วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ไทย

ดูเหมือนว่าในปัจจุบันผู้บริหารประเทศของเราจะมีความตื่นตัวในเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยีพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างระดับของการพัฒนาทางเทคโนโลยีกับระดับการพัฒนาของประเทศ จริงๆ แล้วได้มีการศึกษาในประเด็นนี้กันมาพอสมควรแล้ว ในประเทศไทยเองได้มีการจัดตั้งหลักสูตรการจัดการเทคโนโลยี (Management of Technology) ทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มาเป็นเวลามากกว่าสิบปีแล้ว เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีแล้วเรามักจะนึกถึงแต่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต หรือ สิ่งที่สลับซับซ้อนยากที่จะทำความเข้าใจ แต่เทคโนโลยีที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศนั้นไม่ได้หมายถึงเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้น และในขณะเดียวกันก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่สลับซับซ้อน ยากที่จะทำความเข้าใจแต่ประการใด ชีวิตเราถูกล้อมรอบด้วยเทคโนโลยีตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นเช้าจนถึงเข้านอน หรือแม้กระทั่งในขณะที่กำลังนอนหลับเราก็ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา จนหลายคนอาจจะเกิดข้อสงสัยแล้วครับว่าถ้าชีวิตนี้เราขาดเทคโนโลยีแล้วจะมีชีวิตรอดหรือไม่

นอกเหนือจากความสำคัญของเทคโนโลยีต่อการดำรงชีวิตแล้ว เทคโนโลยียังเป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงถึงระดับการพัฒนาของประเทศชาติอีกด้วย อาจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้เกือบสิบปีมาแล้วว่า ความแตกต่างระหว่างประเทศที่รวยและจน คือทรัพยากรทางธรรมชาติและเงิน แต่ความแตกต่างระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนาได้แก่เทคโนโลยี คำกล่าวนี้มีตัวอย่างสนับสนุนมากมาย เราคงจะเห็นประเทศหลายประเทศที่อุดมด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ทำให้ประเทศนั้นร่ำรวยสามารถสร้างปราสาทราชวังด้วยทองคำ แต่ประเทศเหล่านั้นก็ไม่ได้ถือว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ในขณะเดียวกันประเทศบางแห่งเป็นเกาะเล็กๆ ที่ไม่มีทรัพยากรทางธรรมชาติแต่อย่างใด แต่กลับพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยอาศัยการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก

ได้มีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงถึงความสำคัญของเทคโนโลยีต่อการเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่าการเติบโตด้านผลผลิตของอเมริกา (Productivity Growth) ระหว่างปี ค.ศ. 1950 – 1980 เป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีถึง 87% ในขณะที่งานวิจัยในลักษณะเดียวกันที่ประเทศญี่ปุ่นพบว่า ในระหว่างปี ค.ศ. 1955-1979 การเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตในญี่ปุ่นเป็นผลมาจากพัฒนาการทางเทคโนโลยีถึง 29% และยังได้มีการพยากรณ์ต่อไปว่าในทศวรรษต่อไปอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะมีผลมาจากพัฒนาการด้านเทคโนโลยีถึง 65% 

ท่านผู้อ่านคงจะเห็นได้ว่าพัฒนาการทางเทคโนโลยีนั้นส่งผลต่อพัฒนาการของแต่ละประเทศ แต่ก็มีข้อที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่าถ้าเรารู้อย่างนี้แล้ว แต่ทำไมประเทศที่ด้อยพัฒนากว่าจึงไม่เร่งรีบพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองเพื่อให้ก้าวทันประเทศที่พัฒนาแล้ว ปล่อยให้ตัวเองล้าหลังผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา สาเหตุที่สำคัญพอจะสรุปได้ดังนี้

            1. ประเทศกำลังพัฒนามักจะมีความเข้าใจผิดว่าสามารถที่จะซื้อหรือรอรับเทคโนโลยีจากประเทศที่พัฒนาแล้ว และจะสามารถนำเทคโลยีเหล่านี้มาพัฒนาประเทศตนเองให้เท่าเทียมผู้อื่น ความคาดหวังที่ผิดๆ เหล่านี้ถือเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างมหันต์ เนื่องจากเทคโนโลยีที่เราได้รับมานั้นน้อยนักที่จะเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ ทันสมัย หรือก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันที่แท้จริง คงจะยากนะครับที่จะหาประเทศที่พัฒนาแล้วที่ไหนที่ใจดีขายหรือมอบเทคโนโลยีที่ทำให้ตนเองเกิดการได้เปรียบให้คนอื่นได้ง่ายๆ

            2. ยังคงมีความเข้าใจผิดอยู่ทั่วไปถึงความเหมือนและความต่างระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จริงๆ แล้วทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างมีความสำคัญพอๆ กันแต่เป็นคนละเรื่องกันที่จะต้องแยกจากกันให้ชัดเจน การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ไม่จำเป็นที่จะต้องนำไปสู่การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเสมอไป การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ไม่จำเป็นที่จะนำไปสู่การพัฒนาของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมหรือธุรกิจต่างๆ ใช้เทคโนโลยีไม่ได้ใช้วิทยาศาสตร์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนาก็คือมีการทำวิจัยกันเยอะแต่ไม่ได้มีการทำในด้านการพัฒนา (research but no development)  เนื่องจาก การพัฒนา หรือ development คือการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ได้จากการวิจัยนำไปสู่การใช้งานในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ

การจะพัฒนาขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีของประเทศใดประเทศหนึ่งนั้นจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการในการคิดของคนในประเทศเสียใหม่ ในอดีตนั้นวิธีการหนึ่งที่ประเทศจะสามารถเกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันนั้นคือการได้เปรียบจากปัจจัยที่ธรรมชาติได้กำหนดให้ (Given-Based Advantage) โดยเป็นการได้เปรียบทางการแข่งขันอันเนื่องมาจากปัจจัยที่มีอยู่แล้วไม่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ เช่น อัตราค่าแรงที่ต่ำ การมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ การได้มาซึ่งแหล่งวัตถุดิบ หรือ ต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำกว่าที่อื่น เป็นต้น ประเทศสามารถนำเอาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มาช่วยในการก่อให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขันได้ในระยะสั้นเนื่องจากปัจจัยเหล่านี้ไม่สามารถอยู่ได้นานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบเศรษฐกิจที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา (เช่น เมื่อมาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงขึ้น ค่าแรงย่อมจะแพงขึ้น หรือเมื่อปริมาณของวัตถุดิบลดน้อยลง ราคาของวัตถุดิบย่อมจะสูงขึ้น) การได้เปรียบในลักษณะนี้มักจะพบได้ในประเทศที่กำลังพัฒนาทั่วไปที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำหรือยังมีแหล่งวัตถุดิบที่เกิดขึ้นมาจากธรรมชาติมาก แต่เมื่อประเทศเหล่านี้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ความได้เปรียบเหล่านี้ก็จะลดลง ค่าจ้างแรงงานจะค่อยๆ แพงขึ้น แหล่งวัตถุดิบตามธรรมชาติเริ่มหมดไปทำให้ราคาสูงขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปความได้เปรียบเหล่านี้จะค่อยๆ หมดไปความได้เปรียบในการแข่งขันอันเนื่องมาจากต้นทุนที่ถูกจะเริ่มหมดไปและความสำคัญของการได้เปรียบในการแข่งขันอันเกิดขึ้นมาจากคุณค่าที่เกิดขึ้นจะเพิ่มมากขึ้น

นั้นคือแนวทางการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในอดีต แต่ในปัจจุบันความได้เปรียบในการแข่งขันได้เปลี่ยนมาเป็นความได้เปรียบมาจากสิ่งที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น (Human-made advantage or Technology advantage) โดยใช้เทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนในองค์กรเพื่อผลิตสินค้าและบริการที่ก่อให้เกิดคุณค่าตามที่ผู้บริโภคต้องการ ในประเทศญี่ปุ่นที่ไม่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญจึงไม่สามารถสร้างการได้เปรียบเนื่องมาจากต้นทุนที่ต่ำได้องค์กรธุรกิจในญี่ปุ่นจึงใชการได้เปรียบอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีผลิตสินค้าและบริการที่ก่อให้เกิดคุณค่าแก่ลูกค้า

ดังนั้นถ้าเราจะพัฒนา เราก็คงต้องอาศัยการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเป็นตัวผลักดัน แต่อย่างที่เรียนไว้ก่อนหน้านี้ว่า การพูดหรือเขียนนั้นทำได้ง่าย แต่ถ้าจะทำจริงๆ นั้นยากและต้องอาศัยเวลาพอสมควร ไม่ใช่บอกว่าอยากพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศแล้วจะสามารถทำได้เลย คงจะต้องเริ่มหันกลับมามองตั้งแต่ระบบการศึกษา โครงสร้างทางสังคม เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง หรือแม้กระทั่งค่านิยมและทัศนคติของคนในประเทศเป็นสำคัญ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด