เฉลย พัฒนาการของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออก เฉียงใต้

                ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้คนตั้งถิ่นฐานนับหมื่นปี และก่อตั้งเป็นอาณาจักรมานานกว่า 1000 ปีแล้วในเกือบทุกส่วนของภูมิภาค เช่น ทวารวดี พุกาม ศรีวิชัย กัมพูชา เป็นต้น อีกทั้งมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูง เมื่อชาติตะวันตกเข้ามาค้าขาย และล่าอาณานิคม หลายอาณาจักร ยกเว้นไทยต่างตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส  ฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) สเปน และสหรัฐอเมริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มประเทศอาณานิคมทั้งหลายต่างได้รับเอกราช และพยายามพัฒนาประเทศตามพื้นฐานและความสามารถของตน ปัจจุบันประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันเฉียงใต้ 10 ประเทศได้รวมกันเป็นสมาคมอาเซียน เพื่อช่วยเหลือและร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ อันนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในที่สุด เพื่อจะได้เข้าใจพัฒนาการของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงแบ่งการอธิบายออกเป็นสมัยโบราณ สมัยใหม่ และสมัยปัจจุบัน ดังต่อไปนี้

            

                ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้คนอาศัยมานาน หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด คือ โครงกระดูกมนุษย์ชวาที่ริมฝั่งแม่น้ำโซโลใกล้เมืองตรินิล บนเกาะชวา มีอายุประมาณ 500,000 ปีล่วงมาแล้ว และเป็นดินแดนที่ได้สร้างสรรค์ความเจริญทัดเทียมกับดินแดนอื่นในเวลาเดียวกัน คือ รู้จักการนำโลหะโดยเฉพาะนำสำริดมาใช้ เช่น ที่ดองซอนในเวียดนาม บ้านเชียงในไทย และรู้จักเพาะปลูก คือ รู้จักการเพาะปลูกข้าว เมื่อประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว

                ผู้คนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สร้างสมความเจริญของตนเอง ประกอบกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่เส้นทางการค้าระหว่างอินเดียกับจีน จึงได้รับอิทธิพลทางอารยธรรมจากสองอารยธรรมใหญ่ คือ อารยธรรมจีนทางด้านตะวัน-ออก ซึ่งมีอิทธิพลมากในเวียดนาม และวัฒนธรรมอินเดียด้านตะวันตก ซึ่งมีอิทธิพลต่อพม่า ไทย ลาว และกัมพูชา สำหรับอินโดนีเซียและมาเลเซีย ได้รับอิทธิพลในระยะแรก ส่วนฟิลิปปินส์ อารยธรรมอินเดียและจีนยังแผ่เข้าไม่ถึง

               สำหรับอารยธรรมอินเดียก่อให้เกิดการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ขึ้นมาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ การตั้งอาณาจักรแบบอินเดีย

                อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียที่มีต่ออาณาจักรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ แนวความคิดเรื่องพระมหากษัตริย์ที่เป็นเทวราช หรือกษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรม กฎหมายตามแนวพระธรรมศาสตร์ ภาษาสันกฤตและบาลี วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์และมหาภารตะ การใช้พุทธศักราชและจุลศักราช แบบอย่างศิลปกรรม สถาปัตยกรรม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ชัดเจนว่าผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเลือกรับอารยธรรมอินเดีย เพราะไม่ได้รับระบบวรรณะ ซึ่งเป็นการแบ่งแยกผู้คนในสังคมที่ตายตัวเข้ามา และยังคงรักษาวัฒนธรรม ความเชื่อเรื่องผีสางวิญญาณของตนเองไว้ด้วยกัน

                อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียที่มีต่ออาณาจักรต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เสื่อมลงตั้งแต่ต้นพุทธ-ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา เพราะศาสนาอิสลามเผยแผ่เข้ามาทางหมู่เกาะของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการรุกรานของพวกมองโกลที่จีนปกครองต่ออาณาจักรต่าง ๆ ที่รับอารยธรรมอินเดีย รวมถึงเกาะชวา

                สำหรับอาณาจักรเวียดนาม จีนปกครองเวียดนามเป็นระยะเวลา 1,000ปี จนปลายพุทธศตวรรษที่ 16 จึงเป็นอิสระจากจีน มีการสู้รบกับพวกจาม จนพวกจามพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาดใน พ.ศ.2015

                หลังจากอาณาจักรที่รับอารยธรรมของอินเดียเสื่อมและหมดอำนาจไป ดินแดนต่าง ๆ ก็มีการก่อตั้งอาณาจักรขึ้นมาใหม่ โดยที่อารยธรรมอินเดียมีความสำคัญลดลงไป เช่น ราชวงศ์ตองอูในพม่า อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรอยุธยาในไทย เป็นต้น พอถึงพุทธศตวรรษที่ 21 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากการเข้ามาของชาติตะวันตก

  1. พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครอง  มีลักษณะที่สำคัญ คือ มีสถาบันกษัตริย์เป็นแกนสำคัญ ในพม่า ไทย ลาว ที่นับถือพระพุทธศาสนา มีพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักในมลายู (มาเลเซียชวา (อินโดนีเซียซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม มีสุลต่าน ส่วนในเวียดนาม ซึ่งได้รับอิทธิพลอารยธรรมจีน มีจักรพรรดิ หรือ หว่างเด๋ ส่วนในฟิลิปปินส์ยังไม่ได้เป็นประเทศมีเพียงหัวหน้าหรือผู้นำของแต่ละชนเผ่า ในช่วงเวลานี้ อำนาจของอาณาจักรต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งและความสามารถของประมุข เช่น พระเจ้าบุเรงนองของพม่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชของไทยสมัยสุโขทัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของขอมหรือเขมรโบราณ เป็นต้น ดังนั้น อาณาจักรในสมัยนี้จึงมีการทำสงครามแย่งชิงอำนาจภายใน และการทำสงครามระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ อยู่มาก ฝ่ายชนะก็จะมีการกวาดต้อนผู้คน ยึดทรัพย์สิน ของมีค่า รวมทั้งงานศิลปวัตถุ  กลับไปยังบ้านเมืองของตน

ชื่ออาณาจักร

ที่ตั้ง

ช่วงเวลา/เหตุการณ์สำคัญ

ฟูนัน (ฝู้หนาน)

กัมพูชา

พุทธศตวรรษที่ 7-12 ฟูนันหมดอำนาจ เพราะเกิดความแตกแยกขึ้นภายใน อาณาจักรขอมหรือเขมรขึ้นมาทันที

จามปา

เวียดนามตอนกลาง

พุทธศตวรรษที่ 8-15 ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดีย มีการทำสงครามขอมกับเวียดนาม หมดอำนาจเพราะแพ้เวียดนาม

ศรีวิชัย

เกาะสุมาตราและทางใต้ของไทยตลอดแหลมมลายู

ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-19 เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองทางการค้า

ขอมหรือเขมร

กัมพูชา

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 -กลางพุทธศตวรรษที่ 14 เรียกว่าอาณาจักร เจนละ หรือ เจิ้นเล่า ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 14 คือ อาณาจักรขอมสมัยเมืองพระนคร หรือเมืองนครหลวงสิ้นสุดอำนาจ ในตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 2 มีการสร้างศาสนสถานที่ใหญ่โต สวยงามมากมาย มีกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้สร้างนครธม

ศรีเกษตรและพุกาม

เมียนมา

พุทธศตวรรษที่ 8-19 เริ่มจากอาณาจักรปยุหรือศรีเกษตรที่นับถือพระพุทธศาสนา ต่อด้วยอาณาจักรพุกามในทางเหนือของพม่า     พุทธศตวรรษที่ 15 ส่วนทางใต้เป็นอาณาจักรมอญ อาณาจักรในพุกามมีกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้าอโนรธาหรืออนิรุทธ์ ซึ่งทรงขยายอำนาจได้กว้างใหญ่ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และเป็นผู้สร้าง  เจดีย์ชเวดากอง

ทวารวดี

ไทย

พุทธศตวรรษที่ 11-16 เป็นสมัยที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมากโดยเผยแผ่ถึงทุกภาคของไทย

มะตะรัม

เกาะชาว อินโดนีเซีย

พุทธศตวรรษที่ 14 กษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร์สร้างบุโรพุทโธ พระเจ้าทักษาแห่งราชวงศ์สัญชัยสร้างปรัมบานัน

            2. พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ ลักษณะสำคัญ คือ เป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพหรือเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ทำนาเป็นหลักและปลูกพืชผลอื่น ๆ เพื่อบริโภคในครัวเรือน ถ้ามีเหลือก็ขายหรือเปลี่ยนเป็นส่วยให้กับทางราชการ มีการเลี้ยงสัตว์ และเก็บหาของป่าเพื่อใช้ประโยชน์และขาย มีแรงงานคนและสัตว์ เช่น โค กระบือเป็นแรงงานสำคัญในการผลิต

            การค้าแบบเก่ามีทั้งการค้าภายในและการค้าภายนอก ที่สำคัญคือ การค้าทางทะเล โดยอาศัยลมมรสุมในการเดินเรือ ตลาดสำคัญคือ จีน ญี่ปุ่น ทางด้านตะวันตก และอินเดีย เปอร์เซีย ทางด้านตะวันตก โดยมีเมืองท่าสำคัญระยะแรกอยู่ที่เกาะ-สุมาตรา ต่อมาคือ เมืองมะละกา พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น สินค้าสำคัญ เช่น ของป่า  หนังสัตว์  เครื่องเทศ พริกไทย เป็นต้น

            3. พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม ลักษณะที่สำคัญเป็นสังคมชนชั้น คือ ชนชั้นปกครองหรือมูลนาย กับผู้ถูก-ปกครอง หรือราษฎรสามัญ ทาส ส่วนพระสงฆ์ได้รับการเคารพยกย่องจากสังคม และผู้ที่เคยบวชเรียนมีโอกาสดีในการเลื่อนฐานะทางสังคม ทำนองเดียวกันในสังคมมุสลิม ผู้ที่เคยไปแสวงบุญที่นครเมกกะ ก็ได้รับการยกย่องเช่นเดียวกัน


กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด