วิธีการนําเสนอข้อมูล มีอะไรบ้าง

 โดยปกติการเก็บรวบรวมข้อมูล มักจะได้ข้อมูลตามรูปแบบของการเก็บข้อมูลนั้นๆ ทำให้ข้อมูลที่ได้อาจไม่เป็นระเบียบ การนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อาจทำได้ยาก วิธีการแก้ไขปัญหานี้คือการนำข้อมูลนั้นๆ มาจัดให้เป็นระเบียบ เพื่อให้มองเห็นลักษณะสำคัญของข้อมูลชัดเจนขึ้น เห็นความสัมพันธ์กันในกลุ่มข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล สามารถอ่านข้อมูลได้ง่าย และสามารถทำความเข้าใจได้รวดเร็วและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เราเรียกกระบวนการดังกล่าวนี้ว่า การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation)

          การนำเสนอข้อมูล เป็นการนำเอาข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดต่างๆ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาจัดให้เป็น ระเบียบ เพื่อมุ่งที่ให้ผู้ใช้ข้อมูลมองเห็นลักษณะสำคัญ ของข้อมูลเหล่านั้น และสามารถอ่านรายละเอียด หรือเปรียบเทียบข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ ของผู้ใช้ข้อมูล อาจกล่าวได้ว่า วัตถุประสงค์สำคัญของการนำเสนอข้อมูลก็เพื่อจะนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ มาเสนอหรือเผยแพร่ให้ผู้สนใจข้อมูลนั้นๆ ทราบ หรือ สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้

          การนำเสนอข้อมูลเป็นขั้นตอนในการเตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับ การวิเคราะห์และการแปลความหมาย สรุปผลข้อมูล เพื่อนำสารสนเทศนั้นไปใช้ใน การตัดสินใจสำหรับการทำงานต่อไป รวมถึงการเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากรูปแบบและลักษณะสำคัญของข้อมูลนั้นๆ ได้ถูกต้องอีกด้วย โดยทั่วไปการนำเสนอข้อมูลอาจทำได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ

1. การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน (informal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่มีกฎเกณฑ์ หรือแบบแผนที่แน่นอนตายตัว เป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลตามเนื้อหาข้อมูล ที่นิยมใช้มีสองวิธีคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความหรือข้อความเรียง และการนำเสนอข้อมูล ในรูปบทความกึ่งตาราง

2. การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน (formal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่มีกฎเกณฑ์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นแบบอย่าง การนำเสนอข้อมูลประเภทนี้ที่นิยมคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟหรือแผนภูมิ 

//thailocal.nso.go.th/nso-cms/%E0%B8%B4basic_knowledge.html


ความหมายของการนำเสนอข้อมูล

การนำเสนอข้อมูล หมายถึง กระบวนการ วิธีการการสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือ ความต้องการไปสู่ผู้รับสาร โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่างๆ อันจะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ

จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ

1. เพื่อให้ผู้รับสาร รับทราบความคิดเห็นหรือความต้องการ

2. เพื่อให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่อง

3. เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ เช่น ในการฝึกอบรมหรือการสัมมนา ใช้ในการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานต่างๆ

4. เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง

ลักษณะของข้อมูลที่นำเสนอ

          ในการนำเสนอแต่ละครั้งนั้น สามารถนำข้อมูลที่มีลักษณะแตกต่างกันมาร่วมนำเสนอด้วยกันได้ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้นำเสนอ ข้อมูลที่จะนำเสนอแบ่งออกตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่

1. ข้อเท็จจริง หมายถึงข้อความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เรื่องราวที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามความจริง หรือสามารถตรวจสอบให้เป็นที่ประจักษ์ได้ว่าเป็นความจริง อาจเป็นความรู้ที่ได้จากการทดสอบหรือทดลองทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐาน ข้ออ้างอิงสำหรับกล่าวอ้างถึงในการพิสูจน์สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้

2. ข้อคิดเห็น เป็นความเห็นอันเกิดจากประเด็นหรือเรื่องราวที่ชวนให้คิด อาจเป็นความรู้สึก ความเชื่อถือหรือแนวคิดที่ผู้นำเสนอมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความเห็นของแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ข้อคิดเห็นต่างจากข้อเท็จจริง คือ ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องจริงที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่ข้อคิดเห็นอาจมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ฟังเป็นผู้ตัดสินใจว่าข้อคิดเห็นนั้นๆ น่ารับฟังหรือไม่ สมเหตุสมผลเพียงใด

ลักษณะและรูปแบบการนำเสนอ รูปแบบการนำเสนอ(ที่นิยมใช้)  มี 3 วิธีการ คือ

1. มีผู้นำเสนอและใช้เอกสารประกอบ(Handout) เป็นส่วนร่วมในการนำเสนอ

2. มีผู้นำเสนอใช้วัสดุ-อุปกรณ์เครื่องฉายเป็นสื่อ และมีเอกสารประกอบเป็นส่วนร่วม

3. จัดเป็น Display ในรูปของนิทรรศการ ที่ใช้ Post line เป็นเส้นนำทาง และ (อาจ) มี เอกสารประกอบ เป็นส่วนร่วม

องค์ประกอบของสื่อนำเสนอ

หากจะแบ่งสื่อนำเสนอออกเป็นส่วนๆ  ควรประกอบด้วย  3 ส่วน คือ

  1. ส่วนนำเรื่อง Beginning
  2. ส่วนเนื้อหา Middle
  3. ส่วนท้ายเรื่อง End

 โดยในการนำเสนอนั้น จะแบ่งทั้ง 3 ส่วน อัตราส่วน ส่วนนำเรื่องและส่วนท้ายเรื่อง รวมกัน 20-25% ส่วนเนื้อหา 75-80%

หลักการออกแบบงานนำเสนอ

      1. ความเรียบง่าย : จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลัง เพื่อเวลาอ่านจะไม่รบกวนสายตา

      2. มีความคงตัว: เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์

      3. ใช้ความสมดุล: การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน หรือ สมดุลไม่มีแบบแผนก็ได้

      4. มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น: ข้อความและสภาพที่บรรจุในสไลด์แผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็นเนื้อหาแต่ละแนวคิดเท่านั้น

      5. สร้างความกลมกลืน: ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหาใช้แบบอักษรอ่านง่าย แล้ใช้สีที่ดูแล้วสบายตา

      6. แบบอักษร: ไม่ใช้อักษรมากกว่า 2 แบบในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา

      7. เนื้อหา และจุดนำข้อความ: ข้อความในสไลด์ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้นและควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุด        นำข้อความอยู่ข้างหน้าเพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น 

      8. เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง: การใช้กราฟิกอย่างเหมาะสมจะสามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล

      9. ความคมชัดของภาพ :  เนื่องจากความคมชัดของจอมอนิเตอร์มีเพียง 72-96 DPI เท่านั้นภาพกราฟิกที่นำเสอประกอบในเนื้อหาจึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความคมชัดสูงมาก ควรใช้ภาพในรูปแบบ JPG ที่มีความคมชัดปานกลาง และขนาดไม่ใหญ่นัก ประมาณ 20-50 KB ควรทำการลดขนาดภาพก่อนเพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ในการเก็บบันทึก

การเตรียมงานก่อนการนำเสนอ

  การนำเสนองานควรทำเป็นขั้นตอนโดยเริ่มจากการวางโครงร่าง จัดทำรายละเอียดเนื้อหาและจัดทำเป็นสไลด์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. การวางโครงร่าง ศึกษากลุ่มผู้ฟังว่ามีลักษณะอย่างไร ต้องมีความเข้าใจข้อมูลที่ต้องการนำเสนออย่างชัดเจนเพื่อจะได้ผลลัพธ์ตรงเป้าหมาย

2. จัดทำรายละเอียดเนื้อหา กำหนดหัวข้อต่างๆ โดยเน้นกลุ่มผู้ชมเป็นหลักว่าสไลด์ควรมีเนื้อหาหรือรูปแบบการจัดวางอย่างไร หรือควรนำเสนอแบบใด เช่น ใส่ภาพ ใส่สี และแนวการนำเสนอ

3. การออกแบบ การใส่ข้อความ ภาพ กราฟในสไลด์ การนำสิ่งต่างๆ ที่ต้องการนำเสนอมาใส่ลงในสไลด์แต่ละแผ่น

          3.1 การใช้ภาพในการนำเสนอ ภาพที่ใช้ประกอบเรื่องที่จะสื่อสาร เพื่อให้สามารถสื่อสารได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น จะมีทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว

3.2 การใช้ Animation ในการนำเสนอ เพิ่มความน่าสนใจในการนำเสนอ การใส่เทคนิคการเปลี่ยนแผ่นสไลด์ การเคลื่อนไหวของตัวอักษรมาใช้เพิ่มความน่าสนใจและใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสไลด์

3.3 การใช้ตัวอักษรในการนำเสนอ ตัวอักษร มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในการออกแบบสื่อ ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อสิ่งประดิษฐ์ หรือสื่อคอมพิวเตอร์ก็ตาม

3.4 การใช้สีในการนำเสนอ การเลือกใช้คู่สีที่เหมาะสมระหว่างตัวอักษรกับพื้นหลัง ตามหลักสากลก็คือ พื้นสีเข้มตัวอักษรสีอ่อน หรือพื้นสีอ่อนตัวอักษรเข้ม

4. เตรียมการนำเสนอจริง ต้องซ้อมการพูดให้เข้ากับแผ่นสไลด์ด้วยการจับเวลา เพื่อจะได้ทราบว่าการบรรยายใช้เวลาอย่างเหมาะสมหรือไม่

5. เตรียมเอกสารประกอบการบรรยาย คือการพิมพ์เอกสารประกอบการบรรยาย การจัดทำเอกสารแจกผู้เข้าฟังเพื่อไม่ให้ผู้ฟังเสียเวลาในการจดบันทึก ให้ใช้เวลาฟังสิ่งที่บรรยายแทน

ทักษะของผู้นำเสนอ

ผู้นำเสนอจะต้องศึกษาและฝึกฝนตนเองให้มีทักษะหลายด้าน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้นำเสนอที่ดี เพราะผู้นำเสนอเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของการนำเสนอ โดยทั่วไปผู้นำเสนอจะต้องเสริมสร้างทักษะดังต่อไปนี้

1. ทักษะในการคิด (conceptual skill) ผู้นำเสนอจะต้องเรียนรู้ และสร้างความชำนาญชัดเจนในการคิดแม้ว่าจะมีเนื้อหาสาระจากข้อมูลที่มีอยู่ ผู้นำเสนอก็จะต้องคิดพิจารณาเลือกใช้ข้อมูล และลำดับความคิดเพื่อจะนำเสนอให้เหมาะแก่ผู้รับการนำเสนอ ระยะเวลา และโอกาส

2. ทักษะในการฟัง (listening  skill) ผู้นำเสนอจะต้องสดับรับฟัง และสั่งสมปัญญาเป็นการรอบรู้จากการได้ฟัง  ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่จะนำเสนอเพื่อนำมากลั่นกรอง  เรียบเรียงเป็นเนื้อหาในการนำเสนอ

3. ทักษะในการพูด (speaking  skill) ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนการพูด เพื่อบอกเล่าเนื่องโน้นน้าวจูงใจ ให้ผู้รับฟังการนำเสนอเห็นด้วย อันจะเป็นทางทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ

4. ทักษะการอ่าน (reading  skill) ผู้นำเสนอจะต้องเป็นนักอ่านที่มีความชำนิชำนาญชัดเจนในการสั่งสมข้อมูล  สามารถประมวลความรู้นำมาใช้ในการนำเสนอได้เพียงพอแก่ความต้องการของผู้รับการนำเสนอ

5. ทักษะในการเขียน (writing  skill ) ผู้นำเสนอจะต้องเสริมสร้างทักษะการเขียน เพราะการเขียนเป็นการแสดงความคิด ความเชื่อ ความรู้ ความรู้สึก อารมณ์ และทัศนคติของผู้เขียนให้ผู้อ่านได้ทราบโดยใช้ตัวอักษร การนำเสนอด้วยการเขียนจึงต้องมีความประณีต พิถีพิถันในการเลือกใช้คำด้วยการรู้ความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ  และใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องเหมาะสม

6. ทักษะในการถ่ายทอด (delivery  skill) ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนการถ่ายทอดเนื้อหาสาระให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสถานการณ์ในการนำเสนอ

อ้างอิง

โครงการสารานุกรมไทยฯ . “โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล (Graphic Presentation Program)”. //kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=25&chap=1&page=t25-1-infodetail04.html.

เว็บไซต์มุสลิมไทยโพสต์ . “ความหมายของการนำเสนอ (Presentation) ”. //info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=29&id=10762.

tupnoon . “  ความหมายของการนำเสนอข้อมูล”. //tupnoon.wordpress.com. 2013

บัญชา โพธิพิทักษ์. “(บทสรุป) การนำเสนอคืออะไร”. //mediathailand.blogspot.com/2012/05/blog-post.html. 2012

อ้างอิง : อ.สมิต. “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการนำเสนอ”. //www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=667&pageid=1&read=true&count=true. 2008

การนําเสนอข้อมูลมีกี่วิธี อะไรบ้าง

จากตัวอย่างทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการนำเสนอข้อมูล สามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบใหญ่ๆ ได้ 2 รูปแบบ คือ การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน เช่น ตัวอย่างที่1 ซึ่งจะเป็นการนำเสนอในรูป ข้อความ และการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน เช่น ตัวอย่างที่2, 3 และ 4 ซึ่งจะเป็นการนำเสนอแบบ รูปภาพ, รูปตาราง, แผนภูมิแท่ง, แผนภูมิวงกลม และกราฟ

จุดมุ่งหมายในการนําเสนอคืออะไร มีอะไรบ้าง

1. เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้จากข้อมูลที่นาเสนอ 2. เพื่อให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 3. เพื่อให้ผู้รับสารรับทราบและเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความต้องการ

สื่อที่ใช้ในการนําเสนอ มีอะไรบ้าง

สื่อที่ใช้ในการนำเสนอผลงานทางวิชาการมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ สื่อนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (PowerPoint slides) โปสเตอร์นำเสนอทางวิชาการ.
ที่มาของปัญหา หรือเหตุผลของการทำวิจัย.
เขียนให้กระชับที่สุด.
ไม่จำเป็นต้องอ้างถึงแหล่งที่มา.

ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือควรมีการนําเสนอข้อมูลอย่างไร

Presentationการนำเสนอข้อมูลต้องชัดเจน ตรงตามเนื้อหา กระชับ Relevance การพิจารณาความสัมพันธ์ ความสอดคล้องของข้อมูลกับสิ่งที่ต้องการ Objectivity ข้อมูลที่นำมาใช้ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ไม่มีเจตนาแอบแฝง หรือเป็นข้อมูลที่แสดงความคิดเห็น Method มีการวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด