สาเหตุ ที่ มีการ เปลี่ยนแปลง การเมือง การปกครองใน สมัย พระบาท สมเด็จ พระบรม ไตร โลกนาถ

การปกครองแบบจตุสดมภ์เป็นการปกครองที่เริ่มในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ปรับปรุงระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่ตามแบบอย่างของขอม โดยมีกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง และมีเสนาบดี 4 ฝ่าย คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา
ในขณะที่การปกครองหลังมีการปฏิรูปขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอันเป็นรูปแบบการปกครองที่ใช้ มาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีลักษณะเป็นแบบ “นายกรัฐมนตรี 2 คน” มากกว่า
รูปแบบการปกครองนี้ถูกใช้ตั้งแต่ต้นราชอาณาจักรอยุธยาไปสิ้นสุด เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครอง โดยยกเลิกจตุสดมภ์และสถาปนากระทรวง 12 กระทรวงในวันที่ 1 เมษายน 2435

สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

จตุสดมภ์แบ่งออกเป็น 4 กรม มีหัวหน้าเรียกว่า ขุน ฐานะเทียบเท่าเสนาบดี แบ่งออกเป็น
- กรมเวียง ความสงบบ้านเมือง
- กรมวัง ดูแลพระราชสำนัก
- กรมคลัง ดูแลพระราชทรัพย์
- กรมนา ดูแลไร่ที่ดิน

สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

ต่อมาสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีการจัดตั้งกรมขึ้นสองกรม ได้แก่ กรมมหาดไทย ซึ่งดูแลกิจการพลเรือน โดยมีสมุหนายกเป็นอัครเสนาบดีดูแล และกรมกลาโหม ซึ่งดูแลกิจการทหาร โดยมีสมุหพระกลาโหมดูแล จตุสดมภ์นั้นให้มาขึ้นกับกรมมหาดไทย แล้วมีการเปลี่ยนชื่อและเพิ่มหน้าที่
- กรมเวียง เปลี่ยนชื่อเป็น กรมพระนครบาล มีพระยายมราชเป็นเสนาบดี ทำหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้าย รักษาความสงบภายใน ดับเพลิงในพระนคร และตัดสินคดีความร้ายแรง
- กรมวัง เปลี่ยนชื่อเป็น กรมธรรมาธิบดี มีพระยาธรรมาศรีสุริยวงศ์อัครมหาอุดมบรมวงษาธิบดี หรือพระยาธรรมาธิบดีเป็นเสนาบดี ทำหน้าที่ดูแลงานในพระราชสำนัก งานธุรการ ตัดสินคดีความ และแต่งตั้งยกกระบัตรไปดูแลหัวเมืองต่าง ๆ
- กรมคลัง เปลี่ยนชื่อเป็น กรมโกษาธิบดี มีพระยาศรีธรรมราชเดชาชาติอำมาตยานุชาติพิพัทรัตนราชโกษาธิบดี หรือเรียกสั้นว่า พระยาโกษาธิบดี เป็นเสนาบดี ทำหน้าที่เกี่ยวกับพระราชทรัพย์ การค้ากับต่างประเทศ บัญชีวัสดุและอาวุธของราชการ พระคลังหลวง การรับรองทูตต่างประเทศ และการตัดสินคดีความของคนต่างชาติ
- กรมนา เปลี่ยนชื่อเป็น กรมเกษตราธิบดี มีพระยาพลเทพราชเสนาบดีเป็นเสนาบดี ทำหน้าที่ตรวจตราและส่งเสริมการทำนา เก็บข้าวไว้เป็นเสบียงยามสงคราม ตัดสินคดีความเกี่ยวกับที่นา ออกกรรมสิทธิ์ที่นาแก่ราษฎร

//th.wikipedia.org/wiki/จตุสดมภ์

          

สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑)

การเมืองการปกครอง

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระประสงค์ที่จะดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางหรือราชธานี  จึงลดบทบาทของเจ้านายลงและเพิ่มอำนาจให้ขุนนาง  เพื่อป้องกันการแย่งชิงอำนาจจากเชื้อพระวงศ์ เช่น

 - การแบ่งงานฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนออกจากกันอย่างชัดเจน ให้สมุหพระกลาโหมดูแลฝ่ายทหาร และให้สมุหนายกดูแลฝ่ายพลเรือน รวมทั้งจตุสดมภ์ในราชธานี

- การปกครองในส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกระบบการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ลดฐานะเมืองลูกหลวง เมืองหลานหลวงลงเป็นเมืองชั้นจัตวาและส่งขุนนางไปปกครองแทนเจ้านาย

สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบล มีกำนันเป็นหัวหน้า แขวง มีหมื่นแขวงเป็นหัวหน้า

 - มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการ ให้มี บรรดาศักดิ์ตามลำดับ จากต่ำสุดไปสูงสุด

คือ ทนาย พัน หมื่น ขุน ยาหลวง พระ และ เจ้าพระยา มีการกำหนดศักดินา

เพื่อ เป็นค่าตอบแทนการรับราชการ และได้อาศัยใช้เป็นเกณฑ์

กำหนดการมีที่นาและการปรับไหมตามกฎหมาย

เศรษฐกิจ

สินค้าในอาณาจักรอยุธยามีที่มา ๒ ทาง คือ

๑. สินค้นภายใน

๒. สินค้าภายนอก

สภาพสังคม

     โครงสร้างชนชั้นของคนในสังคมยังคงแบ่งเป็น ๕ กลุ่ม นั่นคือ พระมหากษัตริย์ มูลนายหรือ เจ้านาย ได้แก่ พระสงฆ์ ทาสและข้า แต่ได้มีดารจัดระบบไพร่ควบคุมกำลังคนผ่านระบบกรมกองกล่าวคือ ทุกกรมกองจะเป็นหน่วยที่ ทำหน้าที่ควบคุมกำลังคนและมีโครงสร้างคล้ายคลึงกัน ประกอบด้วยข้าราชการอย่างน้อย ๓ ตำแหน่ง ได้แก่ 

๑. เจ้ากรม เป็นหัวหน้าสูงสุดของกรมอื่น ๆ 

๒. ปลัดกรม เป็นผู้ช่วยเจ้ากรม 

๓. สมุห์บัญชี ทำหน้าที่รักษาบัญชีไพร่พลที่ขึ้นสังกัดต่อกรม

ผลจากการปฏิรูป

ทำให้อยุธยาเป็นราชอาณาจักรที่มีระเบียบแบบแผน อำนาจการปกครองถูกรวมมาไว้ที่องค์ พระมหากษัตริย์ ซึ่งประทับอยู่ที่เมืองหลวง คือ พระนครศรีอยุธยา เป็นรูปแบบที่เรียกว่า "สมบรูณาญาสิทธิราชย์" สมบรูณ์แบบที่สุดในระบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

        

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ถึงการเสียกรุงครั้งที่ ๑               (พ.ศ. ๒๐๓๑-๒๑๑๒)

๑. สภาพเหตุการณ์หลังปฏิรูปการปกครอง

     ๑) การเมืองการปกครอง

     หลังรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ การเมืองของอยุธยาดูจะสงบและปราศจากการแย่งชิงอำนาจอยู่ระยะหนึ่ง พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาทุกฉบับกล่าวตรงกันว่า ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เป็นยุคที่มีความเจริญและปราศจากการทำสงครามทั้งภายในและภายนอก เป็นยุคที่มีการสร้างระเบียบแบบแผนภายในอาณาจักรหลายอย่าง เช่น การทำตำราพิชัยสงคราม เป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์แรกที่กำหนดให้มีพิธีการฉลองวันการละเล่น ขึ้นในประเทศ ซึ่งในรัชสมัยของพระเจ้าปราสาททองก็ได้ทรงฟื้นฟูเรื่องนี้ใหม่อีกครั้ง       

    นอกจากนี้ ยังเป็นสมัยที่โปรตุเกสซึ่งเป็นชาวตะวันตกชาติแรก ที่เข้ามาใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เข้ามาขอเจริญสัมพันธ์ไมตรีทางการทูตจองไทยอีกด้วย  

     ๒) สังคมและเศรษฐกิจ

          การเข้ามาของโปรตุเกส มีความสำคัญ คือ 

         - ทำให้การค้าของอยุธยาทางฝั่งตะวันตกเพิ่มความสำคัญมากขึ้น 

         - การมีอาวุธแบบสมัยใหม่ ได้แก่ ปืนและกระสุนสินค้าโดยพวกโปรตุเกสได้นำมาถวาย และในภายหลังยังเข้ามาเป็นทหารอาสาและช่วยฝึกวิธีใช้อาวุธแบบตะวันตกอีกด้วย 

๒.  สมัยพระรัษฎาธิราช (พ.ศ. ๒๐๗๖-๒๐๗๗)

      พระรัษฎาธิราชเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔  ตามพงศาวดารระบุว่าทรงขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้ ๕ พรรษา หลังปกครองบ้านเมืองได้เพียง ๕ เดือน ก็ถูกพระไชยราชา ซึ่งเป็นพระญาติห่าง ๆ ลอบปลงพระชนม์ หลังจากนั้นเป็นต้นมาการแย่งชิงราชสมบัติก็เกิดขึ้นเกือบทุกรัชกาล

๓. สมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. ๒๐๗๗-๒๐๘๙)

     สมัยนี้ถือได้ว่าอยุธยาประสบความสำเร็จในการขยายอำนาจไปทางเหนือ แต่ก็ประสบปัญหาในเมื่อ ท้าวศรีสุดาจันทร์ได้วางแผนปลงพระชนม์พระองค์และให้ขุนชินราช (ขุนวรวงศา) ขึ้นเป็นกษัตริย์

๔. สมัยขุนวรวงศา (พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๐๙๑) 

     พระราชพงศาวดารกรุงเก่ากล่าวว่า ขุนวรวงศาปกครองอยู่เพียง ๔๒ วัน ก็ถูกพระเทียรราชากับขุนนางร่วมกันวางแผนปลงพระชนม์ แล้วขึ้นครองราชสมบัติแทน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

๕. สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๑)

     สมัยนี้ปัญหาใหญ่สำคัญในรัชกาลนี้ คือ การเผชิญกับกษัตริย์พม่าในสมัยราชวงศ์ตองอู การขยายอำนาจของพม่าเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ แห่งราชวงศ์ตองอู สามารถผนวกรัฐล้านนา และมอญเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพม่าได้สำเร็จ และขยายเมืองหลวงมายังหงสาวดี ทำให้อาณาเขตพม่าอยู่ติดกับอาณาจักรอยุธยา และเป้าหมายของพม่าอยู่ที่เมืองท่าตะนาวศรี มะริด และทวาย 

     แม้ว่าในที่สุดพม่าจะยึดอยุธยา ได้สำเร็จแต่ประวัติศาสตร์ชาติไทย ต้องจารึกไว้ว่ามีวีรกษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่ง คือ สมเด็จพระสุริโยทัย พระมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรรดิ ได้ทรงพลีพระชนม์เพื่อรักษาชาติบ้านเมืองไว้

        

สภาพสังคมและเศรษฐกิจหลังการเสียกรุงครั้งที่ ๑

     ๑. เป็นระยะที่ราชอาณาจักรอยุธยาต้องประสบปัญหาต่าง ๆ มากมาย เช่น การสูญเสียกำลังคน เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งภายในราชสำนักก่อนการเสียกรุง นอกจากนี้การทำศึกสงครามกับ พม่าอย่างต่อเนื่องเป็นผลทำให้เขมรถือโอกาสยกทัพเข้ามาตามชายแดนและกวาดต้อนผู้คนไป

     ๒. ปัญหาเศรษฐกิจ การทำสงครามยืดเยื้อกับพม่าทำให้ละเลยเรื่องการเพาะปลูก ซึ่งเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

     ๓. ปัญหาภัยธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่าในช่วง พ.ศ. ๒๑๑๔-๒๑๑๖ กรุงศรีอยุธยา ต้องประสบกับปัญหาความแห้งแล้ง พ.ศ. ๒๑๑๗ ต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วม และใน พ.ศ. ๒๑๓๒ ราคาข้าวแพงขึ้น

                                                                                     

         

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด