กินข้าวแล้วท้องอืดเกิดจากอะไร

สุขภาพ

Share:

ท้องอืด คืออาการที่สามารถพบได้ทั่วไปกับคนทุกเพศทุกวัย ทำให้รู้สึกไม่สบายท้องหรือแน่นอึดอัดท้อง ซึ่งเกิดจากการมีแก๊สอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้มากกว่าปกติ บางรายอาจทำให้ท้องบวมจนเห็นได้ชัดเจน และอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ เช่น เรอบ่อย ผายลม ปวดท้อง หรือท้องร้องมากกว่าปกติ

ถึงแม้ว่าท้องอืดจะไม่ได้เป็นอาการที่ทำให้เกิดอันตราย แต่ก็สามารถทำให้ผู้ที่เป็นรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัวและอาจทำให้เกิดความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำกิจกรรมบางอย่างได้

ท้องอืดมีสาเหตุมาจากอะไร ?

สาเหตุของอาการท้องอืดที่พบบ่อยมาจากการมีแก๊สในระบบทางเดินอาหารมากกว่าปกติ ซึ่งมาจากการรับประทานอาหารแล้วไม่สามารถย่อยได้อย่างเหมาะสมหรือมาจากการกลืนอากาศเข้าไปในขณะที่กำลังรับประทานอาหารหรือดื่มเครืองดื่ม โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมต่อไปนี้ อาจเพิ่มโอกาสให้ท้องอืดได้มากขึ้น

  • รับประทานอาหารเร็วเกินไป
  • รับประทานอาหารพร้อมกับคุยไปด้วย
  • ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ดื่มน้ำจากหลอดดูด
  • เคี้ยวหมากฝรั่ง
  • สูบบุหรี่
  • สวมฟันปลอมหลวม

สาเหตุทางด้านสุขภาพอื่น ๆ ได้แก่

  • ลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS)
  • โรคลำไส้อักเสบ เช่น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง (Ulcerative Colitis) หรือโรคโครห์น (Crohn's Disease)
  • การทำงานของกระเพาะลำไส้ที่ผิดปกติ (Functional Gastrointestinal Disorders: FGIDs)
  • อาการแสบร้อนกลางอก
  • ภูมิแพ้อาหาร
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรืออ้วน
  • ฮอร์โมนแปรปรวน
  • โรคเจียอาร์ไดอาซิส (Giardiasis) หรือโรคท้องร่วงจากเชื้อเจียอาร์ไดอาซิส
  • โรคที่เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เช่น โรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa) หรือโรคบูลิเมีย
  • โรคเซลิแอค (Celiac Disease) หรืออาการแพ้กลูเตนในอาหารที่มีแป้งเป็นส่วนประกอบ เช่น ขนมปัง
  • ภาวะอาหารผ่านเข้าสู่กระเพาะอาหารอย่างรวดเร็ว
  • ภาวะน้ำในช่องท้อง จากโรคตับหรือโรคไต
  • เนื้องอกในช่องท้อง
  • ปัญหาทางด้านสุขภาพจิต เช่น ความเครียด วิตกกังวล และโรคซึมเศร้า
  • ยาบางชนิดที่ทำให้มีแก๊สมาก เช่น ยานาพรอกเซน (Naproxen) ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยาแอสไพริน (Aspirin)

ภาวะต่อไปนี้ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดแก๊สและอาการท้องอืด

  • การขาดหรือมีการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารมากเกินไป
  • มีการสะสมของแก๊ส
  • การเคลื่อนไหวหรือการบีบตัวของลำไส้ลดลง
  • เกิดความบกพร่องในการระบายลมออกจากร่างกาย
  • ท้องผูก
  • การดูดซึมอาหารที่ผิดปกติ
  • ลำไส้แปรปรวน

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์?
โดยทั่วไป อาการท้องอืดมักไม่มีอันตรายใด ๆ และมักหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่หากพบว่ามีอาการท้องอืดต่อเนื่อง และมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคที่มีความรุนแรงได้

  • มีไข้สูง
  • ปวดท้องอย่างรุนแรงหรือเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน
  • อุจจาระปนเลือด หรืออุจจาระสีเข้มมาก
  • ท้องเสีย
  • แสบร้อนกลางอก
  • อาเจียน
  • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

มีวิธีแก้ท้องอืดอย่างไรบ้าง ?

ปรับพฤติกรรมการรับประทานและพฤติกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่าง ได้แก่

  • รับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มให้ช้าลง จะช่วยลดการกลืนอากาศให้น้อยลงได้
  • ดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลงหรือจำกัดการดื่ม เพราะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น พืชตระกูลผักกาด ถั่ว หัวหอม บรอกโคลี กะหล่ำดอก กล้วย ลูกเกด และขนมปังโฮลวีท
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น ซอร์บิทอล (Sorbitol) เพราะผลิตจากน้ำตาลฟรุกโตสที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องอืด
  • ผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืดจากการแพ้โปรตีนกลูเตน ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของข้าวสาลีทุกชนิด หากแพ้น้ำตาลแลกโตสก็ควรงดผลิตภัณฑ์จากนมเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอม เพราะขณะที่กำลังเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอม จะทำให้กลืนอากาศเข้าไปมากกว่าปกติ
  • จำกัดอาหารประเภทไขมัน
  • สังเกตชนิดของอาหารหรือเครื่องดื่มที่มักทำให้เกิดอาการ
  • หากมีอาการท้องอืดบ่อย ๆ เนื่องจากรับประทานอาหารมากเกินไป ควรลดปริมาณอาหารลง หรือแบ่งย่อยมื้ออาหารจาก 3 มื้อ เป็น 5-6 มื้อ เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  • ลดน้ำหนัก สำหรับผู้ที่อ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมาก
  • ผู้ที่มีภาวะการย่อยแลคโตสผิดปกติ (Lactose Intolerance) ควรบริโภคผลิตภัณฑ์ทำจากนมที่ปราศจากแลคโตส
  • บริโภคผลิตภัณที่มีโปรไบโอติกส์ (Probiotics) หรือจุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งมีประโชน์ต่อร่างกาย เช่น โยเกิร์ต โดยจะช่วยเพิ่มแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ และจากการวิจัยพบว่ามีส่วนช่วยบรรเทาอาการท้องอืดได้
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะทำให้กลืนอากาศเข้าไปมากกว่าปกติ
  • ตรวจสอบฟันปลอม เพราะหากฟันปลอมที่ใส่อยู่ไม่พอดี อาจทำให้ต้องกลืนอากาศเข้าไปมากเวลารับประทานอาหารและดื่มน้ำ
  • หลีกเลี่ยงความเครียดและความวิตกกังวล
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้และช่วยบรรเทาความเครียด
  • หลังรับประทานอาหาร ควรขยับร่างกาย เช่น เดินเบา ๆ เพื่อช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว ซึ่งจะช่วยกำจัดแก๊สออกจากกระเพาะอาหารและลำไส้
  • สมุนไพรบางชนิด นอกจากนำมาใช้เป็นส่วนผสมอาหารแล้วยังมีสรรพคุณที่ช่วยขับลมและบรรเทาอาการท้องอืดได้ เช่น ขิง สะระแหน่ ชินนาม่อน คาโมไมล์ โหระพา ยี่หร่า กระเทียม จันทน์เทศ ผักชีฝรั่ง และออริกาโน่ 

รักษาด้วยการนวด

การนวดบริเวณท้องอาจมีส่วนช่วยลดอาการท้องอืดได้ โดยจากการศึกษาวิจัยพบว่าใน 80 คน ที่มีภาวะน้ำในท้องมากหรือท้องมาน (Ascites) และได้รับการนวดบริเวณท้องวันละ 2 ครั้ง วันละ 15 นาที เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 วัน ผลปรากฏว่า การนวดมีส่วนช่วยทำให้อาการซึมเศร้า วิตกกังวล ลดลง และช่วยให้อาการท้องอืดดีขึ้นได้  

การรักษาด้วยยา

ยาที่นิยมนำมาใช้บรรเทาอาการท้องอืดได้แก่ ไซเมทิโคน (Simethicone) เป็นยาขับลม ช่วยบรรเทาอาการจุกเสียด ท้องอืด และแน่นท้อง หรือยาดอมเพอริโดน (Domperidone) ซึ่งช่วยการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้อาหารและแก๊สเคลื่อนผ่านระบบย่อยอาหารได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนั้น สำหรับผู้ที่มีปัญหาการย่อยอาหารที่ผิดปกติจากภาวะตับอ่อนบกพร่อง สามารถรับประทานเอนไซม์จากตับอ่อนเสริมพร้อมอาหารเพื่อเพิ่มเอนไซม์ที่ขาดหายไปได้

กรณีที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรับประทานอาหารหรือซื้อยาใช้เองไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องอืดได้ ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา เพราะอาจมีสาเหตุมาจากโรคหรือภาวะที่ควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์ โดยการรักษาด้วยยาแต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับโรคและดุลยพินิจของแพทย์

Share:

ทำไมกินข้าวแล้วจุก

อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) เป็นอาการปวดท้องบริเวณช่วงบน ร่วมกับมีอาการท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง จุกลิ้นปี่ รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว โดยมักมีอาการในระหว่างหรือหลังรับประทานอาหาร ซึ่งอาการอาหารไม่ย่อยนี้ พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ อาการมักจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว แต่รู้หรือไม่ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับระบบ ...

กินยังไงไม่ให้ท้องอืด

รับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มให้ช้าลง จะช่วยลดการกลืนอากาศให้น้อยลงได้ ดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลงหรือจำกัดการดื่ม เพราะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น พืชตระกูลผักกาด ถั่ว หัวหอม บรอกโคลี กะหล่ำดอก กล้วย ลูกเกด และขนมปังโฮลวีท

กินข้าวแล้วปวดท้องเกิดจากอะไร

มีสาเหตุที่หลากหลาย เกิดจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา การรับประทานอาหารที่มีรสชาติเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ภาวะกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาหลอดอาหาร การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา กาแฟ และความเครียด ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดการระคายเคืองจนเกิดการอักเสบเรื้อรัง แล้วนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วน ...

อาการท้องเฟ้อเกิดจากอะไร

ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย สาเหตุที่พบได้บ่อย พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานเร็ว ดื่มเร็ว รับประทานผิดเวลา บดเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ชอบดื่มเครื่องดื่มที่มีการอัดก๊าซไว้ เช่น น้ำอัดลม เบียร์ จึงทำให้เกิดก๊าซหรือลมในท้องมากกว่าปกติ รับประทานถั่ว นม อาหารที่มีไขมันสูง หรือชอบรับประทานอาหารรสจัด เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด