องค์กรเอกชนเพื่อผู้บริโภค มีอะไรบ้าง

สภาองค์กรของผู้บริโภค เตรียมขอคุ้มครองฉุกเฉิน กรณีควบรวม ทรู-ดีแทค และร้อง ป.ป.ช. เหตุ กสทช. ‘ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ’

สภาองค์กรของผู้บริโภค

“เป็นตัวแทนของผู้บริโภคทุกด้าน เพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคน

ปัจจุบัน การรับมือกับปัญหาสิทธิ ‘ผู้บริโภค’ ในประเทศไทยยังคงปรากฏให้เห็นตลอด ทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพโฆษณาเกินจริง สินค้าผิดกฎหมาย รถโดยสารไม่ได้มาตรฐาน ขนส่งสาธารณะราคาแพง หรือแม้แต่ปัญหาบริการสุขภาพและสาธารณสุข ทั้งที่ปรากฏในชีวิตจริงและออนไลน์ ขณะนี้ผู้บริโภคถูกแวดล้อมด้วยข้อมูลข่าวสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ แม้แต่การขายสินค้าก็เช่นเดียวกัน ปัญหาผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ ไม่ได้รับความเป็นธรรมมีมากขึ้น ดังนั้น “สภาองค์กรของผู้บริโภค” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นปาก เป็นเสียง แก้ปัญหาให้ผู้บริโภคอย่างเป็นมิตรและมีความเป็นมืออาชีพ ด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค

สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เป็นตัวแทนของผู้บริโภค ทำหน้าที่เสนอความคิดเห็น จัดทำนโยบาย มาตรการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค สะท้อนหลักการสำคัญที่ว่า “ผู้บริโภคมีส่วนร่วมจัดทำนโยบายและมาตรการเพื่อคุ้มครองตนเอง รวมทั้งเป็นตัวแทนในการให้ความคิดเห็นที่เป็นอิสระ รักษาผลประโยชน์ของทุกคน เพราะทุกคนคือผู้บริโภค อ่านทั้งหมด

�ҹ��¹��鹹��������鹨ҡ��÷���ҵ�� 57 �ͧ�Ѱ�����٭����Ҫ�ҳҨѡ��� (�.�.2540) ��ѭ�ѵԶ֧�Է�Ԣͧ�ؤ�ū���繼�������㹡�����Ѻ��ä�����ͧ�¡�������С�˹��������������͡���ʴ�������繼�ҹ�ҧ "ͧ���������" ��觻�Сͺ���� "���᷹��������" �繼���˹�ҷ���������������ǡѺ��õ�ҡ��������ͤ�����ͧ�������� �ѧ��鹼����¹�֧����ʹ�����������ʹ�����ǡѺ "ͧ���������" �ѧ�������Ҥ�è����ٻ��ҧ˹�ҵ������ҧ�� �¼����¹����ʹ��ٻẺ��С�÷ӧҹ�ͧͧ�����͡��㹡�ä�����ͧ���������ͧ��ҧ��������»���� �� ����ȭ���� �������������� ������ѧ��� ��������Ѱ����ԡ� ������ͧ����дѺ�š���ҧ�� Consumers International ����ջ������Ҫԡ��ͺ 100 �����㹢�й��ѧ��ҡ���ª�������㹵͹����˹ѧ��ʹ���
       㹺���ػ�ͧ˹ѧ��� �����¹��������ʹ��з�����������»�С�÷������Ǣ�ͧ�Ѻ "ͧ��������" ����ҵ�� 57 �ͧ�Ѱ�����٭����Ҫ�ҳҨѡ��� (�.�.2540)
       ˹ѧ����������֧��˹ѧ��ʹ��ա����˹�觷���� pub-law.net �ͻú��������¤�����蹪�

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (FOUNDATION FOR CONSUMERS) เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ที่มุ่งมั่นทำงานคุ้มครองผู้บริโภคมากว่า 30 ปี โดยส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองสิทธิอันพึงมีได้ เผยแพร่ข้อมูลเพื่อเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าและบริการ ผลักดันให้องค์กรต่างๆ มีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งเสนอแนะนโยบายและมาตรการเพื่อยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภค ใน 7 ด้าน ได้แก่ 1) การเงินการธนาคาร 2) สินค้าและบริการทั่วไป 3) ที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ 4) สื่อและโทรคมนาคม 5) บริการสาธารณะ 6) อาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ 7) บริการสาธารณสุข โดยมีจุดยืนชัดเจนที่จะไม่รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจ ทั้งนี้เพื่อความเป็นอิสระและโปร่งใสในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างยั่งยืน

สารบัญ

  • ประวัติและบทบาท
  • แนวคิดในการทำงาน
  • ภารกิจสำคัญ
  • ความสำเร็จที่ผ่านมา
  • คณะกรรมการ
  • รายงานประจำปี

ประวัติและบทบาท

พ.ศ.2526 ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพเป็นหลัก ในนาม “คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน” (คปอส.) ผลงานเด่นได้แก่ งานรณรงค์เรื่องการใช้ยาอย่างเหมาะสม สามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสูตรยาแก้ปวดลดไข้ จากยาสูตรผสมเป็นยาเดี่ยว การคัดค้านสิทธิบัตรยาและการใช้ชื่อสามัญทางยา รวมถึงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในยุคแรก

พ.ศ.2539 จดทะเบียนจัดตั้ง ‘มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค’ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักคือ

  1. ส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองตามสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้บริโภค
  2. ส่งเสริมและประสานงานให้ผู้บริโภคและองค์กรผู้บริโภคต่างๆ มีส่วนในการคุ้มครองผู้บริโภค
  3. ส่งเสริมการศึกษาและวิจัยด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
  4. ดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์

วิสัยทัศน์ : มุ่งมั่น สร้างพลังผู้บริโภค อย่างเท่าทันและยั่งยืน

SAMED Vision
S = Smart
A = Attitude
M = Motivation
E = Empathy
D = Data

แนวคิดในการทำงาน

1. ใช้เงินให้คุ้มค่า (VALUE FOR YOUR MONEY)

ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจ่ายเงินซื้อสินค้าที่ดี ปลอดภัยและไม่แพง การทำงานในช่วงแรกๆ จึงเน้นการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าและบริการต่างๆ แล้วเผยแพร่ลงในนิตยสารฉลาดซื้อ เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคได้เปรียบเทียบว่าสินค้าใดถูกกว่าและมีคุณภาพดีกว่ากัน เช่นเดียวกับวารสารคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศ เช่น Which? ของอังกฤษ CHOICE ของออสเตรเลีย Consumer Reports ของสหรัฐอเมริกา และ TEST ของอินเดีย

2. ค่าของเงินและค่าของคน (VALUE FOR MONEY AND ALSO VALUE FOR PEOPLE)

การผลักดันให้พลังการซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าใดๆ ของกลุ่มผู้บริโภค เป็นตัวกำหนดคุณภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ที่เอื้อประโยชน์ให้คนส่วนใหญ่ โดยทั้งรูปแบบการผลิตและการบริโภคจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย เช่น

  • ไม่ซื้อของเนสเล่ เพราะใช้วัตถุดิบที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) หรือการปฏิบัติแบบสองมาตรฐานในกรณีไม่ขายผลิตภัณฑ์มีจีเอ็มโอในกลุ่มประเทศอียูและสวิตเซอร์แลนด์ แต่ยังคงจำหน่ายในไทย
  • ไม่ซื้อสินค้าของบริษัท ABBOTT ที่ไร้จริยธรรมในการค้า โดยถอนการขึ้นทะเบียนยากับ อย. หลังจากประเทศไทยประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ (CL)
  • ไม่ซื้อสินค้าของแกรมมี่ จากปรากฎการณ์ทีวีจอดำ

3. ลดการบริโภค (SUSTAINABLE CONSUMPTION & CONSUMER LIFE STYLE)

การสนับสนุนแนวทางบริโภคสีเขียว (Green Consumption) ด้วยการรณรงค์ให้ผู้บริโภคตระหนักว่าการบริโภคทุกอย่างส่งผลกระทบต่อทั้งตนเองและสังคม มุ่งจัดกิจกรรมที่เน้นให้บริโภคแต่พอเพียง ลดการบริโภค เช่น

  • กลุ่มรณรงค์ให้มีวันหยุดซื้อของ (Buy Nothing Day)
  • การรณรงค์สัปดาห์หยุดดูโทรทัศน์ เพราะเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมให้บริโภคแบบไร้ขีดจำกัด

ภารกิจสำคัญ

นิตยสาร 'ฉลาดซื้อ'

นิตยสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคฉบับเดียวที่ไม่รับโฆษณาจากผู้ประกอบการ เพื่อความเป็นอิสระและความน่าเชื่อถือของข้อมูล เป็นนิตยสารรายเดือน ปัจจุบันตีพิมพ์เป็นปีที่ 28 ฉบับที่ 252 (ข้อมูล 2/ 2565) จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลเพื่อตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า รวมทั้งเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ที่ทันต่อสถานการณ์และเชื่อถือได้ ซึ่งเป็นอาวุธสำคัญที่ผู้บริโภคจำเป็นต้องมีไว้เพื่อคุ้มครองตนเองในยุคบริโภคนิยม

ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค (COMPLAINT AND LEGAL ASSISTANCE CENTRE)

"ร้องทุกข์ 1 ครั้ง ดีกว่าบ่น 1,000 ครั้ง"

ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาแบบ One Stop Service การจัดเวทีสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในวงกว้าง พัฒนาการรวมกลุ่มของผู้บริโภคเพื่อยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภค

การพัฒนานโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

อาทิ เรื่องระบบหลักประกันสุขภาพ “สภาองค์กรของผู้บริโภค” (สอบ.) ที่เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 นโยบายด้านพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นธรรม เรื่องความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร และเขตการค้าเสรี

การสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพองค์กรผู้บริโภค

การทำแผนคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด และจัดตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

ความสำเร็จที่ผ่านมา

(พ.ศ.2537 - พ.ศ.2539)

  • ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
  • เปิดศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค “ร้องทุกข์ 1 ครั้ง ดีกว่าบ่น 1,000 ครั้ง
  • มีเวทีผู้บริโภค “CONSUMER FORUM”
  • ตีพิมพ์นิตยสารฉลาดซื้อ

(พ.ศ.2540 - พ.ศ. 2545)

  • ร่วมรณรงค์ ทุจริตยา
  • ร่วมผลักดันกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • คัดค้านการขึ้นราคาบริการโทรทัศน์บอกรับสมาชิกกรณียูบีซี ส่งผลให้มูลนิธิฯ เป็นผู้เสียหายแทนผู้บริโภคในคดีปกครองเป็นคดีแรก

(พ.ศ.2546 - พ.ศ.2550)

  • ชนะคดี สามารถยกเลิกการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ยุติการนำ กฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์
  • ฟ้องคดีเรื่องการแปรรูป ปตท.
  • ตั้งศูนย์ทนายอาสาเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
  • โครงการโรงเรียนฉลาดซื้อ ในโรงเรียน 1,900 แห่ง
  • ร่วมรณรงค์ “ผู้บริโภคทั่วโลกไม่เอาจีเอ็มโอ”
  • ร่วมกับเครือข่ายผู้บริโภคและกสทช. ตั้งสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)

(พ.ศ.2551- พ.ศ.2555)

  • ร้อง อย. ห้ามใช้คำว่า “รังนกแท้ 100%” อย. ประกาศห้ามโฆษณา 100%
  • สนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งองค์กรผู้บริโภค 72 องค์กร ใน 42 จังหวัด
  • ฟ้องคดีกรณีฟุตบอลยูโรจอดำ
  • ตรวจสอบการฮั้วประมูล 3 G ของ กสทช.
  • เปิดคลินิกให้คำปรึกษาเรื่องหนี้
  • ผลักดันการคุ้มครองสิทธิผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ
  • รณรงค์กฎหมายองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

(พ.ศ.2556 - พ.ศ. 2560)

  • ชนะคดีโทลเวย์ มติ ครม. 2 รัฐบาลเอื้อประโยชน์เอกชน ปรับราคาโดยไม่ขออนุญาตกรมทางหลวง
  • ชนะคดีซอยร่วมฤดี กรณีสร้างตึกสูงในซอยแคบ ศาลสั่งรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย
  • ทดสอบข้าวสารบรรจุถุง พบสารรมควันข้าว
  • ผลักดันลดราคากล่องดิจิทัลทีวี ช่วยให้ประหยัดงบของประเทศกว่า 7 พันล้านบาท
  • ผลักดันกฎหมายติดตามทวงหนี้ พ.ศ. 2558 ไม่ให้ละเมิดสิทธิผู้บริโภค
  • เกิดการทดสอบรถยนต์ขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย
  • ชนะคดีเชฟโรเลต ช่วยผู้บริโภคได้เงินคืน
  • ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจำนวน 639 ราย กรณีปิดสถานออกกำลังกาย “แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส”
  • ผลักดันข้อเสนอให้รถโดยสารสาธารณะติดตั้งระบบ GPS
  • เผยแพร่ผลสำรวจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในกรุงเทพมหานคร
  • รณรงค์หยุดใช้ยาปฏิชีวนะในการผลิตอาหาร
  • ผลักดันให้ อย.เปิดฐานข้อมูลโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้
  • ฟ้องคดีกระทะโคเรียคิง เป็นคดีแบบกลุ่มคดีแรก

(พ.ศ.2561)

  • เฝ้าระวังเรื่องมาตรฐานอาหารยอดนิยม เช่น ไส้กรอก ขนมจีน ช็อกโกแลต โดนัท ฯลฯ
  • ฟ้องคดีแบบกลุ่ม กระทะโคเรียคิง และเครื่องสำอางเพิร์ลลี่
  • อย.เปิดให้ผู้บริโภคเข้าถึงฐานข้อมูลโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  • รวมกลุ่มผู้เสียหายถูกโกงจากกรณีสามล้อเอื้ออาทร
  • อย.เร่งรัดยกเลิกการใช้ไขมันทรานซ์ในอาหาร จากผลการทดสอบของนิตยสารฉลาดซื้อ
  • ฟ้องคดีศาลทุจริตเป็นครั้งแรก
  • ร่วมขับเคลื่อนกับเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ให้ยกเลิกสารเคมีอันตรายร้ายแรง 3 ชนิด
  • ผลักดันให้กระทรวงพาณิชย์กำหนดค่ายา เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ เป็นสินค้าและบริการควบคุม

(พ.ศ.2562)

  • ผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562
  • ชนะคดีแบบกลุ่ม คุ้มครองทุกคน กรณีเครื่องสำอางอันตราย(เพิร์ลลี่)
  • ผู้ให้บริการโทรคมนาคมยินยอมจ่ายเงินคืนผู้บริโภค กรณีปัดเศษค่าโทรศัพท์
  • ร่วมก่อตั้งกองทุนแสงอาทิตย์ ติดโซล่าเซลล์ให้โรงพยาบาล 7 แห่ง ประหยัดไฟได้แห่งละ 200,000 บาท/ปี
  • ชนะคดีอุบัติเหตุจากรถตู้โดยสาร เกิดบรรทัดฐานการกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษที่เป็นธรรมกับผู้บริโภค
  • ทำ MOU แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายออนไลน์ กับภาคธุรกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ร่วมมือกับผู้ประกอบการตลาดออนไลน์ในการจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายภายใน 24 ชั่วโมง

(พ.ศ.2563)

  • ศาลชั้นต้นรับพิจารณาเป็นคดีแบบกลุ่ม กรณีปัดเศษค่าโทรศัพท์ของบริษัทดีแทค
  • ทดสอบเจลแอลกอฮอล์ เพื่อให้ข้อมูลผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าช่วงโควิด-19
  • รับอาสาสมัคร ช่วยสนับสนุนการรับร้องเรียนของกรมควบคุมโรคในช่วงวิกฤติโควิด-19
  • ร่วมกับองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ เรียกร้องให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายยืนยันการแบนสารเคมีภาคการเกษตรทั้ง 3 ชนิดออกจากประเทศไทย หลังจากฉลาดซื้อพบสารพาราควอตในน้ำปู 33 % จาก 24 ตัวอย่างใน 6 จังหวัดภาคเหนือ
  • มีส่วนในการผลักดันการจัดตั้ง “สภาองค์กรของผู้บริโภค” (สอบ.) ที่เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2550 ที่ได้กำหนดให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่เป็นอิสระจากหน่วยงานรัฐ ประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานรัฐการตราและบังคับใช้กฎหมาย ให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำ หรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย

(พ.ศ.2564)

  • ทดสอบประสิทธิภาพเครื่องกรองน้ำ เพื่อให้ข้อมูลผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าช่วงโควิด-19
  • ร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค กรุงเทพฯ รณรงค์คัดค้านการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว
  • ร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค และเครือข่าย FTA Watch รณรงค์คัดค้านการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสาหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)
  • ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง กรณีคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า อนุญาตให้รวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ซี.พี.รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด กับบริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด

คณะกรรมการ

รายงานประจำปี

  • ผลการดำเนินงานมูลนิธิฯ ปี 2563
  • ผลการดำเนินงานมูลนิธิฯ ปี 2562
  • ผลการดำเนินงานมูลนิธิฯ ปี 2561
  • ผลการดำเนินงานมูลนิธิฯ ปี 2560
  • ผลการดำเนินงานมูลนิธิฯ ปี 2559
  • ผลการดำเนินงานมูลนิธิฯ ปี 2558

สนับสนุนมูลนิธิ

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ ลำดับที่ 576 ตามประกาศกระทรวงการคลัง ทุกยอดการบริจาคนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้

ท่านสามารถร่วมสนับสนุนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้สองวิธี

1. สมัครเป็นสมาชิกนิตยสารฉลาดซื้อ โดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับสินค้าและบริการผ่านการทดสอบเปรียบเทียบ ได้ด้วยการสมัครเป็นสมาชิกนิตยสารฉลาดซื้อ แบบเล่มและออนไลน์ เพียงปีละ 1,200 บาท

2. ร่วมบริจาค

  • สนับสนุนการฟ้องคดีให้แก่ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหาย รู้หรือไม่ว่าผู้เสียหายจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อน ไม่มีทุนทรัพย์พอในการฟ้องคดี จึงมาขอความช่วยเหลือจาก “ศูนย์พิทักษ์สิทธิและศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” ระหว่างปี 2548 ถึง 2564 มีผลการดำเนินคดีเพื่อคุ้มครองสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้บริโภค จำนวนทั้งสิ้น 642 คดี
  • สนับสนุนศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อให้ทดสอบสินค้าและบริการ แม้การทดสอบแต่ละครั้งจะต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก แต่ทางศูนย์ฯ ก็ไม่หยุดที่จะทดสอบสินค้าและบริการ เพื่อให้ผู้บริโภครู้ว่าสินค้าหรือบริการแบรนด์ไหนมีคุณภาพ และราคาไม่แพง คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป รวมไปถึงการทดสอบสินค้าที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างระบบการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ

ขั้นตอนการทดสอบสินค้า

  1. สุ่มเก็บตัวอย่าง : ซื้อผลิตภัณฑ์หลากหลายยี่ห้อจากร้านค้าทั่วไป
  2. บันทึกรายละเอียดบนฉลากของสินค้าทุกรายการ นำส่งห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน
  3. เผยแพร่ผลการทดสอบ โดยระบุยี่ห้อเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
  4. ส่งผลการทดสอบให้หน่วยงานที่กำกับดูแลตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ : ฉลาดซื้อไม่รับโฆษณาจากผู้ประกอบการ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด