ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารงานแบบ mbo

การบริหารโดยวัตถุประสงค์ (MBO)

ผู้บริหารทุกคนย่อมต้องการทำงานให้สำเร็จ และมีความคิดหลายอย่างที่จะหาวิธีให้ภาระงาน บรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ ความคิดของผู้บริหารอาจเลื่อนลอยไม่ชัดเจนอาจเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ แต่สิ่งที่ทำให้ความคิดของผู้บริหารเป็นความจริงก็คือการวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการบริหารงาน หากขาดการวางแผนหนทางที่จะบรรลุผลก็เป็นไปได้ยาก ในแง่ของการบริหารงานการวางแผนเป็นหน้าที่แรกสุดแล้วก็ตามด้วยหน้าที่การจัดองค์การ การจูงใจ หรือการนำและการควบคุมการวางแผน ดังนั้นการวางแผนเชิงกลยุทธ์มีความสำคัญมากที่จะบอกได้ว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จในการแข่งขันกับองค์กรอื่นหรือไม่ แผนเป็นสิ่งที่แสดงให้เป็นว่าองค์กรพยายามที่จะทำให้ดียิ่งขึ้นกว่าที่กำลังกระทำอยู่และพยายามทำให้ดีกว่าคนอื่น การวางแผนเชิงกลยุทธ์เป็นการตัดสินใจล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์จริง

การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์หรือเรียกย่อๆ ว่า MBO เป็นกระบวนการร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์และการควบคุมระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นการเชื่อมหน้าที่ทางการบริหารระหว่างการวางแผน และการควบคุมเข้าด้วยกัน

MBO ย่อมาจาก Management by Objectives เป็นแนวคิดทางการบริหารที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

ความเป็นมาการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)

                

การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)นั้น เป็นเทคนิคการบริหารงานแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาโดยนักวิชาการคนหนึ่งชื่อ Peter F. Drucker ซึ่ง ได้เสนอแนวความคิดเรื่องนี้เป็นคนแรกที่อเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1954 ในหนังสือของเขาชื่อ The Practice of Management Drucker ซึ่งชี้ให้เห็นว่าทุกองค์การต้องมีเป้าหมาย เพื่อนำทางบุคคลที่บริหารงานองค์การ ประสานเป้าหมายของพวกเขาเข้ากับเป้าหมายขององค์การและส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ชี้ให้เห็นความจำเป็นของการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อนำองค์การไปสู่ต้องการ

                

การบริหารแบบนี้มีเรียกกันหลายชื่อ เช่น Management by Results (MBR) หรือ Management by Objectives and Results (MOR) ในส่วนภาษาไทยที่เรียกชื่อการบริหารในลักษณะนี้ที่คล้าย ๆ กัน เช่น การบริหารงานโดยมีวัตถุประสงค์  การบริหารงานโดยกำหนดวัตถุประสงค์ หรือ การบริหารงานตามวัตถุประสงค์

                

ในการบริหารงานอีกแบบหนึ่งที่ตรงกันข้ามกับ MBO เหมือน ฟ้ากับดิน คือ Management by Activities and Results (MAR) ซึ่งมุ่งที่ผลที่จะเกิดขึ้นหรือจะได้รับเท่านั้น โดยไม่มีการกำหนดวัตถุประสงค์เลย เช่น ต้องการขายสินค้าให้ได้มากที่สุด โดยไม่มีการกำหนดเป้าหมายและวางแผนที่แน่นอนว่าจะขายให้ได้เท่าไร โดยวิธีใด แล้วก็ทำการโหมโฆษณา หรือตีปีป อย่างเต็มที่เพื่อให้ขายให้ได้มากที่สุดก็แล้วกัน ซึ่งเป็นการบริหารแบบโบราณที่ผิดหลักวิชา ในปัจจุบันก็มีนักบริหารใช้วิธีการนี้เช่นกัน เช่น เชิญสื่อมวลชน มาทำข่าวให้ดัง โดยไม่คำนึงว่า จะทำได้ตามเป้าหมายหรือไม่ มีเพียงวัตถุประสงค์ที่แน่นอนคือให้ดังก็พอแล้ว

ดรักเกอร์ให้ความหมายของ MBO ไว้ว่าหมายถึงเป็นการจัดการซึ่งผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์มาตรฐาน และเลือกปฏิบัติงานโดยผู้ใต้บังคับบัญชามีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบต่อวัตถุประสงค์โดยมีผู้บังคับบัญชาสนันสนุนและกระตุ้นเพื่อให้เกิดการควบคุมตนเองฉะนั้นความสำคัญของการวางแผน และการควบคุมจึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารข้อมูลโดยการสร้างความสัมพันธ์ของระบบข้อมูลกับการวางแผนและการควบคุมสนับสนุนการตัดสินใจร่วมกัน

การกำหนดเป้าหมายขององค์กร  

ผู้บังคับบัญชาจะต้องเข้าใจในเป้าหมายและทิศทางที่องค์กรจะมุ่งไปอย่างชัดเจน ซึ่งเริ่มจากกระบวนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร (SWOT Analysis) ให้ชัดเจนเสียก่อนซึ่งเป็นกระบวนการของการประเมินว่า “ปัจจุบันเราอยู่ที่ใด” (Where are we now?)  “เรามองเห็นโอกาสใดบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อการเติบโตหรือดำรงอยู่ขององค์กร” “เรากำลังเผชิญกับปัญหาภัยคุกคามใดบ้างอย่างไร”  “เรามีจุดแข็งที่สามารถนำมาใช้ในการสร้างความได้เปรียบทางการดำเนินธุรกิจหรือว่าเพื่อการให้องค์กรสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้อย่างไร”  และเรามีจุดอ่อนอะไรที่ต้องขจัดให้หมดไปหรือทำให้ลดน้อยลง

การวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ต้องทำด้วยความละเอียดรอบคอบให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่คม ชัดลึกไม่ได้เน้นปริมาณว่าต้องทำการวิเคราะห์ให้ได้จำนวนประเด็นที่มากมายหลากหลายแต่ไร้ซึ่งคุณภาพการวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์เปรียบเสมือน “การติดกระดุมเสื้อเม็ดแรก”  ถ้าท่านติดกระดุมและรูกระดุมผิดตำแหน่ง จะติดกระดุมเสื้อผิดหมดทั้งแถว หลังจากนั้นเราจึงกำหนดเป้าหมายว่า เราต้องการจะไปที่ใด (Where are we going?) ซึ่งก็คือการกำหนดเป้าหมายขององค์กร

เป้าหมายขององค์กรควรกำหนดเป็น “เป้าหมายเชิงกลยุทธ์” (Strategic Goal) ที่ถือเป็นเป้าหมายหลักเพียง1 หรือ2 เป้าหมายและเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะใช้ในการสื่อสารอย่างทั่วถึงภายในองค์กร

เป้าหมายที่ดี ควรมีลักษณะ SMART ซึ่งมาจากอักษรต้นของคำว่า

SPECIFIC       เป้าหมายต้องมีลักษณะเฉพาะเจาะจงไม่ควรระบุให้กว้างจนเกินไปและไม่ใช้คำที่ต้องตีความ

MEASURABLE    เป้าหมายควรวัดได้เป็นตัวเลข ประเมินค่าเปรียบเทียบได้และใช้ติดตามผลได้

ACTION ORIENTED     เป้าหมายต้องระบุถึงสิ่งที่จะกระทำและนำไปสู่การกำหนดกิจกรรมรองรับได้ชัดเจน

REALISTIC     เป้าหมายต้องเป็นจริงได้ แต่ไม่ง่ายจนเกินไปเป้าหมายที่ดีต้องมีความท้าทาย (Challenge) เพื่อนำไปสู่การคิดค้นริเริ่มวิธีการใหม่ๆอยู่เสมอ

TIMELY       ต้องมีกรอบของระยะเวลาที่ชัดเจนแน่นอนกำหนดไว้ซึ่งอาจจะเป็นรายวันสัปดาห์เดือน ไตรมาสครึ่งปี หรือ1 ปีไม่ควรตั้งเป้าหมายที่ยาวนานเกินกว่า1 ปีสำหรับเป้าหมายที่บรรลุในปีนั้นก็จะทำการตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้นและท้าทายยิ่งขึ้นในปีถัดไปได้

นอกจากการใช้หลักการ SMART ในการกำหนดเป้าหมายแล้ว การกำหนดเป้าหมายที่ดีต้องให้ลูกน้อง ทีมงานมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายด้วย ซึ่งในทางจิตวิทยา ถือเป็นการให้เกียรติรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อโต้แย้งของทีมงาน เป็นการบริหารแบบเปิดกว้าง (Open Management) ในการรับฟังความเห็น และลดข้อขัดแย้งในเบื้องต้น สิ่งที่สำคัญคือ ทำให้ทีมงานรู้สึกได้ถึงการมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น ซึ่งนำไปสู่การมีพันธะสัญญาต่อการทำให้เป้าหมายบรรลุผลต่อไป อย่าลืมนะครับว่า   “ No Involvement No Commitment”

การกำหนดเป้าหมาย จำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลเชิงเปรียบเทียบประกอบด้วย (Benchmark) การเปรียบเทียบเราสามารถกำหนดเป้าหมายเชิงเปรียบเทียบ ได้ดังนี้

1) กำหนดเป้าหมาย โดยเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของหน่วยงานตนเอง ซึ่งเป็นวิธีที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำในปัจจุบัน เช่น ดูผลประกอบการในปีที่ผ่านมาในแต่ละเดือน แต่ละไตรมาส ดูผลประกอบการย้อนหลังไป 2-3 ปี เพื่อดูแนวโน้ม แล้วกำหนดเป็นเป้าหมาย

2) กำหนดเป้าหมาย โดยเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของหน่วยงานอื่น เพื่อสร้างความท้าทาย และการแข่งขันระหว่างทีมงาน

3) กำหนดเป้าหมาย โดยเปรียบเทียบกับ กิจการของคู่แข่ง เช่น เปรียบเทียบจากส่วนครองตลาด การเติบโตของยอดขายและกำไรระหว่างกิจการของเรากับคู่แข่ง ผลการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าที่มีเราและคู่แข่ง

4) กำหนดเป้าหมาย โดยเปรียบเทียบกับกิจการรูปแบบอื่น ที่มีบางกิจกรรมการดำเนินงานที่ใกล้เคียงกับเรา

 

แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)

               

แนวความคิดของ การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) มีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น เน้นสิ่งที่ต้องกระทำแทนที่จะเป็นกระทำอย่างไร บุคคลมีความสำคัญกว่าวิธีการ และการมอบหมายอำนาจหน้าที่ดีกว่าการควบคุม บุคคลถูกคาดหวังให้ควบคุมตนเอง พวกเขาถูกสนับสนุนให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังในทิศทางขององค์การ

และตามทัศนะของเสนาะ  ติเยาว์. (2543) การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์หรือเรียกย่อๆ ว่า MBO เป็นกระบวนการร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์และการควบคุมระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นการเชื่อมหน้าที่ทางการบริหารระหว่างการวางแผน และการควบคุมเข้าด้วยกันซึ่งมีแนวคิดสำคัญ 4 อย่าง คือ

1. ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาตกลงร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนว่าจะทำงานให้ได้ผลตามเป้าหมายเท่าไรภายในระยะเวลาที่กำหนด

2. ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาตกลงร่วมกันวางแผนงานโดยผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำงานให้สำเร็จได้ด้วยวิธีการของแต่ละคน

3. ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาตกลงร่วมกันในการกำหนดมาตรฐานที่ใช้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา

4. ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาตกลงร่วมกันในการวัดผลงานที่เกิดขึ้นจริงทบทวนแก้ไขผลการปฏิบัติงานและกระบวนการ การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) ใหม่

ในแง่ขอกระบวนการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) ผู้บังคับบัญชาร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาในการวางแผนและการควบคุม ส่วนในการดำเนินงานผู้ใต้บังคับบัญชามีอิสระที่จะเลือกวิธีทำงานของตัวเอง ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่สนับสนุนและช่วยแก้ปัญหาการทำงานที่อาจเกิดขึ้น

กระบวนการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)

                

การบริหารตามวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ในองค์การนั้น อาจทำได้ สองลักษณะคือ ทำเป็นโครงการกึ่งเต็มรูป โดยนำ การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) มาใช้เฉพาะการบริหารส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์การก่อน และโครงการเต็มรูป เป็นการนำ การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) มาใช้ปรับปรุงองค์การในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นระยะเวลา 3 – 5 ปี จึงจะสมบูรณ์แบบ

กระบวนการหรือขั้นตอนในการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) งานมี 4 ขั้นตอนที่สำคัญดังนี้

                

1. การกำหนดวัตถุประสงค์และและการวางแผน เป็นหลักการที่สำคัญอันดับแรก คือการกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การ โดยผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชากำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน นักวิชาการบริหารบางท่านวิจัยแล้วพบว่า การบริหารที่มีประสิทธิภาพนั้น การกำหนดวัตถุประสงค์จะต้องไม่กำหนดจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง หรือจากเบื้องล่างขึ้นไปสู่เบื้องบน แต่จะต้องร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์แล้วจึงวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกัน โดยจัดลำดับความสำคัญของงานที่จะทำ  กำหนดระยะเวลาดำเนินการ  กำหนดงบประมาณ ตลอดจนกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน

                

2. การมอบหมายงานและหน้าที่รับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา งานขั้นนี้เป็นการแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับรู้ถึงขอบเขตของอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่และสามารถกำหนดวัตถุประสงค์ในการทำงานด้วยตัวเอง โดยมอบความไว้วางใจและความเป็นอิสระในการทำงานให้ ทั้งนี้จะต้องชี้แจงให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ทราบถึงงานหลักและมาตรฐานงานที่ต้องการ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายรวมขององค์การ โยผู้บังคับบัญชาพร้อมที่จะให้คำปรึกษาหารือเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการ

                

3. ตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างมีระบบ งานในขั้นนี้เป็นการตรวจสอบว่า การดำเนินงานที่ได้กำหนดไว้ก้าวหน้าไปมากน้อยเพียงใด และมีสิ่งใดที่ควรปรับปรุงแก้ไขให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้

                

4. การประเมินผลงาน เป็นการประเมินผลงานที่เน้นวัตถุประสงค์และผลงาน เป็นสำคัญ โดยมีหลักและวิธีการประเมินผลงานที่สำคัญดังนี้ คือ

                                

4.1 ผู้ประเมินและผู้ได้รับการประเมินผลงาน จะต้องตั้งวัตถุประสงค์และปัจจัยในการประเมินผลงานร่วมกันตั้งแต่ตอนต้นหรือการกำหนดแผนการดำเนินงาน

                                

4.2 การประเมินผลงานตามหลักการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาบุคคลและเพิ่มประสิทธิภาพงานมากกว่าที่จะใช้การประเมินผลเพื่อพิจารณาความดีความชอบหรือการลงโทษ

                                

4.3 เน้นการวัดผลการปฏิบัติงานที่ผลงานขั้นสุดท้าย นอกจากนั้นยังเน้นความสำเร็จของผลงานและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่าความประพฤติของผู้ปฏิบัติงาน

                                

4.4 ใช้วัตถุประสงค์และผลงาน เป็นตัวประเมินมากกว่าการให้คะแนน หรือเครื่องหมาย

                                

4.5 การประเมินผลงานกระทำเมื่อผลงานขั้นสุดท้ายเสร็จสิ้นลง โดยผู้ประเมินและผู้ได้รับการประเมินได้มีโอกาสปรึกษาหารือร่วมกัน ทั้งในระยะกำหนดวัตถุระสงค์และระยะประเมินผลงาน

สรุปโดยทั่วไปการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

1.       การให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอวัตถุประสงค์ที่เป็นเป้าหมายของผลงานขึ้นมา

2.       การพิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา

3.       การติดตามและทบทวนเป้าหมายเป็นครั้งคราว

4.       การประเมินผลเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา

องค์ประกอบที่สำคัญบางประการของการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)

                

การนำแนวความคิดเกี่ยวกับ การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) ไปใช้ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและเงื่อนไขที่สำคัญบางประการดังนี้

                

1. การกำหนดวัตถุประสงค์กับการวางแผน เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์นั้น จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป นอกจากนั้นวัตถุประสงค์ของแต่ละฝ่ายในองค์การจะต้องสอดคล้องกันด้วย

                

2. ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ควรมีทัศนคติและความรู้ความสามารถด้านการบริหารอย่างกว้างขวางเพื่อนำไปใช้วิเคราะห์  วางแผนและกำหนดเป้าหมายในการทำงาน อันจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การนำการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) ไปใช้ในองค์การได้บรรลุผล หากผู้บริหารในระดับใดขาดความรู้ทางด้านการบริหารอย่างไร ก็ควรจัดการฝึกอบรมเพื่อช่วยให้ผู้บริหารได้พัฒนาตนเองและสามารถขจัดปัญหาในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

                

3. การจัดให้สมาชิกของกลุ่มปฏิบัติงานในองค์การ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน โดยเน้นการทำงานเป็นทีม การให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานหรือการบริหารงานมีความสำคัญดังนี้คือ

                          3.1 กลุ่มทำงานที่ตนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารด้วย จะทำงานมีประสิทธิภาพสูงกว่ากลุ่มที่ทำงานตามคำสั่ง

                          3.2 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือการบริหาร จะมีส่วนสัมพันธ์กับผลผลิตที่ได้รับ

                          3.3 การมีส่วนร่วมทำให้ผู้ปฏิบัติงานยอมรับการวินิจฉัยสั่งการ อันจะมีผลต่อการทำงานร่วมกัน

                          3.4 การที่ผู้ปฏิบัติงานมีความพอใจในการทำงาน จะผลักดันให้เกิดความต้องการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงานมากขึ้น

                

4. การจัดให้มีระบบข้อมูลย้อนกลับ เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน หรือเปิดโอกาสให้รู้ถึงผลงานที่กระทำไปแล้วเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งในการบริหารงานตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสองประการ คือ

                       

4.1 เป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหารที่จะตรวจสอบว่า ผลงานนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่

                       

4.2 เป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหารที่จะแก้ไขอุปสรรค หรือปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที

องค์ประกอบที่สำคัญบางประการของ การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ดับบลิว เจ เรดดิน ได้กำหนดเงื่อนไขซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญเพิ่มเติมไว้ดังนี้

               

1. มีการละลายพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ

                

2. เน้นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง

                

3. ยอมรับความสำคัญด้านปัจจัยการบริหารที่เกี่ยวกับคน

                

4. มีข่าวสารและข้อมูลมากพอ

                

7. เน้นความสำคัญของสถานการณ์

                

8. เลือกใช้วิธีการเริ่มต้นที่ถูกต้อง

                

9. กำหนดอัตราความเร็วของการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม

                

10. ใช้เครื่องมือต่าง ๆ ให้มากที่สุด

ประโยชน์ของการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)

                

จากการสำรวจเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้บริหารในเรื่องการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ พบว่ามีจุดเด่นหรือประโยชน์ที่สำคัญ ดังนี้

             

1. ช่วยให้มีการกำหนดวิธีการวัดที่แน่นอนว่า บุคลากรในองค์การได้สร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับองค์การได้มากน้อยเพียงใด

             

2. ก่อให้เกิดการประสานงานในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน เนื่องจากมีการกำหนดเป้าหมายและมาตรการในการวัดผลงานร่วมกัน

             

3. เป็นเครื่องมือช่วยแก้ไขปัญหาสำคัญในหน่วยงาน เกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มและองค์การ

THE DAILY DRUCKER 366 DAYได้บอกถึงการเป็นผู้บริหารที่ดีต้องมี 5 ประการนี้ที่ Drucker บอกว่าต้องทำให้ได้

1.        Intetrity ปากกับใจต้องตรงกัน มีความจริงใจและจริงจังในการบริหารงาน ไม่สร้างภาพเพื่อหลอกใคร โดย

Drucker ได้กล่าวว่า

Ø  “เพียงแค่สองอาทิตย์ ลูกน้องจะรู้ว่าหัวหน้าของตนนั้นเป็นคนประเภทอะไร”

Ø  “พนักงานทุกองค์กรให้อภัยกับหัวหน้าที่อาจจะไม่เก่งมาก พูดจากิริยาไม่สง่างามมากนักได้ แต่ไม่สามารถให้อภัยหัวหน้าที่ไม่มี Intetrity ได้ หรือพวกปากกับใจไม่ตรงกัน ชอบสร้างภาพ ชอบหลอกคนอื่น ชอบ    โปรโมทคนที่ไม่ควรจะขึ้นมาให้ขึ้นมามีอำนาจ หรือรักตัวเองมากกว่าองค์กร

Ø  “ถ้าอยากรู้ว่าควรเลือกคนไหนเป็นหัวหน้าหรือเขาเหมาะสมกับการเป็นหัวหน้าไหม ให้คุณลองหลับตา แล้วถามจากใจจริงของคุณว่า ถ้าคุณมีลูกชายลูกสาว คุณอยากให้พวกเขาทำงานกับคนประเภทนี้หรือไม่”

Ø  “หัวหน้าจะเก่งและมีคุณธรรมไม่พอ แต่คุณธรรมต้องสูงกว่าความเก่ง”

2.       ผู้บริหารคุณต้องมีผลงานก่อนมาเป็นผู้นำ คือคุณต้องสามารถชี้นำลูกน้องได้ สามารถแก้ไขปัญหาให้ลูกน้องได้ คุณต้องรู้แจ้งแทงตลอด คือ คุณต้องเก่งจนทุกคนยอมรับและเมื่อทุกคนนึกถึงคุณต้องบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าคุณสามารถทำได้ No Question No Ask คุณต้องสามารถทำ Team Work ได้ต้องให้ความชัดเจน และคาดหวังต่องานของลูกน้องคุณทุกคน เพื่อให้เขารู้ถึงความสำคัญต่อหน้าที่ตัวเองและได้รับความไว้วางใจ

Ø  “ผู้นำที่ดี คือผู้นำที่ไม่ได้นั่งจับผิด ถ้าเป็นแบบนั้น นั่นคือผู้นำที่ประสาทแล้ว ควรเป็นผู้นำที่เข้าไปชี้ทางให้แก่ลูกน้อง เข้าไปช่วย เข้าไปTrian มันดีกว่า ผู้นำที่ชอบนั่งจับผิดไปวันๆ หรือนึกว่าตัวเองเก่งเพียงคนเดียว

Ø  “ผมไม่สนว่าคุณจะทำงานเช้าจดเย็น ผมสนใจว่าคุณมีผลงานไหม”

Ø  “การทำงานต้องทำในทิศทางเดียวกับเป้าหมาย”

3.       เวลา ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร จัดความสำคัญก่อนหลังของหน้าที่ เช่น งานไม่เร่งด่วน แต่สำคัญนั้น ต้องเสร็จก่อน

Ø  “อย่าทำงานวันนึง 20-30 อย่าง แต่จงทำสิ่งที่สำคัญให้ก่อดอกออกผล คุณควรทำสิ่งที่ต้องทำ”

4.       การใช้จุดแข็ง การเห็นอกเห็นใจเข้าใจผู้อื่น คนที่เป็นผู้นำควรมีและควรมองความสามารถและใช้ให้เกิดประโยชน์แก่งานในองค์กร 1.มีสติรู้ตัว 2.มีควบคุมตัวเอง 3.มีความอดทนอดกลั้น 4.มีความเข้าใจผู้อื่น 5.มีความเป็นผู้นำสามารถละลายความขัดแย้งได้

Ø  “การใช้จุดแข็งของผู้ร่วมงานเพื่อสร้าง team work งานหลายงานที่ไม่ประสงค์ผลสำเร็จ ไม่ใช่ว่าเราขาดยุทธ์ศาสตร์สำคัญในการทำงาน แต่เราขาดคนที่เหมาะสมที่จะนำไปปฏิบัติมากกว่า

5.       กล้าคิดกล้าทำกล้าตัดสินใจ มีแต่เกือบผิดและเกือบถูก คุณต้องกล้ารับผิดชอบ และอย่าผิดซ้ำ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด