อุบัติภัยแบ่งเป็น 4 ประเภทคืออะไร

อุบัติภัย (๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑)

อุบัติภัย

          อุบัติภัย (อ่านว่า อุ-บัด-ติ-พัย) เป็นคำที่ประกอบด้วยคำว่า อุบัติ หมายถึง เกิดขึ้น. กับ ภัย หมายถึง สิ่งที่ทำให้กลัว หรือ อันตราย. 

          อุบัติภัย หมายถึง ภัยหรืออันตรายที่เกิดจากอุบัติเหตุ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ไม่มีผู้ใดจงใจหรือทำให้เกิดขึ้น เช่น คนไทยเป็นคนใจบุญ สังเกตได้จากการบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติภัยต่าง ๆ อย่างเต็มที่. รัฐบาลควรมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอุบัติภัย. ถ้าเราไม่ประมาทและมีความรอบคอบก็จะลดอุบัติภัยได้.

ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

คำนิยาม

         ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน คือ การกระทำหรือสภาพการทำงาน ซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน

         

อันตราย คือ สภาวการณ์ที่มีเหตุอันจะทำให้เกิดความสูญเสีย

         

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย

         

เหตุการณ์เกือบเป็นอุบัติเหตุคือ เหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดแล้วไม่มีผลของการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย

         

ประสบอันตราย คือ การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง

อุบัติเหตุจากการทำงานสามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุ คือ

         1. สาเหตุจากการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) เป็นการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น

- การใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นเครื่องจักรกลต่าง ๆ โดยพลการหรือไม่ได้รับมอบหมาย

- การทำงานที่มีอัตราเร่งความเร็วของงานและเครื่องจักรเกินกำหนด

- การถอดอุปกรณ์ป้องกันออกจากเครื่องจักรโดยไม่มีเหตุอันสมควรสมควร

- การดูแลซ่อมบำรุงอุปกรณ์เครื่องจักรในขณะที่กำลังทำงาน

- การใช้เครื่องมืออุปกรณ์เครื่องจักรที่ชำรุดและไม่ถูกวิธี

- ไม่ใส่ใจในคำแนะนำหรือคำเตือนความปลอดภัย

- ทำการเคลื่อนย้ายหรือยกวัสดุที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก ด้วยท่าทางหรือวิธีการที่ไม่ปลอดภัย

- ไม่สวมใสอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

- การคึกคะนองหรือเล่นตลกขณะทำงาน


          2. สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) คือสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยโดยรอบตัวของผู้ปฏิบัติงานขณะทำงาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น

- เครื่องจักรไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย

- อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรที่ออกแบบไม่เหมาะสมกับการใช้งาน

- บริเวณพื้นที่ของการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม

- การจัดเก็บวัสดุสิ่งของอย่างไม่ถูกวิธี

- การจัดเก็บสารเคมีหรือสารไวไฟที่เป็นอันตรายไม่ถูกวิธี

- ไม่มีการจัดระเบียบและดูแลความสะดวกของสถานที่ทำงานให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ

- แสงสว่างไม่เพียงพอ

- ไม่มีระบบระบายและถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม

- ไม่มีระบบเตือนภัยที่เหมาะสม

อ้างอิงจาก

  1. มาตฐานการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน,
    สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)
  2. คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร (ปรับปรุง),พ.ศ.๒๕๖๓
    กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
  3. ความปลอดภัยในงานวิศวกรรม,พ.ศ.๒๕๖๓ (สืบค้นออนไลน์)

เข้าถึงได้จาก : //chuonchoom.blogspot.com/2013/08/blog-post.html

  5.2  สาเหตุการเกิดอุบัติภัยในการทำงาน

สาเหตุการเกดิอุบัติภัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่

1.  สาเหตุนำของการเกิดอุบัติภัยจากการทำงาน

2.  สาเหตุโดยตรงของการเกิดอุบัติภัยจากการทำงาน

        5.2.1  สาเหตุนำของการเกิดอุบัติภัยจากการทำงาน

            1.  ความผิดพลาดของการจัดการ

1.  ไม่มีสอนหรืออบรมเกี่ยวกับความปลอดภัย

2.  ไม่มีการบังคับให้ปฎิบัติตามกฎความปลอดภัย

3.   ไม่มีการวางแผนและเตรียมงานด้านความปลอดภัยไว้

4.  ไม่มีการแก้ไขอันตรายใดๆ

5.  ไม่มีการจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยให้

            2.  สภาวะทางด้านจิตใจของพนักงานไม่เหมาะสม

1.  ขาดความระมัดระวัง          

2.  มีทัศนคติไม่ถูกต้อง

3.  ขาดความตั้งอกตั้งใจ

4.  อารมณ์อ่อนไหวง่าย

5.  เกิดความรู้สึกหวาดกลัว

            3.  สภาวะทางด้านร่างกายของพนักงานไม่เหมาะสม

1.  อ่อนเพลียมาก

2.  หูหนวก

3.  สายตาไม่ดี

4.  มีร่างกายไม่เหมาะกับงานที่ทำ

5.  เป็นโรคหัวใจ

         5.2.2  สาเหตุโดยตรงของการเกิดอุบัติภัยจากการทำงาน

        1.  สภาพของงานที่ไม่ปลอดภัย

1.   แสงสว่างไม่เพียงพอ

2  . เสียงดังมากเกินไป

3.   การระบายอากาศที่ไม่เหมาะสม

4.   ความสกปรก

5.   บริเวณที่คับแคบ

6.  มีสารเคมี และเชื้อเพลิง   

7.   พื้นที่ลื่น เนื่องจากคราบน้ำมัน

8.   หลุมและสิ่งกีดขวางทางเดิน

9.   การสูญเสียเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุ

        2.  การปฎิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย

            หัวหน้างาน

1.  ไม่มีการสอนหรืออบรมพนักงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

2. ไม่มีการแนะนำให้พนักงานปฎิบัติตามกฎความปลอดภัยในการทำงาน

3.  ไม่มีการวางแผนและเตรียมงานเกี่ยวกับความปลอดภัย

4.  ไม่แก้ไขจุดอันตราย

5.  ไม่จัดหาและแนะนำอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย

            พนักงาน

1  .ใช้เครื่องจักรกลโดยพลการ

2.  ซ่อมแซมเครื่องกลในขณะเครื่องกำลังทำงาน

3.  ใช้เครื่องกลด้วยอัตราเร็ว

4.  ยกหรือเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยท่าทางไม่เหมาะสม

5.  ไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด