฝึกหัดกายและวาจาให้เรียบร้อย  ให้เป็นปกติ 

 กล่าวคือ  จะพูดหรือทำสิ่งใดให้เป็นไปตามธรรมชาติ  อย่าให้ผิดปกติ ( ผิดศีล ) เช่น  พูดให้ถูกต้องให้เป็นธรรม  กระทำให้ถูกต้องให้เป็นธรรม  เมื่อพูดหรือกระทำให้ถูกต้องและเป็นธรรม  ย่อมมีความสุข  ความสบาย  เยือกเย็น  ไม่เดือดร้อนดังกล่าว 

 จึงเป็นผลของการมีศีลหรือเป็นผลของการมีคุณธรรมในจิตใจ  เมื่อมีคุณธรรมในจิตใจแล้วก็เป็นเหตุให้ประพฤติจริยธรรมได้ถูกต้อง  ดังนั้นคุณธรรมและศีลจึงเป็นโครงสร้างของจริยธรรม ( บุญมี  แท่นแก้ว. 2541 : 1 )

จริยธรรม  คือ  กิริยามารยาทการประพฤติปฏิบัติที่สังคมปรารถนา  เป็นแนวทางเพื่อบรรลุสภาพชีวิตที่ดีงามทั้งทางกาย  วาจา  ใจ ( ทำ  พูด  คิด ) เป็นไปในทางที่ดีและละเว้นสิ่งที่ผิดต่อปทัสถานของสังคม ( social  Norm ) (  พิภพ  วชังเงิน. 2546 : 4 )

จริยธรรม คือ  กฎเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติ  โดยได้จากหลักการทางศีลธรรม  หลักปรัชญา  วัฒนธรรม  กฎหมายหรือจารีตประเพณี  เพื่อเสริมสร้างมนุษย์สมบัติที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์โดยธรรมชาติ  เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม  นอกจากนี้จริยธรรมยังใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจเลือกความประพฤติ  การกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ด้วย (  มัญชุภา  ว่องวีระ.2541 : 6 )

กล่าวโดยสรุปแล้ว  คำว่า  จริยธรรมมาจากรากศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต  ดังนี้  จริยะ  หมายถึง  ความประพฤติปฏิบัติเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาจากการกระทำทางกาย  วาจาและใจ

ธรรมะ  หมายถึง  คำสั่งสอนในทางศาสนาที่มนุษย์นำมาเป็นสื่ออุปกรณ์  เพื่อข้ามไปสู่จุดหมายของชีวิตที่ถูกต้องดีงาม

ดังนั้นจริยธรรม  หมายถึง  การปฏิบัติตนตามคำสอนในทางศาสนาเพื่อความถูกต้องดีงามของชีวิต.

------------------

เอกสารอ้างอิง

กีรติ  บุญเจือ . 2538 . ชุดพื้นฐานปรัชญาจริยศาสตร์สำหรับผู้เริ่มเรียน . กรุงเทพ ฯ  : ไทยวัฒนาพานิช  จำกัด .

บุญมี  แท่นแก้ว . 2541 . จริยธรรมกับชีวิต . กรุงเทพ ฯ : โอ . เอส . พริ้นติ้ง . เฮ้าส์ .

พิภพ  วชังเงิน . 2546 . จริยธรรมทางธุรกิจ . กรุงเทพ ฯ : อมรการพิมพ์ .

มัญชุภา ว่องวีระ . 2541 . จริยธรรมกับการพยาบาล . สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์ .

ราชบัณฑิตยสถาน . 2539 . พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด