อบรม เพาะ เลี้ยง เนื้อเยื่อ 2564 ชลบุรี

อยากได้ พืชต้นพันธุ์ดีๆ  เมล็ดพันธุ์ดีๆ ไว้ใจได้ ไม่มีหลอก…จะไปดูไปซื้อที่ไหนดี..

วันนี้กรมส่งเสริมการเกษตร มีคำตอบ…

เพราะ ศูนย์ขยายพันธุ์พืช ซึ่งอยู่ภายใต้กำกับดูแลของกองขยายพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร ที่มีนายวิชัย  ตู้แก้ว เป็นผู้อำนวยการ มีให้ครบ ตั้งแต่ เมล็ดพันธุ์ ต้นพันธุ์  ท่อนพันธุ์ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ทั้งหมดนี้เพื่อเกษตรกรจะได้หลุดพ้นจากปัญหาไม่สามารถเข้าถึง และพืชพันธุ์ดีมีราคาแพง

แล้ว 10 ศูนย์ขยายพันธุ์พืช มีที่ไหนบ้าง..

ไปติดตามกันเลย…

หนึ่ง ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 1 จังหวัดชลบุรี ที่ตั้ง เลขที่ 229 หมู่ 4 บ้านอ่างแก้ว ตำบลหนองใหญ่ อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี โทร.0-3304-8201 พื้นที่รับผิดชอบ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว

…เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกร ในพื้นที่รับผิดชอบ แบ่งการผลิตพันธุ์พืชออกเป็น 4 สายการผลิต ดังนี้

  1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ผลิตต้นพันธุ์พืชที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แก่ กล้วยน้ำว้า เช่น กล้วยพันธุ์ปากช่อง 50 กล้วยไม้ และพันธุ์ไม้น้ำ
  2. ต้นพันธุ์ ผลิตต้นพันธุ์พืชพันธุ์ดีที่ปลอดจากโรคและแมลงศัตรูพืช ได้แก่ กล้วยไม้สกุลม็อคคาร่า  และสกุลแอนนีแบล็ค มะนาวพันธุ์แป้นพิจิตร แป้นสุขประเสริฐ แป้นรำไพ แป้นแม่ลูกดก และพันธุ์ทูลเกล้า ฝรั่ง สายพันธุ์ประจำถิ่น คือ พันธุ์หนองข้างคอก อีกทั้งมีขนุน พันธุ์ทองประเสริฐ ชมพู่ และมะม่วง
  3. ท่อนพันธุ์ ได้แก่ อ้อยคั้นน้ำพันธุ์สุพรรณบุรี 50 และมันสำปะหลัง พันธุ์ห้วยบง 90และพันธุ์ระยอง11
  4. เมล็ดพันธุ์ ผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอพันธุ์แขกดำ พริกขี้หนูสวนพันธุ์แปลงยาว และถั่วหรั่ง พันธุ์สงขลา

แต่ที่อยากโชว์ความเด่นของศูนย์ขยายพันธุ์ที่ 1 จังหวัดชลบุรี ต้องนี่เลย …

  • กล้วยไม้ตัดดอก สกุลม็อคคาร่า กล้วยไม้ประเภทแวนด้า (Monopodial) ปัจจุบันมีหลายสี เช่น เหลือง แดง เหลืองจุด ส้มจุด เป็นต้น โดยเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ตัดดอก มีจุดเด่นทั้งในด้านดอกและการเจริญเติบโต คือ เป็นต้นที่ปลูกเลี้ยงง่าย ต้านทานโรค เจริญเติบโตเร็ว รูปทรง ต้นแข็งแรง ให้ดอกดก ดอกขนาดใหญ่ สีสด กลีบดอกหนา รูปทรงดอกสมบูรณ์ ก้านช่อแข็งแรง ก้านยาวตรง ดอกเรียงบนช่อได้ระเบียบสวยงามและบานได้ทน จะออกดอกได้ดีในหน้าแล้ง หรือเมื่อหมดฝนเข้าหนาวดอกจะดกได้ผลผลิตในปริมาณสูง ถ้าเริ่มเข้าหน้าฝนปริมาณดอกก็จะลดลง สาเหตุที่กล้วยไม้สกุลม็อคคาร่าเป็นพืชเด่น เพราะสามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกรและตลาดของจังหวัดชลบุรีได้เป็นอย่างดี เนื่องจากพื้นที่จังหวัดชลบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีการจัดประชุม สัมมนา และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก ซึ่งได้เปรียบในเรื่องการขนส่ง พร้อมทั้งมีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ตัดดอกเพื่อการค้าทั้งขายในประเทศและต่างประเทศ
  • ไม้ตัดใบที่ตลาดต้องการ เช่น หมากผู้หมากเมีย หมากเหลือง ซานาดู ฟิลโลเลนดอล เป็นต้น
    สอง ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดตรัง
    ที่ตั้งเลขที่ 2 หมู่ 11 ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง โทร. 0-7558-2312 พื้นที่รับผิดชอบ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง คือ ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา นราธิวาส ยะลา ปัตตานี

 ..เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกร ในพื้นที่รับผิดชอบ แบ่งการผลิตพันธุ์พืชออกเป็น 4 สายการผลิต ดังนี้

1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  ซึ่งเป็นการผลิตต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แก่ กล้วยพันธุ์ต่างๆ และกล้วยไม้ป่าเชิงอนุรักษ์ชนิดต่างๆกว่า 28 ชนิด

2. ต้นพันธุ์ เป็นการผลิตต้นพันธุ์พืชที่มีคุณภาพปราศจากโรคและแมลงศัตรูพืช ได้แก่ ต้นพริกขี้หนูพันธุ์เดือยไก่ พริกไทย มะพร้าว สะตอ ส้มโอ ขนุน จำปาดะ มะละกอและมะนาว

3. ท่อนพันธุ์ ได้แก่ มีการผลิตท่อนพันธุ์พืชที่มีศักยภาพและตรงความต้องการของเกษตรกร คืออ้อยคั้นน้ำพันธุ์สิงคโปร์ และ ต้นพริกขี้หนูพันธุ์

4. เมล็ดพันธุ์ ได้แก่ พริกขี้หนูพันธุ์พื้นเมืองพันธุ์เดือยไก่ และถั่วหรั่งพันธุ์สงขลา1

แต่ที่อยากโชว์ความเด่นของศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดตรัง ต้องนี่เลย …

– กล้วยหินปลอดโรค ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดตรัง ได้มีการดำเนินการผลิตกล้วยหินปลอดโรคเพื่อสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่ โดยเริ่มกระบวนการตั้งแต่การจัดทำแปลงแม่พันธุ์กล้วยหิน การผลิตต้นพันธุ์กล้วยหินปลอดเชื้อโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่

– พริกไทย ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 ตรัง ผลิตและขยายพันธุ์พริกไทยพันธุ์ปะเหลียนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูกพริกไทยเพื่อการค้า เนื่องจากพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนเป็นพริกไทยที่เป็นที่ยอมรับของหมอสมุนไพรแผนโบราณโดยทั่วไปว่ามีรสชาติที่เข้มข้นเหมาะที่จะนำไปใช้ประโยชนางยาสมุนไพรแผนโบราณ และเป็นการอนุรักษ์สายพันธุ์พริกไทยพันธุ์ปะเหลียนอีกทางหนึ่งด้วย

สาม ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 3 จังหวัดนครราชสีมา ที่ตั้ง เลขที่ 85 ถนนเกษตร (ถนนสาย 2067 อำเภอโนนสูง – อำเภอขามสะแกแสง) ตำบลโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา โทร. 0-4437-9617 มีพื้นที่รับผิดชอบ 7 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร

…เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกร ในพื้นที่รับผิดชอบ แบ่งการผลิตพันธุ์พืชออกเป็น 4 สายการผลิต ดังนี้

  1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แก่ เบญจมาศ กล้วย ปทุมมา และสตอร์วเบอร์รี่
  2. ต้นพันธุ์ เช่น มะขามเทศ และพืชผักสวนครัว
  3. ท่อนพันธุ์ ได้แก่ อ้อยคั้นน้ำ อ้อยโรงงาน และมันสำปะหลัง
  4. เมล็ดพันธุ์ ได้แก่ พริกช่อมข. และถั่วพูม่วง

แต่ที่อยากโชว์ความเด่นของศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดตรัง ต้องนี่เลย …

  • มะขามเทศพันธุ์เพชรโนนไทย โดยได้มีการดำเนินการจัดทำแปลงแม่พันธุ์ไว้ผลิตขยายให้แก่เกษตรกรผู้สนใจ รวมถึงมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตตั้งแต่กระบวนการเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว ตลอดจนการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของมะขามเทศด้วย เช่น การทำคุกกี้มะขามเทศ การทำขนมกระหรี่พัฟ ฯ
  • เบญจมาศ เป็นอีกพืชอีกชนิดหนึ่งที่ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 3 จังหวัดนครราชสีมา มีความชำนาญและมีศักยภาพด้านการผลิตและการขยายพันธุ์โดยวิธีการการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อผลิตและขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยทางศูนย์ฯ มีพ่อแม่พันธุ์เบญจมาศมากกว่า 40 สายพันธุ์ และมีห้องปฏิบัติเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ได้คุณภาพและมาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับทั้งภาครัฐและเอกชน รสมถึงการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ การดูแลรักษาและการจัดการแปลง การเก็บเกี่ยว ตลอดจนการวางแผนการตลาด เป็นของแถมให้ ฟรี..

สี่  ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 4 จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ตั้ง เลขที่ 58 หมู่ที่ 5 ตำบลนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช โทร.08-1077-0282, 06-2243-9983 มีพื้นที่รับผิดชอบ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร กระบี่ พังงา ระนอง ภูเก็ต

..เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ แบ่งการผลิตพันธุ์พืชออกเป็น 4 สายการผลิต ดังนี้

  1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แก่ กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ กล้วยหิน กล้วยเล็บมือนาง และกล้วยน้ำว้า
  2. ต้นพันธุ์ ได้แก่ ไผ่ตงพันธุ์หม่าจูและลืมแล้ง ไผ่ใช้สอยพันธุ์ซางหม่น ทุเรียนหมอนทอง และส้มโอทับทิมสยาม
  3. ท่อนพันธุ์ ได้แก่ อ้อยคั้นน้ำ สุพรรณบุรี 50
  4. เมล็ดพันธุ์ ได้แก่ ถั่วหรั่งพันธุ์สงขลา 1

   แต่ที่อยากโชว์ความเด่นของศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 4 จังหวัดนครศรีธรรมราช ต้องนี่เลย …

  • ส้มโอทับทิมสยาม เป็นพืชเด่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสายพันธุ์ส้มโอ ที่มีเอกลักษณ์พิเศษ ปลูกได้ดี ในเขตพื้นที่อาเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีลักษณะประจำพันธุ์ที่โดดเด่น คือเนื้อผลมีสีชมพูเข้มจนถึง แดง เหมือนสีทับทิม ผิวผลส้มโอมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมคล้ายกามะหยี่ รสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ

ห้า ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ตั้ง เลขที่ 83 หมู่ที่ 3 บ้านตาเก็ม ตำบลเมืองยาง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ โทร.0-4466-6422 มีพื้นที่รับผิดชอบ 6 จังหวัด ภาคอีสานตอนล่าง ได้แก่ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี

  …เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ แบ่งการผลิตพันธุ์พืชออกเป็น 4 สายการผลิต ดังนี้

  1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ผลิตต้นพันธุ์พืชทีได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แก่ กล้วยน้ำว้า
  2. ต้นพันธุ์ ผลิตต้นพันธุ์พืชพันธุ์ดีที่ปลอดจากโรคและแมลงศัตรูพืช ได้แก่ มะม่วง มะนาว กลว้ยน้ำว้า ไผ่ชนิดต่างๆ
  3. ท่อนพันธุ์ ผลิตท่อนพันธุ์พืชไร่ ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง
  4. เมล็ดพันธุ์ ผลิตเมล็ดพันธุ์ พริกขี้หนูเครือ

แต่ที่อยากโชว์ความเด่นของศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์  ต้องนี่เลย …

  • กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นพืชเด่นของศูนย์ฯ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่
  • ไผ่หม่าจู ด้วยภาคอีสานตอนล่างมีพื้นที่แห้งแล้ง ไผ่จึงเหมาะสมที่จะเป็นพืชสร้างรายได้พื้นที่ เนื่องจากเป็นพืชที่ทนแล้ง ใช้น้ำน้อย และสามารถดึงความชื้นจากอากาศความชุ่มชื้นในพื้นที่ได้ ไผ่ชนิดนี้ นอกจากนำลำมาใช้ประโยชน์นานาประการแล้ว หน่อยังมีรสชาติที่ดี ประหยัดพลังงานในการแปรรูปด้วยการต้มเพียงน้ำเดียวก็จะสามารถบริโภคได้ อีกทั้งมีกรดยูริคในปริมาณที่ต่ำมาก และยังมีวิธีการขยายพันธุ์อย่างง่าย ด้วยการตอนไผ่

หก  ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลก ที่ตั้ง เลขที่ 99/1 หมู่ 5 บ้านบางทราย ตำบลงิ้วงาม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โทร.055-906220 มีพื้นที่รับผิดชอบ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ตาก

…เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกร ในพื้นที่รับผิดชอบ แบ่งการผลิตพันธุ์พืชออกเป็น 4 สายการผลิต ดังนี้

  1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ผลิตต้นพันธุ์พืชที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แก่ กล้วย อ้อย และ หน่อไม้ฝรั่ง
  2. ต้นพันธุ์ ผลิตต้นพันธุ์พืชพันธุ์ดีที่ปลอดจากโรคและแมลงศัตรูพืช ได้แก่ มะม่วง ทุเรียน ส้มโอ หม่อน ฝรั่ง เงาะ ลองกอง มะนาว ไผ่ และอ้อย
  3. ท่อนพันธุ์ ผลิตท่อนพันธุ์พืชไร่ ได้แก่ อ้อย และมันสำปะหลัง
  4. เมล็ดพันธุ์ ผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอ ผักบุ้งจีน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วต่าง ๆ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และถั่วลิสง

แต่ที่อยากโชว์ความเด่นของศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 6 จังหวัดพิษณุโลก  ต้องนี่เลย …

  • กล้วยน้าว้ามะลิอ่องจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นพืชเด่นของศูนย์ฯ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกได้เป็นอย่างดี โดยศูนย์ฯ ได้รับงบพัฒนาจังหวัดพิษณุโลกถึงสามปีซ้อน เริ่มตั้งแต่ปี 2560-2562 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีแหล่งพันธุ์กล้วยน้ำว้าปลอดโรค เพิ่มปริมาณวัตถุดิบกล้วยสดไว้รองรับความต้องการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กล้วยตากและกล้วยแปรรูปชนิดต่าง ๆ  เช่น การทาแป้งกล้วย , ขนมจากแป้งกล้วย เป็นต้น

เจ็ด ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 7 จังหวัดมหาสารคาม ที่ตั้ง เลขที่ 75 หมู่ที่ 8 ตำบลเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม โทร.0-4398-8142 มีพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัด ได้แก่กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม มุกดาหาร และจังหวัดร้อยเอ็ด

…เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกร ในพื้นที่รับผิดชอบ แบ่งการผลิตพันธุ์พืชออกเป็น 4 สายการผลิต ดังนี้

  1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ผลิตต้นพันธุ์พืชที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แก่ กล้วย หน่อไม้ฝรั่ง ปทุมมา
  2. ต้นพันธุ์ ผลิตต้นพันธุ์พืชพันธุ์ดีที่ปลอดจากโรคและแมลงศัตรูพืช ได้แก่ มะนาว
  3. ท่อนพันธุ์ ผลิตท่อนพันธุ์พืชไร่ ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง
  4. เมล็ดพันธุ์ ผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอพันธุ์ครั่ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง มันแกว

แต่ที่อยากโชว์ความเด่นของศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 7 จังหวัดมหาสารคาม ต้องนี่เลย

  • มะละกอพันธุ์ครั่ง เป็นพันธุ์ที่ศูนย์ฯ ได้รับรองพันธุ์ในปี 2549 เนื้อผลดิบมีสีขาวขุ่นกรอบมาก มีรสหวานเล็กน้อยเป็นเอกลักษณ์เหมาะสมสำหรับตำส้มตำ เป็นมะละกอพันธุ์เบา ติดผลเร็วและยังมีความทนทานต่อโรคแมลง สามารถปลูกทุกสภาพดินและปลูกได้ตลอดทุกฤดูกาล ทำให้เป็นที่ต้องการของเกษตรกรในพื้นที่

แปด ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 8 จังหวัดลำพูน ที่ตั้ง เลขที่ 101 หมู่ 2 ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โทร . 0-5309-6215 มีพื้นที่รับผิดชอบ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ และน่าน

..เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกร ในพื้นที่รับผิดชอบ แบ่งการผลิตพันธุ์พืชออกเป็น 4 สายการผลิต ดังนี้

  1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ผลิตต้นพันธุ์พืชที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือ สตรอว์เบอร์รี่ พันธุ์พระราชทาน 80
  2. ต้นพันธุ์ ผลิตต้นพันธ์พืชพันธุ์ดีที่ปลอดจากโรคและแมลงศัตรูพืช ได้แก่ สตรอว์เบอร์รี่ (ต้นไหล) จิงจูฉ่าย และตะไคร้หยวก
  3. ท่อนพันธุ์ ผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง คือ ห้วยบง 80 ระยอง 5 และระยอง 72
  4. เมล็ดพันธุ์ ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้าน ได้แก่ มะระ บวบ น้ำเต้า พริกขี้หนู และมะเขือเทศราชินี เป็นต้น

แต่ที่อยากโชว์ความเด่นของศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 8 จังหวัดลำพูน ต้องนี่เลย …

  • สตรอว์เบอร์รี่ เนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งมีการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ ทำให้มีความต้องการต้นพันธุ์สตรอว์เบอร์รีที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และที่สำคัญคือปลอดจากโรคและแมลงศัตรูพืช จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการที่ศูนย์ฯ เข้ามาดำเนินการสนับสนุนและวางแผนการผลิตให้สอดรับกับความต้องการของเกษตรกร โดยใช้วิธีการผลิตต้นพันธุ์สตรอว์เบอร์รีด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งจะได้ต้นพันธุ์ที่ปลอดโรคและสามารถผลิตได้จานวนมาก เนื่องจากทางศูนย์ฯ มีความพร้อมของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ และบุคลากรในการผลิต โดยมีเป้าหมายผลิตต้นพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่ปลอดโรค พันธุ์พระราชทาน 80 จากห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จานวน 200,000 ต้น/ปี จำหน่ายให้แก่กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่สตรอว์เบอร์รี่อาเภอสะเมิง และเกษตรกรเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอาเภอสะเมิง (ศพก.) และเกษตรกรทั่วไป ในพื้นที่รับผิดชอบ ด้วยทุกคนต่างจะรู้กันดีว่า “สตรอว์เบอร์รี่พันธุ์ดี ต้องที่ศูนย์ขยายพันธุ์พชที่ 8 จังหวัดลำพูน”
    เก้า ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 9 จังหวัดสุพรรณบุรี
    ที่ตั้ง เลขที่ 1 หมู่ 12 ต.พลับพลาไชย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี โทร. 035-440360 มีพื้นที่รับผิดชอบในเขตภาคกลางและภาคตะวันตกจานวน 13 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี พระนครศรีอยุธยา ประจวบคีรีขันธ์       สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรีและอุทัยธานี

…เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ แบ่งการผลิตพันธุ์พืชออกเป็น 4 สายการผลิต ดังนี้

  1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย สับปะรด MD-2 และสตรอเบอร์รี่
  2. ต้นพันธุ์ มะนาวแป้นพวง
  3. ท่อนพันธุ์ อ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50 และมันสำปะหลัง
  4. เมล็ดพันธุ์ พริกหอมสุพรรณ พริกมันบางช้าง

แต่ที่อยากโชว์ความเด่นของศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 9 จังหวัดสุพรรณบุรี  ต้องนี่เลย …

  • หน่อไม้ฝรั่งสายพันธุ์บร็อคอิมพรู๊ฟ ซึ่งศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 9 จังหวัดสุพรรณบุรี มีความชำนาญและมีศักยภาพด้านการผลิต และการขยายพันธุ์โดยวิธีการการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่งสายพันธุ์บร็อคอิมพรู๊ฟเป็นอย่างมาก โดยต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเมื่อปลูกลงแปลงจะให้ต้นที่มีความสม่าเสมอ มีความต้านทานโรคและแมลง ปริมาณผลผลิตที่ได้จะให้หน่อที่ได้มาตรฐาน ผลผลิตร้อยละ 80 ได้คุณภาพเกรดสูง(A) และร้อยละ 20 ส่งไปจาหน่ายยังต่างประเทศ
  • นอกจากนี้ ยังมีพืชอัตลักษณ์ของศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 9 จังหวัดสุพรรณบุรีอีก ได้แก่ อ้อยคั้นน้าสุพรรณบุรี 50 หน่อไม้ฝรั่ง พริกหอมสุพรรณ และมะนาวแป้นพวง

สิบ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 10 จังหวัดอุดรธานี ที่ตั้ง 165 หมู่ 4 ตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี โทร. 0-4218-0845 ในพื้นที่รับผิดชอบ 7 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้แก่หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม

…เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ แบ่งการผลิตพันธุ์พืชออกเป็น 4 สายการผลิต ดังนี้

  1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พืชในสายการผลิตนี้ ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง กล้วย หน่อไม้ฝรั่ง สัปปะรด
  2. ท่อนพันธุ์ พืชในสายการผลิตนี้  ได้แก่  อ้อย และมันสำปะหลัง
  3. ต้นพันธุ์ พืชในสายการผลิตนี้ ได้แก่ มะยงชิด ลิ้นจี่ น้อยหน่า ส้มโอ ชมพู่ ฝรั่ง มะขามเปรี้ยวฝักใหญ่ ขนุน มะม่วง และพืชผัก
  4. เมล็ดพันธุ์ พืชในสายการผลิตนี้ ได้แก่  ถั่วลิสง  ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

แต่ที่อยากโชว์ความเด่นของศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 10 จังหวัดอุดรธานี ต้องนี่เลย …

  • อ้อยปลอดโรคใบขาว ด้วยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 10 จังหวัดอุดรธานี ได้นำเอาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช มาใช้ในการผลิตขยายพันธุ์ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพันธุ์อ้อยคุณภาพดี และช่วยลดการระบาดของโรคใบขาวอ้อย

ทั้งหมดนี้คือ10 ศูนย์ขยายพันธุ์พืช แหล่งช้อป  “พืชพันธ์ดี” ที่กรมส่งเสริมการเกษตร จัดให้ทั่วประเทศแล้วในวันนี้…

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด