เวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ครบ 1 ลูกคลื่น

��ǹ��Сͺ�ͧ����

            ����;Ԩ�ó��ѡɳТͤ��蹹�� ���ͤ��蹺������͡���ҧ������ͧ ����Դ�ҡ���觡��Դ������ҧ�������� � ���������˹�� ���˹觵�ҧ� �ͧ��ǡ�ҧ ( ��ǹ�� ���������͡  ) �¨Т�Ѻ���

�л�Сͺ����

1.      �ѹ���������ʹ���� ( Crest )  ��� ���˹觷���ա�á�ШѴ�ǡ�ҡ����ش �˹���дѺ����

2.      ��ͧ���� (  Trough ) ��� ���˹觷���ա�á�ШѴź�ҡ����ش��ӡ����дѺ����

3.      �����Ԩٴ  (  Ampiltudw  ; A )  ��� ��á�ШѴ�٧�ش�ͧ���蹨ҡ�дѺ�������ͤ����٧�ͧ�ѹ�������ͤ����٧�ͧ��ͧ���蹨ҡ�дѺ���������Ԩٴ�Ҩ���¡��� ��ǧ���ҧ�ͧ����

4.      ������Ǥ���  (  Wavelength ; l  ) ��� ������Ǣͧ����  1  �ء����������������ҧ�ҡ�ѹ���蹶֧�ѹ���蹷��Դ�ѹ ���� ������ҧ�ҡ��ͧ���蹶֧��ͧ���蹷��Դ�ѹ

5.      �Һ  ( period ;  T )  ��� ���ҷ��ش�� ����ǡ�ҧ��蹤ú  1 �ͺ���������ҷ���Դ��� 1 �١ �������ҷ����������  1  �١����  �Һ��˹������Թҷյ���١ ���� �Թҷ� (s )

6.      �������  (  frequency;  f )  ��� �ӹǹ�١���蹷���Դ����  1  ˹������� ���ͨӹǹ�١���蹷������͹����ҹ�ش����������  1  ˹��� ��Ф������ͧ���蹨��դ����ҡѺ�������ͧ�����蹢ͧ���觡��Դ  �����觡��Դ��蹤ú  1  �ͺ���Դ����  1  �ء  ���������˹������١���蹵���Թҷ�  �ͺ����Թҷ� ����   Hertz ( HZ)

 

คลื่นกล

คลื่น (Wave) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการรบกวนแหล่งกำเนิด หรือตัวกลาง การสั่นสะเทือนทำให้มีการแผ่หรือถ่ายโอนพลังงานจากการสั่นสะเทือนไปยังจุดอื่นๆ โดยที่ตัวกลางนั้นไม่มีการเคลื่อนที่ไปกับคลื่น เช่น การวางเศษไม้ หรือวัสดุที่ลอยน้ำได้ลงบนผิวน้ำ แล้วโยนก้อนหิน หรือตีน้ำทำให้เกิดคลื่น จะสังเกตเห็นเศษไม้ หรือวัสดุจะกระเพื่อมขึ้นลงอยู่กับที่ แต่จะไม่เคลื่อนที่ไปพร้อมกับคลื่น แสดงให้เห็นว่า การเกิดคลื่นเป็นการถ่ายโอนพลังงานโดยผ่านโมเลกุลของน้ำ ซึ่งโมเลกุลของน้ำ (ตัวกลาง) จะไม่เคลื่อนที่ไปกับคลื่น


รูปที่ 1 แสดงลักษณะการเกิดคลื่นกลของคลื่นผิวน้ำ

การจัดจำแนกคลื่นสามารถจัดแบ่งได้หลายหลายขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการพิจารณา

  • การจำแนกคลื่นตามความจำเป็นของการใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่สามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

1.   คลื่นกล จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่

2. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่

        ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะคลื่นกล สำหรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะได้ศึกษาในระดับสูงขึ้น

คลื่นกล เป็นคลื่นที่เกิดจากสั่นสะเทือนของแหล่งกำเนิด และมีการถ่ายโอนพลังงานผ่านตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น คลื่นบนเส้นเชือก คลื่นผิวน้ำ คลื่นเสียงฯ

  • การจำแนกคลื่นโดยพิจารณาทิศทางที่คลื่นเคลื่อนที่กับทิศการสั่นของอนุกภาคของตัวกลาง แบ่งคลื่นออกได้เป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ

1. คลื่นตามขวาง เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางสั่นในแนวตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นบนเส้นเชือก คลื่นผิวน้ำ คลื่นมหาสมุทร คลื่นสึนามิ เป็นต้น

รูปที่ 2 แสดงทิศการเคลื่อนที่ของอนุภาคและการเคลื่่อนที่ของคลื่น


รูปที่ 3 แสดงการเคลื่อนที่ของอนุภาคของตัวกลางของเคลื่นตามขวาง

2. คลื่นตามยาว เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางสั่นในแนวเดียวกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นที่เกิดการอัดปลายลวดสปริง คลื่นเสียง ฯ


รูปที่ 4 แสดงทิศการเคลื่อนที่ของอนุภาคและการเคลื่อนที่ของคลื่น


รูปที่ 5 แสดงทิศการเคลื่อนที่ของอนุภาคตัวกลางของคลื่นตามยาว

ส่วนประกอบของคลื่น

            เมื่อพิจารณาลักษณะของคลื่นผิวน้ำหรือคลื่นบนเส้นเชือกอย่างต่อเนื่องที่เกิดจากแหล่งกำเนิดสั่นอย่างสม่ำเสมอ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งตำแหน่งต่างๆ ของตัวกลาง (ผิวน้ำหรือเส้นเชือก) จะขยับขึ้นลงจากปกติ หรือเรียกว่าแนวสมดุลเดิมถึงตำแหน่งนั้น เรียกว่า การกระจัด (Displacement) (การกระจัด ณ ตำแหน่งใดๆ บนคลื่นหาได้จากความยาวของเส้นตั้งฉากจากระดับปกติถึงตำแหน่งนั้นๆ)
– การกระจัดมีค่าเป็น (+) สำหรับตำแหน่งที่สูงกว่าระดับปกติ
– การกระจัดมีค่าเป็น (-) สำหรับตำแหน่งที่ต่ำกว่าระดับปกติ

รูปที่ 5 แสดงส่วนประกอบของคลื่น

1. สันคลื่น (Crest) คือ ตำแหน่งที่การกระจัดบวกมากที่สุดเหนือระดับปกติหรือตำแหน่งสูงสุดของคลื่น
2. ท้องคลื่น (Trough) คือ ตำแหน่งที่มีการกระจัดลบมากที่สุดต่ำกว่าระดับปกติหรือตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น
3. แอมพิจูด (Amplitude) คือ การกระจัดสูงสุดของคลื่นจากระดับปกติหรือระดับสูงสุดของคลื่น หรือความสูงของท้องคลื่นจากระดับปกติ
ค่าของแอมพิจูดจะบอกค่าของพลังงาน คือ แอมพิจูดมากพลังงานของคลื่นมาก แอมพิจูดน้อยพลังงานของคลื่นจะน้อย
4. ความยาวคลื่น (wavelength) คือความยาวของคลื่น 1 ลูกคลื่น หรือเป็นระยะห่างจากสันคลื่นถึงสันคลื่นติดกัน
5. คาบเวลา (T-Periodic time) คือ เวลาที่จุดใดๆบนตัวกลางสันครบ 1 รอบ หรือเป็นเวลาที่เกิดคลื่น 1 ลูก หรือ เวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ไปไกล 1 ลูกคลื่น คาบมีหน่วยเป็น วินาที (s)
6. ความถี่ (f-Frequency) คือ จำนวนลูกคลื่นที่เกิดขึ้นใน 1 หน่วยเวลา หรือจำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุดคงที่ในเวลา 1 หน่วย หรือจำนวนรอบที่อนุภาคตัวกลางเคลื่อนที่ได้ใน 1 หน่วยเวลา และความถี่ของคลื่นจะมีค่าเท่ากับความถี่ของการสั่นของแหล่งกำเนิด หมายความว่าแหล่งกำเนิด 1 รอบจะเกิดคลื่น 1 ลูกคลื่น ความถี่มีความเป็น ลูกคลื่นต่อวินาที, รอบต่อวินาที หรือ เฮิร์ตซ์ Hertz (Hz)

รูปที่ 6 แสดงส่วนของความยาวคลื่น

ตัวอย่างที่ 1 ในเสกลของแผนภาพด้านล่าง แสดงหน้าคลื่นวงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 32 เซนติเมตร ความยาวคลื่นของคลื่นเหล่านี้เท่ากับเท่าไหร่

จากแผนภาพนี้ ระยะทางจากด้านหนึ่งของแผนภาพไปยังอีกด้านหนึ่งของแผนภาพ (ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลาง) เท่ากับ 8 เท่าของความยาวคลื่น

ดังนั้น  ความยาวคลื่นเท่ากับ 32 cm/8  เท่ากับ  4 เซนติเมตร                                                ตอบ

ตัวอย่างที่ 2 จากภาพด้านบน เวลาระหว่างแต่ละภาพไปยังแผนภาพถัดไปเท่ากับ 0.2 วินาที คาบเวลาของคลื่นเท่ากับเท่าไร

จากแผนภาพด้านบน เชือกและมืออยู่ในตำแหน่งเดียวกันในภาพที่ 1 และ 5 เวลาระหว่างภาพทั้งสองภาพนี้เป็น 4 เท่าของ 0.2 วินาที

ดังนั้น คาบเวลา T ของคลื่นจะเท่ากับ  4 x 0.2  = 0.8  วินาที                                                    ตอบ

ความสำพันธ์ระหว่างคาบ (T) และความถี่ (f)

จากนิยามคาบและความถี่
ในเวลา T วินาที คลื่นเคลื่อนที่ผ่านจุดใดจุดหนึ่งได้ 1 ลูกคลื่น
ในเวลา 1 วินาที คลื่นเคลื่อนที่ผ่านจุดใดจุดหนึ่งได้ 1/T ลูกคลื่น
เนื่องจากจำนวนลูกคลื่นที่เกิดขึ้นใน 1 วินาที คือความถี่ (f)
ดังนั้นความถี่และคาบจะสัมพันธ์ตามสมการ

หรือ

ตัวอย่างที่ 3  จากตัวอย่างที่ 2 คาบของคลื่นจะเท่ากับ 0.8 วินาที จงหาความถี่

จาก                      f = 1/T

จะได้                   f = 1/0.8 = 1.25  รอบต่อวินาที หรือในหน่วย Hz                                            ตอบ

อัตราเร็วของคลื่น

เมื่อแหล่งกำเนิดคลื่นถ่ายทอดพลังงานให้แก่ตัวกลางทำให้เกิดคลื่นขึ้น คลื่นจะเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิด โดยมีทิศทางการเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยอัตราเร็วคงที่เมื่อไม่มีการเปลี่ยนตัวกลาง

อัตราเร็วในเรื่องคลื่น แบ่งได้ดังนี้

1. อัตราเร็วคลื่น หรือเรียกว่าอัตราเร็วเฟส   เป็นอัตราเร็วคลื่นที่เคลื่อนที่ไปแบบเชิงเส้น  ซึ่งอัตราเร็วคลื่นกลจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน

รูปที่ 7  แสดงการเคลื่อนที่ของคลื่น

สมการที่ใช้

ตัวอย่าง 4 แหล่งกำเนิดคลื่นผิวน้ำสั่นด้วยความถี่ 20 รอบ/วินาที และพบว่าสันคลื่นน้ำ 5 สัน ติดต่อกันห่างกัน 20 ซม. จงหาอัตราเร็วของคลื่นผิวน้ำ
วิเคราะห์โจทย์      ความถี่ของคลื่นผิวน้ำ = ความถี่ของแหล่งกำเนิด = 20 Hz
สันคลื่น 5 สันติดกัน =  4 เท่าของความยาวคลื่น = 20 cm
นั่นคือ ความยาวคลื่น  = 5 cm
วิธีทำ  ต้องการหา v
จากสมการ 


อัตราเร็วคลื่น (v) = 20 x 5
= 100 cm/s
หรือ                                                                                  v = 1 m/s
ดังนั้น   อัตราเร็วของคลื่นน้ำ 1 เมตร/วินาที                                                                                         ตอบ

2. อัตราเร็วของอนุภาคตัวกลาง   เป็นการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก  โดนสั่นซ้ำรอยเดิมรอบแนวสมดุล ไม่ว่าจะเป็นคลื่นกลชนิดตามขวางหรือตามยาว

สมการที่ใช้

1.อัตราเร็วที่สันคลื่นกับท้องคลื่น เป็นศูนย์

2.อัตราเร็วอนุภาคขณะผ่านแนวสมดุล มีอัตราเร็วมากที่สุด

3.อัตราเร็วอนุภาคขณะมีการกระจัด y ใดๆ จากแนวสมดุล

3. อัตราเร็วคลื่นในน้ำ  ขึ้นกับความลึกของน้ำ ถ้าให้น้ำลึก d   จะได้ความสัมพันธ์

4. อัตราเร็วคลื่นในเส้นเชือก  ขึ้นอยู่กับแรงตึงเชือก (T) และค่าคงตัวของเชือก (u) ซึ่งเป็นค่ามวลต่อความยาวเชือก

การเกิดคลื่นและการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก

การถ่ายโอนพลังงานของคลื่นกล  อนุภาคตัวกลางจะเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิกอย่างง่าย ซ้ำรอยเดิมรอบจุดสมดุล ไม่ได้เคลื่อนที่ไปพร้อมกับคลื่น  การเคลื่อนที่ของอนุภาคตัวกลางแบบนี้เราจะเขียนแทนการเคลื่อนที่ของคลื่นแบบรูปไซน์                    (sinusoidal wave) ซึ่งเราสามารถหาค่าปริมาณต่างๆ ได้ ดังนี้

รูปแสดงการเคลื่อนที่ของอนุภาคตัวกลางขณะคลื่นเคลื่อนที่

ลักษณะการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิกอย่างง่าย

1.เป็นการเคลื่อนที่แบบสั่นหรือแกว่งกลับไปกลับมาซ้ำรอยเดิมโดยมีการกระจัดสูงสุดจากแนวสมดุล
(แอมพลิจูด) คงที่
2.เป็นการเคลื่อนที่ที่มีความเร่งและแรงแปรผันโดยตรงกับขนาดของการกระจัด แต่มีทิศทางตรงข้ามกันเสมอ (แรงและความเร่งมีทิศเข้าหาจุดสมดุล แต่การกระจัดมีทิศพุ่งออกจากจุดสมดุล)
3.ณ ตำแหน่งสมดุล x หรือ y = 0 , F = 0 , a = 0 แต่ v มีค่าสูงสุด
4.ณ ตำแหน่งปลาย x หรือ y , F , a มีค่ามากที่สุด แต่ v = 0

การเคลื่อนที่แบบซิมเปิ้ลฮาร์มอนิกของ สปริง และลูกตุ้มนาฬิกา

ลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่นขณะเวลาต่างๆ (เมื่อ period หรือ คาบ หมายถึงเวลาครบ 1 รอบ)

การบอกตำแหน่งบนคลื่นรูปไซน์ ด้วย เฟส (phase)  เป็นการบอกด้วยค่ามุมเป็นเรเดียน หรือองศา

เฟสตรงกันบนคลื่น  จะห่างจากตำแหน่งแรก 1 Lamda , 2 Lamda , 3 Lamda , …..

เฟสตรงกันข้ามกันบนคลื่น  จะห่างจากตำแหน่งแรก  1/2  Lamda  , 3/2  Lamda  ,  5/2  Lamda , ….

ตัวอย่าง

การซ้อนทับกันของคลื่น

เมื่อคลื่น 2  ขบวนผ่านมาในบริเวณเดียวกัน มันจะรวมกัน  โดยอาศัยหลักการซ้อนทับของคลื่น ( Superposition principle)  การซ้อนทับกันมี 2 แบบ คือแบบเสริม และแบบหักล้าง1. การซ้อนทับแบบเสริม   เกิดจากคลื่นที่มีเฟสตรงกัน เข้ามาซ้อนทับกัน  เช่น สันคลื่น+ สันคลื่น หรือท้องคลื่น+ท้องคลื่น  ผลการซ้อนทับทำให้แอมปลิจูดเพิ่มขึ้นมากที่สุด เท่ากับผลบวกของแอมปลิจูด คลื่นทั้งสอง

2. การซ้อนทับแบบหักล้าง  เกิดจากคลื่นที่มีเฟสตรงกันข้าม เข้ามาซ้อนทับกัน  เช่น สันคลื่น+ ท้องคลื่น  ผลการซ้อนทับทำให้แอมปลิจูดลดลง เท่ากับผลต่างของแอมปลิจูด คลื่นทั้งสอง

การเคลื่อนที่ของคลื่นครบ 1 รอบเรียกว่าอะไร

ความยาวคลื่น (wavelength ; ) คือ ระยะของ คลื่นที่เคลื่อนที่ครบ 1 รอบ เมื่อวัดตามแนวสมดุล มีหน่วยเป็นเมตร วิธีการวัดความยาวคลื่นสามารถ วัดได้หลายวิธี โดยวิธีการวัดที่สะดวก มีดังนี้ อัตราเร็ว 25.

คลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุดจุดหนึ่งได้ครบ 1 ลูกพอดี จะใช้เวลาในการเคลื่อนที่เท่าใด

ความสัมพันธ์ระหว่างคาบ (T) และความถี่ (f) จากนิยามคาบและความถี่ ในเวลา T วินาที คลื่นเคลื่อนที่ผ่านจุดใดจุดหนึ่งได้ 1 ลูกคลื่น ในเวลา 1 วินาที คลื่นเคลื่อนที่ผ่านจุดใดจุดหนึ่งได้ 1/T ลูกคลื่น เนื่องจากจานวนลูกคลื่นที่เกิดขึ้นใน 1 วินาที คือความถี่ (f) ดังนั้น f = T 1 หรือ T = f 1.

สันคลื่นอยู่ตําแหน่งใด

สันคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดเป็นบวก เช่น ตำแหน่ง A, F, J ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่สูงสุดและมีการกระจัดเป็นบวก ท้องคลื่น (Trough) เป็นตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดเป็นลบสูงสุด เช่น ตำแหน่ง C, H, L.

คาบของคลื่นหายังไง

แต่หาก เราพิจารณาคลื่นที่เคลื่อนที่ไปได้ 1 ลูกคลื่นพอดี นั่นคือ ระยะทางในการเคลื่อนที่ของคลื่นเท่ากับความยาวคลื่นλ และเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ 1 ลูกคลื่นนั้นก็คือ คาบของการเคลื่อนที่ T จะได้ว่า v = s/t = λ/T.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด