ปัญหา/อุปสรรค

เหตุช้างป่างาสั้นกระทืบชาวบ้านตายรายนี้ เปิดเผยเมื่อเวลา 19.30 น. วันที่ 2 ธ.ค. ร.ต.ท.อนุรักษ์ หนักแน่น รอง สว. (สอบสวน) สภ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา รับแจ้งมีเหตุช้างป่ากระทืบคนงานกรีดยางเสียชีวิตที่บ้านหินแร่ หมู่ 7 ต.ท่ากระดาน ไปตรวจสอบพร้อม พ.ต.อ.สุมิตร พรมตอง ผกก.สภ.สนามชัยเขต เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน แพทย์ และอาสาหน่วยกู้ภัยพนม จุดทุ่งพระยาและจุดสนามชัยเขต

ที่เกิดเหตุเป็นสวนยางพาราพบศพนายซอว ซอว อาว อายุ 33 ปี ชาวเมียนมา สภาพนอนคว่ำหน้าจมดิน กะโหลกแตกมันสมองไหล กระดูกซี่โครงหัก และลำตัวเกือบขาด ที่พื้นพบรอยเท้าช้างขนาดใหญ่อยู่เต็มพื้นที่ ใกล้กันพบลูกชายผู้ตายวัย 5 และ 8 ขวบ นั่งร้องไห้อยู่ไม่ห่างศพ

สอบถามลูกชายผู้ตายวัย 8 ขวบทราบว่า พ่อขี่รถซาเล้งพาตนและน้องชายอายุ 5 ขวบ มาทำงานที่สวนยางพารา ส่วนน้องคนเล็กอยู่บ้านกับแม่ จังหวะที่พ่อไปรับจ้างกรีดยางในสวน ตนและน้องนั่งเล่นอยู่ที่รถซาเล้งเห็นช้างป่างาสั้นไล่ทำร้ายพ่อด้วยการเตะ และกระทืบร่างพ่อหลายครั้ง ตนกลัวมากและน้องร้องไห้เสียงดัง ช้างเดินมาหาที่รถจะเข้ามาทำร้าย ตนเอามือปิดปากน้องและปลอบให้หยุดร้องไห้ทำให้ช้างหันไปทางอื่น ตนรีบพาน้องวิ่งหนีขอความช่วยเหลือ

ต่อมานายทรัพย์ทวี กุลสารี นายก อบต.ท่ากระดาน เปิดเผยว่า มอบเงินสดส่วนตัว 5,000 บาทช่วยเหลือครอบครัวผู้สูญเสีย วอนรัฐบาลดำเนินการแก้ปัญหาช้างป่าเพราะสร้างความเดือดร้อนและความสูญเสียกับชาวบ้านมาหลายราย อย่าปล่อยให้ท้องถิ่นดูแลเพียงลำพัง ด้วยงบประมาณและอีกหลายปัจจัยยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม ชาวบ้านสังเวยชีวิตจากเหตุการณ์ช้างป่าทำร้ายคนตายเป็นรายที่ 2 เหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นช่วงเช้าบริเวณบ้านอ่างเสือดำ หมู่ 7 ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นอำเภอติดต่อกันกับ อ.สนามชัยเขต พอตกค่ำเกิดเหตุช้างป่าทำร้ายคนเป็นศพที่ 2

ที่ศาลากลางจังหวัดระยอง กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ประชุมหารือร่วมกันของ ผู้บริหารในจังหวัดภาคตะวันออกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนต่อการจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาช้างป่าที่ออกนอกแนวเขตป่าอนุรักษ์เข้าทำลายพื้นที่เพาะปลูก บ้านเรือน และร่างกายประชาชน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดระยองมอบหมายให้นายอนันต์ นาคนิยมรอง ผวจ.ระยอง เป็นผู้แทนจังหวัดระยองเข้าร่วมประชุม

น.ส.ศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม กล่าวว่า การประชุมวันนี้จะเป็นการสรุปข้อมูลแนวทางร่วมกันถึงความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา รวมถึงกำหนดขอบเขตพื้นที่อาศัยของช้างป่า และการเยียวยาประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ยังคงพบความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง กสม.จะทำรายงานสรุปทั้งข้อเสนอและปัญหาอุปสรรครายงานไปยังรัฐบาล

นายเผด็จ ลายทอง ผอ.สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่าปัจจุบันมีช้างป่าอาศัยอยู่ตามธรรมชาติประมาณ 4,000 ตัว และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ปัญหาหนึ่งที่ทำให้ยากต่อการแก้ไขคือ ช้างป่าสามารถปรับตัวต่อแนวกั้นช้างในรูปแบบต่างๆได้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หารือกับกรรมาธิการแก้ปัญหาช้างป่ามาหลายครั้ง แต่ยังคงมีปัญหาด้านการทำโครงสร้างวิศวกรรมการสร้างแนวป้องกันช้างป่า และยังถูกตั้งข้อสังเกตเรื่องงบประมาณและความสอดคล้องกับระบบนิเวศมาโดยตลอด ยอมรับว่าปัญหาดังกล่าวแก้ไม่ง่ายต้องหาแนวทางแก้ไขร่วมกันทุกภาคส่วน

ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวเป็นเรื่องสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 ก.ย.2564 ที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ปัญหาช้างป่า สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาว่าปัจจุบันช้างป่าจากเขตอุทยานแห่งชาติ รวมถึงป่าในความดูแลของหน่วยงานรัฐ ออกมาทำลายพืชผลทางการเกษตร ทรัพย์สิน ร่างกาย และชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่มีมาตรการป้องกันหรือแนวทางการแก้ปัญหาเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าอย่างเป็นรูปธรรม จนก่อให้เกิดความขัดแย้งหลายฝ่าย คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ปัญหาช้างป่า สภาผู้แทนราษฎรมีหนังสือขอให้ กสม.เข้ามาดำเนินการตามหน้าที่หรืออำนาจที่มี เพื่อให้เกิดข้อเสนอแนะในเชิงระบบไปยังองค์กรที่เกี่ยวข้อง

เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่ "ฟุตบอลโลก 2022" รอบสุดท้ายจะเริ่มขึ้น ก็เกิดคำถามตัวโตๆ ทันที? เมื่อไทย ยังหาเจ้าภาพในการซื้อลิขสิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 2022 ยังไม่ได้ เป็นที่มา ที่ทำให้ "กกท." ยื่นขอเงินทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. เพื่อจ่ายค่าลิขสิทธิ์ที่ในตอนแรก พีฟ่าเรียกเก็บสูงถึง 1,600 ล้านบาท

ตัวเลขที่สูงขนาดนี้ ทำให้เกิดคำถามตามมา เหตุเพราะการนำเงิน กทปส. นำไปใช้ซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก อาจไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุน แต่ท้ายที่สุด กสทช. ก็อนุมัติเงิน 600 ล้านบาท เป็นทุนตั้งต้นในการซื้อลิขสิทธิ์ แต่ปัญหาต่อมาก็คือ? แล้ว กกท. จะหาเงินที่เหลือจากไหนมาเติมให้ครบ จึงเป็นที่มาของการหาภาคเอกชน มาร่วมลงขัน ออกเงิน จนท้ายสุดแล้ว กกท. ก็สามารถปิดดีลในการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2022 กับ "สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า" ได้สำเร็จ ด้วยมูลค่า 1,200 ล้านบาท (ยังไม่รวมภาษีและค่าใช้จ่ายอื่นๆ) จนที่สุดคนไทยก็ได้รับชมถ่ายทอดผ่านทางฟรีทีวีทั้ง 64 นัด แต่!! ปัญหา ก็ยังไม่จบ แค่นี้ 

ทีวีดิจิทัลโวยสิทธิ์ถ่ายทอดไม่เป็นธรรม

ก่อนการถ่ายทอดสด "ฟุตบอลโลก 2022" ผ่านฟรีทีวีนัดแรก "สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล" ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย หลังจากที่ กกท. มอบลิขสิทธิ์ให้กับ บริษัท ทรู คอร์เปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) แต่เพียงผู้เดียว เนื่องจากเป็นหนึ่งในผู้ร่วมสนับสนุนค่าลิขสิทธิ์ เป็นเงิน 300 ล้านบาท ทำให้ทรูได้รับสิทธิ์ในการเลือกถ่ายทอดสดจำนวน 32 นัดก่อน จาก 64 นัด ทั้งทางทีวีดิจิทัล และ ช่องทางอื่นๆ

สมาคมฯ จึงมีการยื่นหนังสือต่อ กสทช. ให้มีการตรวจสอบเรื่องนี้ เห็นว่า เงินจำนวนหนึ่ง มาจาก กทปส. ซึ่งถือว่าเป็นเงินจากรัฐ และ ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลก็มีส่วนในการจ่ายเงินเข้ากองทุนนี้ รวมทั้งมีเอกชนรายอื่นที่ร่วมสนับสนุนเงินทุนซื้อลิขสิทธิ์ การจัดสรรตารางการถ่ายทอดสดควรต้อง ทั่วถึง เท่าเทียม เป็นธรรม

แม้คนไทยจะอุ่นใจว่า จะได้ดูรายการถ่ายทอดสดสำคัญระดับโลก และจะไม่เกิดกรณี "จอดำ" เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นกับ การถ่ายทอดสด ฟุตบอลยูโร 2012 ที่ผู้รับชมฟุตบอลผ่านกล่องรับสัญญาณบางยี่ห้อ ไม่สามารถรับชมได้ เพราะมีประกาศ Must carry ของ กสทช. ที่ออกมา เมื่อ ปี 2556 เพื่อกำหนดให้ผู้บริการโทรทัศน์ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. ต้องนำรายการในช่องฟรีทีวี ไปออกอากาศในทุกช่องทาง โดยห้าม “จอดำ”

แต่ปัญหานี้ ก็ยังเกิดขึ้น ในการถ่ายทอดสด "ฟุตบอลโลก 2022" เมื่อกลุ่มทรู ในฐานะผู้ได้รับลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก จาก กกท. แต่เพียงผู้เดียวในไทย ได้ยื่นฟ้องศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ห้ามผู้ให้บริการทีวีอินเทอร์เน็ตรายหนึ่งที่ให้บริการผ่านกล่อง AIS PLAYBOX ไม่ให้นำการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ไปเผยแพร่ผ่านทาง โทรทัศน์ ระบบ IPTV ซึ่งศาล มีคำสั่งห้ามผู้ให้บริการรายดังกล่าว นำสัญญาณไปถ่ายทอด เป็นผลทำให้เกิดเหตุการณ์ ทีวี “จอดำ”

รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นักวิชาการ จี้ กกท. เปิดข้อตกลงลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก

กกท. ยังถูกตั้งคำถามต่อ โดย "รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี" นักวิชการจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เรียกร้องให้ กกท. ควรออกมาชี้แจงและเปิดเผยสัญญาที่ทำข้อตกลงให้การให้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2022 กับ บริษัท ทรู โดยตั้งข้อสังเกตว่า ลิขสิทธิ์ (Media Rights Licensees) อย่างเป็นทางการ เป็นของการกีฬาแห่งประเทศไทย (หรือ SAT-Sports Authority of Thailand) ตามที่ปรากฏใน Digital hub ของ FIFA การกีฬาแห่งประเทศไทยซื้อลิขสิทธิ์จากเงิน 600 ล้านบาท ที่ กสทช. มอบให้ โดยเจตนาให้ประชาชนไทยได้ชมฟุตบอลโลกได้ "ทุกช่องทาง"

“คำถามคือ ทำไมการกีฬาแห่งประเทศไทยจึงโอนลิขสิทธิ์นี้ให้ ทรู ซึ่งจ่าย 300 ล้าน เป็นผู้ตัดสินใจ การกีฬาแห่งประเทศไทยควรออกมาชี้แจง และเปิดเผยสัญญา/ข้อตกลงที่ทำกับทรู” เงิน 600 ล้านบาทเป็นเงินของประเทศและประชาชน เมื่อนำไปใช้ควรเปิดเผย ตรวจสอบได้"

สภาฯ ผู้บริโภค ยื่น 5 ข้อเรียกร้องแก้ปัญหาลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก

ตัวแทน สภาองค์กรของผู้บริโภค เห็นว่า ต้องจัดให้ประชาชนต้องได้รับชมการถ่ายทอดฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายอย่างทั่วถึงผ่านฟรีทีวีเพื่อการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และจากการติดตามข้อเท็จจริงในประเด็นลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก พบว่า สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ให้ลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกในประเทศไทยกับการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เพียงผู้เดียว ดังนั้น กกท. จึงมีสิทธิ์ในการจัดสรรการถ่ายทอดสดครั้งนี้ให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงทุกช่อง แต่ กกท. กลับให้เอกชน ได้สิทธิ์เลือกคู่แข่งขัน ทั้งจำนวนคู่ และได้จำนวนช่องที่มากกว่า และยังได้รับการสนับสนุนจากค่าโฆษณาสินค้าอีกด้วย

ที่ผ่านมา กกท. ยังไม่เคยประกาศอย่างเป็นทางการว่ามีการทำสัญญาการให้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลกระหว่าง กกท. กับ ผู้ประกอบการรายดังกล่าวเลย และเป็นที่มาของคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลทรัพย์สินทางปัญญา ที่ตามมาคือผู้บริโภคได้รับผลกระทบ เนื่องจากไม่สามารถรับชมช่องฟรีทีวีตามปกติได้ตามกติกาของ กสทช. ตามกฎ มัสต์แครี่ (Must Carry) และมัสต์แฮฟ (Must Have) กระทบสิทธิขั้นพื้นฐานผู้บริโภค สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงยื่นหนังสือข้อเสนอดังนี้

1. เปิดเผยรายละเอียดเงื่อนไขและสัญญาที่ กสทช. จัดทำกับ กกท. จากการสนับสนุนงบประมาณ 600 ล้านบาท จากกองทุน กทปส. มาตรา 52 และ 36 ที่อ้างถึงการให้คนพิการ คนด้อยโอกาสได้เข้าถึงการรับชมบอลโลก เพื่อดูว่าการสนับสนุนของกองทุน กทปส. เป็นไปตามเจตนารมณ์และเป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือไม่

2. กสทช. ควรแสดงความรับผิดชอบด้วยการออกมาตรการเยียวยาให้กับผู้บริโภคที่รับชมฟรีในระบบโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต (IPTV) มาโดยตลอด แต่ปัจจุบันไม่สามารถรับชมรายการตามปกติได้ครบทุกช่อง โดยเฉพาะเนื้อหาการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกรอบชิงชนะเลิศที่กำหนดในกฎมัสต์แฮฟ ส่งผลให้กระทบสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น การเยียวยาสนับสนุนอุปกรณ์ การรับสัญญาณดิจิทัลทีวีให้กับครัวเรือนที่ต้องการ โดยใช้กองทุน กทปส. มาสนับสนุนตามหลักการ

3. ควรเปิดรับเรื่องร้องเรียนเชิงรุก จากกรณีปัญหาจอดำที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เพื่อสำรวจผลกระทบและวางมาตรการแก้ไขเพื่อให้คนไทยเข้าถึง ‘ฟรีทีวี’ ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ตามหลักการโทรทัศน์ที่เป็นการบริการทั่วไปตามกฎหมาย กสทช.

4. กสทช. ควรเปิดรับฟังความเห็นการแก้ไข กติกามัสต์แฮฟ และมัสต์แครี่ ในระยะยาว ให้มีความเป็นธรรมมากขึ้นและปฏิบัติได้จริง โดยหาจุดสมดุลระหว่างการแข่งขันของเอกชนและการคุ้มครองผู้บริโภค

5. กสทช. ควรสรุปบทเรียนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อหาทางแก้ปัญหา เยียวยาผู้บริโภคในปัจจุบัน และ ป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดอีกในการแข่งขันบอลโลก ปี 2026

กกท. ร้อง กสทช. จอดำ C-Band หลัง ฟีฟ่าเตือนสัญญาณรั่ว

เนื่องจากได้รับคำเตือนจาก พีฟ่า ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริง หลังตรวจพบการลักลอบใช้สัญญาณถ่ายทอดสดแบบผิดกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย เนื่องมาจากมาตรฐานการเข้ารหัสสัญญาณดาวเทียมแบบเดิมที่ประเทศไทยใช้อยู่ คือในระบบ BISSKY โดย ฟีฟ่า ได้ส่งคำเตือนมาแล้วถึง 6 ครั้ง และหากไทยไม่แก้ไข จะถูกระงับสัญญาณ ห้ามถ่ายทอดสดการแข่งขัน แม้ว่าจะมีการจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ไปแล้วก็ตาม

กสทช. จึงมีมติให้ต้องมีการเข้ารหัสชั้นสูง (CAS) จากผู้ให้บริการโครงข่าย และงดการส่งสัญญาณภาพในระบบดาวเทียม C-Band หรือจานดำ ในช่วงการแข่งขัน ทำให้ผู้ชมในระบบดาวเทียม C-Band ไม่สามารถรับชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ได้

กสทช. ขู่เรียกคืน 600 ล้าน

จากหลายปัญหาที่เกิดขึ้น หลังการซื้อลิขสิทธิ์ ถ่ายทอดสด "ฟุตบอลโลก 2022" ทำให้ กสทช. มีหนังสือแจ้งไปยัง กกท. ให้ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022 รอบสุดท้าย 

หลังจาก กกท.ยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไขและปฏิบัติให้ถูกต้อง จึงขอให้ กกท. ดำเนินการแก้ไขและปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขและวัตถุประสงค์ของบันทึกข้อตกลง ที่กำหนดให้ กกท. ต้องบริหารจัดการสิทธิ์ให้ผู้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่อยู่ในการกำกับดูแลของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. สามารถถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022 รอบสุดท้าย ได้ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (Must Carry)

รวมทั้งต้องดำเนินการให้ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ที่ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกทุกราย ดำเนินการออกอากาศรายการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022 (รอบสุดท้าย) ให้สมาชิกสามารถได้รับบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปได้โดยตรงอย่างต่อเนื่อง และไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทำซ้ำ ดัดแปลง ผังรายการหรือเนื้อหารายการ

หาก กกท. ไม่ดำเนินการแก้ไข หรือไม่สามารถปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่กำหนด กกท.มีหน้าที่ชำระเงินสนับสนุนที่ได้รับไว้ทั้งหมดคืนแก่สำนักงาน กสทช. ภายใน 15 วันนับแต่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี

ปัญหาลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกในไทย ส่อวนซ้ำ 4 ปีข้างหน้า

"ดร.สลิลธร ทองมีนสุข" นักวิชาการ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ให้มุมมองต่อปัญหาลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกไว้น่าสนใจ โดยเหตุที่ทำให้การเผยแพร่บอลโลกในประเทศไทยมีความวุ่นวาย เกิดจาก 3 ปัจจัย

1) ประกาศ Must Have และ Must Carry ทำให้การซื้อลิขสิทธิ์ล่าช้า เพราะเอกชนขาดแรงจูงใจจะจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ซ้ำยังทำให้ค่าลิขสิทธิ์แพงขึ้น
จากประกาศของ กสทช. ดังกล่าวทำ ให้เพย์ทีวีขาดแรงจูงใจในการซื้อลิขสิทธิ์ เพราะ ต้นทุนค่าลิขสิทธิ์จะมีราคาสูงเพิ่มสูงขึ้น เพราะไม่ใช่แค่การอนุญาตให้ผู้ใช้งานกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีการรับชมผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่งได้ต่อไปแล้ว แต่บังคับว่าดูได้ทุกช่องทางทั่วประเทศ ส่งผลให้เจ้าของสิทธิ์ก็ต้องคิดเพิ่มค่าลิขสิทธิ์เพิ่มเติม

ค่าลิขสิทธิ์มหกรรมกีฬาสำคัญมีราคาสูง แต่เมื่อซื้อมาแล้วก็ต้องอนุญาตให้ฟรีทีวีเอาไปเผยแพร่ต่อได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ปัญหาที่เกิดตามมาก็คือทำให้จำนวนผู้ชมเพย์ทีวี ไม่มากอย่างที่ควร เพราะดูบอลผ่านฟรีทีวีได้อยู่แล้ว และจะส่งผลให้เอกชนไม่สามารถสร้างรายได้จากค่าสมัครสมาชิกจากแฟนบอลที่รับชมการแข่งขันได้

ในทางกลับกันฟรีทีวีก็ไม่มีแรงจูงใจในการไปซื้อลิขสิทธิ์ เพราะก็ต้องอนุญาตให้เพย์ทีวีรายอื่นเอาไปถ่ายทอดต่อได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วยเช่นกัน ตลอดจนทำให้ขายค่าโฆษณาได้ไม่คุ้มกับค่าลิขสิทธิ์ จึงทำให้อาจเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่านัก ประกาศที่ออกมาโดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้คนไทยได้รับชมมหกรรมกีฬาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม จึงกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้คนไทยเกือบไม่ได้ดูฟุตบอลโลกทันเวลา

ดร.สลิลธร ทองมีนสุข นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI

2) มูลค่าของสิทธิประโยชน์ที่ทรูได้ ไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนเงินที่ทรูจ่ายไป ซึ่งเกิดจากรัฐเองที่ไม่มีหลักเกณฑ์จัดสรรสิทธิ
การช่วยรัฐออกเงินค่าลิขสิทธิ์ในสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 21.4 ส่งผลให้ทรูได้รับสิทธิประโยชน์ในการถ่ายทอดสดจำนวน 32 นัด จาก 64 นัดแบบ exclusive ทุกช่องทาง ซึ่งทรูก็ถือว่าได้สิทธิ์มาในราคาที่ถูกเมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้ แม้ว่าภายหลังทรูจะยอมแบ่งการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ให้กับทีวีดิจิทัลจำนวน 16 นัดคู่ขนาน ก็ตาม 

หากดูผิวเผินจากสัดส่วนของผู้ที่มีส่วนลงขันในค่าลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกแล้ว เอกชนอื่นที่มีส่วนในการช่วยจ่ายค่าลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 2022 จะไม่ใช่ผู้ประกอบการด้าน media แต่โดยหลักแล้วผู้ประกอบการกลุ่มอื่นนอกจากทรูเองก็ควรได้รับสิทธิ์ด้วย แม้ว่าไม่ได้มีส่วนในการลงขันโดยตรง เนื่องจากเงินในการลงขันมาจากกองทุน กทปส. ซึ่งมีแหล่งที่มาของเงินกองทุนส่วนหนึ่งมาจากรายได้ของรายได้ผู้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และตามกฎหมายประกอบกิจการโทรคมนาคม 

3) การได้สิทธิประโยชน์ของทรู ไม่มีการประมูลหรือการเปิดให้มีการแข่งขัน 
ในเอกสารของฟีฟ่า ระบุ ไว้ชัดเจนว่าองค์กรที่ได้สิทธิ์ในการเผยแพร่ภาพฟุตบอลโลก 2022 ในประเทศไทย คือ กกท. แต่ทำให้หลายฝ่ายเคลือบแคลงว่าเหตุใดกกท. จึงให้ผู้ประกอบการที่มีส่วนสนับสนุนร้อยละ 21.4 ได้สิทธิ์แบบ exclusive 

กกท. ควรเปิดเผยตั้งแต่แรกว่า ถ้าจะมาขอสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดแล้ว ต้องจ่ายเท่าใด หรือมีหลักเกณฑ์การแบ่งสิทธิ์อย่างไร อาทิ แบ่งตามจำนวนแมตช์ หรือตามช่องทางที่มีการเผยแพร่ มากกว่าที่จะไปขอ ระดมทุนจากเอกชน ในลักษณะการกุศลและให้เอกชนเลือกเอาว่าจะเอาอะไรบ้างแบบ Cherry picking และแน่นอนว่าสิ่งที่เอกชนเลือก มันย่อมมีมากกว่ามูลค่าที่เอกชนรายนั้นต้องจ่ายเป็นธรรมดา นอกจากนี้ หลักเกณฑ์การจัดสรรสิทธิ์ไม่เคยถูกเปิดเผยและไม่ได้มีการประมูลหรือเปิดให้มีการแข่งขันอย่างเต็มที่ แต่เป็นเพียงการเจรจาต่อรองกัน โดยไม่มีการเปิดเผยสัญญาระหว่าง กกท. และทรู ให้ประชาชนได้ทราบ

"ดร.สลิลธร" ระบุในตอนท้ายว่า ก่อนที่ปัญหาเหล่านี้จะวนกลับมาอีกใน 4 ปีข้างหน้า กสทช. คงต้องมีการทบทวนความจำเป็นในความคงอยู่ของประกาศ must have และ must carry สำหรับกรณีการออกอากาศฟุตบอลโลก ยังมีความจำเป็นใดหรือไม่ และคงต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์การแข่งขันระหว่างเอกชนเพื่อให้ได้สิทธิ์อย่างจริงจังว่าจะทำอย่างไรให้ทั่วถึงและเปิดเผย เพื่อประชาชนผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุด หรือ อาจมีวิธีการอื่นที่ดีกว่าให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การควบคุมกำกับสัญญา หรือการห้ามการกีดกันผู้ให้บริการรายอื่น

หากไม่มีการแก้ไขคนไทยก็คงจะต้องลุ้นอีกทีใน 4 ปีข้างหน้าว่าไทยจะได้ลิขสิทธิ์บอลโลกหรือไม่ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต้นทุนค่าลิขสิทธิ์ และจะทำอย่างไร ให้มีการเจรจากับผู้ประกอบการที่จะเข้ามาเผยแพร่ฟุตบอลโลกภายใต้เงื่อนไขที่สมเหตุสมผลและเป็นธรรม

และสุดท้ายหากไม่มีการยกเลิกประกาศ must have และ must carry ประกาศฯ ก็คงจะถูกท้าทายอีกครั้งเรื่อยไปไม่ว่าจะเป็นประเด็นความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การขัดต่อกฎหมายลิขสิทธิ์ ตลอดจนในมิติของการแทรกแซงกลไกตลาด จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจนทำให้เอกชนขาดแรงจูงใจทางธุรกิจ และทำให้รัฐต้องมาลงทุนซื้อลิขสิทธิ์เองแบบไม่ได้อะไร.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด