กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดรูปแบบงบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง การจัดทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนตามมาตรา 68 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

---------------------------

              

ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 28 กันยายน 2554 ยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 30 มกราคม 2552 และกำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องจัดทำงบการเงินตามรูปแบบของแต่ละประเภท โดยให้ถือปฏิบัติสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ดังนี้

              1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้า ต้องจัดทำ “งบแสดงฐานะทางการเงิน” แทน “งบดุล”

              2. บริษัทมหาชนจำกัด ต้องจัดทำ “งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ” แทน “งบกำไรขาดทุน”

              3. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้า ยังคงจัดทำ “งบกำไรขาดทุน” ตามข้อกฎหมายเดิม
              แต่โดยเหตุที่ตามมาตรา 68 ทวิ และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ได้บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ให้มีหน้าที่จัดทำ “บัญชีงบดุล” “บัญชีทำการ”และ “บัญชีกำไรขาดทุน” พร้อมทั้งแนบบัญชีดังกล่าวที่มีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองไปพร้อมกับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ. ง. ด. 50) จึงเป็นผลให้ชื่อบัญชีอันเป็นงบการเงินที่ต้องจัดทำตามกฎหมาย ว่าด้วยการบัญชีกับบัญชีที่ต้องจัดทำตามประมวลรัษฎากร ดังกล่าวไม่สอดคล้องกัน
              ดังนั้น เพื่อให้การจัดทำ “บัญชีงบดุล” และ “บัญชีกำไรขาดทุน” ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นไปโดยถูกต้อง และเป็นการอำนวยความสะดวกแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิดังกล่าว กรมสรรพากรจึงกำหนดให้ “งบแสดงฐานะการเงิน” “งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ” และ “งบกำไรขาดทุน”ในงบการเงินที่ต้องจัดทำตามกฎหมาย ว่าด้วยการบัญชี เป็น “บัญชีงบดุล”และ “บัญชีกำไรขาดทุน”ที่ต้องจัดทำตามมาตรา 68 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้

              ข้อ 1 ให้ “งบแสดงฐานะทางการเงิน” ในงบการเงินที่ต้องจัดทำตามกฎหมาย ว่าด้วยการบัญชี เป็น “บัญชีงบดุล”ตามมาตรา 68 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

              ข้อ 2 ให้ “งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ”ในงบการเงินที่ต้องจัดทำตามกฎหมาย ว่าด้วยการบัญชี เป็น “บัญชีกำไรขาดทุน”ตามมาตรา 68 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

              ข้อ 3 ให้ “งบกำไรขาดทุน”ในงบการเงินที่ต้องจัดทำตามกฎหมาย ว่าด้วยการบัญชี เป็น “บัญชีกำไรขาดทุน”ตามมาตรา 68 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร

ไขปัญหาการยื่นงบการเงินชุดเดียว

Untitled Document

ไขปัญหาการยื่นงบการเงินชุดเดียว

Q 1 : หากยื่นงบการเงินที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ยังคงต้องยื่นต่อกรมสรรพากรอีกหรือไม่
A 1 : หากผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร และนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ไม่ต้องยื่นงบการเงินต่อกรมสรรพากรอีก ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 318)

Q 2 : การยื่นงบการเงินที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่เกินกำหนดเวลา ยังคงต้องรับผิดค่าปรับต่อกรมสรรพากรอีกหรือไม่ (กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดให้ยื่นภายใน 5 เดือนแต่ของกรมสรรพากรต้องยื่นภายใน 150 วัน)
A 2 : หากผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร และนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เกินกำหนดเวลา 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร และได้รับการขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบออกไปอีก 8 วันนับจากวันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบ ตามประกาศอธิบดีฯ เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับรายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคล ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 3) ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร

Q 3 : User ID & Password ของกรมสรรพากร และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ใช้ร่วมกันได้หรือไม่
A 3 : การยื่นงบการเงินแต่ละกรมฯ จะกำหนด User ID & Password ดังนั้น หากจะยื่นงบการเงินกับกรมฯ ใด ให้ใช้ User ID & Password กรมฯ นั้น

Q 4 : การยื่นงบการเงินของกรมสรรพากรขยายเวลาออกไป 8 วัน แล้วถ้าไปยื่นที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะได้รับการขยาย 8 วัน หรือไม่
A 4 : หากผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากรแล้ว สามารถนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร และได้รับการขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบออกไปอีก 8 วันนับจากวันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบตามประกาศอธิบดีฯ เรื่อง การขยายกำหนดเวลาการยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับรายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคล ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 3) ประกาศ ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561 โดยไม่ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร

Q 5 : ผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร และนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 ถือว่ายื่นงบการเงินภายในกำหนดเวลาใช่หรือไม่
A 5 : หากผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากรแล้ว และนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 ไม่ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ในความรับผิดชอบของกรมสรรพากร และไม่ต้องระวางโทษปรับตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

Q 6 : ผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร และนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในวันที่ 7 มิถุนายน 2561 ต้องถูกปรับหรือไม่
A 6 : หากผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากรแล้ว และนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ถึงวันที่ 7 มิถุนายน 2561 ไม่ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ในความรับผิดชอบของกรมสรรพากร แต่ต้องระวางโทษปรับตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

Q 7 : ผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากรแล้ว และยื่นงบการเงินผ่าน (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในวันที่ 8 มิถุนายน 2561 ต้องเสียค่าปรับอย่างไร
A 7 : หากผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากรแล้ว และนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ในความรับผิดชอบของกรมสรรพากร และต้องระวางโทษปรับตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

Q 8 : ยื่นงบการเงินที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว หากยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 ด้วยกระดาษที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ยังต้องแนบงบการเงินอีกหรือไม่ หรือต้องแสดงเอกสารหลักฐานใดต่อเจ้าหน้าที่สรรพากรว่าได้ยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว
A 8 : หากผู้ประกอบการนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ได้ทำการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ด้วยกระดาษที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ยังคงต้องยื่นบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับรายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่าย ที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร โดยผู้ประกอบการที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากรเท่านั้น ที่สามารถนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพียงแห่งเดียว โดยไม่ต้องยื่นงบดุลฯ ต่อกรมสรรพากรอีก

Q 9 : การยื่นงบการเงินที่ทำ MOU ไว้ มีผลบังคับย้อนหลังหรือไม่ เนื่องจากเป็นงบการเงินรอบบัญชีที่เริ่มในวันที่ 1 ตุลาคม 2559 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2560 ต้องยื่นแบบภายในมีนาคม 2561 ต้องยื่นงบกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าผ่านเว็บไซต์ หากจะยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ด้วยกระดาษ ยังคงต้องแนบงบการเงินหรือไม่
A 9 : การนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะถือว่าเป็นการยื่นบัญชีงบดุลฯ ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากรแล้ว และเป็นการนำส่งงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 เนื่องจากประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 318) กำหนดให้มีผลใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป

Q 10 : หากยื่นงบการเงินกับกรมสรรพากรแล้ว ยังคงต้องยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอีกหรือไม่
A 10 : ผู้ประกอบการยังคงต้องนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตามกฎหมายว้าด้วยการบัญชี

Q 11 : หากผู้ประกอบการเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล SMEs ซึ่งได้รับอนุโลมไม่ต้องยื่นรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่อยากใช้สิทธ์ยื่นงบการเงินกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพียงแห่งเดียว โดยไม่ต้องยื่นกับกรมสรรพากรอีก จะทำอย่างไร
A 11 : ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร และต้องการใช้สิทธิ์ยื่นงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพียงแห่งเดียว โดยไม่ต้องนำส่งงบการเงินดังกล่าวกับกรมสรรพากรอีก จะต้องส่งรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี พร้อมกันกับการนำส่งงบการเงินทางเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงจะถือว่าเป็นการยื่นบัญชีงบดุลฯ ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร

Q 12 : ผู้ประกอบการเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล SMEs ที่ต้องยื่นรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีไปพร้อมกันกับการนำส่งงบการเงินทาง DBD e-Filing ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อใช้สิทธิ์ยื่นงบการเงินกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพียงแห่งเดียว โดยไม่ต้องยื่นกับกรมสรรพากรอีก แต่ได้นำส่งงบการเงินที่ไม่มีรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไปแล้วทาง
DBD e-Filing และระบบ DBD e-Filing ให้นำส่งได้เพียงครั้งเดียว ไม่เปิดระบบให้อัพโหลดรายงานฯ เพิ่มเติม จะทำอย่างไร

A 12 : ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) ของกรมสรรพากร และต้องการใช้สิทธิ์ยื่นงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพียงแห่งเดียว โดยไม่ต้องนำส่งงบการเงินดังกล่าวกับกรมสรรพากรอีก ที่ยังไม่ได้นำส่งรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ต้องนำส่งรายงานฯ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ในหัวข้อ “งบการเงิน” จึงจะถือว่าเป็นการยื่นบัญชีงบดุลฯ ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร

Q 13 : การยื่นแบบแสดงรายการและงบการเงินพร้อมรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป
A 13 :

ปรับปรุงล่าสุด: 09-01-2021

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด