ราช วิทยาลัย จุฬา ภร ณ์ เรียน ที่ไหน

รับตรง วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เกณฑ์การรับเข้าศึกษาและจำนวนนักศึกษากำลังอยู่ภายใต้การพิจารณาของหลักสูตรและจะประกาศให้ทราบต่อไป 

  
 
เนื้อหาของหลักสูตร
       ใช้เวลาเรียน 6 ปี หน่วยกิตรวมจํานวน 253 หน่วยกิต แบ่งเนื้อหาการเรียนออกเป็น 3 ช่วงและเสริมด้วยวิชาเลือก ดังนี้
       ปีที่ 1 เรียนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม
       ปีที่ 2 และปีที่ 3  เรียนชั้นปรีคลินิก ศึกษาการทํางานของร่างกาย มนุษย์ในภาวะปกติ โดยบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ พื้นฐาน เช่น กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา จุลชีววิทยา เภสัชวิทยา พยาธิวิทยา เรียนที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขต พญาไท และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
       ปีที่ 4 ถึงปีที่ 6 เรียนชั้นคลินิก เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง ร่วมเป็นหนึ่งในทีมดูแลผู้ป่วย ศึกษาอาการและการรักษาโรคผ่านการฝึกทักษะกับอาจารย์แพทย์สาขาต่างๆ เรียนและฝึกปฏิบัติงานในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และชั้นปีที่ 6 นักศึกษาแพทย์จะได้เพิ่มพูนประสบการณ์ทางคลินิก ณ รพ.มหาราชนครราชสีมา รพ.จังหวัดบุรีรัมย์, รพ.พระนครศรีอยุธยา, รพ.เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี และโรงพยาบาลในความร่วมมือของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

      วิชาเลือกเสรี เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม กีฬา ตลอดจนศิลปวัฒนธรรม
      วิชาเลือกคลินิก เพื่อเสริมประสบการณ์ทางคลินิกในสาขาที่ตนเองสนใจ


 

  ข้อมูลเพิ่มเติม
   
ค่าธรรมเนียม - ค่าธรรมเนียมปีละประมาณ 40,000 - 60,000 บาท
  
  การใช้ทุน - ใช้ทุนเช่นเดียวกับคณะแพทยศาสตร์ทั่วไป
  
  ต่างจากคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี อย่างไร - หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของราชวิทยาลัยจะเรียนกับคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี โดยใช้หลักสูตรเดียวกันจนจบ  สามารถฝึกงานและทำงานในโรงพยาบาลรามาธิบดีได้ตามปกติ


  

รายละเอียดเพิ่มเติม


 

2. คณะพยาบาลศาสตร์
 

การคัดเลือกนักศึกษา จำนวน 50 คน แบ่งได้ดังนี้
    
 ระบบโควตา จากนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย 12 แห่ง (นครศรีธรรมราช เชียงราย ตรัง บุรีรัมย์ มุกดาหาร สตูล เพชรบุรี เลย พิษณุโลก ลพบุรี ปทุมธานี ชลบุรี) จำนวน 15 คน
    
 ระบบรับตรงทั่วประเทศ  35 คน
 

  

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
    
 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปลาย สายวิทยาศาสตร์ มีเกรดเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 2.75
    
 เป็นผู้มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรค หรือ ภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาวิชาพยาบาลศาสตร์
    
 มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กำหนด
 

  

อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
   
ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (จ่ายครั้งเดียว) 2,500  บาท
   
  ค่าธรรมเนียม (รวมค่าบำรุง) การศึกษาต่อภาคการศึกษา 33,125  บาท

 
  

ทุนสนับสนุน
   
 มีโอกาสได้รับทุนสนับสนุนทางการศึกษาตลอดหลักสูตร
  
สำหรับนักศึกษาที่รับทุนสนับสนุนจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ต้องทำสัญญาเพื่อปฏิบัติงานกับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์
 

  

การจัดการศึกษา

      ระบบหน่วยกิตทวิภาค (ภาคต้น ภาคปลาย และอาจมีภาคฤดูร้อน)  ระยะเวลาการศึกษา 4 ปี
 

  

เนื้อหาของหลักสูตร

     ใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี  จำนวนหน่วยกิต รวม 138 หน่วยกิต

     ชั้นปีที่ 1 เรียนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยเรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม

     ชั้นปีที่ 2 เรียนบางวิชาในหมวดการศึกษาทั่วไปที่วิทยาเขตศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม  และเรียนวิชากลุ่มพื้นฐานวิชาชีพที่ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ และในชั้นปีนี้  นักศึกษาจะได้เรียนรู้ทักษะทางการพยาบาลในศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้ทางการพยาบาลที่มีอุปกรณ์ทันสมัย  ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

     ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 เรียนวิชาในกลุ่มวิชาชีพภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติให้ห้องฝึกทักษะการพยาบาลในศูนย์สาธิตทางการพยาบาล ณ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ สำหรับการศึกษาภาคปฏิบัติ  ฝึกในแหล่งฝึกปฏิบัติจริง ในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
 

  

โอกาสการมีงานทำ

     ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถทำงานในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นส่วนขยายเป็นโรงพยาบาลทั่วไป 400 เตียง หรือทำงานในโรงพยาบาล และหรือหน่วยงานบริการสุขภาพทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน

    วิชาชีพการพยาบาลเป็นวิชาชีพขาดแคลน โอกาสมีงานทำจึงคาดหวังได้ 100% นอกจากนั้นแล้ว หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรที่สอนสองภาษา เน้นความสามารถพิเศษด้านการใช้ภาษาอังกฤษ และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้สำเร็จการศึกษาจึงมีโอกาสในการทำงานในต่างประเทศได้ด้วย


  

รายละเอียดเพิ่มเติม


 3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค
  

การคัดเลือกนักศึกษา 40 คน แบ่งได้ดังนี้
    
โควตาพิเศษ จากโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย 12 แห่ง (นครศรีธรรมราช เชียงราย ตรัง บุรีรัมย์ มุกดาหาร สตูล เพชรบุรี เลย พิษณุโลก ลพบุรี ปทุมธานี ชลบุรี) จำนวน 4 คน
    
นักเรียน ม.6 ในปีการศึกษา 2559 จากทั่วประเทศ 36 คน
 

  

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
   
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า ในสายวิทยาศาสตร์
   
ผ่านการสอบคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือผ่านการสอบคัดเลือกตามเกณฑ์ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
 

  

ค่าใช้จ่ายในการเรียน ประมาณ 15,000 บาทต่อภาคการศึกษา

  

การเรียนการสอน

     หลักสูตรมีระยะเวลาการศึกษา 4 ปี แบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษา/ปี หลักสูตรประกอบด้วย

        วิชาพื้นฐาน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
        วิชาพื้นฐานทางวิชาชีพ เช่น กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยา อิเล็กทรอนิกส์ ฟิสิกส์รังสี รังสีคณิต การสร้างภาพดิจิทัลทางการแพทย์ การป้องกันอันตรายจากรังสี
        วิชาชีพเฉพาะทางรังสีประกอบด้วย 3 สาขา ได้แก่ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เช่น การตรวจเอกซเรย์ทั่วไป การสร้างภาพด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) เครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแรงสูง (MRI) เทคนิคการสร้างภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (SPECT&PET) เทคนิคทางรังสีรักษาและการประยุกต์ใช้ทางคลินิก

  

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

     นักรังสีเทคนิค หรือนักรังสีการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาในสถานบริการสุขภาพ โดยทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้รังสีเพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรคกับผู้ป่วย รวมทั้งทำงานด้านความปลอดภัยทางรังสี นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย อาจารย์ นักวิชาการ ประกอบอาชีพด้านเครื่องมือแพทย์ หรือศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาสาขารังสีเทคนิค วิทยาศาสตร์สุขภาพหรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ

  
  

รายละเอียดเพิ่มเติม


  4. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบ
        ชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) คือสหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary) ซึ่งใช้ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ สถิติ และวิศวกรรมเพื่อพัฒนากระบวณการ นวัตกรรม และซอฟแวร์ต่างๆขึ้นมาเพื่อใช้ในการแปลผล วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และชีววิทยา ผลสำเร็จที่ได้จากงานวิจัยสามารถที่จะประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรวมถึงนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆทางการแพทย์เพื่อเพิ่มศักยภาพการรักษาพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น
       ชีววิทยาระบบ (System biology) คือการเรียนรู้เกียวกับระบบอันซับซ้อนขององค์ประกอบทางชีววิทยาโดยใช้โมเดลทางคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ การเรียนรู้นี้จะนำไปซึ่งความเข้าใจที่มากขึ้นในกระบวนการเกิดโรค หรืออาจทำให้สามารถป้องกันการเกิดโรคได้เมื่อเรารู้กระบวนการทำงานของสิ่งที่ก่อให้เกิดโรคอย่างถ่องแท้มากขึ้น
ทั้งสองสาขามักจะทำงานไปด้วยกันกับสาขาวิชาชีพแพทย์และสายอาชีพทางสุขภาพทั้งหมดเพื่อรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายสาขามาประมวลผลร่วมกัน นักชีวสารสนเทศจึงสามารถที่จะทำงานในองค์กรเกี่ยวกับการแพทย์รวมทั้งบริษัทเอกชนต่างๆที่มีวิจัย วิเคราะห์ และประมวลผล ความต้องการของสาขา bioinformatics และ system biology นั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามความต้องการประสิทธิภาพที่ดีขึ้นในการรักษาพยาบาล ตลาดอาชีพในอนาคตของสาขานี้จึงสดใสแน่นอน


   

รอติดตามรายละเอียดอื่นๆ ที่

  • #Admission
  • #รับตรง 60
  • #โควตา 60
  • #วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
  • #โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
  • #รับตรงแพทย์
  • #กสพท.
  • #สอบหมอ
  • #รับตรง แพทย์ 60

13/07/59 17:59 น.

105,940

views

Facebook Twitter Line

พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

Ton-hunhan Member 13 ก.ค. 59 21:36 น. 1

ทุกคณะนี่มีเกรดขั้นต่ำรึเปล่าคะ

แก้ไขล่าสุด:
0 1
ถูกใจ 1 ตอบกลับ เมนู

  • แจ้งลบ
  • แก้ไข
  • ปักหมุด
  • ลบความเห็น
  • ลบความเห็น

lll-MiNt-lll Columnist 14 ก.ค. 59 09:19 น. 1-1

รายละเอียดอื่นๆ ยังไม่มานะคะ ส่วนเกรดขั้นต่ำตอนนี้มีพยาบาลค่ะ 2.75 ส่วนแพทย์ ถ้าเข้าผ่าน กสพท. ไม่มีเกรดขั้นต่ำค่ะ

ราช วิทยาลัย จุฬา ภร ณ์ อยู่ ที่ไหน

๙๐๖ ถ.กำแพงเพชร ๖ แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๑๐ local_phone.

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์สังกัดใด

เป็นโรงพยาบาลภายใต้หน่วยงานวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ทำหน้าที่ให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพดัานสุขภาพ ให้การบริบาลรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยสิทธิเบิกจ่ายตรงข้าราชการ สิทธิประกันสังคมและบัตรทองที่ส่งต่อมา ...

ปรัชญาของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์คืออะไร

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ดำเนินการโดยยึดหลักปรัชญา “เป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต” และในภารกิจของการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศนั้น เราตั้งเป้าหมายที่จะมีความเป็นเลิศในทุกด้าน ทั้งด้านการพัฒนานักศึกษาและบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ให้มีความเลิศในด้านการศึกษา การวิจัย ความสามารถในการคิด วิเคราะห์เป็นระบบ ควบคู่ไปกับ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด