การ พึ่ง ตนเอง หลักการ ทรง งาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต เรียนรู้หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ขออนุญาตสำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) น้อมนำหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันทรงคุณค่ายิ่ง ที่สำนักงาน กปร. ได้จัดพิมพ์ขึ้นมาจัดทำเป็นสมุดบันทึก "เรียนรู้หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เผยแพร่แก่ปวงชนชาวไทย เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ภาคส่วนต่างๆ เห็นคุณค่าและถือปฏิบัติในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ให้สามารถพึ่งตนเองได้และขยายสู่การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งสร้าง "สังคมอยู่เย็น เป็นสุขร่วมกัน” สืบไป หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สำนักงาน กปร. รวบรวมไว้มีความหลากหลายถึง ๒๓ หลักการ ซึ่งประชาชนชาวไทยสามารถน้อมนำไปปฏิบัติในวาระและโอกาสต่างๆ ตามความเหมาะสม ดังนี้

  • หลักการที่หนึ่ง การศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ การที่จะพระราชทานโครงการใดโครงการหนึ่งจะทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบ ทั้งจากข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสาร แผนที่สอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการและราษฎรในพื้นที่ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง เพื่อที่จะพระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วตรงตามความต้องการของประชาชน

  • หลักการที่สอง ระเบิดจากข้างใน ทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน ทรงตรัสว่า "ต้องระเบิดจากข้างใน” หมายความว่า ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนามีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนหมู่บ้านที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว

  • หลักการที่สาม แก้ปัญหาที่จุดเล็ก ทรงมองปัญหาในภาพรวม (Macro) ก่อนเสมอ แต่การแก้ปัญหาของพระองค์ จะเริ่มจากจุดเล็กๆ (Micro) คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะมองข้าม

  • หลักการที่สี่ ทำตามลำดับขั้น ในการทรงงาน จะทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นของประชาชนที่สุดก่อน ได้แก่ สาธารณสุข เมื่อร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว ก็จะสามารถทำประโยชน์ด้านอื่นๆ ต่อไปได้ จากนั้นเป็นเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ

  • หลักการที่ห้า ภูมิสังคม ในการพัฒนาใดๆ ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยวกับลักษณะนิสัยใจคอของคน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน

  • หลักการที่หก องค์รวม ทรงมีวิธีคิดอย่างองค์รวม (Holistic) หรือมองอย่างครบวงจร ในการที่จะพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการหนึ่งนั้น จะทรงมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง

  • หลักการที่เจ็ด ไม่ติดตำรา การพัฒนาตามแนวพระราชดำริมีลักษณะของการพัฒนาที่อนุโลม และรอมชอมกับสภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสภาพของสังคมจิตวิทยาแห่งชุมชน ไม่ติดตำรา ไม่ผูกมัดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย

  • หลักการที่แปด ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด ดังจะเห็นได้จากพระราชจริยาวัตรที่ทรงประหยัดและในการพัฒนา ช่วยเหลือราษฎร พระองค์ทรงใช้หลักในการแก้ไขปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้
    ในท้องถิ่นและประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นๆมาแก้ไขปัญหา โดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากนัก

  • หลักการที่เก้า ทำให้ง่าย ทรงคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุงและแก้ไขงานการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริให้ดำเนินไปได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และระบบนิเวศโดยรวมตลอดจนสภาพสังคมของชุมชนนั้นๆ โดยทรงโปรดที่จะทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นง่าย ทำสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย

  • หลักการที่สิบ การมีส่วนร่วม ทรงเป็นนักประชาธิปไตย จึงทรงนำประชาพิจารณ์มาใช้ในการบริหาร เพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชน ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงความคิดเห็น
    ของประชาชน หรือความต้องการของสาธารณชน

  • หลักการที่สิบเอ็ด ประโยชน์ส่วนรวม ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจหรือพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนาประเทศและช่วยเหลือพสกนิกร ทรงระลึกถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ

  • หลักการที่สิบสอง บริการรวมที่จุดเดียว โดยทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นต้นแบบในการบริการรวมที่จุดเดียว เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนที่มาขอใช้บริการ ให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

  • หลักการที่สิบสาม ทรงใช้ธรรมชาติ ช่วยธรรมชาติ ทรงเข้าใจถึงธรรมชาติและต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทรงมองอย่างละเอียดถึงปัญหาธรรมชาติ หากต้องการแก้ไขธรรมชาติ จะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ ทำให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

  • หลักการที่สิบสี่ ใช้อธรรมปราบอธรรม ทรงนำความจริงในเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติและกฎเกณฑ์ธรรมชาติมาเป็นหลักการและแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหาและปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติให้เข้าสู่ระบบที่เป็นปกติ เช่น การนำน้ำดี ขับไล่น้ำเสีย

  • หลักการที่สิบห้า ปลูกป่าในใจคน ดังพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า "...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดินและรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง...”

  • หลักการที่สิบหก ขาดทุนคือกำไร เป็นการให้และการเสียสละ ซึ่งเป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไรคือความอยู่ดีมีสุขของราษฎร ดังพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า "...ขาดทุน คือ กำไร Our loss is our gain… การเสียคือ การได้ ประเทศชาติก็จะก้าวหน้า และการที่คนอยู่ดีมีสุขนั้น เป็นการนับที่เป็นมูลค่าเงินไม่ได้...”

  • หลักการที่สิบเจ็ด การพึ่งตนเอง ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า "...การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพและตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ก่อนอื่นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวด เพราะผู้มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งพาตนเองได้ ย่อมสามารถสร้างความเจริญในระดับสูงขั้นต่อไป...”

  • หลักการที่สิบแปด พออยู่พอกิน การพัฒนาเพื่อให้พสกนิกรทั้งหลายประสบความสุขสมบูรณ์ในชีวิตได้ เริ่มจากการเสด็จฯ ไปเยี่ยมประชาชนทุกหมู่เหล่าในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ได้ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎร จึงทรงเข้าพระราชหฤทัยในสภาพปัญหาได้อย่างลึกซึ้ง และได้พระราชทานความช่วยเหลือให้พสกนิกร มีความกินดีอยู่ดี มีชีวิตในขั้นพออยู่พอกินก่อน แล้วจึงขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป

  • หลักการที่สิบเก้า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น
    และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

  • หลักการที่ยี่สิบ ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน ทรงเน้นว่า หากคนไทยทุกคนร่วมมือช่วยกันพัฒนาชาติด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกันแล้ว ประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้าอย่างมาก

  • หลักการที่ยี่สิบเอ็ด ทำงานอย่างมีความสุข พระราชดำรัสที่ได้พระราชทานไว้ ความตอนหนึ่งว่า "...ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น...”

  • หลักการที่ยี่สิบสอง ความเพียร : พระมหาชนก เป็นพระราชนิพนธ์ ที่หากคนไทยน้อมรับมาศึกษา วิเคราะห์ และปฏิบัติตามรอยพระมหาชนก กษัตริย์ผู้เพียรพยายามแม้จะไม่เห็นฝั่ง ก็ยังว่ายน้ำต่อไป เพราะถ้าไม่เพียรว่ายก็จะตกเป็นอาหาร ปู ปลาและไม่ได้พบกับเทวดาที่มาช่วยเหลือมิให้จมน้ำไป

  • หลักการที่ยี่สิบสาม รู้ รัก สามัคคี ทรงให้ความสำคัญกับการ รู้ รัก สามัคคี ซึ่งเป็นคำสามคำที่มีค่าและมีความหมายลึกซึ้ง พร้อมปรับใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด