ปัญหาและอุปสรรคในการฝึกงาน

บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผลการฝึกประสบการณ์
การที่เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่บริษัท แอท ดรีม ฮอลิเดย์ จำกัด ตามหลักสูตรของทาง
มหาวิทยาลัย ในรายวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารธุรกิจ ซึ่งนักศึกษาที่เรียนในรายวิชานี้ต้องผ่านการฝึกประสบการวิชาชีพ เริ่มฝึกประสบการณ์วิชาชีพตั้งแต่วัน จันทร์ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
จากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครั้งนี้ ทำให้ข้าพเจ้าได้มีความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น และได้มีการนำความรู้จากที่ตนได้เรียนมาประยุกต์ใช้กับงานที่ทำ รู้จักวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ และได้ให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่เป็นบางครั้ง ได้ปฏิบัติงานจริง ๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นการฝึกงาน มันก็เหมือนเป็นการปฏิบัติงานจริง ทำให้เราได้ฝึกการใช้ชีวิตร่วมการทำงานรวมกับคนอื่น มีความสามัคคีกันในการทำงาน ให้ความเคราพต่อทุกคน รู้จักผู้คนในสังคมใหญ่ ทำให้รูระบบการทำงานของแต่ละองค์การ ทำให้เราสามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้ ก่อนที่เราจะออกไปทำงานตามที่ตนต้องการ ทำให้เรามีประการณ์ในการทำงานไม่มากก็น้อย
ดังนั้นการฝึกประสบการณ์วิชชาชีพนั้นเราควรจะให้ความสำคัญมาก เพราะมันเป็นด้านหนึ่งที่ช่วยพัฒนาความสามารถของเราได้ ได้รู้ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค รู้ว่าความสามารถที่เราเรียนมามีประโยชน์ต่อการทำงานมากน้อยเพียงใด เมื่อเราจบไปจะได้นำไปใช้ในเวลาที่เราได้ทำงาน

5.2 ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
5.2.1 ได้นำความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง
5.2.2 ได้พบปะผู้คนกล้าคิดและกล้าแสดงออก
5.2.3 ได้รู้จักการทำงานของระบบราชการมีขั้นตอนการทำงานอย่างไร
5.2.4 ทำให้เรามีความรู้ ความอดทน และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง และหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ
5.2.5 ได้รู้ถึงปัญหาของงานและแนวทางในการแก้ไข

5.3 สรุปปัญหาและอุปสรรคจาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ปัญหาจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27
5.3.1 ปัญหาด้านการปฎิบัติงาน มาสายหรือเข้ามาทำงานช้าและออกไปข้างนอกเวลาทำงาน
5.3.2 พนักงานมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศน้อย ทำให้เกิดความล่าช้าในเวลาทำงานในกรณีมีปัญหา
5.3.3 ทำงานซับซ้อน จุกจิก ทำให้สิ้นเปลื้องอุปกรณ์สำนังานโดยเปล่าประโยชน์
5.3.4 พนักงานมีความล่าช้า ต้องค่อยตามเรื่องทุกอย่าง

อุปสรรคจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27
5.3.5 อุปสรรคเวลาทำงานเราต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ท่านอื่นเราไม่รู้จักเจ้าหน้าที่ก็ต้องถามทำให้เสียเวลา
5.3.6 อุปสรรคด้านลายมือเจ้าหน้าที่เวลาเซ็นชื่อหรือร่างหนังสือ จึงทำให้การทำหนังสือล่าช้าเพราะอ่านลายมือไม่ออก
5.3.7 อุปสรรคในความล่าช้าในขั้นตอนการทำงาน เพราะมีขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนจึงทำงานให้งานล่าช้า
5.3.8 อุปสรรคด้านความรู้ในหน่วยงาน เพราะไม่รู้จักชื่อเจ้าหน้าที่ทำให้ตอบคำถามคนข้างนอกไม่ได้

5.4 ข้อเสนอแนะในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
จากการทำสารนิพนธ์ได้รับการคำแนะนำจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สาขาบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) สามารถใช้วิชาที่เราเรียนมาไปพัฒนาตนเองในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ ความสามารถ การปฏิบัติตนต่อสังคม ด้านการบริหารงาน และการดำเนินชีวิตประจำวันร่วมกับคนอื่น ทำให้เราต้องมีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา โดยเราต้องมีการพัฒนาตนเองให้มีความรู้มากยิ่งขึ้น เพราะในโลกปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราต้องทันต่อเหตุการณ์ และมีการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อเราจะได้นำความรู้ไปใช้ในการทำงาน ดังนั้น จึงอยากให้รุ่นน้องหรือผู้ที่ศึกษาอยู่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมให้มาก เพื่อที่จะได้ออกไปฝึกงานในหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้และประสบการณ์จากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพมาใช้ในการปฏิบัติงานในการทำงานในอนาคตเมื่อเราจบแล้ว และที่สำคัญอยากให้รุ่นน้องที่จะฝึกประสบการณ์มีการเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมก่อนฝึกงาน ศึกษารายละเอียดของงานที่เราจะฝึกให้ดี ว่าเป็นงานที่มีลักษณะอย่างไรเหมาะสมกับเราไหม และหน่วยงานที่เราไปฝึกนั้นมีประวัติและความเป็นมาอย่างไร สถานที่ตั้งอยู่ตรงไหน ไม่ควรเลือกที่ฝึกงานที่อยู่ไกลจนเกินไป ควรจะเลือกที่ฝึกงานที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อความสะดวกในการเดินทาง และความปลอยภัยด้วย เพื่อเราจะได้กลับมาทำรายงานในส่วนของเวลาที่เหลือได้อีก
ถ้าหากมีข้อสงสัยหรือมีปัญหาใด ๆ ก็ตาม ก็ควรที่จะซักถามถึงข้อสงสัยและปัญหากับองค์การที่เราไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เพราะปัญหาที่พบนั้นอาจจะเกิดขึ้นำด้เมื่อเราได้เข้าทำงานจริง ๆ

ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ระบบปฏิบัติการหรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานใช้ในการดำเนินงาน และขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารต่างๆ

แนวทางการแก้ไข
๑. สอบถามเจ้าหน้าที่ที่ดูแลระบบ เพื่อทำการศึกษาและทำความเข้าใจ ในการใช้งานระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งจะส่งผล ให้สามารถปฏิบัติงาน ได้ง่ายขึ้นและประสบผลสำเร็จในการทำงาน เช่น โปรแกรม Excel , SAP เป็นต้น
๒. ฝึกฝนและทบทวนการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญ หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ให้สอบถามผู้รู้ ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานที่ได้มอบหมายบรรลุเป้าหมายได้ดีมากยิ่งขึ้น
๓. ศึกษาและทำความเข้าใจในงานเอกสารด้วยความรอบคอบและตรวจเอกสาร หลักฐานเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ให้ดีเพื่อลดการเกิดข้อผิดพลาดให้ได้มากที่สุด หากไม่เข้าใจให้สอบถามผู้รู้ในหน่วยงาน

ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการงานด้านงานเอกสาร เนื่องจากในการปฏิบัติงานจริงไม่เหมือนกับที่เรียนมา ทำให้ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจส่งผลให้การทำงาน เกิดความล่าช้า

แนวทางการแก้ไข
1. เนื่องจากในทางปฏิบัติหน่วยงานแต่ละแห่งจะมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานเพื่อให้สอดคล้องและสะดวกต่อการทำงานของหน่วยงาน แต่พื้นฐานจะปรับประยุกต์จากสิ่งที่เรียนมา (ทฤษฎี) ดังนั้นเพื่อที่จะทำงานได้ถูกต้อง และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นักศึกษาจึงความสอบถามและขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ที่ดูแล
2. ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้หาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำงานเอกสารหรือ งานที่ได้รับมอบหมายอยู่เป็นประจำ เพื่อให้การทำงานง่ายขึ้น และบรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะเอกสารเฉพาะทาง/วิชาชีพ เช่น งานเอกสารทางการบัญชี งานภาษีอากร เป็นต้น

ปัญหาการสื่อสารและการให้บริการเกิดข้อผิดพลาดเพราะว่า ต้องรีบดำเนินการเนื่องจากลูกค้ามีจำนวนมาก เกิดความล่าช้า

แนวทางการแก้ไข
1. ต้องควบคุมอารมณ์และตั้งสติในการทำงานตามขั้นตอนที่ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล ทั้งนี้เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจ
2. ให้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลให้คำแนะนำและช่วยตรวจเอกสารเพื่อลดข้อผิดพลาด เนื่องจากต้องเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการแก่ลูกค้า

ปัญหาความไม่เข้าใจเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย เนื่องจากยังไม่เคยทำมาก่อนทำให้การทำงานเกิดความล่าช้า และผลงานที่ได้อาจไม่ดีพอ เกิดความล่าช้า

แนวทางการแก้ไข
1. เป็นเรื่องปกติสำหรับการทำงานครั้งแรก สิ่งสำคัญคือหากไม่เข้าใจในที่ได้รับมอบหมาย ควรสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลงานในส่วนนั้น เพื่อจะได้ทำได้ถูกต้องและไม่เสียเวลาเพิ่มขึ้นในการตรวจแก้ไข
2. หากได้รับมอบหมายงานหลายงานอย่างและเกรงจะจำได้ไม่ครบถ้วน นักศึกษาควรมีการจดบันทึกไว้และตรวจสอบรายละเอียดของงานทุกครั้งว่าได้ทำถูกต้องและครบถ้วนตามที่ได้รับมอบหมายมาหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้งานสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมายและเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด

ความกังวลเกี่ยวกับการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน เนื่องจากในส่วนงาน ที่ไปฝึกประสบการณ์ฯ นั้น มีแต่ผู้ร่วมงานที่เป็นผู้ชายทำให้ ไม่กล้าพูดหรือถามเวลาไม่เข้าใจหรือมีข้อสงสัย ทำให้การทำงาน ติดขัดและเกิดข้อผิดพลาด

แนวทางการแก้ไข
1. พยายามปรับตัวและกล้าที่พูดคุยกับผู้ร่วมงานด้วยโดยเฉพาะกับผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลและสอนงานแก่นักศึกษา เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานและการเรียนรู้วัฒนธรรมองค์การของหน่วยงานนั้น ๆ ด้วย
2. เมื่อมีข้อสงสัยใดๆ ในการทำงานให้สอบถาม ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างมนุษยสัมพัมธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน และการสอบถามในส่วนที่ทำไม่ได้จะช่วยทำให้การทำงานติดขัดและเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
3. กรณีผู้ร่วมงานมีแต่ผู้ชายและนักศึกษาเป็นหญิง การอยู่ร่วมกันควรอยู่บนพื้นฐานของการทำงานเท่านั้น หากมีข้อจำกัดใด ๆ ที่นักศึกษามีความกังวลให้รีบปรึกษาอาจารย์ประจำสายนิเทศทันที

การพิมพ์เอกสารราชการซึ่งต้องพิมพ์รายชื่อ ตัวเลขต่าง ๆ เช่น ค่าใช้สอย ค่าตอบแทนอื่น ๆ ซึ่งจะพิมพ์ผิดไม่ได้และการต้องมีการตรวจสอบ หมายเลขรหัสของค่าใช้จ่าย เช่น รหัสงบประมาณ ฯลฯ อย่างรอบคอบและ ละเอียดเพื่อป้องกันการผิดพลาดเพราะหากการตั้งฎีกาหรือบันทึกเข้าสู่ระบบฯ คอมพิวเตอร์ของหน่วยงานส่วนกลางแล้ว พบความผิดพลาดจะแก้ไขยาก

แนวทางการแก้ไข
1. การทำงานที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ โดยเฉพาะเกี่ยวกับตัวเลข และมีการบันทึกผ่านระบบปฏิบัติการของหน่วยงาน จำเป็นต้องมีความระมัดระวังและรอบคอบในการตรวจสอบและบันทึก
2. หากมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจควรสอบถามผู้ดูแลฯ โดยตรงไม่ควรตัดสินใจ ด้วยตนเอง เนื่องจากเป็นการทำงานที่เกี่ยวกับตัวเลข โดยเฉพาะการทำงาน/บันทึกผ่านระบบฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อขั้นตอนอื่น ๆ ด้วย เนื่องจากหากเกิดความผิดพลาดจะก่อให้เกิดปัญหาและจะทำความยุ่งยากให้กับหลายฝ่ายที่ต้องติดตามแก้ไข

ขาดความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การแยกประเภทและการจัดเรียงเอกสารเข้าแฟ้ม และการใช้เครื่องใช้สำนักงาน เช่น Fax และเครื่องถ่ายเอกสาร

แนวทางการแก้ไข
1. นักศึกษาต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้ใฝ่รู้ ช่างสังเกต การเรียนรู้งานเบื้องต้นคือการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการสังเกต การศึกษางานเอกสาร อย่างไรก็ตามหากเกิดข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจในการทำงาน ควรสอบถามผู้ดูแลงานนั้น ๆ โดยตรง
2. ขอให้ผู้ดูแลฯ ช่วยสอนการทำงาน หากงานมีความซับซ้อน ยากต่อความเข้าใจให้ทำการบันทึกขั้นตอนการทำงานเพื่อช่วยจำ
3. ความเชี่ยวชาญเกิดจากความชำนาญและประสบการณ์ในการทำงาน การฝึกฝนเรียนและรู้การทำงาน การแก้ไขปัญหาจากการทำงาน หากหมั่นฝึกฝนและทำบ่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ในที่สุดจะเกิดทักษะความชำนาญในงานนั้นเอง

ปัญหาเกี่ยวกับการเดินทางไปสถานที่ฝึกประสบการณ์ฯ เช่น สถานที่ฝึกประสบการณ์ฯ อยู่ห่างจากบ้านพักมาก , ช่วงฝึกประสบการณ์ฯ เป็นช่วงหน้าฝนทำให้การเดินทางนั้นลำบาก เป็นต้น

แนวทางการแก้ไข
ข้อควรรู้ การฝึกประสบการณ์ฯ เป็นรูปการเรียนรู้นอกเหนือจากการเรียนรู้ในรั้วมหาวิทยาลัยฯ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญอย่างหนึ่งที่มุ่งหวังสร้างเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการฝึกประสบการณ์ฯ นั่นคือ “การปรับตัว” และ” การบริหารจัดการตนเอง”
1. กรณีเกิดปัญหาในการฝึกประสบการณ์ฯ ที่เกิดจากข้อจำกัดส่วนตัว เช่น ที่พักอยู่ไกลจากสถานที่ฝึกประสบการณ์ เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางที่มีรอบวิ่งรถน้อยทำให้ไปทำงานไม่ทัน/ตกรถ เป็นต้น
ปัญหาข้างต้นเป็นปัญหาทีสร้างความยากลำบากให้นักศึกษาได้จริง แต่สิ่งที่นักศึกษาต้องตระหนักคือนั่นเป็นปัญหาส่วนบุคคล แต่ละคนมีข้อจำกัดของตนเอง ดังนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด จึงขึ้นอยู่กับวิธีการและปัจจัยเบื้องต้นของนักศึกษา เช่น ที่พักอยู่ไกลหากนักศึกษาไม่มีข้อจำกัดด้านการเงินก็ให้หาที่พักที่อยู่ใกล้สถานที่ฝึกงาน หรือแม้แต่การหาสถานที่ฝึกประสบการณ์ฯ ที่อยู่ใกล้ที่พักตั้งแต่แรกก่อนที่จะลงทะเบียนเลือกสถานที่ฝึกประสบการณ์ฯ ผ่านระบบฯ
2. ปัญหาที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น ฤดูฝน/ฝนตกหนัก,น้ำท่วม ฤดูร้อน/แดดจัด,ที่ทำงานไม่มีเครื่องปรับอากาศ ฤดูหนาว/ตอนเช้าหนาวมาก,หมอกจัดเดินทางลำบาก ฯลฯ
ภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะที่เป็นไปตามฤดูกาล ล้วนเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องพบเจอ ร่วมกัน นักศึกษาต้องเรียนรู้การปรับตัวกับปัญหานี้ เช่น เป็นปัญหาที่ทำให้ไปทำงานสาย/เดินทางลำบาก แนวทางแก้ไขปัญหาคือต้องปรับตัวโดยการวางแผนการเดินทางที่เหมาะสม เช่น ออกเดินทางให้เร็วกว่าปกติเพื่อให้ไปถึงที่ทำงานทันเวลา, ใช้ความระมัดระวังในการเดินทางมากขึ้น หรือแม้แต่การแก้ไขปัญหาด้วย “ความอดทน” เช่น อากาศร้อนที่ทำงานไม่มีเครื่องปรับอากาศ เพราะไม่ใช่เราคนเดียวที่ร้อน (ทำไมผู้ร่วมงานคนอื่นไม่มีปัญหา)

ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ รวมถึงการรับโทรศัพท์เข้า-ออก มีปัญหาเนื่องจากหน่วยงานในสำนักงานมีหลายฝ่ายมีหลายเบอร์ทำให้จำได้ไม่หมดจึงเกิดความล่าช้าในการโอนสายและการตอบคำถามของผู้ที่ติดต่อมาสอบถาม

แนวทางการแก้ไข
1. สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อได้รับมอบหมายงานคือ หน่วยงานมีคู่มือการทำงาน หรือเอกสารเกี่ยวกับการปฏิบัติงานหรือไม่ ซึ่งหน่วยงานขนาดใหญ่ หน่วยงานราชการมักจะมีอยู่แล้ว
2. กรณีเบอร์โทรศัพท์ภายใน ปกติหน่วยงานจะมีสมุดโทรศัพท์ที่ แสดงแผนก/ฝ่ายงานและเบอร์ติดต่อภายใน ดังนั้นหากในช่วงแรกที่ยังไม่คุ้นเคยก็สามารถใช้สมุดโทรศัพท์ช่วยในการทำงาน และอาจใช้วิธีอื่น ๆ เช่น เบอร์ติดต่อใดที่ใช้บ่อยมากก็ควรจดบันทึกไว้ต่างหากและวางในที่อ่านได้ง่ายจะได้สะดวกเวลาใช้งานทันที
3. กรณีหน่วยงานให้ระบบการโทร-การโอนสายโทรศัพท์ผ่านระบบฯ นักศึกษาควรใช้งานให้คล่อง รวมถึงฝึกใช้โปรแกรมของสำนักงานในการค้นหาเบอร์โทรศัพท์ให้คล่องมากขึ้น

ปัญหาการไม่เข้าใจในหัวข้องานที่ได้รับมอบหมายเนื่องจาก ความซับซ้อนของงานที่ทำ และการเข้าบันทึกข้อมูลใน โปรแกรม SAP เนื่องจากโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ ที่องค์กรส่วนมากใช้กัน เป็นโปรแกรมที่มีความซับซ้อนมาก ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาอย่างมาก

แนวทางการแก้ไข
1. หากเกิดข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจในการทำงาน ควรสอบถามผู้ดูแลงาน นั้น ๆ โดยตรง
2. ขอให้ผู้ดูแลฯ ช่วยสอนการใช้งานระบบฯ หากงานมีความซับซ้อน ยากต่อความเข้าใจให้ทำการบันทึกขั้นตอนการทำงานเพื่อช่วยจำ
3. หมั่นฝึกฝนบ่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง จะเกิดทักษะความชำนาญในการทำงานนั้นเอง

สถานที่ฝึกประสบการณ์ฯ รับนักศึกษามาฝึกประสบการณ์ฯ มากเกินไปทำให้เกิดการว่างงาน

แนวทางการแก้ไข
ข้อควรรู้ ฝ่ายฝึกประสบการณ์ฯ ได้มีการกำหนดจำนวนการรับ นักศึกษาฝึกประสบการณ์ฯ (ซึ่งเป็นจำนวนที่หน่วยงานตอบรับ) ไว้ในระบบการจองสถานที่ฝึกงานแล้ว อย่างไรก็ตามหากในทางปฏิบัติ พบว่าสถานที่ฝึกประสบการณ์ฯ มีจำนวนนักศึกษามากเนื่องจากมีนักศึกษาฝึกประสบการณ์ฯ จากสถาบันการศึกษาอื่นร่วมด้วย จนทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน
1. นักศึกษาควรปรึกษาผู้ที่หน่วยงานมอบหมายให้ดูแล/สอนงานแก่ นักศึกษาทราบถึงปัญหาดังกล่าว และอาจอาสาช่วยงานอื่น ๆ ที่สามารถทำได้กับผู้ดูแลฯ (ไม่ต้องรอให้ผู้ดูแลฯ มอบหมาย/หางานให้ทำทุกครั้ง)
2. พิจารณาปัญหาให้แน่ชัดว่าการที่ว่างงานเกิดจากไม่มีงานจริง หรือเกิด จากตัวนักศึกษาที่อาจมีข้อจำกัดที่ทำให้ผู้ดูแลฯ ขาดความเชื่อมั่นที่จะมอบหมายงานให้ทำ เช่น ขาดความรับผิดชอบ มาสายประจำ เป็นต้น ซึ่งนักศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวและแสดงให้ผู้ดูแลเชื่อมั่นได้ว่าสามารถไว้วางใจและมอบหมายให้ทำงานได้

การฝึกงานไม่ตรงสาขาวิชาที่เรียน ทำให้การทำงานเกิดความ ผิดพลาด และล่าช้าเพราะต้องเรียนรู้งานที่ไม่มีพื้นฐานความรู้มาก่อน

แนวทางการแก้ไข
ข้อควรรู้ การเลือกสถานที่ฝึกประสบการณ์ฯ คณะบริหารธุรกิจและการ จัดการมีนโยบายให้นักศึกษาเลือกสถานที่ฝึกประสบการณ์ด้วยตนเองก่อน โดยได้จัดทำระบบการจองสถานที่ฝึกประสบการณ์ฯ ซึ่งมีรายชื่อสถานที่ฝึกประสบการณ์ฯ และจำนวนที่รับไว้ชัดเจน และนักศึกษาสามารถเสนอสถานที่อื่น ๆ ซึ่งหากคณะกรรมการฝึกประสบการณ์ฯ พิจารณาเห็นเหมาะสมก็สามารถฝึก ณ สถานที่นั้น ๆ ได้
1. กรณีนักศึกษาได้ฝึกงานที่ไม่ตรงกับสาขาที่เรียน ควรพิจารณาถึง สาเหตุ เช่น ไม่ได้ระบุหรือแจ้งกับหน่วยงานตั้งแต่แรกว่าต้องการฝึกงานในส่วนงานใด กรณีนี้ให้นักศึกษาปรึกษาผู้ที่หน่วยงานมอบหมายให้ดูแลฯ นักศึกษา
2. กรณีแจ้งความประสงค์แล้วแต่เมื่อไปฝึกประสบการณ์ฯ จริง กลับ ได้รับมอบหมายให้ไปฝึกกับหน่วยงานอื่นที่ไม่ตรงกับที่แจ้งไว้ ให้นักศึกษาปรึกษาผู้ที่หน่วยงานมอบหมายให้ดูแลฯ นักศึกษา และขอความอนุเคราะห์เข้าฝึกประสบการณ์ฯ ในส่วนงานที่แจ้งความประสงค์ไว้
อย่างไรก็ตามหากท้ายสุดแล้วจำเป็นต้องฝึกประสบการณ์ฯ ในงานที่ไม่ตรงกับสาขาที่เรียนมา และด้วยข้อจำกัดเกี่ยวกับเวลาในการฝึกประสบการณ์ฯ (ไม่สามารถหา/ขอย้ายสถานที่ฝึกประสบการณ์ฯ ได้ทัน) นักศึกษาจำเป็นต้องฝึกประสบการณ์ ณ สถานที่ที่นักศึกษาเลือกเอง และให้เรียนรู้การทำงานอื่น ๆ ซึ่งแม้ไม่ตรงกับสาขาที่เรียนแต่ก็มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้และการฝึกประสบการณ์ชีวิตของคนทำงานจริง ๆ

ระบบการจองสถานที่ฝึกประสบการณ์ฯ ของฝ่ายฝึกประสบการณ์ฯ มีความล่าช้า ทำให้การกรอกข้อมูลขัดข้อง ผิดพลาด และการทำงานก็เกิดความล่าช้าไปด้วย

แนวทางการแก้ไข
1. ฝ่ายฝึกประสบการณ์ฯ ควรพัฒนาระบบให้มีความทันสมัย มีความเสถียรต่อการทำงานมากยิ่งขึ้น (โดยเฉพาะช่วงการเปิดระบบให้จองฯ เนื่องจากนักศึกษาต่างเข้าระบบจองฯ เป็นจำนวนมากทำให้บางครั้งระบบล่ม ไม่สามารถเข้าจองฯ ได้ บางครั้งพอเข้าระบบจองฯ ได้ ก็สถานที่ฝึกฯ ก็ถูกจองจนเต็มจำนวนที่จะรับเข้าฝึกฯ แล้ว)
2. หมั่นทบทวนและฝึกการใช้ระบบการจองสถานที่ฝึกประสบการณ์ฯ ให้เข้าใจ เมื่อเปิดระบบฯ ให้จองจะได้ทำได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว (ซึ่งคณะบริหารธุรกิจและการจัดการได้บรรจุการใช้ระบบการจองฯ เข้าไว้ในรายวิชาการฝึกประสบการณ์ฯ แล้ว และมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำการใช้ระบบการจองฯ ไว้ให้)

ขาดความกล้าแสดงออก ไม่กล้าสอบถามเมื่อมีข้อสงสัย ทำให้ การทำงานเกิดความผิดพลาดขึ้น

แนวทางการแก้ไข
นักศึกษาต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง โดยเฉพาะเมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับงานที่ได้รับหมาย หากไม่เข้าใจต้องสอบถามผู้ที่มอบหมายงานให้จะทำให้การทำงานนั้นประสบความสำเร็จ

ในการตรวจสอบเอกสารเฉพาะทาง เช่น รายงานภาษีซื้อ - ขาย ข้อมูลที่ต้องตรวจสอบค่อนข้างซับซ้อน ทำให้เกิดปัญหาในการตรวจสอบ

แนวทางการแก้ไข
1. นักศึกษาเมื่อได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบเอกสารใด ๆ โดยเฉพาะเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเงิน จำเป็นต้องตรวจอย่างละเอียด รอบคอบ หากพบเจอปัญหาหรือมีข้อสงสัย ให้ถามผู้ดูแลฯ ไม่ควรตัดสินใจ/คิดสรุปเอาเอง
2. นักศึกษาเมื่อได้ทราบว่าได้ฝึกงานในแผนกใดหรือ ทราบลักษณะงานที่ได้รับมอบหมายแล้ว หากคิดว่าตนเองยังมีความรู้ความเข้าใจในงานนั้น ๆ ไม่เพียงพอ ให้ศึกษาหาความรู้/ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมายเพิ่มเติม

หน่วยงานไม่ระบุการทำงานให้นักศึกษาอย่างชัดเจนทำให้สับสนเมื่อมีการเรียกใช้งาน

แนวทางการแก้ไข
การให้หน่วยงานแบ่งงานอย่างชัดเจนเพื่อลดการสับสนของนักศึกษา อาจเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ในทางปฏิบัติเราไม่สามารถก้าวก่ายวิธีการทำงานของหน่วยงานที่รับนักศึกษาเข้าฝึกงานได้ อย่างไรก็ตามหากนักศึกษาเกิดความสับสนในงาน ควรปรึกษาผู้ดูแลฯ

ขาดเทคนิคในการพูดขายสินค้า ไม่ทราบข้อมูลของสินค้า แต่ละชนิด

แนวทางการแก้ไข
1. หมั่นฝึกฝนและสังเกตเทคนิคการพูดจากรุ่นพี่ในที่ทำงาน หากไม่เข้าใจให้สอบถามเพิ่มเติม
2. ศึกษาข้อมูลของสินค้าแต่ละชนิดให้เข้าใจ จะได้สามารถ อธิบายและพูดขายสินค้าได้คล่องแคล่วมากยิ่งขึ้น

การฝึกประสบการณ์ฯ ยังได้ความรู้ไม่มากนักเนื่องจาก ระยะเวลาในการฝึกประสบการณ์ฯ นั้นมีน้อย

แนวทางการแก้ไข
ระยะเวลาฝึกประสบการณ์ฯ เป็นไปตามที่กำหนดในหลักสูตร แต่หากนักศึกษาใช้เวลาที่มีเก็บเกี่ยวความรู้ต่าง ๆ ให้เต็มที่ ก็มากพอที่จะให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิถีของคนทำงาน การปรับประยุกต์ใช้วิชาความรู้กับการทำงานจริง เป็นต้น
อย่างไรก็ตามหากนักศึกษาสนใจที่จะฝึกประสบการณ์ฯ ให้มากกว่าระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร นักศึกษาสามารถฝึกประสบการณ์ ฯ นอกหลักสูตรได้ และหากหน่วยงานต้องการใบส่งตัวจากคณะบริหารธุรกิจและการจัดการ ก็สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานคณบดีคณะบริหารธุรกิจและการจัดการ

ระหว่างการฝึกประสบการณ์ฯ ทางหน่วยงานได้มีการย้ายฝ่าย ย้ายแผนก ทำให้ต้องเรียนรู้งานใหม่

แนวทางการแก้ไข
สำหรับนักศึกษาอาจเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะต้องทบทวน ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับงานใหม่ ๆ อยู่เสมอ แต่หากพิจารณาให้ดีนี่คือโอกาสในการเรียนรู้งานใหม่ ๆ เรียนรู้การทำงานในส่วนต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตัวนักศึกษาเอง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด