ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการตกตะกอน มีอะไรบ้าง

ทะเล มหาสมุทร และลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากคลื่น from NoiRr DaRk

หินตะกอน เป็นหินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนหรือสารละลายที่เกิดขึ้นบนพื้นโลก โดยตะกอนอาจเป็นเศษจากวัสดุต่าง ๆ เช่น เศษหิน ซากพืชซากสัตว์ เป็นต้น

กระบวนการเกิดหินตะกอน (sedimentary processes)

1. กระบวนการสะสมทางกายภาพ เป็นกระบวนการการสะสมตัวของตะกอนที่เกิดจากการพัดพาและทับถมของเม็ดตะกอน จนเวลาผ่านไปตะกอนถูกอัดแน่นและเชื่อมประสานกันจนกลายเป็นหิน


กระบวรการสะสมทางกายภาพ
ที่มา //slideplayer.com/slide/4195520/


2. กระบวนการสะสมตัวทางเคมี เป็นกระบวนการการตกตะกอนของสารละลาย (precipitation) ในสภาวะที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น หินปูน (limestone) หินโดโลไมต์ (dolomite) หินเกลือ (rock salt) เป็นต้น

3. กระบวนการการสะสมตัวทางชีวภาพ เป็นกระบวนการสะสมตัวของสิ่งมีชีวิต เช่น ซากพืช ซากสัตว์ เมื่อเวลาผ่านไปตะกอนถูกเชื่อมประสานจนกลายเป็นหิน เช่น ลิกไนต์ (Lignite) ไดอะทอไมต์ (Diatomite)

การจำแนกหินตะกอน

หินตะกอนเนื้อประสม (clastic sedimentary rock) เป็นหินตะกอนที่ประกอบด้วยมวลอนุภาคที่แตกหลุด และพัดพามาทับถมกันแล้วแข็งเป็นหิน เราสามารถจำแนกหินตะกอนเนื้อประสมได้ตามขนาดของตะกอนในเนื้อหิน ยกตัวอย่างเช่น หินทราย (Sandstone) หินกรวดมน (Conglomerate) หินกรวดเหลี่ยม (Agglomerate)

ตารางจำแนกหินตะกอนเนื้อประสมได้ตามขนาดของตะกอนในเนื้อหิน

Sandstone by Geosmartbox on Sketchfab

หินตะกอนเนื้อประสาน (non-clastic sedimentary rock) เป็นหินที่ต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตหรือปฏิกิริยาเคมีช่วยทำให้เกิดการตกตะกอนหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นหิน เนื้อหินจะไม่เห็นเป็นเม็ดตะกอน xประกอบด้วยหินตะกอนเคมี (chemical sedimentary rock)ได้จากการตกตะกอนของสารละลายโดยตรง และหินตะกอนอินทรีย์ (organic sedimentary rock)เกิดจากการทับถมของซากพืช ซากสัตว์ ซึ่งเกิดในสภาวะมีออกซิเจนต่ำ ตัวอย่างเช่น ลิกไนต์ (Lignite) หินปูน (Limestone) โคคีนยา (Coquina)

               อย่างไรก็ตาม การกำหนดมาตรการหรือแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับชายฝั่งทะเล จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจและความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายทั้งภาครัฐบาลและเอกชนในการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเหล่านี้อย่างจริงจัง  เพื่อกำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการระดับชาติ อันจะส่งผลทำให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืนสำหรับประเทศไทยสืบต่อไป

เมื่อหินก้อนใหญ่ๆ ผ่าน กระบวนการผุพัง (weathering) เศษหินที่แตกหลุดออกมาจะถูกพัดพาจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำด้วยตัวกลางชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกเอง น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อตะกอนเดินทางไปสู่สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมหรือตัวกลางการพัดพาอ่อนกำลังลง ตะกอนก็จะเริ่มตกสะสมตัว

การตกตะกอน (sedimentary deposition) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อปัจจัยการพัดพาชนิดต่างๆ ลดพลังงานลงถึงระดับที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตะกอนต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของตะกอนตามธารน้ำ ตะกอนแต่ละขนาดจะสัมพันธ์กับความเร็วของน้ำที่จะทำให้ตะกอนนั้น สามารถถูกพัดพาต่อไปได้หรือตกสะสมตัวที่แตกต่างกัน

แบบจำลองแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของน้ำและการตกสะสมตัวของตะกอนขนาดต่างๆ

การตกตะกอนโดยส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่หรือภูมิประเทศที่ต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียง เช่น แอ่ง ทะเลสาบ ร่องเขา เป็นต้น ซึ่งสภาพแวดล้อมการตกสะสมตัวของตะกอนนั้นมีหลายรูปแบบและในแต่ละสภาพแวดล้อมดังกล่าว ให้ตะกอนที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ทั้งขนาด ความกลม ความมนและการคัดขนาด

สภาพแวดล้อมการตกตะกอน

การตกตะกอนบนบก

1) ตะกอนน้ำพา (alluvial) เป็นการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณที่มีการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการพัดพาตะกอนจากร่องน้ำในหุบเขาสู่ที่ราบ ทำให้น้ำซึ่งเคยไหลเร็วอยู่ในร่องแคบๆ แผ่ซ่านและลดความเร็วลงอย่างรวดเร็ว ตะกอนตกทับถมบริเวณปลายร่องเขาแผ่กระจายทุกทิศทางในที่ราบคล้ายกับพัด เรียก เนินตะกอนรูปพัด (alluvial fan) โดยตะกอนที่ตกทับถมในช่วงต้นของเนินตะกอนรูปพัดจะมีขนาดใหญ่และมีการคัดขนาดแย่ (หลากหลายขนาดคละเคล้ากัน) แต่จะมีขนาดเล็กลงและคัดขนาดดีขึ้นบริเวณปลายเนินตะกอนรูปพัด

เนินตะกอนรูปพัดที่เกิดจากการที่น้ำหอบตะกอนออกมาจากร่องเขาและลดความเร็วน้ำอย่างรวดเร็วเมื่อถึงที่ราบ

2) ตะกอนธารน้ำ (fluvial) เป็นการสะสมตัวในตำแหน่งต่างๆ ตามธารน้ำ เช่น ร่องน้ำ (channel) โดยส่วนใหญ่เป็นแหล่งสะสมตัวของกรวดมน (gravel) เนินทรายริมตลิ่ง (point bar) และ ทะเลสาบรูปแอก (oxbow lake) ซึ่งเป็นเนินทรายริมตลิ่งเดิม เป็นแหล่งสะสมตะกอนขนาดทราย (sand) ในขณะที่ ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) และ คันดินธรรมชาติ (natural levee) เป็นแหล่งสะสมตัวของตะกอนทรายแป้ง (silt) หรือดิน (clay)

การสะสมตัวของตะกอนตามธารน้ำ(ซ้าย) กรวดที่สะสมตัวตามท้องน้ำ (ขวา) ทรายที่สะสมตัวที่โค้งในของธารน้ำหรือเนินทรายริมตลิ่ง

3) ทะเลสาบ (lake หรือ lacustrine) เนื่องจากทะเลสาบมีระดับพลังงานในการพัดพาต่ำ ลมเอื่อย กระแสน้ำนิ่ง ตะกอนโดยส่วนใหญ่ที่ตกทับถมจึงมีขนาดเล็ก เช่น ทราย ดินหรือโคลน และเนื่องจากระดับพลังงานของการพัดพาคงที่ จึงมีการคัดขนาดดีมาก ยกเว้นในบางกรณีที่ผิดปกติ เช่น เกิดดินถล่ม ภูเขาไฟ ใกล้ทะเลสาบ อาจได้ตะกอนที่ปะปนกันในหลากหลายขนาด ในกรณีของ ทะเลสาบนํ้าเค็มบนพื้นทวีป (playa lake) ที่อยู่ในทะเลทราย อาจเกิดการระเหยของน้ำทำให้ได้ตะกอนเกลือ

(ซ้าย) สภาพแวดล้อมแบบทะเลสาบ (ขวา) ลำดับชั้นของตะกอนในแท่งตัวอย่างที่เจาะมาจากทะเลสาบ

นอกจากนี้การสะสมตัวในบริเวณพื้นที่ทวีปยังเกิดขึ้นได้อีกบางรูปแบบตามภูมิอากาศ เช่น ตะกอนธารน้ำแข็ง หรือ ทิลล์ (till) ในพื้นที่หนาวเย็นและ ดินลมหอบ (loess) ในพื้นที่ซึ่งมีความแห้งแล้ง เป็นต้น

(ซ้าย) ทิลล์ (ขวา) ดินลมหอบ

การตกตะกอนแถบรอยต่อบก-ทะเล

4) ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (delta) เป็นสภาพแวดล้อมการสะสมตัวของตะกอนธารน้ำบริเวณปากอ่าว ซึ่งเมื่อธารน้ำพบกับทะเล กระแสน้ำจะลดความเร็วลง ทำให้ตะกอนขนาดทรายตกทับถมก่อนและเล็กลงถึงขนาดดินเมื่อออกห่างจากฝั่ง คล้ายกับการสะสมตัวของตะกอนบริเวณเนินตะกอนรูปพัด เรียกว่า ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (delta) เช่นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ในประเทศเวียดนามและกัมพูชา แม่น้ำไนล์ ในประเทศอียิปต์ และดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแม่น้ำอิรวดี ในประเทศพม่า เป็นต้น

โดยธรรมชาติ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอินทรียวัตถุที่พัดพามาตลอดธารน้ำ ซึ่งเหมาะกับการปลูกพืช และดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโบราณจะเป็นแหล่งสะสมปิโตรเลียมที่สำคัญ

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงการสะสมตัวดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์

เนินตะกอนรูปพัดและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ มีลักษณะการเกิดคล้ายกับกัน คือ ตะกอนตกทับถมเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมหรือความเร็วของตัวนำพา (น้ำ) อย่างรวดเร็ว ทำให้ตะกอนตกทับถมแบบแผ่ซ่าน

5) หน้าหาด (beach) ด้วยความสมดุลของพลังงานหรือคลื่นในบริเวณชายฝั่ง ทำให้ตะกอนที่ถูกทับถมในบริเวณชายหาดนั้น โดยส่วนใหญ่โดยส่วนใหญ่เป็นตะกอนทรายที่คัดขนาดดี แต่ในบางกรณีบริเวณหาดก็สามารถเป็นแหล่งสะสมตัวของตะกอนขนาดดินได้เช่นกัน เช่น บริเวณปากแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเล สภาพแวดล้อมการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณนั้นก็จะเป็นแบบ ที่ราบน้ำทะเลขึ้นถึง (tidal flat) ซึ่งตะกอนจะมีขนาดดินเป็นส่วนใหญ่

(ซ้าย) ที่ราบน้ำทะเลขึ้นถึง (ขวาบน) หน้าหาด (ขวาล่าง) แนวปะการัง

การตกตะกอนในทะเล

6) บ่าทวีป (continental shelf) ตะกอนที่ตกทับถมในบริเวณบ่าทวีป โดยส่วนใหญ่เป็นตะกอนที่ถูกพัดพามาจากพื้นทวีปเป็นหลัก ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นตะกอนขนาดดิน บางครั้งหากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็สามารถเกิดแนวปะการังและให้หินปูนได้

แบบจำลองขอบทวีปสถิตแสดงหุบเขาใต้ทะเลและการตกสะสมตัวของตะกอนจากการถล่มของตะกอนจากไหล่ทวีปลงสู่ปลายของลาดทวีปปะการังซึ่งมักเกิด-ตาย และสะสมตัวอยู่บริเวณบ่าทวีปเกิดเป็นหินปูน

7) ไหล่ทวีป (continental slope) เนื่องจากเป็นพื้นที่ซึ่งมีความชันสูง ดังนั้นตะกอนโดยส่วนใหญ่โดยส่วนใหญ่ไม่สะสมในบริเวณนี้ ยกเว้นในบางกรณีที่มี หุบเขาลึกใต้มหาสมุทร (submarine canyon) ที่อาจเป็นแหล่งสะสมตัวของตะกอน หรือในกรณีของการเกิดดินถล่มใต้ทะเล ก็สามารถทำให้ตะกอนนั้นสะสมตัวในบริเวณ ลาดทวีป (continental rise) ซึ่งเป็นตอนปลายของ ไหล่ทวีป (continental slope)

8) ทะเลลึก (deep sea) โดยตะกอนที่สะสมตัวอยู่ที่พื้นทะเลลึกรวมเรียกว่า ตะกอนทะเลลึก (pelagic sediment) มีสีน้ำตาลเทาเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ เลนพื้นทะเล (ooze) ที่ ได้จากการสะสมตัวของเปลือกไดอะตอม ซึ่งเป็นซากสัตว์ขนาดเล็กที่มีเปลือกหุ้มเป็นเนื้อปูน หรือซิลิกา นอกจากนั้นยังสามารถพบ ก้อนกลมแมงกานีส (manganese nodule) ตามผิวด้านบนของตะกอนใต้ทะเล ซึ่งกระบวนการเกิดของก้อนกลมแมงกานีส นั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าได้จากการตกตะกอนของน้ำทะเลโดยตรง

ลักษณะภูมิประเทศข้อใดเกิดจากการทับถม

1. ภูมิประเทศที่เกิดจากการตกตะกอนทับถม มักจะเกิดขึ้นในบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีน้ำตื้น ลักษณะชายฝั่งราบเรียบและลาดเทลงไปสู่ก้นทะเล ทำให้ความเร็วของคลื่นและกระแสน้ำลดลง เมื่อเคลื่อนตัวเข้าสู่ฝั่ง การกระทำจึงเป็นในรูปแบบของการตกตะกอนทับถมเกิดเป็นภูมิประเทศลักษณะ ต่างๆ เช่นสันทราย (Berm) สันดอน (Bar) และทะเลสาบที่มีทางน้ำไหล ...

ลักษณะภูมิประเทศในข้อใดที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่แม่น้ำพัดพามา

ที่ราบตะกอนน้ำพา (อังกฤษ: alluvial plain) คือ ภูมิประเทศราบเรียบขนาดใหญ่ เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนน้ำพาที่แม่น้ำพามาจากภูเขา กระบวนการเกิดนั้นเริ่มจาก ในฤดูน้ำหลากแม่น้ำจะนำพาตะกอนมาสะสมตัวบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึงซึ่งเป็นที่ราบขนาดเล็กริมสองฝั่งแม่น้ำ เมื่อกระบวนการนี้เกิดขึ้นซ้ำตามเวลาที่ผ่านไป ที่ราบน้ำท่วมถึงเหล่านี้ ...

ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของน้ำมีอะไรบ้าง

ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของแม่น้ำ 1) แก่ง (rapids) คือ ธารน้ำที่มีโขดหินขวางกั้นกระจายตามท้องน้ำ 2) น้ำตก (waterfall) เกิดจากกระบวนการกัดกร่อนของกระแสน้ำที่ไหลผ่านธารน้ำที่มีชั้นหินรองรับอยู่ จนหินแข็งกร่อนและเปลี่ยนสภาพเป็นผาชันของน้ำตก

ข้อใดเป็นลักษณะภูมิประเทศของชายฝั่งที่เกิดจากจมตัว

2.1 ฝั่งทะเลยุบจม (submerged shoreline) ฝั่งทะเลที่เกิดจากการยุบระดับต่ำลงของเปลือกโลก ทำให้น้ำทะเลไหลเข้ามาท่วมบริเวณผืนดินชายฝั่ง เกิดเป็นแนวฝั่งขึ้นใหม่ที่ถอยร่นจากแนวฝั่งเดิมเข้ามาในแผ่นดิน ฝั่งทะเลประเภทนี้ส่วนใหญ่มักเป็นหน้าผาชัน ไม่ค่อยพบที่ราบชายฝั่ง แนวฝั่งพบลักษณะเว้าแหว่งมาก และหากภูมิประเทศเดิมเป็นภูเขา ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด