วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ทํางานอะไร

ปัจจุบันโลกของเรามีการก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี ไอที รวมถึงวิศวกรรมที่มีการพัฒนาเติบโตไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สายงานเหล่านี้มีความต้องการอย่างมากในท้องตลาดโลก วันนี้ ALTV ขอพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักสาขาวิชาหนึ่งที่น้อง ๆ หลายคนอาจไม่เคยรู้กับ “เมคคาทรอนิกส์” สู่อาชีพที่สำคัญระดับโลก !

จุดเริ่มต้นของวิชา“เมคคาทรอนิกส์”

ในปี ค.ศ.1970 สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ เกิดขึ้นครั้งแรกในโลกที่ประเทศญี่ปุ่น โดยเริ่มต้นจาก “Mr.Tetsura Mori” เป็น Senior Engineer ของบริษัท Yaskawa Electric corporation ได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากการรวมตัวกัน ระหว่างเมคานิกส์ (Mechanic) กับ อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) ซึ่งเป็นการทำงานของระบบกลไก มาผสมผสานกับไฟฟ้า จึงกลายเป็น เมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics) โดยมีการยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรสาขาวิชานี้ และได้รับรองอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1973 เป็นต้นมา

เมคคาทรอนิกส์คืออะไร ?

เป็นอีกหนึ่งวิชาในด้านวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วยองค์ความรู้ทั้ง 3 ด้านหลักคือ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมการควบคุมอัตโนมัติ และศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อการออกแบบ และสร้างชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ รวมถึงพัฒนางานในระบบอุตสาหกรรม นอกจากนี้ เมคคาทรอนิกส์ จะพัฒนาศักยภาพของเครื่องจักรกลโรงงาน จำพวกหุ่นยนต์โรงงาน ระบบอัจฉริยะ ให้มีการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการเรียนนั้นจะเริ่มต้นตั้งแต่ ความรู้พื้นฐานทางด้านวงจรไฟฟ้า การออบแบบวงจรควบคุม การออกแบบเครื่องจักรกลหนักและโครงสร้างของเครื่องจักร และการควบคุมเครื่องจักรกลในโรงงาน เป็นต้น

ค้นหาพรสวรรค์ของตนเองพาไปสู่อาชีพที่ชอบ

         ก่อนที่น้อง ๆ จะตัดสินใจเลือกเรียนสาขาใดสาขาหนึ่งให้ตรงถามความถนัดของตนเอง อยากจะชวนทุกคนได้รู้จักตัวเองผ่านแบบทดสอบค้นหาพรสวรรค์ (StrengthsFinder) ซึ่งวิจัยและพัฒนาขึ้นโดยทีมวิจัยที่เชี่ยวชาญเรื่องการพัฒนาคน โดยจำแนกพรสวรรค์ออกเป็น 34 คุณสมบัติ ใน 4 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

👉บ้านมือ Executing (การปฏิบัติการ)

สำหรับคนที่ถนัดด้านการจัดการ มีความระเอียด รอบคอบ มีวินัย

  • ผู้บรรลุเป้าหมาย (Achiever) เป็นคนที่มีความอดทนสูง ถนัดทำงานหนัก มีความสุขกับการได้ทำสิ่งต่างและสร้างสรรค์ผลงานอยู่เสมอ
  • นักจัดการ (Arranger) เป็นคนที่มีไหวพริบ มีความสามารถจัดการสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ดี
  • ผู้มีความเชื่อ (Belief) มักเป็นคนที่มั่นคงกับสิ่ง ๆ หนึ่ง และมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต
  • ผู้มีความยุติธรรม (Consistency) คือคนที่จะปฏิบัติต่อทุกคนบนโลกอย่างเท่าเทียมกัน
  • ผู้มีความละเอียดรอบคอบ (Deliberative) เป็นคนที่จริงจังต่อการตัดสินใจ และเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับอุปสรรคอยู่เสมอ
  • ผู้มีวินัย (Discipline) เป็นคนที่ชอบในสิ่งที่เป็นรูปธรรมและจับต้องได้อย่างเป็นแบบแผน
  • ผู้มีเป้าหมายชัดเจน (Focus) เป็นคนที่กำหนด และติดตามการทำงานจนบรรลุเป้าหมาย คอยประคับประคองให้งานเป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้
  • ผู้ที่มีความรับผิดชอบ (Responsibility) คนที่สำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งที่พวกเขารับปากว่าจะทำให้
  • นักปรับปรุงแก้ไข (Restorative) มีความชำนาญในการจัดการ และแก้ไขปัญหา พร้อมเรียนรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่ทำผิดพลาด 

👉บ้านปาก Influencing (การโน้มน้าว)

เหมาะสำหรับคนที่ชอบพูดคุย สื่อสารเก่ง จูงใจเก่ง

  • นักริเริ่มทำงาน (Activator) เป็นคนที่ผันความคิดมาเป็นสิ่งที่ลงมือทำให้เกิดขึ้นได้
  • นักบัญชาการ (Command) เป็นผู้ที่ดูมีอำนาจ สามารถควบคุมสถานการณ์ และตัดสินใจเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
  • นักสื่อสาร (Communication) มักแสดงความคิดเห็นออก และผู้ที่นำเสนอความคิดเห็นออกมาได้ดี
  • นักแข่งขัน (Competition) เป็นคนที่วัดความก้าวหน้าของตนเอง กับผลงานคนอื่น ๆ
  • ผู้สรรหาความเป็นเลิศ (Maximizer) เน้นไปที่จุดแข็งเพื่อผลักดันให้คน ๆ หนึ่ง พยายามเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้กลายเป็นสิ่งที่เยี่ยมยอด
  • ผู้มีความเชื่อมั่น (Self-Assurance) จะรู้สึกมั่นใจในความสามารถที่จะควบคุมชีวิตของตนเอง คนเหล่านี้มีเข็มทิศชี้ทางในตัวที่ทำให้มั่นใจว่าการตัดสินใจของตนเองนั้นถูกต้องแล้ว
  • ผู้เห็นความสำคัญ (Significance) เป็นคนที่รักอิสระ และต้องการให้ผู้อื่นมองเห็นคุณค่าของตนเอง
  • ผู้ชนะใจ (Woo) จะรักความท้าทายในการพบปะผู้คนใหม่ๆ และทำให้คนเหล่านั้นชอบตน พวกเขามีความสุขในการทำความรู้จัก และสร้างเครือข่ายการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น

👉บ้านใจ Relationship Building (การสร้างความสัมพันธ์)

เป็นคนที่มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ปรับตัวได้ง่าย

  • ผู้ที่มีความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ชอบทำตัวกลมกลืนตามสถานการณ์ และมักใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน
  • ผู้เห็นความเชื่อมโยง (Connectedness) เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นว่าทุกสิ่งในโลกนี้มักเกี่ยวข้องกัน และสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุและผลเสมอ
  • นักพัฒนา (Developer) เป็นคนที่มองเห็น และช่วยสร้างความสามารถที่ซ่อนอยู่ในตัวของผู้อื่น
  • ผู้ที่มีความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) สามารถรับรู้ถึงอารณ์ และความรู้สึกของคนอื่น ๆ ได้ดี
  • ผู้สร้างความกลมเกลียว (Harmony) คนกลุ่มนี้ ไม่ชอบการขัดแย้ง และจะพยายามมองหาความคิดเห็นซึ่งเป็นการยอมรับของทุกคน
  • ผู้ไม่ทอดทิ้ง (Includer) มักยอมรับในตัวผู้อื่น และเข้าใจถึงความรู้สึกของผู้อื่นอยู่เสมอ
  • ผู้เข้าใจความแตกต่าง (Individualization) เป็นคนที่มีพรสวรรค์ในการคิดหาวิธีพาคนที่มีความแตกต่าง หันมาทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ผู้มองโลกในแง่ดี (Positivity) เป็นคนร่าเริง มีพลังบวก และสามารถทำให้ผู้อื่นรู้สึกตื่นเต้นไปกับสิ่งที่จะทำ
  • ผู้สร้างสัมพันธ์ (Relator) ชอบความใกล้ชิดสนิทสนมกับคนอื่นๆ และมีความพอใจที่ลึกซึ้งในการทำงานหนักร่วมกับเพื่อนๆ เพื่อบรรลุถึงเป้าหมาย

👉บ้านสมอง Strategic Thinking (การคิดเชิงกลยุทธ์)

เป็นคนที่ชอบวิเคราะห์ ชอบคิด ใฝ่รู้อยู่เสมอ

  • นักวิเคราะห์ (Analytical) คนกลุ่มนี้มักมีความสามารถในการมองเห็นสาเหตุทุก ๆ ด้านที่อาจมีผลกระทบต่อสถานการณ์นั้น ๆ
  • ผู้คำนึงถึงอดีต (Context) เป็นคนชอบนึกถึงอดีตที่ผ่านมา และเข้าใจเหตุการณ์ในปัจจุบัน โดยศึกษาค้นคว้าถึงประวัติที่มาของสิ่งนั้น
  • ผู้มองอนาคต (Futuristic) เป็นคนที่อาศัยอนาคตและสิ่งที่อาจเกิดขึ้นเป็นแรงบันดาลใจ วิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตของพวกเขาจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น
  • นักคิดสร้างสรรค์ (Ideation) มักเป็นคนที่สนใจไอเดียความคิดในสิ่งที่แตกต่างได้ดี
  • นักสะสม (Input) เป็นผู้ที่ฝักใฝ่ในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และมักจดบันทึกข้อมูลทุกชนิด
  • นักคิด (Intellection) คนกลุ่มนี้ชอบครุ่นคิด สนุกกับกิจกรรมที่ใช้สมองและความคิด
  • ผู้ใฝ่รู้ (Learner) เป็นคนที่ชอบเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สิ่ง ๆ นั้นดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา
  • นักกลยุทธ์ (Strategic) เป็นคนชอบสร้างสรรค์วีธีการอื่น ๆ ที่แตกต่าง และเมื่อเผชิญหน้ากับเหตุการณ์หนึ่ง พวกเขาจะสามารถมองเห็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว 

         ซึ่งจากผลสำรวจจาก แนะ NOW โพล ที่ได้สำรวจความคิดเห็นจากคนส่วนใหญ่นั้นพบว่า คนที่เรียนสาขาเมคคาทรอนิกส์ได้จะต้องมีลักษณะที่โดดเด่น หรือพรสวรรค์ในกลุ่มบ้านมือ และบ้านสมอง หรือนักปฏิบัติ หรือนักคิด นั่นเอง

เรียนเมคคาทรอนิกส์จบแล้วทำอะไรได้บ้าง?

         แน่นอนว่าการทำงานในสายงานนี้ มักจะต้องเป็นนักคิด หรือนักปฏับัติ ซึ่งต้องมีหน้าที่ในการวางแผน วิเคราะห์ปัญหา ให้คำแนะนำ และจัดการเกี่ยวกับการสร้าง การประกอบ รวมถึงการควบคุมการทำงานอัตโนมัติของเครื่องจักร และเครื่องมือทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีตัวอย่างอาชีพที่คนเรียนจบสายนี้ สามารถทำได้ เช่น

  • วิศวกรเมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineer)
  • วิศวกรหุ่นยนต์ (Robotics Engineer)
  • วิศวกรออกแบบระบบอัตโนมัติ (Automation System Design Engineer)
  • วิศวกรซ่อมบำรุงหุ่นยนต์ (Robot Maintenance Engineer)
  • วิศวกรระบบควบคุม (Controls Engineer)
  • วิศวกรตรวจสอบคุณภาพ (Quality Engineer)
  • วิศวกรฝ่ายขาย (Sale Engineer)
  • นักวิจัย (Researcher)

สถาบันในไทยที่เปิดสอนสาขาวิชา เมคคาทรอนิกส์

         สำหรับน้อง ๆ ที่มีความฝันอยากจะเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ สายงานที่มนุษย์ไม่ต้องเข้าไปควบคุมด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลา สามารถเตรียมความพร้อม เพื่อสอบเข้าไปในสถาบันต่าง ๆ ที่เปิดสอนในสาขาวิชาเหล่านี้ ยกตัวอย่างสถาบันในประเทศไทย ได้แก่

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • หลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ และระบบการผลิตอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

         เมื่อน้อง ๆ ทุกคนค้นหาพรสวรรค์ และความถนัดของตัวเองเจอแล้ว อย่าลืมที่จะคว้าโอกาสในการเรียนรู้ เพื่อสายการเรียนที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ และตอบโจทย์ให้กับตนเอง รวมถึงความต้องการต่อโลกอนาคต นอกจากนี้ยังสามารถไปทดสอบพรสวรรค์ เพื่อค้นหาความถนัดของตนเองผ่านทางรายการ แนะ NOW ทุกวันอาทิตย์ เวลา 16.00 – 16.30 น. ทาง ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุก << (คลิกชมคลิป)

อ้างอิงข้อมูลจาก : Admission Premium, JobsDB by SEEK, Die Casting & Engineering Knowledge Sharing, GotoKnow

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด