โรงไฟฟ้าทิพย์พิจิตร สมัครงาน

กลุ่มมิตรผล เป็นกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล และธุรกิจต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลมายาวนานกว่า 60 ปี ด้วยความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของกลุ่มผู้บริหาร พร้อมทั้งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญโดยการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการจัดการอย่างบูรณาการ ทำให้กลุ่มมิตรผลในวันนี้เป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 6 ของโลก และอันดับ 1 ในเอเชีย ด้วยจำนวนโรงงานน้ำตาล 16 แห่ง โรงไฟฟ้าชีวมวล 11 แห่ง และโรงงานผลิตเอทานอล 4 แห่ง พร้อมเกษตรกรชาวไร่อ้อยในความดูแลจำนวนกว่า 143,000 รายในประเทศไทย ลาว จีน ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย นอกจากนี้ กลุ่มมิตรผลยังเป็นผู้ผลิตพลังงานชีวมวลรายใหญ่ในเอเชีย และยังดำเนินงานในธุรกิจวัสดุทดแทนไม้ ธุรกิจปุ๋ย และธุรกิจลอจีสติกส์ในอุตสาหกรรมเกษตร

สถานที่ปฏิบัติงาน: ทั้งหมด

58 ตำแหน่ง

ติดต่อ

บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด

เลขที่ 2 อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 3 ถ.สุขุมวิท2

แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

วิธีการเดินทาง

BTS เพลินจิต Video แนะนำบริษัท //www.youtube.com/watch?v=VsXAZi6CJo4&t=5s

จังหวัดสุโขทัย เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย และเป็นจังหวัดหนึ่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบด้วยป่าไม้มีค่า มีพื้นที่ดินที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก โดยมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยประมาณ 70% ของพื้นที่ นับเป็นหนึ่งในจังหวัดที่สำคัญของประเทศไทย ในการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาล ที่สร้างรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศไทย เป็นอันดับ 2 ของโลก

การผลิตน้ำตาลดังกล่าว จะทำให้เกิดเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร คือ ชานอ้อย ที่สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองภายในโรงงานน้ำตาล และไฟฟ้าส่วนที่เหลือก็ส่งขายไฟฟ้าให้กับภาครัฐได้ ตามนโยบายสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากเชื้อเพลิงชีวมวล

โรงไฟฟ้าชีวมวลทิพย์สุโขทัย ความสำเร็จที่เริ่มมาจากโรงงานน้ำตาล

บริษัท ทิพย์สุโขทัย ไบโอเอนเนอยี่ จำกัด เล็งเห็นผลประโยชน์จากการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานน้ำตาลของ บริษัท น้ำตาลทิพสุโขทัย จึงดำเนินการจัดตั้ง โรงไฟฟ้าชีวมวลทิพย์สุโขทัย ไบโอเอนเนอยี่ ขึ้นที่ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เมื่อช่วงเดือนเมษายน 2551 เพื่อดำเนินการผลิตไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล มีกำลังการผลิตติดตั้งขนาด 36 เมกะวัตต์ เป็นการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตไฟฟ้า ในรูปแบบโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP FIRM) ที่ได้รับใบอนุญาตซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA) เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554

ความสำเร็จของโรงไฟฟ้าแห่งนี้ เริ่มมาจากโรงงานน้ำตาลทิพย์สุโขทัย มีชานอ้อยที่เหลือจากกระบวนการผลิตน้ำตาลเป็นปริมาณมาก จึงได้ออกแบบจัดตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวล ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 36 เมกะวัตต์ ภายในบริเวณโรงงานน้ำตาล โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำชานอ้อย ที่เหลือจากกระบวนการหีบสกัดน้ำอ้อย ของโรงงานน้ำตาลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำมาเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงานน้ำตาล และจำหน่ายให้กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ปริมาณ 8 เมกะวัตต์ ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ให้แก่โรงงานและระบบไฟฟ้าในจังหวัดสุโขทัย

การดำเนินงานของ โรงไฟฟ้าชีวมวลทิพย์สุโขทัย จะมีการทำสัญญาซื้อเชื้อเพลิงชานอ้อย จากโรงงานน้ำตาลทิพย์สุโขทัย เพื่อให้เกิดความมั่นคง ในการจัดหาเชื้อเพลิงสำหรับหม้อไอน้ำ ขนาด 150 ตันต่อชั่วโมง จำนวน 3 ชุด ใช้ในการผลิตไอน้ำ โดยไอน้ำแรงดันต่ำจะจำหน่ายให้โรงงานน้ำตาลทั้งหมด เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาล

ส่วนไอน้ำแรงดันสูงจะจำหน่ายให้โรงงานน้ำตาล เพื่อใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรในการหีบอ้อยเพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะถูกส่งไปยังกังหันไอน้ำ (Steam Turbine) ที่เชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 18 เมกะวัตต์ จำนวน 2 ชุด เพื่อผลิตไฟฟ้า ซึ่งการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า จะแบ่งเป็น 4 ช่วง สอดคล้องกับฤดูกาลผลิตของโรงงานน้ำตาล ได้แก่

1. เดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงที่โรงงานน้ำตาลหยุดการผลิตหรือนอกฤดูหีบ (Off Season) โรงไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพียงอย่างเดียว

2. เดือนธันวาคม-เดือนมีนาคม เป็นช่วงฤดูหีบอ้อย (Crushing Season) ซึ่งโรงงานน้ำตาลต้องใช้พลังงานค่อนข้างมาก โรงไฟฟ้าจะผลิตไอน้ำแรงดันสูงและไฟฟ้า จำหน่ายให้โรงงานน้ำตาล และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยมีกำลังการผลิตสุทธิ 27 เมกะวัตต์ จำหน่ายให้แก่โรงงานน้ำตาล 15 เมกะวัตต์ จำหน่ายให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 8 เมกะวัตต์ และนำมาใช้เองภายในโรงไฟฟ้า 4 เมกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 42% 22% และ 16% ตามลำดับ

3. เดือนเมษายน-เดือนสิงหาคม เป็นช่วงฤดูละลายน้ำตาล (Remelt Season) ซึ่งโรงงานน้ำตาลใช้พลังงานไม่มากนัก โรงไฟฟ้าจะผลิตไอน้ำแรงดันต่ำและไฟฟ้า จำหน่ายให้โรงงานน้ำตาล และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.).

4. เดือนกันยายน เป็นช่วงการหยุดเพื่อซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงไฟฟ้า (Plant Shut down) โรงไฟฟ้าจะหยุดการผลิตไฟฟ้า และรับซื้อไฟฟ้าจาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เข้ามาใช้ภายในโรงไฟฟ้าแทน

การบริหารจัดการเชื้อเพลิงดังกล่าว ทำให้มีปริมาณชานอ้อยเพียงพอผลิตกระแสไฟฟ้าตลอดทั้งปี ภายใต้เป้าหมายการผลิตไฟฟ้า 11 เดือน และหยุดซ่อมบำรุงเครื่องจักร 1 เดือน

ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าชีวมวลทิพย์สุโขทัย สามารถผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ประมาณ 61.4 เมกะวัตต์ชั่วโมง (MWh) ต่อปี และผลิตไอน้ำจำหน่ายให้ โรงงานน้ำตาลทิพย์สุโขทัย 818,919 ตันต่อปี เทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวม 222,688 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

โดยโรงไฟฟ้าใช้เงินลงทุนประมาณ 1,663 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินหมุนเวียน) และมีอัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ระดับ 17.4% ระยะเวลาคืนทุน 5 ปี มีต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ย 46 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ สร้างรายได้จากการขายไอน้ำและไฟฟ้า ประมาณ 516 ล้านบาทต่อปี

สำหรับการดูแลชุมชนรอบโรงไฟฟ้า มีการจัดตั้ง กองทุนพัฒนาไฟฟ้า บริษัท ทิพย์สุโขทัย ไบโอเอนเนอยี่ จำกัด ซึ่งเป็นกองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนาดเล็ก โดยเริ่มส่งเงินตั้งแต่ปี 2559 ภายใต้การดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)

จากปี 2559-2563 นำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้ารวม 3.03 ล้านบาท มีการดำเนินโครงการในชุมชนรวม 10 โครงการ

การมีโรงไฟฟ้าในพื้นที่ยังส่งผลดีทั้งในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมในระดับชุมชนและประเทศ เนื่องจากมีการจัดซื้อวัตถุดิบ คือ อ้อยจากเกษตรกร ทำให้เกิดการจ้างงานในโรงงาน และโรงไฟฟ้า อีกทั้งการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า มีการจัดหาและการใช้งานเทคโนโลยี ผ่านการคัดเลือกเทคโนโลยีที่ดีที่สุด ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยและไม่ยุ่งยาก สามารถนำไปประยุกต์ดำเนินการให้กับโรงงานในทุกพื้นที่ ที่มีวัตถุดิบเชื้อเพลิงชีวมวลเพียงพอ โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียด และกำลังการผลิตให้มีความเหมาะสม

ส่งผลให้โรงไฟฟ้าแห่งนี้ ได้รับการการันตีคุณภาพด้วยการคว้ารางวัลดีเด่น ด้านพลังงานทดแทน Thailand Energy Awards 2015 และรางวัลชนะเลิศ ASEAN Energy Awards 2015 ประเภทโครงการพลังงานความร้อนร่วมจากพลังงานหมุนเวียน (Co-Generation) เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2558 กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเชีย ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่หน่วยงานอื่น ๆ ในการร่วมกันสร้างสรรค์พัฒนาพลังงานของประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าทิพย์สุโขทัย ไบโอเอนเนอยี่ ยังเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้สำหรับชุมชน นักเรียน และนักศึกษา ที่ต้องการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวมวล ซึ่งในแต่ละปีจะติดต่อเข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง นับเป็นโรงไฟฟ้าต้นแบบที่สำคัญในจังหวัดสุโขทัย ที่ประสบความสำเร็จจากการตั้งใจออกแบบโรงไฟฟ้า เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ที่เป็นส่วนสำคัญในการช่วยประเทศประหยัดการนำเข้าเชื้อเพลิง มาผลิตไฟฟ้าที่นับว่ามีมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี

Source : The Bangkok Insight

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด