หลักการ เขียน รายงาน การ ปฏิบัติ งาน

ชดุ การเรียน หลักสตู รประกาศนยี บตั รวิชาชีพชั้นสูง พุทธศกั ราช ๒๕๖๒ ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี หนว่ ยที่ ๑ สานักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

คำนำ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ชุดการเรียนโดยใช้สื่อดิจิทัลเพ่ือพัฒนาทักษะการส่ือสารภาษาไทยระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงนี้ จัดทาข้ึนเพ่ือใช้ในการศึกษาเรียนรู้รายวิชา ๓๐๐๐-๑๑๐๑ ภาษาไทยเพื่อส่ือสารในงาน อาชพี หลักสตู รประกาศนยี บตั รวิชาชพี ช้นั สงู พุทธศักราช ๒๕๕๗ และรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะ ภาษาไทยเชิงวิชาชีพ ๓-๐-๓ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช ๒๕๖๒ โดยมี จุดประสงค์เพ่ือให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วเกิดความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับ หลักการใช้ภาษาไทย สามารถนาภาษาไทยไปใช้เป็นเคร่ืองมือสื่อสารในงานอาชีพ โดยชุดการเรียนน้ี ประกอบด้วย ๗ หน่วยการเรียน และแต่ละหน่วยประกอบด้วยแบบประเมินตนเองก่อนและหลังเรียน แผนการเรียนประจาหน่วย เน้ือหาสาระและกิจกรรม ซึ่งผู้เรียนอาชีวศึกษาทั้งในระบบปกติและระบบ ทวิภาคีสามารถศึกษาเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติและทบทวนความรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ตลอดจนสามารถดาวนโ์ หลด (Download) ชุดการเรียน น้ีเพ่ือศึกษาเรียนรู้ในระบบออฟไลน์ (Offline) ได้ด้วย นอกจากนี้ ครูผู้สอนรายวิชาดังกล่าวยังสามารถ นาไปใชใ้ นการจดั การเรยี นการสอนในสถานศกึ ษาได้ เปน็ การสนองตอบนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ และการ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษาด้วย ทั้งน้ี ชุดการเรียนนี้จะนาไปใช้ใน สถานศึกษานาร่อง ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ เพื่อพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งข้ึนและขยายผลแก่สถานศึกษา อาชวี ศึกษาทุกแหง่ ตอ่ ไป สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาขอขอบคณุ ศนู ยอ์ าชวี ศกึ ษาทวภิ าคี ศูนยส์ ่งเสริมและ พัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ คณะศึกษานิเทศก์ คณะครูผู้สอน คณะกรรมการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุก ท่าน ที่มีส่วนช่วยให้การดาเนินการจัดทาชุดการเรียนโดยใช้ส่ือดิจิทัลเพ่ือพัฒนาทักษะการสื่อสาร ภาษาไทยครั้งน้ีบรรลุผลสาเร็จตามท่ีมุ่งหวัง และหวังว่าผู้เรียนจะได้นาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการ พฒั นาตนเองและประยกุ ต์ใชใ้ นงานอาชพี ได้เปน็ อยา่ งดี ศูนย์สง่ เสริมและพฒั นาอาชวี ศึกษาภาคเหนอื ศูนย์อาชวี ศึกษาทวิภาคี พฤษภาคม ๒๕๖๒

สารบญั ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี รายละเอียดรายวชิ า หน้า วิธีการศึกษา (ก) • ขัน้ ตอนการเรยี นชุดการเรียน • ข้นั ตอนการเรยี นระดบั หนว่ ย (ข) (จ) หนว่ ยที่ ๗ รปู แบบการเขียนรายงานการวิจยั (ฉ) • แบบประเมนิ ตนเองกอ่ นเรียน หนว่ ยท่ี ๗ ๑ • แผนการเรียน หนว่ ยท่ี ๗ รูปแบบการเขยี นรายงานการวิจยั ๑ ๒ - แผนการเรียน มอดลู ที่ ๗ รายงานการวิจัย ๔ • แบบประเมนิ ตนเองหลงั เรียน หนว่ ยที่ ๖ ๔๔

รายละเอยี ดรายวชิ า ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี ๓-๐-๓ (Occupational Thai Language Skills) จดุ ประสงค์รายวชิ า เพ่ือให้ ๑. เข้าใจหลกั การใช้ภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๒. สามารถวเิ คราะห์ สงั เคราะห์ ประเมนิ ค่าสารและใช้ภาษาไทยเปน็ เคร่ืองมอื สอ่ื สารใน วชิ าชพี ตามหลักภาษา เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคลและสถานการณ์ ๓. เหน็ คุณค่าและความสาคญั ของการใชภ้ าษาไทยในวชิ าชีพอยา่ งมจี รรยาบรรณ สมรรถนะรายวชิ า ๑. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการฟัง การดู การพูด การอ่าน การเขียน การวิเคราะห์ การ สังเคราะห์และการประเมินคา่ สารภาษาไทยเชิงวิชาชีพอย่างมีจรรยาบรรณ ๒. วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสารท่ีได้จากการฟัง การดูและการอ่านส่ือประเภท ต่าง ๆ ๓. พดู นาเสนอขอ้ มูลเพือ่ สือ่ สารในงานอาชพี และในโอกาสตา่ ง ๆ ตามหลักภาษา กาลเทศะ บคุ คลและสถานการณ์ ๔. เขียนเพ่ือติดต่อกิจธุระ บันทึกข้อมูลและรายงานการปฏิบตั ิงานเชิงวชิ าชพี ตามหลักการ ใช้ภาษาไทย คาอธบิ ายรายวชิ า ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการฟัง การดู การพูด การอ่านและการเขียนภาษาไทย การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสารในงานอาชีพจากส่ือประเภทต่าง ๆ การพูด นาเสนอข้อมูลเพื่อส่ือสารในงานอาชีพและในโอกาสต่าง ๆ การเขียนเพ่ือกิจธุระ การจดบันทึก ขอ้ มลู และเขยี นรายงานการปฏบิ ตั ิงานเชงิ วิชาชีพ และจรรยาบรรณในการใชภ้ าษาไทยเชิงวชิ าชีพ (ก)

วธิ กี ารศกึ ษา ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ในการศึกษาชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ ผู้เรยี นจะต้องทาความเขา้ ใจเกีย่ วกบั ๑. โครงสรา้ งเน้อื หาสาระ ๒. โครงสรา้ งสื่อการเรียนรู้ ๓. วิธกี ารเรียน โครงสร้างเนือ้ หาสาระ ชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพได้แบ่ง โครงสรา้ งเน้ือหาสาระ ดงั น้ี หนว่ ยท่ี ๑ การใชภ้ าษาไทยในการสอื่ สารอยา่ งมีประสิทธภิ าพ หน่วยท่ี ๒ การวเิ คราะห์สารจาการฟงั การดู การอา่ น หนว่ ยท่ี ๓ การพดู ในงานอาชีพ หนว่ ยที่ ๔ การพดู ในโอกาสต่าง ๆ ของสังคม หนว่ ยท่ี ๕ การเขยี นเพ่ือตดิ ตอ่ ธรุ ะ หน่วยท่ี ๖ การเขียนในงานอาชพี หนว่ ยท่ี ๗ การเขยี นรายงานการวจิ ยั โครงสร้างสอ่ื การเรยี นรู้ ชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี ประกอบด้วย ส่ือ ๒ ประเภท คือ (๑) สือ่ ส่งิ พิมพ์ ได้แก่ แผนการเรยี นและใบกิจกรรม และ (๒) ส่ือออนไลน์ วิธีการเรยี น เพ่ือให้การเรียนในชุดการเรียนรายวิชาน้ีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผล ตามจดุ ประสงค์รายวิชาและสมรรถนะรายวชิ า ผเู้ รยี นควรดาเนินการตามข้ันตอน ดงั น้ี ๑. เตรียมตัวเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนต้องจัดตัวเองให้อยู่ในสภาพการณ์ ที่เออื้ ต่อการเรียนรู้ ๔ ประการ คือ ๑.๑ มสี ว่ นร่วมในกจิ กรรมการเรยี นรู้อย่างกระฉับกระเฉง โดยการคิด เขียนและ ทากิจกรรมการเรียนรู้ทก่ี าหนดอย่างสม่าเสมอตลอดเวลา ๑.๒ ติดตาม ตรวจสอบผลการเรยี นรูห้ ลงั ทากิจกรรมแตล่ ะกิจกรรมจากแนวการ ตอบหรอื เฉลย ๑.๓ ซือ่ สตั ย์ต่อตนเอง โดยไม่ดูแนวการตอบหรอื เฉลยกอ่ น (ข)

๑.๔ ศึกษาเรยี นรู้ไปตามลาดับขน้ั ตอน เพ่อื ให้ไดค้ วามรู้ครบถว้ นตามท่กี าหนด ๒. ประเมนิ ผลตนเองกอ่ นเรยี นและหลงั เรยี น ๒.๑ ก่อนท่ีจะเรียนหน่วยการเรียนใด ผู้เรียนควรจะตรวจสอบความรู้ด้วยการ ประเมินผลตนเองก่อนเรียนจากแบบประเมินของหน่วยนั้น ตรวจคาตอบจากเฉลย แล้วรวม คะแนนไว้ หากทาไดค้ ะแนนเกนิ กวา่ รอ้ ยละ ๖๐ ผเู้ รยี นอาจจะไม่ต้องศกึ ษาหน่วยนั้น ๒.๒ เม่ือศึกษาหน่วยนนั้ เสร็จแล้ว ขอให้ผู้เรียนประเมินผลตนเองหลังเรียน โดย ทาแบบประเมินทก่ี าหนดไวต้ อนท้าย ตรวจคาตอบจากเฉลย แล้วรวมคะแนนไว้ หากทาได้ต่ากว่า รอ้ ยละ ๘๕ ผ้เู รยี นควรศกึ ษาทบทวนหนว่ ยนั้นแล้วประเมินซา้ อกี จนกว่าจะได้คะแนนเพม่ิ ข้ึนตาม เกณฑท์ ก่ี าหนด ๓. ศึกษาเอกสารชดุ การเรียนและส่ือท่ีกาหนด โดย ๓.๑ ศกึ ษารายละเอยี ดชุดวิชา ๓.๒ ศึกษาแผนหนว่ ยการเรยี นทุกหนว่ ย ๓.๓ ศกึ ษารายละเอียดของแต่ละหนว่ ยการเรียน ดงั นี้ ๓.๓.๑ แผนการเรียนประจาหน่วย ๓.๓.๒ แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน ๓.๓.๓ แนวคดิ ๓.๓.๔ เนอื้ หาสาระในแตล่ ะหน่วย และแต่ละมอดูล ๓.๓.๕ กจิ กรรมและแนวการปฏบิ ตั หิ รอื แนวการตอบ ๓.๓.๗ แบบประเมินตนเองหลงั เรียน ๔. ทากจิ กรรมตามทีก่ าหนดในหน่วยการเรยี น “กิจกรรม” เป็นส่วนที่ผู้เรียนจะต้องบันทึกสาระสาคัญและทากิจกรรมทุกอย่าง ตามทีไ่ ดร้ บั มอบหมาย ใหเ้ ขียนกิจกรรมลงในแบบฝึกปฏบิ ัติที่กาหนด บางกจิ กรรมอาจให้ผู้เรียน ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและเขียนรายงาน ขอให้ผู้เรียนจัดทาและจัดส่งครูผู้สอนหรือครูเจ้าของ วิชาตามวนั เวลาและสถานทท่ี ก่ี าหนด (ค)

๕. การศึกษาสอื่ ประกอบการเรยี นรู้ บางหน่วยการเรียน อาจกาหนดให้ผู้เรียนศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อท่ีกาหนดหรือ ศึกษาส่ือควบคู่ไปกับการอ่านเอกสารชุดการเรียนเพื่อเสริมสร้างความรู้ ขอให้ผู้เรียนศึกษา รายละเอียดตา่ ง ๆ ตามทกี่ าหนด และจดบนั ทึกสาระสาคัญของสิ่งทไี่ ด้เรยี นรู้ไว้ในกจิ กรรมปฏิบัติ ด้วย ๖. การเข้ารับการสอนเสรมิ หรือรบั บรกิ าร ณ สถานศกึ ษา ผู้เรียนต้องนาบัตรประจาตัวนักศึกษาและบัตรลงทะเบียนเรียนรายวิชาไปแสดง ดว้ ย และเมอ่ื เขา้ รับการสอนเสรมิ รับฟังและรบั ชมส่อื ต่าง ๆ ใหบ้ ันทกึ รายละเอยี ดการเขา้ รับการ สอนเสรมิ หรือรบั บริการในแบบฝกึ ปฏบิ ัตติ อนทา้ ยหน่วยดว้ ย ๗. การร่วมกจิ กรรมภาคปฏิบตั เิ สริมประสบการณ์ ผู้เรียนชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ อาจจะตอ้ งเขา้ ร่วมกิจกรรมอย่างใดอยา่ งหน่ึงตอ่ ไปนี้ ๗.๑ เข้าห้องปฏิบัติการในสถานศึกษา เพื่อฝึกทักษะปฏิบัติตามที่กาหนดไว้ใน แตล่ ะหน่วยการเรียน ๗.๒ เข้าสงั เกตการณ์การสอนในหนว่ ยการเรียนทก่ี าหนด ๗.๓ เข้าฝกึ ปฏบิ ตั ใิ นสถานประกอบการหรือหน่วยงาน ๗.๔ ประดิษฐค์ ิดคน้ หรอื ศึกษาสารวจข้อมูลตามท่กี าหนด หลังจากทากิจกรรมข้างต้นแล้ว ให้มีการสรุปรายงานให้แก่ครูผู้สอนหรือครู เจ้าของวิชาทราบเพ่ือตรวจสอบผลการปฏิบัติ และเก็บผลการประเมินเป็นคะแนนเก็บของ รายวิชา ๘. เขา้ รบั การสอบ เม่ือส้ินภาคการศึกษา ผู้เรียนต้องเข้ารับการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาหรือ สอบไล่ ตามวนั เวลาและสถานทท่ี ีส่ ถานศกึ ษากาหนด เพอื่ การตัดสินผลการเรยี น (ง)

(จ)

(ฉ)

แผนการเรียน หนว่ ยท่ี ๗ รูปแบบการเขียนรายงานการวิจัย มอดูล รายงานการวจิ ัย แนวคิด การเขียนรายงานการวิจัยเป็นกระบวนการนาเสนอความรู้หรือข้อเท็จจริงท่ีไดศ้ ึกษาคน้ คว้า โดยเรียบเรียงข้ึนอยา่ งมีระบบ ระเบียบ เพอ่ื เสนอความคิด หลักการ วธิ กี ารทาวิจยั เรอื่ งนน้ั ในรปู การ เขยี น เพอ่ื ใหผ้ ู้อ่านมคี วามรู้ และเขา้ ใจในสิ่งท่ีผวู้ ิจยั ไดท้ าการวจิ ัยนัน้ จดุ ประสงค์การเรียน เมื่อศึกษามอดูล “การเขียนรายงานการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนสามารถเขียนส่วนประกอบของ รายงานการวิจยั ได้ กิจกรรมการเรยี น ๑. ทาแบบประเมนิ ตนเองก่อนเรยี น หนว่ ยท่ี ๗ ๒. อ่านแผนการเรียนประจาหน่วยท่ี ๗ ๓. อา่ นสาระสังเขปประจามอดูล ๔. ดาเนนิ กจิ กรรมท่ีกาหนดของแตล่ ะมอดูลหรือหวั ข้อเรื่อง ๕. ตรวจสอบคาตอบจากแนวตอบของแตล่ ะกิจกรรมทก่ี าหนดไว้ทา้ ยหน่วยท่ี ๗ ๖. เข้ารับการสอนเสริม ๗. ทาแบบประเมนิ ตนเองหลังเรียน ชดุ การเรยี น วิชาภาษาไทยเพอ่ื สอ่ื สารในงานอาชพี ๒

ส่อื และแหล่งการเรยี น ๑. เอกสารชดุ การเรยี น หนว่ ยท่ี ๗ ๒. ใบชว่ ยสอน การประเมนิ ผลการเรียน ๑. ประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน การประเมนิ ตนเองก่อนและหลังเรียน ๒. ประเมินกิจกรรมภาคปฏิบตั ิ (๒๐ คะแนน) ๓. คณุ ธรรม จริยธรรม (๒๐ คะแนน) ๔. การสอบปลายภาค (…… คะแนน) ๓ ชุดการเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี

แผนการเรยี น มอดูลท่ี ๗ รายงานการวิจัย โปรดอ่านหัวข้อเรื่อง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูล แล้วจึงศึกษารายละเอียด ต่อไป หัวข้อเร่อื ง ๗.๑ ความหมายของการเขยี นรายงานการวิจยั ๗.๒ ความสาคญั ของรายงานการวิจยั ๗.๓ ประโยชน์ของการวจิ ัย ๗.๔ ประเภทของรายงานการวจิ ัย ๗.๕ หลกั การเขยี นรายงานการวิจยั ๗.๖ เทคนิคการเขียนรายงานการวจิ ยั ๗.๗ ข้ันตอนการเขียนรายงานการวจิ ยั ๗.๘ สว่ นประกอบของรายงานการวจิ ยั ๗.๙ การจัดรูปแบบการพมิ พร์ ายงานการวจิ ัย แนวคิด การเขยี นรายงานการวจิ ยั เปน็ กระบวนการนาเสนอความรหู้ รือข้อเทจ็ จริง ทไ่ี ด้ศึกษาคน้ คว้า โดยเรียบเรยี งขึ้นอย่างมรี ะบบ ระเบยี บ เพ่อื เสนอความคดิ หลักการ วธิ กี ารทาวจิ ยั เรือ่ งนน้ั ในรูปการ เขียน เพ่ือให้ผู้อ่านมีความรู้ และเข้าใจในสิ่งที่ผู้วิจัยได้ทาการวิจัยน้ัน ดังนั้ นผู้วิจัยต้องเข้าใจ ความหมาย ความสาคัญ ประโยชน์ ประเภทของรายงานการวิจัย หลักการเขียนรายงานการวิจัย เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย ข้ันตอนการเขียนรายงานการวิจัย ส่วนประกอบของรายงานการ วิจยั และการจัดรูปแบบการพมิ พ์รายงานการวจิ ัย จดุ ประสงคก์ ารเรียน ๑. เม่ือศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๗.๑ “ความหมายของรายงานการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนสามารถ อธบิ ายความหมายของรายงานการวิจยั ได้ ชดุ การเรียน วิชาภาษาไทยเพอื่ ส่อื สารในงานอาชีพ ๔

๒. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๗.๒ “ความสาคัญของรายงานการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนบอก ความสาคญั ของรายงานการวิจัยได้ ๓. เมื่อศึกษาหัวข้อเร่ืองท่ี ๗.๓ “ประโยชน์ของการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนบอกประโยชน์ของ การวิจยั ได้ ๔. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๗.๔ “ประเภทของรายงานการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนสามารถ จาแนกประเภทของรายงานการวิจัยได้ ๕. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๗.๕ “หลักการเขียนรายงานการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนสามารถ อธิบายขัน้ ตอนการเขียนรายงานการวจิ ัยได้ ๖. เมื่อศึกษาหัวข้อเร่ืองที่ ๗.๖ “เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนสามารถ บอกเทคนคิ การเขียนรายงานการวจิ ยั ได้ ๗. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องท่ี ๗.๗ “ขั้นตอนการเขียนรายงานการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนสามารถ เขยี นขั้นตอนรายงานการวิจัยได้ ๘. เมื่อศึกษาหัวข้อเร่ืองที่ ๗.๘ “ส่วนประกอบของรายงานการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนสามารถ เขยี นสว่ นประกอบตา่ ง ๆ ของรายงานการวิจัย และเขียนบรรณานุกรมได้ ๕ ชดุ การเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ

เนือ้ หา ๑. ความหมายของรายงานการวิจยั บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (๒๕๕๓) กล่าวว่า รายงานการวิจัย หมายถึง เอกสารท่ีได้จาก การค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ แล้วสังเคราะห์เรียบเรียงข้ึนใหม่อย่างมีระบบ ระเบียบ ตามสากลนิยม และได้เน้ือหาสาระที่ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือให้ผู้อ่านทราบว่าทา อะไร (ต้องการค้นคาตอบอะไร) ทาไมจงึ ทา (เรอ่ื งน้ีเปน็ ปัญหาอย่างไร มแี นวคดิ หลกั การและเหตุผล อย่างไรจึงเลือกทาวิจัยเรื่องน้ี) ทาอย่างไร (มีวิธีการค้นหาคาตอบนั้นอย่างไร) และทาแล้วได้ผล อย่างไร (ผลการวิจยั ท่ที าได้ มขี อ้ สรปุ อยา่ งไรบา้ ง) สิริลักษณ์ ตีรณธนากุล (๒๕๕๐) กล่าวว่า รายงานการวิจัยเป็นรายงานเสนอผลการวิจัย โดยทั่วไปจะมีรูปแบบที่แน่นอน และเข้มงวด แต่ในรายละเอียดนั้นมีความแตกต่างกันบ้างระหว่าง สงั คมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สรุป รายงานการวิจยั หมายถึง เอกสารที่ได้จากการค้นคว้า เก็บรวบรวมขอ้ มลู มาวเิ คราะห์ แล้วสังเคราะห์เรียบเรียงข้นึ ใหม่อยา่ งมรี ะบบ และมีรูปแบบที่แน่นอน โดยอธิบาย ช้ีแจงรายละเอยี ด ท้ังหมดของงานวิจัยนั้น ๆ อย่างตรงไปตรงมา ครบถ้วน ซ่ึงผู้เขียนไม่มีสิทธ์ิแสดงความคิดเห็นหรือ เพิ่มเติมความคิดเห็นของตนลงไป รายงานการวิจยั จะมีทง้ั ด้านสงั คมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ๒. ความสาคัญของการวิจยั พสิ ณุ ฟองศรี (๒๕๕๓) ได้ให้ความสาคญั ของรายงานการวิจยั ไว้ ๔ ประการ ไดแ้ ก่ ๑. เป็นสื่อกลางระหว่างผู้วิจัยกับผู้อ่านหรือผู้ใช้ผลวิจัย เนื่องจากรายงานการวิจัย เปรยี บเสมอื นสอ่ื ท่ีว่ิงผา่ นความคดิ การกระทา ขอ้ คน้ พบ ความคดิ เห็น และขอ้ เสนอแนะของผู้วจิ ัย ไปสผู่ ้สู นใจ และจะนาผลงานวิจยั ไปใชป้ ระโยชน์ในดา้ นต่าง ๆ โดยศกึ ษาจากเนื้อหาในรายงาน ๒. ป้องกันความซ้าซ้อน เพราะการทาวิจัย เป็นการหาความรู้ ความจริงใหม่ ๆ หากมีการ ทาซา้ ก็ไม่เปน็ ประโยชน์ เหมือนยา่ อยูก่ ับท่ี ๓. เป็นแหล่งสาหรับการรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ เน่ืองจากรายงานการวิจัย เปรียบเสมือนวัสดุเบ้ืองต้นสาหรับหน่วยงานที่เก่ียวข้องนาไปจัดเก็บ รวบรวม วิเคราะห์ให้เป็น หมวดหมู่ เพอื่ ความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า ชดุ การเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอ่ื ส่อื สารในงานอาชีพ ๖

๔. ช่วยสร้างเครือข่ายวิจัย เมื่อมีการเผยแพร่รายงานการวิจัยไปสู่สาธารณะแล้ว ผู้ที่สนใจ ศึกษาในเร่ืองเหมือนหรือคล้ายกันก็สามารถประสาน เพื่อให้ความร่วมมือกัน และอาจเป็นเครือข่าย การวจิ ัยในเรื่องนัน้ ๆ ได้ ๓. ประโยชนข์ องการวิจยั วิธีการวิจัย เปน็ วิธกี ารแสวงหาความรวู้ ธิ หี นึง่ ท่ีใหค้ วามนา่ เชื่อถือไดม้ าก ผลของการวิจยั จะ นามาใชป้ ระโยชนต์ ่อมนษุ ยชาตมิ ากมาย ซง่ึ อาจสรปุ ได้ดังนี้ (ยทุ ธพงษ์ กยั วรรณ์,๒๕๔๓) ๑. การวจิ ยั จะทาให้เกดิ ความรู้ใหม่ เพมิ่ พนู วิทยาการของศาสตรต์ ่าง ๆ ใหก้ ว้างขวางมาก ย่ิงขน้ึ ๒. นาผลการวจิ ยั ไปแกป้ ญั หาได้ คาตอบทไี่ ดจ้ ากการวจิ ัยจะทาใหม้ น่ั ใจและนาผลการวจิ ยั ไปใชแ้ ก้ปัญหาหรือพฒั นาส่งิ ประดษิ ฐ์ใหม่ ๆ ได้ เชน่ นาผลการวิจัยไปใช้ในดา้ นสงั คมศาสตร์ หรอื พฤตกิ รรมศาสตร์ ด้านการแพทย์ ดา้ นธุรกิจการคา้ ดา้ นวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี เปน็ ต้น ๓. ชว่ ยปรบั ปรุงการทางานให้มปี ระสิทธิภาพ ๔. ช่วยในการพสิ ูจน์ ตรวจสอบ ทฤษฎี กฎเกณฑต์ ่าง ๆ ๕. ชว่ ยใหเ้ ขา้ ใจ ปรากฏการณ์ หรือสถานการณ์ตา่ ง ๆ ๖. ชว่ ยในการพยากรณ์ สถานการณ์ ปรากฏการณ์ พฤติกรรมต่าง ๆ ไดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ ง ๗. ผลที่ได้จะนาไปประกอบการตดั สินใจ ๔. ประเภทของรายงานการวจิ ัย บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์ิ ไดแ้ บง่ รายงานการวจิ ัยออกเปน็ ๕ ประเภท ดงั นี้ ๑. โครงเสนอการวิจัย (Research Proposal) เป็นแผนงาน โครงการ และกลวิธีในการทา วิจยั ทกี่ าหนดไวล้ ่วงหนา้ เพื่อบอกใหท้ ราบว่าจะทาวจิ ัยในประเด็นปญั หาอะไร ทาไมจึงทา และจะหา คาตอบในประเดน็ ปัญหาการวิจยั นัน้ ไดอ้ ย่างไร ๒. สารนิพนธ์ (Independent study report) เป็นรายงานการศึกษาอิสระ อาจมีลักษณะ เป็นการทบทวนวรรณกรรม กรณีศึกษา การทาโครงการ หรือทาวิจัยในขอบเขตเน้ือหาท่ี เฉพาะเจาะจงได้ ๓. วิทยานิพนธ์ (Thesis) ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) เป็นรายงานการค้นคว้าวิจัยที่เรียบ เรียงขึ้นอย่างละเอียด รอบคอบ มีเหตุ มีผลตามข้ันตอนระเบียบวิธีวิจัย เป็นส่วนหน่ึงของการศึกษา ตามหลกั สตู รปรญิ ญามหาบณั ฑติ หรือดุษฎีบัณฑติ ๗ ชดุ การเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ

๔. รายงานการวิจยั (Research Paper or Report) เป็นรายงานการคน้ คว้าวิจยั ท่ีเรียบเรยี ง ขนึ้ อยา่ งมรี ะบบ ระเบียบ มีเน้ือหาสาระอย่างละเอียดสมบูรณ์ ๕. บทความวิจัย (Research Article) เป็นรายงานเชิงวิเคราะห์ที่เรียบเรียงขึ้นในลักษณะ บทความท่ีสั้น กะทัดรัด ชัดเจน แต่มีเน้ือหาสาระครบถ้วน เพื่อเสนอผลงานท่ีไดจ้ ากการค้นควา้ วจิ ยั และสง่ พมิ พ์เผยแพรใ่ นวารสารวิชาการ ใหน้ ักศึกษาทากจิ กรรมประเภทของรายงานการวิจยั //h5p.org/node/454938 ๕. หลักการเขียนรายงานการวิจยั การเขียนรายงานการวิจัย ต้องยึดหลักวิชาการ โดยเขียนอย่างตรงไปตรงมา ไม่อคติหรือ ความรูส้ ึกใด ๆ ใชภ้ าษาทเี่ ป็นทางการดังนี้ (พิสณุ ฟองศรี, ๒๕๕๓) ๑. ยึดรูปแบบของต้นสังกัด การเขียนรายงานการวิจัย จะมีโครงสร้างตามท่ีหน่วยงานหรอื สถาบันการศึกษากาหนดไว้ ดังน้ันผู้วิจัยควรศึกษาและยึดรูปแบบตามท่ีกาหนดอย่างเคร่งครัด ส่วน ผู้วิจัยซึ่งไม่ได้เป็นนิสิต นักศึกษา ก็ต้องยึดของหน่วยงานต้นสังกัด หากหน่วยงานต้นสังกัดไม่ได้ กาหนดไว้ ก็อาจยดึ ของหนว่ ยงาน สถาบันการศกึ ษาใด สถาบนั หนึ่งเปน็ หลกั ๒. เขียนใหถ้ ูกต้อง สาระของเนื้อหา ขอ้ มลู ภาษา ต้องมีความถกู ต้องตามหลกั วิชาการ เปน็ เหตุ เปน็ ผลซงึ่ กันและกันอย่างนา่ เชอ่ื ถือ ๓. เขียนให้ชัดเจน เพ่ือให้การอ่านเข้าใจง่าย และตรงกันระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่าน ข้อความ ทุกคา ทุกประโยค ทุกหัวข้อรอง หัวข้อหลัก และทุกบทตลอดทัง้ เล่มต้องมีความหมายชัดเจน เข้าใจ ง่าย ๔. เขียนให้กระชับ เขียนให้ตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อม หรือวกวนไปมา เพ่ือให้ผู้อ่านเข้าใจ ง่าย ภายในเวลาอันรวดเร็ว ๕. เขียนให้คงเส้นคงวา เน้ือหาภายในรายงานวิจัยทั้งเล่มต้องคงเส้นคงวา สม่าเสมอท้ัง ภาษาและตัวเลข เช่น จะใช้คาวา่ เพศหญิงก็ต้องใช้ เพศหญิงตลอดท้ังเลม่ ถ้าใช้ทศนยิ ม ๒ ตาแหน่ง กใ็ ช้ ๒ ตาแหน่งตลอดทงั้ เลม่ ๖. เขียนให้สอดคล้องกัน การเขียนให้สอดคล้องกัน อาจเขียนให้สอดคลอ้ งกันในเชงิ เหตผุ ล ทาให้เนอ้ื หามนี า้ หนกั นา่ เชอื่ ถือหรอื สอดคลอ้ งกบั ขนั้ ตอนหัวข้อต่าง ๆ เช่น การวิเคราะหข์ ้อมลู และ สรุปผลการวิจัยควรจะสอดคล้องกบั วตั ถปุ ระสงค์ ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพอื่ ส่ือสารในงานอาชพี ๘

๗. เขียนให้เชื่อมโยงกัน การเขียนให้เช่ือมโยงกัน โดยปรับภาษาจากเอกสารท่ีค้นคว้ามา เรียบเรียงด้วยภาษาของตนเอง หรือมีการเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อ เช่น การอภิปรายผลต้องเช่ือมโยง มาจากผลการวิจยั ๘. ต้องอ้างอิง การเขียนรายงานการวิจัย ผู้เขียนไม่ได้คิดเองทั้งหมด ต้องนาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ เนือ้ หา ผลการวจิ ยั หรอื ปรากฏการณ์ตา่ ง ๆ ของผูอ้ ่ืนมาใช้ จึงต้องมกี ารอา้ งองิ ถึงแหลง่ ที่มา ด้วย ๙. ยึดผอู้ ่าน รายงานการวิจยั มคี วามสาคญั ในฐานะสอ่ื กลางระหว่างผเู้ ขียนกับผอู้ ่าน หรือใช้ ผลงานดังกล่าวแล้ว ดังน้ันหากไม่มีข้อกาหนดตายตัว ก็ควรคานึงถึงผู้อ่านด้วยว่า เป็นบุคคลท่ัวไป นักวิชาการ ผู้บริหาร หรือผู้นาไปใช้ เพราะแต่ละกลุ่มจะต้องการเน้ือหาสาระต่างกันไปตามความ ประสงค์ ๖. เทคนิคการเขยี นรายงานการวิจัย เทคนคิ การเขยี นรายงานการวิจยั มีดงั นี้ (พสิ ณุ ฟองศรี, ๒๕๕๓) ๑. เขียนเอง ผู้วิจัยต้องเขียนรายงานการวิจัยด้วยตนเอง ไม่ควรจ้างให้ผู้อื่นเขียนให้ การ เขียนรายงานการวิจัยด้วยตนเอง จะเป็นการฝึกฝนตนเอง และสามารถนาประสบการณ์ ทักษะการ เขียนรายงานวิจัยไปใช้ประโยชนไ์ ดต้ ลอดเวลา ๒. เขียนตามความจริง การเขียนตามความจริงหรือมีข้อเท็จจริง จะทาให้เขียนได้ง่าย รวดเรว็ ไมต่ ้องประดดิ ประดอยทาใหส้ วยงาม ๓. ใช้ภาษาของตนเอง แม้จะมีการอ้างอิงก็ควรปรับภาษาให้เป็นของตัวเอง ซึ่งจะทาให้ รายงานวิจัยน้ันมีความสละสลวย สอดคล้องเช่ือมโยงเป็นเนื้อเดียวกัน คาใดที่ต้องใช้ภาษาวิชาการก็ ใช้ตามหลักสากลทีไ่ ดก้ าหนดไว้ แตโ่ ดยรวมควรใช้ภาษาของตัวเองตามความเข้าใจ ๔. ยึดหลักมากกว่าตัวอย่าง การเขียนรายงานการวิจัยมีแนวทาง หลักการ โครงสร้างที่ ค่อนข้างชัดเจน ผู้วิจัยจึงควรยึดหลักไว้ ไม่ควรนาตัวอย่างจากรายงานเล่มหนึ่งเล่มใดมาเป็นหลักใน การเขยี น หรอื อาจเรียกวา่ คดั ลอกงานของผอู้ ่ืน ๕. เล่ียงคาซ้า การเขียนประโยคหรือย่อหน้าต่าง ๆ ไม่ควรใช้คาซ้ากันมาก จะทาให้ขาด ความสละสลวย เช่น คาว่า “ซ่ึง” “ท่ี” “โดย” “และ” อยา่ ใชซ้ ้ากนั หรือการขน้ึ คายอ่ หนา้ ไมค่ วรใช้ คาเดียวกัน เช่น คาว่า “การ” ไม่ควรใช้กับย่อหน้าที่ติดกัน โดยอาจเพิ่มคาอ่ืนเข้าไปให้ต่างกัน เช่น “สาหรบั ” “เก่ียวกบั ” “ใน” เป็นต้น ยกเว้นกรณที ม่ี คี วามจาเปน็ ๙ ชดุ การเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ

๖. เขียนเนื้อหาของย่อหน้าพอเหมาะ ส่วนที่เป็นเนื้อหา ความเรียง ไม่ควรให้ส้ันหรือยาว เกินไป ควรเขียนให้ได้หน้าละ ๓-๕ ย่อหน้า ๆ ละ ประมาณ ๖-๑๐ บรรทัด ในกรณีที่ทาเนื้อหาของ ผู้อ่นื มาอ้างอิง ควรปรบั เพิม่ ลดใหอ้ ยู่ในปรมิ าณดงั กล่าว เพอ่ื ใหผ้ ู้อา่ นใช้เวลาอา่ นและพักเป็นระยะ ๆ ได้อย่างเหมาะสม ๗. เช่ือมโยงแต่ละย่อหนา้ ด้วยคาหรือประโยคเดียวกัน ควรเช่ือมโยงแต่ละยอ่ หน้าทเี่ ห็นวา่ เนอื้ หาตอ่ เนื่องกันดว้ ยการใช้คาหรอื ประโยคเดียวกัน ในท้ายประโยคก่อนกับตน้ ประโยคถัดมา จะทา ใหอ้ า่ นได้อย่างราบรนื่ แต่กต็ อ้ งใช้ทกั ษะและเวลาพอสมควร ๘. ปรับคาเพ่ือความสวยงาม การพิมพ์รายงานการวิจัยในปัจจุบันจะใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ และมีก้ันหลังด้วยเพื่อความสวยงาม ซ่ึงเกือบท้ังหมดจะใช้โปรแกรมเวิร์ด ทาให้มี ช่องว่างระหว่างคาหรือตัวอักษร ซ่ึงอาจเรียกว่าช่องไฟ ไม่สวยงาม หรือมีการฉีกคาได้ ดังนั้นผู้จดั ทา อาจใช้วิธีการปรับคาบางคาโดยการเปล่ียน เพิ่มลด เพ่ือช่วยลดช่องว่าง ซ่ึงก็มีข้อเสียคืออาจทาให้ ภาษาท่ีใช้ชาดความสละสลวยไปบ้าง ผู้เขียนรายงานการวิจัยต้องพิจารณาเปรียบเทียบดูว่า ภาษาท่ี เสียไปบ้างกบั ความสวยงามของชอ่ งไฟนน้ั อย่างไหนควรจะเหมาะสมกวา่ กัน ทดสอบความรเู้ รือ่ งหลกั และเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย //h5p.org/node/454939 ๗. ขน้ั ตอนการเขียนรายงานการวจิ ัย การเขียนรายงานการวิจัย แบ่งข้ันตอนเพ่ือสะดวกในการเขียน ดังนี้ (บุญธรรม กิจปรีดา บรสิ ทุ ธิ์, ๒๕๕๓) ๑. การกาหนดหัวเร่ือง ขั้นแรกจะต้องกาหนดหรือตั้งช่ือหัวข้อเรื่องก่อนว่าจะเขียนเรื่อง อะไร ซ่ึงอาจจะใช้ชื่อเร่ืองที่เป็นหัวข้อเร่ืองของโครงเสนอการวจิ ัยที่ได้ทาเสนอไว้ก่อน หรือต้ังใหม่ให้ เหมาะสม สอดคล้องกบั เน้อื หาทจ่ี ะเสนอ ๒. กาหนดขอบเขตและทาความเข้าใจหัวข้อเร่ือง จากหัวข้อเร่ือง ก่อนเขียนจะต้องกาหนด ขอบเขตหัวข้อเร่ืองใหช้ ดั เจนวา่ ตอ้ งการเสนอกว้างขวางแคไ่ หน จะเสนออะไรบา้ ง และอะไรบ้างท่ีไม่ เสนอ เมื่อกาหนดขอบเขตได้แล้ว ต่อไปต้องทาความเข้าใจด้วยการตีความหมาย วิเคราะห์คา ขอ้ ความ และแนวคิด รวมท้งั ทฤษฎที ีเ่ ก่ยี วข้องให้ชดั เจน ๓. วางโครงเรอ่ื ง เป็นการกาหนดโครงเร่ืองท่ีจะเขยี น ควรเริ่มจากกาหนดหัวข้อเร่ืองใหญ่ ๆ ก่อนว่าจะกล่าวถึงเร่ืองอะไร จะทาเป็นบทหรือไม่ ถ้าทาเป็นบท ควรจะมีกี่บท ถ้าไม่ทาเป็นบท จะมี ชุดการเรียน วิชาภาษาไทยเพอ่ื ส่อื สารในงานอาชีพ ๑๐

หัวข้อเรื่องใหญ่ ๆ อะไรบ้าง แต่ละบทหรือแต่ละหัวข้อใหญ่ จะแบ่งเป็นหัวข้อย่อยอะไรบ้าง จัดเรียง หวั ข้อตามลาดับ การวางโครงเรื่องกค็ ือการทาสารบัญเนอ้ื หาท่ีจะเขยี นนนั่ เอง ๔. การรวบรวมขอ้ มูลจากเอกสาร เมือ่ วางโครงเรอื่ งที่จะเขยี นแล้ว จากนน้ั จงึ ทบทวนสารวจ เน้อื หาจากเอกสารตา่ ง ๆ และจากผลการวเิ คราะห์ข้อมลู ทงั้ หมด การรวบรวมข้อมลู ควรพยายามเก็บ จากหลาย ๆ แหล่ง หนงั สอื หลาย ๆ เลม่ เพ่ือจะไดต้ รวจสอบความถูกตอ้ งของขอ้ มลู และเน้อื หา ๕. รวบรวมข้อมูลสนาม ข้อมูลสนามเป็นข้อมูลท่ีเก็บรวบรวมมาโดยตรง จาเป็นต้อง ตรวจสอบและวิเคราะหผ์ ล จัดเตรยี มทาเป็นตารางไวใ้ ห้เรยี บรอ้ ยก่อนเขยี นรายงาน ๖. เขียนฉบบั รา่ ง เรม่ิ เขยี นฉบบั รา่ งตามโครงเรอื่ ง เรียงลาดบั ของหัวขอ้ เร่อื งใหญ่ และหัวข้อ เรื่องย่อยท่ีกาหนดไว้ การเขียนควรทาความเข้าใจข้อมูล เนื้อหาสาระของบท ตอน หรือหัวข้อนั้น ๆ อย่างละเอียดและครบถ้วน เพื่อให้ทราบว่าจะเขียนอะไรบ้างท้ังหมด และในหัวข้อน้ันจะเสนอ อะไรบา้ งเป็นใจความสาคัญกอ่ น จากนั้นจึงเรียบเรยี งเขยี น ๗. แก้ไขและขัดเกลา หลังจากเขียนฉบับร่างเสร็จแล้ว ค่อยนามาอ่านใหม่ ทาความเข้าใจ ตลอดทั้งเรื่อง เพ่ือตรวจสอบสานวนภาษา ข้อมูล ความถูกต้องของเนื้อหา และความสอดคล้อง ตอ่ เนอ่ื งของเร่อื ง จะได้แก้ไขและขัดเกลาใหเ้ รยี บร้อย ๘. ส่งให้ผู้อ่ืนวิจารณ์ จากที่ได้แก้ไข ขัดเกลาเรียบร้อยแล้ว จัดพิมพ์เป็นฉบับร่าง ส่งให้ผู้อืน่ อ่าน และวิจารณ์ก่อน จากน้ันจึงส่งให้ผู้เช่ียวชาญเน้ือหาและวิจัยท่ีเก่ียวข้องกับเรื่องน้ันได้อ่าน และ ขอคาวิจารณ์ รวบรวมข้อวิจารณ์และข้อเสนอแนะท่ีได้ท้ังหมดมาพิจารณาวิเคราะห์ ใช้เป็นแนว ทางแกไ้ ขใหส้ มบูรณอ์ กี ครั้ง ๙. เขียนฉบับสมบูรณ์ นาฉบับร่างมาอ่านให้ตลอดทั้งเล่มอีกครั้ง พร้อมนาข้อวิจารณ์ และ ข้อเสนอแนะจากเพ่ือน ๆ และผู้เช่ียวชาญมาใช้ประกอบการแก้ไข ปรับปรุง จัดทาให้เป็นฉบับ สมบรู ณ์ตอ่ ไป ทบทวนความร้ทู เ่ี รยี นมา ในกจิ กรรมขัน้ ตอนการเขียนรายงานการวจิ ยั //h5p.org/node/454945 ๑๑ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี

๘. สว่ นประกอบของรายงานการวจิ ัย พสิ ณุ ฟองศรี (๒๕๕๓) ได้จดั แบ่งโครงสรา้ งหรือส่วนประกอบของรายงานการวิจยั ออกเป็น ๓ ส่วนคือ ส่วนประกอบตอนตน้ ส่วนเน้ือหา และส่วนประกอบตอนทา้ ย วัลลภ ลาพาย (๒๕๔๙) ได้ จัดแบ่งรูปแบบของรายงานวจิ ัยออกเป็น ๓ ส่วนเช่นกัน คือ ส่วนนา ส่วนเน้ือหา และเอกสารอ้างอิง ส่วนยุทธพงษ์ กัยวรรณ์ (๒๕๔๓) ไดแ้ บง่ ส่วนประกอบของรายงานการวิจัยออกเป็น ๔ ส่วน คือ สว่ น ตอนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนบรรณานุกรม และส่วนภาคผนวก ดังนั้นสรุปได้ว่ารายงานการวิจัย สามารถแบ่งโครงสร้างหรอื องคป์ ระกอบออกเปน็ ๓ ส่วน คือ ๑. ส่วนประกอบตอนตน้ หรือสว่ นนา ๒. ส่วนเนื้อหาหรอื เนอื้ เร่ือง ๓. สว่ นประกอบตอนท้าย ประกอบด้วยบรรณานุกรมและภาคผนวก ส่วนที่ ๑ ส่วนประกอบตอนตน้ หรอื สว่ นนา เปน็ สว่ นแรกของรายงานการวจิ ยั เพื่อแนะนาโครงการวจิ ัย และเพอ่ื ให้ผู้อ่านได้มโี อกาสทา ความรู้จกั กบั งานวิจยั นน้ั ๆ เปน็ พน้ื ฐาน รวมท้ังไดม้ โี อกาสเขา้ ใจงานวจิ ยั นน้ั อยา่ งงา่ ย ๆ สน้ั ๆ โดย รวดเรว็ ได้ ส่วนนา จะประกอบด้วย ๗ สว่ นย่อย ดังน้ี ชดุ การเรียน วิชาภาษาไทยเพอื่ สื่อสารในงานอาชีพ ๑๒

๑. ปกนอก เปน็ สว่ นนอกของรายงานการวจิ ัย เปน็ ส่วนแสดงรายละเอียดของชือ่ เรอื่ งงานวจิ ัย ชอื่ ผูว้ จิ ัย สถานทที่ าวิจยั และปที ที่ าวจิ ยั ดังตวั อยา่ ง การใชค้ วิ อารโ์ คด้ ศึกษาขอ้ มูลพชื สมุนไพรในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรยี น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยพี ะเยา Title : Using QR Code for Herbal Studying in Botanical School at Phayao College of Agriculture and Technology โดย นายณฐั พล รวมสุข นางสาวนชุ นาถ บัวเงนิ นางสาวระพีพรรณ เขอ่ื นคา การประชุมวชิ าการระดบั ชาติ องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภส์ มเด็จพระเทพรตั นราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ครง้ั ที่ 36 ระหวา่ งวนั ที่ 10 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ณ วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยีตาก ๑๓ ชุดการเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ

๒. ปกใน จะมีรูปแบบคล้าย ๆ กับปกนอก ซึ่งจะประกอบด้วยชื่อเร่ืองที่ทาวิจัย ชื่อผู้ทาวิจัย หรือคณะผู้วิจัย ในกรณีที่ผู้ทาวิจัยมีหลายคน อาจใส่ช่ือผู้วิจัยท้ังหมด เรียงตามลาดับ ความสาคัญ หรือส่วนของผลงานที่มีต่อโครงการวิจัยนั้น จากมากไปหาน้อย หรืออาจใส่ช่ือผวู้ ิจัยเรียง ตามลาดับอักษรตวั แรกของแตล่ ะชื่อ ในกรณที ่ีผูท้ าวจิ ัยมบี ทบาทตอ่ งานวิจัยน้ันเท่า ๆ กนั ดังตวั อย่าง การสัมมนาผลงานวจิ ัยสาขาทั่วไป เรอื่ ง การใชค้ ิวอาร์โคด้ ศกึ ษาข้อมลู พืชสมุนไพร ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรยี น วทิ ยาลัยเกษตรและเทคโนโลยพี ะเยา Title : Using QR Code for Herbal Studying in Botanical School at Phayao College of Agriculture and Technology โดย นายณัฐพล รวมสขุ นางสาวนชุ นาถ บัวเงิน นางสาวระพพี รรณ เขือ่ นคา ครูที่ปรึกษา นางสาวศรีเพญ็ มะโน นายอาวธุ จุมปา นางสาวปัณฑิกา ศิริอามาต ๓. บทคดั ยอ่ เปน็ ข้อความโดยสรุปของรายงานทีส่ น้ั กะทดั รดั ชดั เจน ไดใ้ จความ ครอบคลุมเนื้อหาสาคญั ของการศกึ ษาคน้ ควา้ วจิ ยั เรอื่ งนน้ั ไว้ท้ังหมด โดยระบุถึงประเด็นทว่ี จิ ยั วิธีวจิ ยั ขอ้ มูล และข้อค้นพบเพยี งย่อ ๆ เทา่ นัน้ บทคัดย่ออาจมที ัง้ ที่เปน็ ภาษาไทยและภาษาองั กฤษ ดังตวั อยา่ ง ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพอื่ สอื่ สารในงานอาชพี ๑๔

บทคดั ยอ่ การวจิ ยั คร้งั น้มี วี ัตถปุ ระสงคเ์ พอ่ื ใชค้ ิวอาร์โค้ดศึกษาข้อมูลพชื สมุนไพรใน สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา และความพึง พอใจในการใช้คิวอาร์โค้ด เคร่ืองมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย คิวอาร์โค้ด และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้คิวอาร์โค้ดในการศึกษา ข้อมูลพืชสมุนไพรในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สถิติที่ใช้ คือค่าร้อยละ ค่าเฉล่ีย และ คา่ เบย่ี งเบนมาตรฐาน จากผลการวิจัยพบว่าการใชค้ วิ อารโ์ คด้ ศึกษาข้อมลู พืชสมนุ ไพร สามารถ ใช้ควิ อารโ์ ค้ดศึกษาพชื สมนุ ไพร จานวน 50 ชนิดผ่านสมาร์ทโฟนไดจ้ รงิ เม่ือสรุปผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา พบว่านักศึกษามี ความพึงพอใจในการใช้คิวอาร์โค้ดศึกษาข้อมูลพืชสมุนไพรในสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียน ในระดับมากทสี่ ดุ คาสาคญั ควิ อารโ์ ค้ด (QR Code) พชื สมุนไพร สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ๔. คานาและกิตติกรรมประกาศ โดยปกติแลว้ จะแยกออกจากกนั เปน็ ๒ หนา้ ซ่งึ คานานั้นเป็นการกล่าวย่อ ๆ ถึงที่มาของการทาวิจัยโครงการน้ัน ๆ มูลเหตุจูงใจ จุดมุ่งหมาย และ ขอบเขตของงานวิจัย รวมท้ังประโยชน์ท่ีจะนาผลการวิจัยนั้นไปใช้ ส่วนกิตติกรรมประกาศจะเป็น ขอ้ ความที่ผวู้ จิ ัยแสดงความในใจเก่ียวกบั การวจิ ยั นัน้ ตลอดจนแสดงข้อความ ดังตัวอยา่ ง ๑๕ ชดุ การเรียน วชิ าทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี

กติ ตกิ รรมประกาศ การวิจัยเร่ือง การใช้คิวอาร์โค้ดศึกษาข้อมูลพืชสมุนไพรในสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา ฉบับนี้สาเร็จด้วยดีด้วยความกรุณาอย่าง สูงจาก นายจรัสพงษ์ วรรณสอน ผู้อานวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา นางสาวศรีเพ็ญ มะโน ท่ีปรึกษาหลกั นายอาวธุ จุมปาและนางสาวปณั ฑิกา ศริ ิอามาต ที่ปรกึ ษารว่ ม ทไ่ี ด้ใหค้ าช้แี นะ ใหค้ าปรึกษาแนะนา ตรวจ แกไ้ ขปรบั ปรุง ตลอดจนส่งเสรมิ สนับสนนุ และอานวยความสะดวกตา่ ง ๆ ใหก้ ารวิจยั มีความสมบูรณ์ย่งิ ขึ้น ขอขอบคุณ ดร.สาคร เมฆรักษาวนิช อาจารย์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลยั พะเยา ดร.ไพศาล จี้ฟู อาจารย์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชา ภูมิ สารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และ นายวศิน รวมสุข ครูชานาญการพิเศษ วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยีพะเยา ทไี่ ด้กรุณาใหค้ าแนะนาและให้ความชว่ ยเหลือในการ ตรวจสอบความถูกต้องของขอ้ มูล และเครื่องมือวิจยั ขอขอบคุณกาลังใจจากครูทป่ี รึกษา เพ่อื น ๆ และขอบคุณผู้ทไ่ี มไ่ ด้เอ่ยนามทใี่ หก้ าลังใจและความหว่ งใยเสมอมา ทา้ ยท่ีสุดนีข้ อขอบพระคณุ บดิ ามารดา ที่เลย้ี งดูสนบั สนนุ ให้การศึกษา ตลอดจน ให้กาลังใจจนไดร้ บั ความสาเรจ็ ในวันนี้ ประโยชน์อันใดทจ่ี ะได้รับจากการวิจัยฉบบั น้ี ขอมอบแดค่ รู อาจารยท์ ุกคนทใ่ี ห้ การศกึ ษาอบรมมาโดยตลอด คณะผวู้ ิจัย พฤศจกิ ายน 2557 ๕. สารบญั เป็นรายการแสดงบทหรือตอน หรอื หวั ข้อตา่ ง ๆ ท่ีเขียนไวใ้ นรายงาน การวจิ ยั หวั ข้อน้นั อาจประกอบด้วยหัวขอ้ หลกั และหวั ข้อยอ่ ย ๆ ด้วยก็ได้ ๖. สารบัญตาราง (ถ้ามี) เป็นรายการแสดงข้อมูลท่ีได้นาเสนอเป็นตารางต่าง ๆ ไว้ในรายงานการวจิ ยั โดยมีเลขหนา้ ท่ตี ารางน้นั ปรากฏในรายงานวิจัยด้วย ๗. สารบัญภาพ หรือสารบัญแผนภาพ (ถ้ามี) เป็นรายการแสดงข้อมูลท่ีได้ นาเสนอเป็นแผนภาพตา่ ง ๆ แผนภาพนนั้ อาจแสดงในรปู ตา่ ง ๆ กันก็ได้ เชน่ แผนที่ แผนภมู ิ โดยมี เลขหน้าท่ีปรากฏของแผนภาพนนั้ ด้วย ชดุ การเรียน วิชาภาษาไทยเพอื่ สื่อสารในงานอาชพี ๑๖

ตัวอย่าง สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพมีดังนี้ ๑๗ ชุดการเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี

สารบัญตาราง ตารางท่ี แสดงจานวนและร้อยละของผตู้ อบแบบสอบถามจาแนกตาม หน้า 1 ระดบั ชน้ั และเพศ.............................................................................. 27 แสดงค่าเฉลีย่ และค่าเบ่ยี งเบนมาตรฐานและระดับความพงึ พอใจใน 2 การใชค้ ิวอาร์โคด้ ศึกษาข้อมลู พืชสมุนไพรในสวนพฤกษศาสตร์ 28 โรงเรียน............................................................................................ สารบญั ภาพ ภาพที่ หน้า 1 ควิ อารโ์ ค้ด...................................................................................... 6 2 รปู แบบการค้นหา........................................................................... 7 3 การระบตุ าแหน่งของควิ อาร์โค้ด..................................................... 8 ส่วนท่ี ๒ ส่วนเนื้อหาหรอื เน้ือเร่ือง เปน็ ส่วนหลักของรายงานการวจิ ยั ประกอบดว้ ย บทท่ี ๑ บทนา ๑. ที่มาและความสาคัญของปัญหา เปน็ การกลา่ วถึงขอ้ ความนาเรอ่ื งท่จี ะโยงเข้าสู่เรือ่ ง ที่จะวิจัย เป็นการบอกให้ทราบถึงสาเหตุ ความจาเป็น และความสาคัญท่ีทาทาวิจัย ผู้วิจัยต้องเขียน เกรน่ิ นาหรืออารัมภบท โดยโน้มนา้ ว จูงใจให้ผูอ้ ่านหรือผู้เก่ียวข้องคล้อยตาม การนาเร่ืองไม่ควรยาว เกินไป เพราะจะนาเข้าสู่เรื่องยาก ส่วนนี้อ้างอิงได้บ้างพอสมควร แต่ไม่ควรอ้างอิงมากเกินไป ดังตัวอยา่ ง ชุดการเรยี น วิชาภาษาไทยเพอื่ ส่อื สารในงานอาชีพ ๑๘

ความเปน็ มาและความสาคญั ของปัญหา พืชสมุนไพร เป็นสิ่งท่ีอยู่คู่คนไทยมาช้านาน มีสรรพคุณในการนามาใช้ปรุงหรือ ประกอบเป็นยารักษาโรคต่าง ๆ ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพร่างกายได้ พืชสมุนไพรเป็นผลผลติ จากธรรมชาตทิ ่มี นุษยร์ ู้จักนามาใช้ประโยชน์…… วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา ได้จัดทาแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียนที่ รวบรวม พืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ไว้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ของวิทยาลัย เพื่อให้ นกั เรียน นักศึกษาและผูส้ นใจได้ศึกษาค้นควา้ และนาไปใชป้ ระโยชน์ในดา้ นต่าง ๆ ......... ดงั นน้ั ผู้วิจัย จึงมีความสนใจทจี่ ะนาเทคโนโลยีคิวอารโ์ คด้ มาใชใ้ นการศกึ ษาข้อมูล พืชสมนุ ไพรในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยีพะเยา เพ่ือให้ นกั เรยี น นกั ศึกษา ที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้เรอ่ื งพืชสมุนไพร ไดศ้ ึกษาเรียนรดู้ ้วยตนเอง อกี ทง้ั เปน็ การปลกู ฝงั ให้มจี ติ สานึกการอนุรักษภ์ มู ิปัญญาของคนไทย เพ่ือให้คนร่นุ หลงั ได้ใชป้ ระโยชน์ ต่อไป ๒. วัตถปุ ระสงคข์ องการวิจัย จะประกอบดว้ ยหวั ข้อและข้อความทีแ่ สดงถึงสง่ิ ท่ีนักวจิ ยั ตอ้ งการคน้ พบ พร้อมทง้ั ให้เหตุผล ควรแบง่ ออกเป็นหวั ขอ้ ตา่ ง ๆ ให้ชัดเจน ตวั อยา่ ง การเขยี นวัตถุประสงคก์ ารวจิ ัย วัตถปุ ระสงคข์ องการวจิ ัย ๑. เพ่ือจัดทาคิวอาร์โค้ดใช้ศึกษาข้อมูลพืชสมุนไพรในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยพี ะเยา ๒. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน นักศึกษาท่ีใช้คิวอาร์โค้ดศึกษาข้อมูลพืช สมนุ ไพรในสวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา ๓. สมมุติฐานของการวิจัย เป็นข้อสันนิษฐาน ซ่ึงเป็นข้อความท่ีเดาหรือคาดคะเน ผลการวิจัยไว้ล่วงหน้า การวิจัยเรื่องน้ันจะได้ข้อค้นพบอะไรบ้าง การเขียนต้องมีทฤษฎีข้อเท็จจริง และผลการวิจัยในอดีตสนับสนุน มิใช่ตั้งสมมุติฐานข้ึนมาลอย ๆ การเขียนสมมุติฐานการวิจัย ควร เขียนหลังจากไดท้ บทวนเอกสารและงานวจิ ัยท่ีเก่ียวข้องเรียบรอ้ ยแล้ว สมมุติฐานไม่จาเปน็ ตอ้ งมที ุก ๑๙ ชุดการเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี

คร้ังในการวิจัย บางลักษณะถ้าผู้วิจัยไม่ได้คาดหวังอะไรไว้เลย สมมุติฐานของการวิจัยก็จะไม่มี การ เขยี นสมมตุ ฐิ านการวจิ ัยมขี ้อเสนอแนะดงั นี้ (บญุ ธรรม กจิ ปรดี าบรสิ ทุ ธ,ิ์ ๒๕๕๓) ๓.๑ ควรเขียนเปน็ ประโยคบอกเล่า ๓.๒ ถา้ มีประเดน็ หลาย ๆ ขอ้ ควรเขียนสมมตุ ฐิ านหลายขอ้ ดว้ ย แยกเป็นขอ้ ๆ ตามประเด็นปญั หา และตัวแปรอิสระทตี่ อ้ งการศกึ ษา ๓.๓ ควรเขียนหลังจากทบทวนเอกสารและงานวจิ ยั ท่ีเก่ียวข้องอยา่ งสมบูรณแ์ ละ ละเอยี ดรอบคอบ ๓.๔ ควรเขยี นให้มีความสมั พันธ์กัน ๓.๕ ควรเขียนให้สามารถทดสอบได้ ๓.๖ ควรเขยี นให้โยงถึงขอ้ สรุปของผลการวจิ ยั ๔. นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย เป็นการให้ความหมายของคาหรือข้อความที่ใช้ใน รายงานการวจิ ยั ซ่ึงหมายถึงเฉพาะในงานวจิ ัยน้ีเพ่อื ให้ผ้อู า่ นเขา้ ใจตรงกับผวู้ จิ ัย การเขียนรายงานการวจิ ัย มคี าศพั ท์หรือข้อความทีจ่ ะตอ้ งใหค้ วามหมาย แบง่ ออก ได้ ๔ กลมุ่ ใหญ่ (บญุ ธรรม กิจปรีดาบรสิ ทุ ธ์ิ, ๒๕๕๓) ๔.๑ คาศัพทท์ างวิชาการ (Technical Term) เปน็ คาศพั ท์ ข้อความทางเทคนิคทร่ี ู้ กันเฉพาะสาขาวชิ า ๔.๒ คาศัพท์ที่มีหลายความหมาย เป็นคาศัพท์หรือข้อความท่ีมีหลายความหมาย ซึ่งอาจจะเป็นคาศัพท์ทางวิชาการหรือคาศัพท์ท่ัวไปก็ได้ การที่คาศัพท์คาเดียวกัน สะกดเหมือนกัน จะมีความหมายต่างกันก็ได้ นอกจากนั้นคาศัพท์ท่ีสะกดเหมือนกันแต่ต่างสาขาวิชากันจะมี ความหมายแตกต่างกัน ๔.๓ คาศัพท์ที่มีความหมายไม่แน่นอน เป็นคาศัพท์ที่มีความหมายหลากหลาย สามารถให้ความหมายในเชิงแคบ ๆ หรือกว้าง ๆ ก็ได้ เป็นคาที่ยังให้ความหมายไม่ค่อยตรงกัน แลว้ แต่ยึดแนวคดิ ทฤษฎีของใคร ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพอ่ื สอื่ สารในงานอาชพี ๒๐

๔.๔ ข้อความท่ีเป็นวลียาว ๆ ภาษาไทยมีคาวลียาว ๆ ซ่ึงขยายคานาม หรือขยาย คากริยามากมายท่ีนามาใช้ในการวิจัย ในการเขียนรายงานการวิจัย ควรให้นิยามศัพท์เฉพาะไว้ โดย ใช้คานามหลัก ตดั คาชยายออกทง้ั หมด แล้วใหน้ ิยามคานามหลกั นนั้ นยิ ามศพั ท์เฉพาะ ๑. คิวอารโ์ คด้ (qr code) หมายถึง บาร์โคด้ สองมิตชิ นิดหนงึ่ ทป่ี ระกอบดว้ ยส่เี หลย่ี ม สีดาและสขี าวเรียงตัวกนั มีพื้นหลังสีขาว ทสี่ ามารถอา่ นได้ดว้ ยเครื่องสแกนคิวอาร์ ๒. สวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรียน หมายถึง แหล่งท่รี วบรวมพนั ธุ์พืชชนดิ ตา่ ง ๆ ท่ีปลูก ตามความเหมาะสมกับสภาพถน่ิ อาศัยเดิม ทใี่ ชเ้ พือ่ การเรียนรู้ และพักผอ่ นหยอ่ นใจใน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยพี ะเยา ๕. ประโยชน์ท่ีคาดว่าจะได้รับ เป็นส่วนที่ช้ีให้เห็นว่าโครงการวิจัยนี้จะให้ประโยชน์ อะไรบ้าง และเป็นประโยชน์ต่อบุคคล หนว่ ยงานหรือองคก์ ารใด การเขียนประโยชน์ท่ีคาดว่าจะได้รับ บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์ิ (๒๕๕๓) ได้ กลา่ วถึงประโยชน์ทค่ี าดว่าจะไดร้ บั ไว้ ๓ ลกั ษณะ ได้แก่ ๕.๑ การวจิ ัยเรือ่ งนไ้ี ด้ข้อค้นพบใหมอ่ ะไรบ้าง เปน็ การยา้ ให้ผอู้ ่านทราบถึง ผลการวจิ ัยที่ได้ครั้งนี้ ๕.๒ ผลการวจิ ัยนาไปใชแ้ กไ้ ขปญั หา หรือเปน็ แนวทางในการแก้ไขปญั หาอะไร และอยา่ งไรบ้าง ควรเขียนให้ระบชุ ัดเจน ทัง้ บุคคลทีจ่ ะนาไปใชป้ ระโยชน์ และผูท้ ่จี ะได้รับประโยชน์ ๕.๓ การวจิ ยั แต่ละเรอื่ งมีทง้ั รปู แบบและวธิ กี าร ฉะน้นั ประโยชน์ท่ีคาดว่าจะ ได้รบั อีกประการหนงึ่ คอื การเป็นตวั อยา่ งและเปน็ แนวทางในการศกึ ษาค้นควา้ ตอ่ ไป ทาใหค้ นรุน่ หลัง ได้ใช้ศึกษาและต่อเติม เสรมิ ความรู้ ความเขา้ ใจในเรื่องดังกลา่ วใหส้ มบรู ณม์ ากย่ิงขน้ึ ๒๑ ชุดการเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี

ประโยชนท์ ่ีคาดวา่ จะได้รบั นกั เรียน นกั ศึกษาและประชาชนที่สนใจ สามารถใช้คิวอารโ์ คด้ ใน การศึกษาพืชสมนุ ไพรในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรยี น วิทยาลยั เกษตรและเทคโนโลยี พะเยา ได้ดว้ ยตนเอง และสามารถนาความรทู้ ่ไี ดจ้ ากการศกึ ษาไปใช้ประโยชนไ์ ด้ ๖. ขอบเขตของการวิจัย เป็นการบอกรอบของงานวิจัยว่า มีขอบเขตกว้างขวางหรือ แคบเพียงใด ครอบคลมุ กลุ่มใดบ้าง หรือมเี นอ้ื หาอยู่ในกรอบอยา่ งไร อะไรทีค่ รอบคลมุ ไมถ่ งึ เปน็ ตน้ ขอบเขตการวิจัย ๑. ขอบเขตของเน้อื หา เน้ือหาทนี่ ามาศกึ ษาครงั้ นี้เปน็ การใชค้ ิวอารโ์ ค้ดในการศกึ ษาข้อมูลพืช สมนุ ไพร จานวน ๕๐ ชนดิ ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรยี น ………. ๒. ขอบเขตด้านเวลา การวิจัยครง้ั น้ี เรม่ิ ต้ังแต่ เดอื น........................................... ๓. ประชากรและกลุ่มตัวอยา่ ง ประชากรทีท่ าการศึกษาครงั้ น้ี เปน็ นกั เรยี น นักศกึ ษาวทิ ยาลัยเกษตร และเทคโนโลยพี ะเยา ……. จานวน ๔๓๔ คน บทที่ ๒ เอกสารและงานวจิ ยั ท่เี ก่ยี วขอ้ ง หรอื การตรวจเอกสาร เป็นส่วนท่ีสรุปแนวคิดทางทฤษฎี และแนวคิดต่าง ๆ ท่ีเก่ียวกับเรื่องท่ีกาลังศึกษาอยู่ และผลงานวิจัยทเี่ กี่ยวข้องท้ังในประเทศและต่างประเทศ เพ่ือสารวจดูว่ามีงานวจิ ยั ในเรือ่ งดงั กลา่ วท่ี พอจะมีสว่ นเก่ยี วขอ้ งกับงานวจิ ัยเร่อื งน้ี ท่ไี ดเ้ คยทามาแล้ว ทาในด้านใดบ้าง ใช้วธิ ศี ึกษาอย่างไร ในการเรียบเรียงเอกสารและงานวจิ ัยท่เี กี่ยวข้อง หากผู้จัดทาไดน้ าข้อมูลหรือข้อความ ใด ๆ มาอ้างอิงไว้ในเนือ้ หาของรายงานการวิจัย หรือเพื่อมาสนับสนนุ ให้รายงานการวิจัยน้ันมีความ สมบูรณ์น่าเช่ือถือย่ิงข้ึน ผู้เขียนจะต้องแสดงแหล่งท่ีมาของข้อมูลหรือข้อความ น้ัน ๆ เพ่ือเป็น หลักฐานอ้างอิง และเพ่ือเป็นการแสดงถึงจริยธรรมของผู้เขียน รวมทั้งเป็นการขอบคุณต่อเจ้าของ ผลงานที่ผู้เขียนได้ศึกษามา เรียกว่าการเขียนอ้างอิงในเน้ือหา คือการระบุแหล่งข้อมูลไว้ในวงเล็บ แทรกอยู่ในเนอ้ื หาของรายงานการคน้ คว้า เป็นการเขียนอ้างองิ ทีส่ ะดวก รวดเรว็ และเขยี นงา่ ย ชดุ การเรียน วิชาภาษาไทยเพอื่ ส่อื สารในงานอาชีพ ๒๒

วิธีการเขียนอ้างอิงในเน้ือหาท่ีใช้กันอยู่ท่ัวไปคือ แบบนาม-ปี ซึ่งมีหลักใหญ่คือระบุ แหลง่ อา้ งอิงไว้ในวงเล็บ สิง่ ทรี่ ะบมุ ี ๒-๓ สว่ นคือ ชอื่ ผ้แู ต่ง หรือผ้ผู ลิต ผใู้ หข้ ้อมลู ปที ่พี ิมพ์ หรือปี ที่ผลิต หรอื ปีทเี่ ผยแพรข่ อ้ มลู หรือปที ี่ปรากฏขอ้ มูล ซึ่งการเขยี นอา้ งองิ ในเน้ือหาน้นั นิยมเขยี นสอง รูปแบบ ไดแ้ ก่ การเขียนแบบเนน้ เนอ้ื หา และ การเขยี นแบบเนน้ ผู้แตง่ ตวั อยา่ ง เอกสารและงานวิจัยท่เี กยี่ วข้อง ความหมายของ ควิ อาร์ โค้ด (QR Code) บุษรา ประกอบธรรม (๒๕๕๔) ได้อธบิ ายความหมายของคิวอารโ์ คด้ ว่า คิวอาร์ โค้ด เป็นบารโ์ คด้ ๒ มิติ ทม่ี ปี ระสิทธิภาพในการเกบ็ ข้อมูลมากกวา่ บารโ์ คด้ ๑ มติ ิ ....... งานวจิ ัยท่เี กยี่ วขอ้ ง ศกั รินทร์ ชะนะ (๒๕๕๔) ศึกษาการประยุกตใ์ ช้คิวอารโ์ ค้ดระบบระบุตาแหนง่ ด้วยเครอื ขา่ ยโทรศพั ท์มอื ถอื และระบบฐานขอ้ มูลสาหรับผโู้ ดยสารอากาศยาน.... สิ่งทีต่ อ้ งระมดั ระวังในการเขียนเอกสารและงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วขอ้ ง มดี งั นี้ ๑. ขาดระบบ ระเบียบในการจดั ลาดับหัวขอ้ ใหญแ่ ละหัวขอ้ ย่อย ๒. หัวขอ้ กับเนื้อหาไม่สอดคล้องกัน หรอื ไมใ่ ช่เรอ่ื งเดียวกัน ๓. ขาดการผสมกลมกลนื และไม่ตอ่ เน่ืองกนั เพียงแต่นาเนือ้ หามาเรยี งต่อกนั เทา่ น้นั ๔. เนื้อหาขาดการปรบั ปรงุ ตบแต่งใหต้ รงกบั เรือ่ งท่ีต้องการศกึ ษา ๕. การอ้างอิงไม่ถูกตอ้ ง สมบูรณ์ ไมเ่ ปน็ ไปตามระบบการอา้ งองิ ระบบใดระบบหนึ่ง ๖. การคัดข้อมูล ตัวเลข ตัวเลขทศนิยม ศัพท์เทคนิค ศัพท์ช่ือเฉพาะผิด หรือ คลาดเคลอ่ื น บทที่ ๓ วิธดี าเนินการวิจยั เป็นส่วนท่ีบอกถึงลักษณะทั่วไปของการวิจัย มีข้อความอธิบายข้ันตอนการวิจัย มี ข้อความที่บอกถึงข้อมูลท่ีจาเป็นสาหรับการศึกษา และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แนวคิดที่ใช้ใน การศึกษา ประชากรและเป้าหมาย และวิธีการสุ่มตัวอย่าง การจัดกระทาข้อมูล และการวิเคราะห์ ขอ้ มลู ๒๓ ชุดการเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ

หัวข้อของวิธีดาเนินการวิจัยจะแตกต่างกันตามประเภทและวิธีการวิจัยที่ใช้ และ ต่างกันตามสาขาวิชา และสถาบันการศึกษา แต่โดยทั่วไปหลักการเขียนวิธีดาเนินการวิจั ย ประกอบดว้ ยหวั ข้อดงั น้ี ๑. รูปแบบและวธิ กี ารวิจยั ๒. ประชากรและกลุ่มตัวอยา่ ง ๓. การสร้างเคร่ืองมือการวิจัย ๔. เคร่ืองมือเก็บรวบรวมขอ้ มูล ๕. การเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ๖. สถติ ิที่ใช้ในการวเิ คราะห์ข้อมลู ๑. รูปแบบและวธิ กี ารวจิ ัย หัวข้อน้ีให้บอกถึงวิธีการทาวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาวิธีการใด โดยต้องมี รายละเอยี ดของวิธีการดว้ ย โดยเฉพาะการวจิ ยั เชิงทดลอง นอกจากจะบอกรปู แบบและวิธกี ารทาแลว้ ต้องบรรยายให้ทราบว่ามีตัวแปรที่ศึกษาอะไรบ้าง มีวิธีการจัดหรือสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและ กลุม่ ควบคุมหรอื กล่มุ เปรยี บเทียบอยา่ งไร สว่ นการวิจัยวิธีอ่นื อาจไมต่ ้องเขยี นกไ็ ด้ ตัวอยา่ ง การเขยี นรูปแบบการวิจยั งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบก่ึงทดลอง โดยมีการทดสอบก่อนและหลังการใช้ เอกสารประกอบการสอน ดังแผนภูมิ S O๑——— X ——— O๒ ๒. ประชากรและกลุ่มตัวอยา่ ง ๒.๑ ประชากร เป็นการกาหนดกรอบประชากรที่ใช้ในการศึกษา จึงต้องบอกว่า ประชากรทีใ่ ชใ้ นการวิจัยเร่ืองน้มี ีคุณสมบตั ิ หรือมีลักษณะอย่างไรที่เลือกศึกษา และมีคุณสมบัติหรอื ลักษณะอย่างไรท่ีคัดออก นอกจากน้ันควรระบุขอบเขตของพื้นที่ บริเวณและเวลาท่ีศึกษา ถ้า ประชากรมีจานวนแน่นอน ควรระบุจานวนประชากรด้วย เพื่อใช้ในการคานวณขนาดของกลุ่ม ตวั อยา่ งตอ่ ไป ๒.๒ กลุ่มตัวอย่าง ต้องเขียนระบุว่า การวิจัยคร้ังน้ีใช้ประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง ถ้าใช้ประชากรก็เขียนเพียงคุณสมบัติหรือลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ศึกษาเท่านั้น ถ้าใช้กลุ่ม ตัวอย่าง ตอ้ งเขียนว่าใช้ตวั อย่างจานวนเทา่ ใด มีหลกั และเหตผุ ลอยา่ งไร จึงใช้ตวั อยา่ งจานวนเท่าน้ัน ชดุ การเรียน วิชาภาษาไทยเพอื่ สอื่ สารในงานอาชีพ ๒๔

๒.๓ การสุม่ กลมุ่ ตัวอยา่ ง เมอ่ื ระบุจานวนตัวอย่างไดแ้ ลว้ ต้องระบตุ อ่ ไปวา่ จานวน ตัวอย่างที่ต้องการศึกษาคร้ังน้ีเลือกหรือสุ่มมาด้วยวิธีการอย่างไร ควรบอกรายละเอียดของเทคนิค วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง พร้อมทั้งอธิบาย ช้ีแจงเหตุผลประกอบ เพื่อยืนยันให้ผู้อ่านเห็นว่า กลุ่ม ตวั อยา่ งท่ีใชศ้ กึ ษาเป็นตวั แทนทีด่ ีของประชากรเปา้ หมาย ตัวอย่าง ประชากรและกล่มุ ตวั อย่าง ประชากรและกลมุ่ ตวั อยา่ ง ประชากรท่ีทาการศึกษาครั้งนี้ คอื นกั ศึกษาระดบั ประกาศนียบตั รวิชาชีพชน้ั สูง (ปวส.) ช้นั ปที ่ี ๑ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา อ.เมือง จ.พะเยา จานวน ๗๘ คน กลมุ่ ตวั อย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นกั ศึกษาระดบั ประกาศนียบัตรวชิ าชพี ชนั้ สงู (ปวส.) ช้นั ปีท่ี ๑ สาขาวชิ าพชื ศาสตร์ วิทยาลยั เกษตรและเทคโนโลยีพะเยา จานวน ๒๘ คน ....... ไดม้ าโดยการสมุ่ แบบเจาะจง (Purposive Sampling) ๓. การสร้างเครอื่ งมือการวจิ ยั การวิจัยเชิงทดลองหรือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ผู้วิจัยจะต้องสร้างและพัฒนา นวัตกรรม หรือส่ิงประดิษฐ์ข้ึน เพื่อนาไปทดลองดูว่าได้ผลเป็นอย่างไร ผู้วิจัยต้องอธิบายให้ชัดเจน เร่มิ ตง้ั แต่ ขั้นตอน วธิ กี ารสรา้ งและพัฒนาเคร่อื งมอื พรอ้ มท้งั การนาไปใช้ โดยมหี ลักการดงั น้ี ๑. เขยี นเปน็ ข้อ ๆ ตามลาดบั ขน้ั ตอน ๒. ระบุวธิ ีการ ขน้ั ตอนการสรา้ งและพัฒนานวัตกรรมหรอื สิ่งประดษิ ฐ์ อุปกรณ์ เครอ่ื งมอื คมู่ ือหรือวิธกี ารใช้ ให้ครบถว้ น ๓. ระบุการเตรียมและจานวนคร้ังในการทดลองใชต้ ามความเปน็ จรงิ ๔. ระบกุ ารเตรียมสรุปผลการทดลองและการปรบั ปรุง ๕. ระบกุ ารเตรยี มสรุปผลคร้ังสดุ ทา้ ยก่อนเผยแพร่ แนวทางการเขยี นวิธีการสรา้ งเครือ่ งมือวิจัย ๑. ศึกษาคน้ คว้า รวบรวม (เน้อื หา/วิธกี าร/ข้อมูลอ่นื ๆ / ฯลฯ) ๒. นา (เนอ้ื หา/วิธกี าร/ขอ้ มลู อน่ื ๆ/ ฯลฯ) มายกรา่ งโดย............ ๓. นาผลจากข้อ ๒ ไปใหผ้ ูท้ รงคณุ วฒุ /ิ ผู้เชย่ี วชาญพิจารณาโดย.. ๔. นาผลจากข้อ ๓ มาปรบั ปรุงก่อนท่ีจะนาไปทดลองใชภ้ าคสนามกบั . ๕. นาผลจากข้อ ๔ มาปรับปรุงและทดลองอีก............(ถ้ามี)....... ๖. สรปุ ผลการทดลองจาก........................................................... ๒๕ ชดุ การเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ

การสร้างเครื่องมอื ในการวิจยั การสร้างเครอ่ื งมอื ในการวิจยั ผวู้ ิจยั ได้ดาเนินการตามลาดับ ดังนี้ ขั้นตอนท่ี ๑ การจัดทาขอ้ มูลพืชสมนุ ไพร ประกอบด้วย 1. ศึกษาและสารวจพชื สมุนไพรทป่ี ลูกในสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยพี ะเยา…………………………………… ขัน้ ตอนท่ี ๒ การจดั ทาควิ อาร์โค้ดขอ้ มลู พืชสมุนไพร ๑. สมคั รสมาชกิ เวบ็ ไซต์ www.google.co.th ๒. เข้าใชบ้ รกิ ารของ Google Drive โดยใช้ User Name และPassword ท่ีสมคั รไว้…… ข้ันตอนท่ี ๓ การสรา้ งแบบสอบถามความพงึ พอใจในการใช้ คิวอารโ์ ค้ด…………………………………………………. ชดุ การเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอ่ื ส่อื สารในงานอาชพี ๒๖

๔. เครื่องมอื เกบ็ รวบรวมขอ้ มลู การวิจัยทุกเรื่องต้องใช้เคร่ืองมือในการรวบรวมข้อมูล สาหรับการวิจัยทาง วิทยาศาสตร์มีความสะดวก เนื่องจากมักจะวัดข้อเท็จจริงได้โดยตรง และมีเคร่ืองมือมาตรฐานท่ีให้ เลือกใช้ไดม้ ากมาย แต่การวิจยั ทางสงั คมศาสตรม์ ักจะประสบปัญหาเรื่องเครื่องมือ เพราะเปน็ การวัด พฤติกรรมซึ่งทาได้ยาก ต้องอาศัยการวัดทางอ้อมด้วยเครื่องมือท่ี อาจไม่ได้มาตรฐาน เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต เป็นตน้ ซ่ึงส่วนใหญ่มกั จะตอ้ งสรา้ งและพฒั นาขึน้ เอง หรือนาของผู้อื่นมาปรับ จึงต้องเขียนให้ละเอียดเพียงพอเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย สาหรับการเขยี น รายงานในหัวข้อเครื่องมือรวบรวมข้อมูลจะต้องเขียนว่า การวิจัยนั้นใช้เคร่ืองมือและวิธีการใด รวบรวมข้อมูลบ้าง เคร่ืองมือและวิธีการน้ันมีลักษณะและคุณภาพอย่างไร เคร่ืองมือรวบรวมข้อมูล ได้มาอย่างไร ใช้เครื่องมือมาตรฐานหรือเคร่ืองมือที่เคยมีผู้นามาใช้แล้ว หรือว่าสร้างและพัฒนาข้ึน ใหมเ่ พ่ือใช้ในการวจิ ยั นโี้ ดยเฉพาะ ตอ้ งเขยี นบอกให้ชดั เจน แนวทาง การเขียนการเกบ็ รวบรวมข้อมลู เครือ่ งมอื ท่ใี ช้ในการวิจยั ครงั้ นี้ (คือ......................ในกรณีมฉี บบั เดียวประกอบดว้ ย ................กรณมี ีหลายฉบบั ) ซง่ึ มีรายละเอยี ด ขนั้ ตอนการสรา้ งและพัฒนาดงั นี้ ๕. การเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล การเกบ็ รวบรวมข้อมูล เปน็ ขั้นตอนการดาเนนิ การจากการสร้างเคร่อื งมือเสร็จแล้ว หากเป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ข้ันตอนการเก็บข้อมูลจะไม่ยุ่งยาก แต่ก็ควรเสนอรายละเอียดให้ ครบถว้ น รวมทงั้ จานวนขอ้ มูลทีไ่ ดม้ าตามความเป็นจริง หากเปน็ การวจิ ัยเชงิ ทดลอง ขัน้ ตอนการเก็บ จะละเอียด และผู้วิจัยต้องเก็บข้อมูลเอง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เท่ียงตรง หรือมีความคลาดเคล่ือนน้อย ที่สุด หลกั การเขยี นการเกบ็ รวบรวมข้อมูล ๑. ระบรุ ายละเอียดตามวิธีการ ขนั้ ตอนใหค้ รบถว้ น ๒. ระบุผเู้ กบ็ ข้อมลู ๓. ระบสุ ถานท่ี วธิ กี ารเก็บวสั ดุ อุปกรณ์ เครอ่ื งมือทใ่ี ช้ ๔. ระบจุ านวนขอ้ มลู ท่ไี ด้ ๒๗ ชดุ การเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี

ตัวอยา่ ง การเก็บรวบรวมข้อมูล ๑. ขอความรว่ มมือจากครูผู้สอนวชิ าพฤกษศาสตร์ และวชิ าทักษะพฒั นาเพ่อื การ สอ่ื สารภาษาองั กฤษ ๒ ท่ไี ด้มอบหมายงานให้แกน่ กั ศกึ ษา ในการศกึ ษาข้อมลู เรอ่ื งพืช สมนุ ไพรในสวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรยี นโดยใช้คิวอาร์โค้ด....... ๒. เก็บรวบรวมข้อมูลความพงึ พอใจของนักศึกษาในการใช้คิวอาร์โค้ด ศกึ ษาข้อมูล พืชสมนุ ไพรในสวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรยี น โดยเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ดว้ ยตนเอง ได้ แบบสอบถามคืนมา ๑๐๐ เปอรเ์ ซน็ ต์ ๖. สถติ ิทใี่ ช้ในการวเิ คราะห์ขอ้ มลู การวิจัยเชิงปรมิ าณจะใชส้ ถติ ติ า่ ง ๆ ในการวิเคราะหข์ อ้ มูล หลกั การ ๑. ระบุช่อื สถติ ิทใ่ี ชท้ งั้ หมด ๒. หากใช้โปรแกรมสาเร็จรูปอาจไมต่ อ้ งระบรุ ายละเอียดของสูตร ๓. หากใช้สถติ ิหลายชนดิ ควรแบง่ เป็นกลุ่ม ๆ ๔. ระบวุ ่าใชว้ เิ คราะหต์ วั แปรหรอื ข้อมูลใด ตวั อยา่ ง ใช้สถติ ิพ้ืนฐาน ได้แก่ ค่ารอ้ ยละ (Percentage) ค่าเฉล่ยี (Mean) และ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถติ ทิ ่ใี ชใ้ นการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติพนื้ ฐาน ไดแ้ ก่ ค่าร้อยละ (Percentage) คา่ เฉลยี่ (Mean) และคา่ เบีย่ งเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) ชดุ การเรยี น วิชาภาษาไทยเพอ่ื ส่อื สารในงานอาชพี ๒๘

บทท่ี ๔ ผลการวิจยั การเขียนผลการวจิ ัย จะเน้นเขยี นตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ได้กาหนดไวใ้ นบทท่ี ๑ ดงั นัน้ หากกาหนดวตั ถปุ ระสงค์การวจิ ัยไมถ่ กู ตอ้ ง หรอื ไม่ชดั เจนพอท่ีจะใชผ้ ลการวิจยั ไปนาเสนอ ได้กจ็ ะเกดิ ปญั หาขึน้ หลักการ ๑. เกร่ินนาว่าจะเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลอะไรบ้าง ๒. เสนอผลการวเิ คราะหข์ อ้ มลู อยา่ งตรงไปตรงมา กระชับ ๓. เสนอผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลให้เขา้ ใจง่าย โดยอาจเปน็ ตาราง ภาพ หรือกราฟ หรอื ผสมผสานกนั ๔. ไม่แสดงความเห็นใด ๆ ต่อผลการวิเคราะห์ที่ได้ ตวั อย่าง การนาเสนอผลการวิจยั สรปุ ผลการวิจัย การนาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยจะนาเสนอผลการ วเิ คราะหข์ อ้ มลู ตามลาดับวัตถุประสงค์ของการวิจัยดงั น้ี ๑. ผลทีไ่ ดจ้ ากการจดั ทาควิ อารโ์ ค้ดขอ้ มูลพืชสมุนไพร …… ๒. ผลการประเมนิ ความพงึ พอใจของผูใ้ ช้คิวอาร์โคด้ ………… บทที่ ๕ สรุป อภปิ รายผลและข้อเสนอแนะ การสรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ เป็นบทสุดท้ายหรือบทที่ ๕ ในส่วนที่เป็น เน้อื หาของรายงานวจิ ัย ปริมาณอาจมีเนอื้ หาไม่มากนัก แตก่ ็เปน็ บทสาคัญท่จี ะแสดงถงึ ความรู้ ความ เข้าใจของผู้วิจัย เพราะเน้ือหาส่วนใหญ่จะเป็นความคิดของผู้วิจัยเองที่จะวิเคราะห์ วิจารณ์ ผลการวิจัยที่ได้ และให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ซ่ึงถือว่าเป็นบทท่ีมีความสาคัญมากบทหน่ึง ด้วยเหตุ ดังกล่าวผู้วิจัยจึงต้องใช้ความรู้ ความสามารถในการเขียนบทน้ีมาก การเขียนสรุป อภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ มแี นวทางดงั น้ี ๑. การเกริ่นนา เนื่องจากบทนี้เป็นบทสรุปจึงตอ้ งมีการเกร่ินนา เพ่ือเป็นการเช่ือมโยงเนอ้ื หาต่างๆ โดยสรุปให้สอดคล้องกัน ด้วยการนาสาระสาคัญ ๆ ของบทต่าง ๆ มาขมวดไว้อีกคร้ังหน่ึง สาระจะมี มากหรือน้อยขึน้ กบั จานวนตวั แปร วิธกี าร หรอื องคป์ ระกอบอืน่ ๆ ๒๙ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ

ตวั อยา่ ง การเขียนเกริน่ นา การวิจัยเรื่องการใช้คิวอาร์โค้ด (QR Code) ศึกษาข้อมูลพืชสมุนไพรในสวน พฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา ประชากรท่ีใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา ภาคเรียนท่ี ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ จานวน ๔๓๔ คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ช้นั ปีท่ี ๑ สาขาวิชาพชื ศาสตร์ ท่เี รยี นวิชาทักษะพฒั นาเพ่ือการสื่อสาร......... ผวู้ จิ ัยขอ สรปุ ผลการวจิ ยั อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ดงั มีรายละเอยี ดต่อไปน้ี ๒. การสรุปผลการวิจัย การสรุปผลการวิจัย เป็นการนาข้อสรุปจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลในบทท่ี ๔ มา สรุปอีกครั้งหน่ึง โดยเน้นเฉพาะผลตามวัตถุประสงค์การวิจัยเท่าน้ัน สาเหตุที่ต้องสรุปผลอีกคร้ังก็ เพื่อให้เนื้อหาเชอ่ื มโยงกัน เพราะผลการวจิ ัยจะนาไปสู่การอภิปราย และข้อเสนอแนะในการวจิ ัยครง้ั ตอ่ ไปนน่ั เอง แนวทาง ๑. เขยี นเปน็ ข้อ ๆ ตามลาดบั วตั ถปุ ระสงค์การวิจยั ๒. นาผลทไี่ ดจ้ ากบทที่ ๔ มาสรปุ เฉพาะส่วนท่เี ปน็ เน้อื หาให้กระชบั ๓. ไม่ควรเสนอรายละเอยี ดตัวเลขใด ๆ เว้นแต่มีความจาเป็น ๔. ไมแ่ สดงความคิดเห็นใด ๆ ตอ่ ผลที่ได้ ตัวอย่าง การเขียนสรปุ ผลการวิจัย ๑. ผลทไ่ี ด้จากการใชค้ ิวอาร์โคด้ ศกึ ษาข้อมูลพืชสมนุ ไพร ไดค้ ิวอารโ์ ค้ดแสดงข้อมลู พชื สมุนไพร ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยีพะเยา ............ ๒. ผลการประเมินความพงึ พอใจในการใชค้ วิ อาร์โคด้ ศกึ ษาข้อมลู พืชสมนุ ไพรใน สวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรยี น ของนกั ศกึ ษา สามารถสรปุ ผลไดด้ งั น้ี โดยภาพรวม นกั ศกึ ษามีความพงึ พอใจในการใชค้ วิ อาร์โคด้ ศึกษาข้อมลู พืช สมนุ ไพรในสวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรียน อย่ใู นระดบั มากทสี่ ุด ( x = ๔.๕๔, S.D.= ๐.๔๕) เม่อื พจิ ารณาเป็นรายดา้ นไดแ้ ก่ ................ครบถว้ น ( x = ๔.๗๘, S.D. =๐.๔๒) ........... ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพอื่ สอื่ สารในงานอาชีพ ๓๐

๓. การอภปิ รายผล การอภิปรายผล เป็นเน้ือหาที่แสดงถึงความคิดเห็นของผู้วิจัยท่ีมีต่อผลการวิจัยว่า ทาไมจึงเป็นเช่นนั้น เป็นไปตามสมมุติฐานหรือไม่ (ถ้ามี) โดยต้องเขียนจากงานวิจัย แนวคิด ทฤษฎี หลักการต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือมารองรับ อาจนับได้ว่าเน้ือหาในหัวข้อนี้เป็นของผู้วิจัยมากกว่าหัวข้อ อนื่ ๆ หากผ้วู จิ ยั นาเสนอเนอ้ื หามาก กย็ ิ่งทาให้เห็นถึงความรู้ ความเขา้ ใจ และความพยายามไดอ้ ย่าง ชดั เจน ในการเขยี นอภิปรายผล มีหลักการดังน้ี ๑. อภปิ รายเปน็ ข้อ ๆ ตามวตั ถปุ ระสงค์การวจิ ยั ๒. มเี น้ือหาพอสมควร ขอ้ ละครึ่งหนา้ ข้ึนไป ๓. เพอ่ื ป้องกนั การอภปิ รายนอกขอบเขตการวจิ ยั แตล่ ะขอ้ ควรขึน้ ตน้ ดว้ ยคา วา่ “จากผลการวิจยั ทพ่ี บวา่ .................” ๔. กรณีท่ีผลการวิจัยสอดคล้องกับสมมุติฐาน (ถ้ามี) ก็เขียนว่าสอดคล้องกับ งานวิจัย แนวคิด ทฤษฎีหรือหลักการของใคร โดยนาเนื้อหาท่ีเรียบเรียงไว้ในบทที่ ๒ มาใช้ ประกอบการอภปิ ราย ๕. กรณีที่ผลการวิจัยไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน (ถ้ามี) ก็ต้องนาเสนอว่าสาเหตุ หรือปัจจัยใดบ้างท่ที าใหผ้ ลเป็นเชน่ น้ัน ๖. ควรอภิปรายใหเ้ ชื่อมโยงไปส่ขู ้อเสนอแนะด้วย ตัวอยา่ ง การเขียนอภิปรายผลการวิจัย จากผลการวิจยั พบวา่ นกั ศกึ ษามีความพงึ พอใจในการใช้ควิ อาร์โคด้ ศึกษาข้อมูล พชื สมนุ ไพร ในสวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรียน ด้านความเหมาะสมของเนอ้ื หาและข้อมลู ......ในระดบั มากที่สุด ท้ังนีเ้ นอ่ื งจาก.. ผลการวิจัยดงั กลา่ ว สอดคล้องกับงานวจิ ยั ของอานาจวิทย์ หมู่ศลิ ป์ (๒๕๕๕) ท่ี ได้ศึกษา การพฒั นาระบบสารสนเทศเพ่อื การบริหารครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ด้วยควิ อาร์ โค้ด กรณีศกึ ษา สานักงานการตรวจเงนิ แผน่ ดนิ และพบวา่ ผใู้ ชง้ าน มีความพงึ พอใจใน ระดบั มาก …………….. ๓๑ ชุดการเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี

๔. ขอ้ เสนอแนะในการนาวจิ ัยไปใช้ การนาผลการวิจยั ไปใช้ มีหลกั การดงั น้ี ๑. ควรระบผุ ้จู ะใช้ผลการวจิ ยั และใชก้ ับใคร ๒. เขยี นเปน็ ข้อ ๆ ๓. ขอ้ เสนอแนะในการนาไปใชต้ อ้ งมาจากผลการวจิ ัยเท่านั้น ๔. เขยี นให้ชัดเจน ละเอียดเพียงพอท่จี ะนาไปใชไ้ ดอ้ ยา่ งเปน็ รูปธรรม ตัวอยา่ ง การเขยี นข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะท่วั ไป ๑. วทิ ยาลัยควรจดั ทาระบบสัญญาณอนิ เตอร์เน็ตใหท้ ว่ั ถึง…… ๒. ควรเลือกใช้แอพพลิเคชั่นสแกนคิวอาร์โค้ดที่รองรับการขยาย ขอ้ มูลไดก้ วา้ งและสะดวกท่สี ดุ ๓. ควรนาควิ อารโ์ คด้ ไปประยุกต์ใช้ในงานอืน่ ๆ ๕. ข้อเสนอแนะในการทาวจิ ยั ครั้งตอ่ ไป เป็นการเขียนเสนอแนะให้ผู้อื่นวิจัยครั้งต่อไป เป็นการเขียนโดยใช้ความรู้ ประสบการณ์จากงานวิจัยท่ีทา มาเป็นแนวทางให้ผู้อื่นได้ทาวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยมี หลักการเขยี นดังนี้ ๑. เขียนเป็นขอ้ ๆ โดยระบุเปน็ แนวชื่อเรอื่ งทีจ่ ะนาไปวิจยั ได้ ๒. ไมจ่ าเป็นตอ้ งมีหลายข้อ ๓. เขียนให้เก่ยี วขอ้ งกบั เรื่องทว่ี ิจยั โดยเพิ่มเติมประเดน็ ทน่ี ่าสนใจ หรือมี ขอ้ จากัดที่ผวู้ จิ ยั ไมส่ ามารถทาในครั้งนไ้ี ด้ ๔. มเี หตุผลและความเปน็ ไปได้ ตวั อย่าง ขอ้ เสนอแนะในการทาวจิ ัยคร้ังตอ่ ไป ขอ้ เสนอแนะในการทาวจิ ยั คร้ังต่อไป พัฒนา Application Herb ฐานขอ้ มูลพชื สมนุ ไพรในสวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรยี น วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยพี ะเยา ชดุ การเรยี น วิชาภาษาไทยเพอื่ สอ่ื สารในงานอาชีพ ๓๒

สว่ นที่ ๓ สว่ นประกอบตอนทา้ ย ประกอบด้วยบรรณานุกรมและภาคผนวก ๑. บรรณานกุ รม ๒. ภาคผนวก หลังจากศกึ ษาเรื่องสว่ นตา่ ง ๆ ของรายงานการวจิ ยั กันแลว้ เรามาตรวจสอบความเข้าใจ ในกจิ กรรม ดังน้ี //bit.ly/thaiact73 //h5p.org/node/454941 //h5p.org/node/454943 //h5p.org/node/454944 ๑. บรรณานกุ รม บรรณานุกรม เป็นส่วนขยายรายละเอียดเพิ่มเติมจากการอ้างอิงไว้ในเนื้อหาทั้ง ๕ บท ของรายงานวจิ ัย บรรณานุกรมจะแสดงให้เห็นถึงความครอบคลุมเพียงพอ คุณค่า และความทนั สมยั ของเอกสารหรอื แหลง่ อ้างอิงตา่ ง ๆ ที่ผู้วจิ ัยค้นคว้ามา โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ เชน่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อของ แหลง่ อา้ งอิง ครงั้ ทีพ่ ิมพ์ สถานทีพ่ ิมพ์ สานกั พิมพ์ เป็นตน้ โดยมีหลกั การดังน้ี ๑. จานวนต้องครบเทา่ กับทอี่ า้ งอิงไว้ ๒. ใชร้ ูปแบบเดยี วกนั ตลอดทงั้ เลม่ ๓. หากมที ้งั ภาษาไทยและภาษาตา่ งประเทศ ให้ขึ้นดว้ ยภาษาไทยกอ่ น ๔. ยดึ ของต้นสังกดั เป็นหลัก (ถา้ ม)ี ถา้ ไม่มใี หใ้ ช้แหล่งอ่นื ได้ หลักการลงรายการบรรณานุกรม การเขียนบรรณานุกรมน้ัน มีรูปแบบการเขียนแตกต่างกันไปหลากหลายรูปแบบ ซ่ึง ขึ้นอยู่กับสถาบันการศกึ ษาหรือองค์การจะเป็นผู้กาหนด สาหรับหลักการลงรายการที่จะนามากล่าว ในท่ีน้ีจะใช้หลักของ APA (American Psychological Association) มอี งค์ประกอบ ดังน้ี ๑. การลงรายการช่ือผู้แต่ง มหี ลกั ดังน้ี ๑.๑ ผแู้ ตง่ คนไทย ลงรายการดว้ ยช่อื ตัวและตามดว้ ยนามสกุล ถา้ เป็นชาว ต่างประเทศใหใ้ ชน้ ามสกุลขน้ึ ก่อน คนั่ ดว้ ยเครื่องหมายจลุ ภาค (,) แลว้ ตามดว้ ยอักษรยอ่ ของชือ่ ตน้ และชือ่ กลาง อรรถสิทธิ์ วงศ์มณโี รจน์ ๓๓ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี

๑.๒ ผู้แต่งที่มีฐานันดรศักดิ์ หรือบรรดาศักดิ์ หมายถึงผู้แต่งท่ีได้รัพระราชทาน เคร่ืองราชอิสริยาภรณ์ อิสริยยศ บรรดาศักด์ิ การลงรายการผู้แต่ง ให้ลงฐานันดรศักดิ์บรรดาศักดิ์ ไว้ท้ายช่ือ โดยมีเครอื่ งหมายจุลภาคคน่ั ดังน้ี ชาตรีเฉลมิ ยคุ ล, ม.จ. ๑.๓ ผู้แต่งที่มีสมณศักด์ิ หมายถงึ ผแู้ ต่งทด่ี ารงอย่ใู นสมณเพศ มยี ศพระสงฆ์ทไ่ี ด้รบั พระราชทาน ซึ่งแบง่ เปน็ หลายชนั้ แตล่ ะชนั้ มพี ัดยศเปน็ เครอ่ื งกาหนดทางสงฆ์ ให้ลงรายการตามท่ี ปรากฏ เชน่ สมเด็จพระพฒุ าจารย์ ๑.๔ ผู้แต่งทเี่ ปน็ กลุม่ บุคคล หรอื นติ บิ ุคคล หรือสถาบัน ลงชื่อหน่วยงานนน้ั ตาม ชือ่ ทถี่ ูกระบุถงึ มากที่สุด ตัวอยา่ ง สานักงานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา ถา้ เปน็ หน่วยงานยอ่ ยท่ีลงไวห้ ลงั หน่วยงานหลัก ใหค้ น่ั ด้วยเครื่องหมายจลุ ภาค ตามแบบของ APA ดังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั , คณะอักษรศาสตร์ ๑.๕ ผู้แตง่ ๒-๕ คน ใหล้ งช่ือทุกคน คนั่ ด้วยเคร่อื งหมายจลุ ภาคระหวา่ งชอ่ื ผแู้ ตง่ แต่ละคน และใชค้ าวา่ “และ” นาหนา้ คนสุดท้าย หรือ เครอ่ื งหมาย “&” ในภาษาอังกฤษ ดงั ตัวอย่าง อรจรยี ์ ณ ตะกวั่ ทงุ่ , สกุ รี รอดโพธท์ิ อง, และวชิ ุดา รตั นเพียร ๑.๖. ผู้แตง่ ๖ คนหรือมากกว่า ๖ คน ใหล้ งช่ือผ้แู ต่งคนแรก แล้วตามดว้ ย “และคนอนื่ ๆ ” ในภาษาไทย หรอื คาวา่ “et al.” ในภาษาอังกฤษ ดังตวั อย่าง สมศักดิ์ ศรีสมบญุ และคนอ่ืน ๆ ๑.๗ หนังสอื ทมี่ ีผ้รู บั ผิดชอบเป็นบรรณาธกิ าร ใหล้ งชื่อบรรณาธกิ าร แลว้ ระบคุ าวา่ บ.ก. หรอื Ed.(s) ไวใ้ นวงเล็บ กติ ติ สงู ส่ง (บ.ก.) ๑.๘ หนงั สือท่ีไมม่ ชี ื่อผู้แต่ง ใหล้ งชื่อหนังสอื แทน โดยใช้ตัวเนน้ หนัก แลว้ ตามดว้ ยปี พมิ พ์ ตวั อย่าง กลอ่ งวเิ ศษ. (๒๕๔๗) ชุดการเรียน วิชาภาษาไทยเพอื่ สอ่ื สารในงานอาชพี ๓๔

๒. การลงรายการปีที่พิมพ์ มหี ลกั ดงั น้ี ๒.๑ ลงรายการปที ่พี ิมพด์ ้วยปลี ขิ สทิ ธ์ิ (ถา้ เปน็ วัสดทุ ไี่ ม่ไดต้ ีพมิ พใ์ หล้ งปีท่ผี ลติ ) และลงเฉพาะตัวเลขไว้ในวงเล็บ ไมต่ ้องลงคาวา่ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ดังตวั อยา่ ง (๒๕๕๐) ๒.๒ สาหรับสิ่งพมิ พ์ตอ่ เนื่อง ลงปที ่พี ิมพ์ ตามด้วยเดือนและวนั ท่ี ตวั อยา่ ง (๒๕๕๗, มถิ นุ ายน) ๒.๓ ถ้าไม่มปี ที ี่พิมพ์ให้ลงคาว่า “ม.ป.ป.” ซง่ึ มาจากคาวา่ ไมป่ รากฏปที พี่ ิมพ์ หรือ คาว่า “n.d.” มาจากคาวา่ no date ในภาษาอังกฤษ (ม.ป.ป.) (n.d.) ๓. การลงรายการชอ่ื เรื่อง ๓.๑ การลงชื่อเรอ่ื ง ใหข้ ้นึ ตน้ ด้วยอักษรตวั ใหญ่เฉพาะคาแรกของชอ่ื เรื่อง และคา แรกของช่อื เรอ่ื งย่อย และชือ่ เฉพาะหรอื วสิ ามานยนาม ขดี เสน้ ใตห้ รือใช้ตวั เนน้ หนกั ดงั ตวั อย่าง การฝกึ สมาธิ ๓.๒ รายการเพิ่มเติมเก่ยี วกบั หนงั สอื เช่น คร้งั ทพ่ี มิ พ์ จานวนเล่ม หรอื เลม่ ที่ ลง ไว้ในวงเลบ็ ต่อจากชื่อเรอื่ ง โดยไมต่ อ้ งมเี คร่ืองหมายใด ๆ มาคนั่ ดงั ตวั อยา่ ง ฟิสกิ สส์ าหรับเยาวชน (พมิ พ์ครัง้ ที่ ๒) ๓.๓ รายการทร่ี ะบุประเภทของวัสดุ ใหใ้ ส่วงเล็บสเ่ี หล่ียมต่อจากชอื่ เร่อื ง ดงั ตัวอย่าง ป่าชายเลน [แผน่ พบั ] ๓.๔ ชื่อบทความหรือช่ือบท ขึ้นต้นดว้ ยอักษรตัวใหญเ่ ฉพาะ คาแรกของชอื่ เรื่อง ช่อื เรือ่ งย่อยและช่อื เฉพาะ ไมต่ อ้ งขีดเส้นใต้ และไม่ตอ้ งใสเ่ ครอ่ื งหมายอญั ประกาศ ดงั ตัวอยา่ ง Firing up the front line ๓.๕ ชื่อวารสารและข้อมูลเก่ียวกับการพิมพ์ ลงชื่อวารสาร ค่ันด้วยเคร่ืองหมาย จุลภาค แล้วต่อด้วยปีที่ ท้ังหมดขีดเส้นใต้ ถ้ามีฉบับที่ให้ลงไว้ในวงเล็บต่อจากปีท่ีทันทีโดยไม่เว้น ระยะ คั่นด้วยเคร่ืองหมายจุลภาค รายการสุดท้ายคือเลขหน้าชื่อวารสารภาษาอังกฤษข้ึนต้นด้วย อกั ษรตวั ใหญท่ กุ คาหลกั ดังตวั อยา่ ง จนั เพ็ญ เอือ้ พาณชิ , และรชั นีกร หงศพ์ นัส. (๒๕๕๕). การเรียนการสอนที่ เน้นผ้เู รียนเปน็ ศูนย์กลาง: การจัดกิจกรรม เพื่อเรียนรคู้ ุณธรรม. วารสารครุศาสตร์, ๓๐ (๒๐), ๑๐- ๓๖ ๓๕ ชดุ การเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี

๔. การลงรายการขอ้ มลู เกีย่ วกับการพิมพ์ ประกอบด้วย ๒ สว่ นคอื สถานท่พี ิมพแ์ ละ สานักพิมพ์ ๔.๑ สถานท่ีพมิ พ์ ลงช่ือเมืองท่ีสานักพิมพ์หรือโรงพิมพ์นั้นตง้ั อยู่ การลงชอ่ื เมอื งใน ต่างประเทศ ถ้าเป็นเมืองที่ไม่เป็นที่รู้จัก ให้ระบุช่ือรัฐหรือช่ือประเทศกากับไว้ด้วยหลังสถานที่พิมพ์ ใชเ้ ครอ่ื งหมายทวภิ าค (:) ค่นั ดังน้ี กรงุ เทพฯ : ๔.๒ สานักพมิ พ์ และโรงพิมพ์ ก. ลงช่ือสานักพิมพ์ตามท่ีปรากฏในหน้าปกใน ถ้ามีทั้งสานักพิมพ์และ โรง พิมพใ์ ห้ใสช่ ่ือสานกั พมิ พ์ ถา้ ไมม่ สี านักพิมพ์ให้ลงรายการดว้ ยโรงพิมพ์แทน ข. ลงช่ือสานักพิมพ์อย่างส้ัน ๆ ในรูปแบบที่ทุกคนเข้าใจ รวมถึงช่ือสมาคม หรือองค์กร โดยตัดคาประกอบที่เปน็ สว่ นหน่ึงของชือ่ สานกั พิมพ์ออก เช่น คาว่า สานักพิมพ์ ห้าง หุ้นส่วน...จากัด บริษัท....จากัด สานักพิมพห์ รือโรงพมิ พ์ของมหาวิทยาลัย ให้ใส่คาว่า สานักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์ หรือ Press ลงไปด้วย เพ่ือให้แตกต่างไปจากผลงานทเ่ี ป็นของมหาวิทยาลัยในฐานะ สถาบนั การศกึ ษา ตวั อยา่ ง บริษัทซเี อด็ ยูเคช่ัน ลงวา่ ซเี อ็ดยูเคช่นั สานักพมิ พ์จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงวา่ สานักพมิ พ์จฬุ าลงกรณ์ มหาวทิ ยาลยั บริษทั สานักพิมพไ์ ทยวฒั นาพานิช ลงว่า ไทยวฒั นาพานิช นานมบี คุ๊ ส์ จากดั ลงวา่ นานมีบคุ๊ ส์ ค. ถ้าบอกชอ่ื เมอื งท่ตี ง้ั ของสานกั พิมพไ์ วห้ ลายแห่ง ใหใ้ ช้ชือ่ เมอื งแรก ใส่ เครื่องหมายมหัพภาค เมอ่ื จบรายการสานกั พิมพ์ ตวั อยา่ ง กรงุ เทพฯ : ไทยวฒั นาพานชิ ๕. การสืบคน้ วสั ดอุ ิเล็กทรอนกิ ส์ การแจง้ ข้อมลู การสืบค้นวสั ดุอิเลก็ ทรอนกิ ส์ ให้ระบุ วัน เดือน ปี ทส่ี ืบคน้ พร้อม ด้วยชอื่ และ/หรอื ท่ีอยู่ของแหลง่ สารสนเทศ โดยใชค้ าว่า “สบื ค้นเมอื่ .........จาก.......” ดงั ตัวอยา่ ง อารยา สิงหส์ วสั ด์ิ. (๒๕๕๑). เดก็ ตดิ เกม...ภยั รา้ ยโลกไซเบอร์. สบื คน้ เมือ่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐, จาก //www.thaihealth.or.th/node/๔๑๑๘. รปู แบบการเขยี น บรรณานกุ รม ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพอ่ื ส่อื สารในงานอาชพี ๓๖

การเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA ใช้ได้ท้ังกับแหล่งสารสนเทศท่ีเป็นวัสดุตีพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบของเอกสารประเภทหลัก ๆ ที่ APA กาหนดไว้ขอ ยกตวั อย่างดังตอ่ ไปนี้ ๑. หนังสอื ชือ่ ผู้แต่ง./(ปที ีพ่ ิมพ์)./ชอ่ื เรอื่ ง./สถานท่ีพมิ พ์:/สานกั พมิ พ.์ ชยนั ต์ พเิ ชยี รสนุ ทร. (๒๕๔๕). คู่มือเภสชั กรรมแผนไทย. กรงุ เทพฯ: อมรินทรพ์ รินติ้ง. ๒. บางสว่ นของหนังสือ (เชน่ บท) ช่ือผแู้ ตง่ ./(ปที ี่พมิ พ์)./ช่ือบท./ใน/ชอื่ บรรณาธิการ./ชอ่ื เร่ือง/(หนา้ )./ สถานทพี่ มิ พ์:/สานกั พมิ พ.์ ตัวอย่าง เจรญิ ขวญั แพรกทอง. (๒๕๔๗). ห้องสมดุ พระไตรปิฎกมหายาน. ในเทีย่ วห้องสมุด (หน้า ๒๔๔-๒๔๗). กรุงเทพฯ :ซเี อ็ดยูเคชั่น. ๓. บทความจากวารสาร ชอ่ื ผแู้ ต่ง./(ปที ี่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ ชอื่ วารสาร,/ปีท/ี่ (ฉบบั ท่ี),/เลขหน้า. ตัวอยา่ ง อารมณ์ ศรีพิจิตต์. (๒๕๔๔). อิทธิพลของระยะสุกแก่และการลด ความช้ืนต่อความงอก ความแข็งแรง และการรวั่ ไหลของ เมล็ดพนั ธ์ถุ ัว่ เหลอื งในระหว่างการเกบ็ รักษา. วารสารวชิ าการเกษตร, ๑๙ (๑), ๕๘-๗๐ ๔. หนงั สืออิเล็กทรอนิกส์ ชอ่ื ผแู้ ตง่ ./(ปที ี่พิมพ)์ ./ชือ่ เร่อื ง./สบื คน้ เมือ่ /วนั ท/่ี เดอื น/ปี, /จาก/ ชอื่ แหลง่ . ตวั อย่าง ชวนนั ท์ สามดี. (๒๕๔๗). ธรุ กจิ สปาไทยกา้ วไกลไมห่ ยดุ ย้ัง. สบื ค้นเม่ือ ๒๕ กนั ยายน ๒๕๕๐,จาก //www.businessthai.co.th ให้นกั ศกึ ษาเรยี งส่วนตา่ ง ๆ ของบรรณานุกรมใหถ้ ูกตอ้ ง ตามกิจกรรม ตามลงิ ก์ด้านลา่ ง //bit.ly/30eN3H6 //bit.ly/2vRbqwo ๓๗ ชุดการเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ

๒. ภาคผนวก ภาคผนวกจะนาสาระส่วนต่าง ๆ ในส่วนท่ีเป็นเน้ือหาบางเรื่องที่เห็นว่าไม่เหมาะจะ เสนอในส่วนท่ีเป็นเนื้อหา จึงนามาเสนอไว้ในภาคผนวก เพื่อให้ผู้ที่สนใจเร่ืองหน่ึง เร่ืองใดเป็นพิเศษ สามารถท่ีจะศึกษาเพ่ิมเติม นอกเหนือจากเนื้อหาภายในเล่มได้ เช่น หนังสือขอความร่วมมือในการ วิจัยตามขั้นตอนต่าง ๆ รายช่ือผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เช่ียวชาญ นวัตกรรมหรือส่ิงประดิษฐ์ เคร่ืองมือในการ วิจัย เป็นต้น หากมีจานวนมาก ให้เลือกเฉพาะที่จาเป็น โดยจัดกลุ่มหรือเรียงลาดับให้เหมาะสม หลักการเขยี นภาคผนวก ๑. นาสาระท่ีเปน็ รายละเอียดมาก และเห็นว่าผู้อ่านส่วนใหญ่ไม่ตอ้ งการทราบ มาเสนอ ไวใ้ นภาคผนวกสาหรับผู้ท่ีต้องการรายละเอียด ๒. หากมีสาระมาก ก็จัดกลุ่มเรียงลาดับตามความเหมาะสม โดยยึดเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง เปน็ หลกั ๓. หากสาระเร่ืองใดมีเน้ือหามาก ไม่สามารถเย็บเล่มรวมกับรายงานวิจัยได้ ก็ให้แยก ออกมาต่างหาก ๔. สาระที่ไม่จาเป็นตอ้ งเสนอรายละเอียดทงั้ หมด เช่น ผลงานของกลมุ่ ตัวอยา่ ง ภาพถ่าย ต่าง ๆ ถา้ มจี านวนมาก ก็คัดเฉพาะตวั อยา่ งบางส่วนมาเสนอ ๙. การจดั รูปแบบการพมิ พ์รายงานการวิจยั หลกั เกณฑ์การพิมพร์ ายงานการวจิ ัย ๑. กระดาษทใี่ ช้ กระดาษที่ใช้พิมพ์ปกรายงานการวิจัย ต้องเป็นกระดาษหนากว่ากระดาษด้านในจะใชส้ ี ใดก็ได้แต่ไม่ควรใช้สีเข้มจัด ส่วนกระดาษด้านในต้องเป็นกระดาษปอนด์ขาวพิเศษ ไม่มีเส้นบรรทัด ขนาดมาตรฐาน A ๔ (๒๑๐ x ๒๙๓ ม.ม.) มีน้าหนักไม่ต่ากว่า ๘๐ กรัมต่อตารางเมตร ไม่ควรใช้ กระดาษที่ฉีกขาดงา่ ย หรือ กระดาษทหี่ มึกพิมพ์ลบเลอื นง่าย และกระดาษหนึ่งแผ่นใชพ้ ิมพ์เพยี งหน้า เดยี วเท่านนั้ ๒. การวางรปู หน้ากระดาษพมิ พ์ การเว้นขอบระยะห่างจากริมกระดาษใหเ้ ว้นระยะห่าง ดังนี้ ๒.๑ หัวกระดาษให้เว้น ๓.๘๑ ซ.ม. (๑.๕ น้ิว) ยกเว้นหน้าที่ข้ึนบทใหม่ของแตล่ ะบท ให้ เวน้ ๒ นว้ิ ชดุ การเรยี น วิชาภาษาไทยเพอื่ ส่ือสารในงานอาชพี ๓๘

๒.๒ ขอบล่างและขอบขวามือ ใหเ้ วน้ ๒.๕๔ ซ.ม. (๑ น้วิ ) ๒.๓ ขอบซ้ายมือใหเ้ ว้น ๓.๘๑ ซ.ม. (๑.๕ นิว้ ) ๓. ตวั พิมพ์และระยะในการพมิ พ์ ตัวพิมพ์ต้องพิมพ์ด้วยหมึกดา ขนาดและแบบของตัวพิมพ์เป็นแบบเดียวกันตลอดเล่ม คาศัพท์ภาษาต่างประเทศท่ีกล่าวถึงในรายงานการวิจัย หากไม่มีคาแปลเป็นภาษาไทย ควรถอด คาศัพท์นั้นเป็นภาษาไทยพร้อมท้งั ใส่คาศัพท์ภาษาต่างประเทศไว้ในวงเล็บ รายงานการวจิ ัยทุกเล่มท่ี เสนอต้องสะอาด ชัดเจน สัญลักษณ์ หรือตัวพิมพ์พิเศษท่ีเคร่ืองพิมพ์ไม่มี ให้เขียนด้วยหมึกดาอย่าง ประณีต การเว้นระยะระหว่างบรรทัดให้เป็นแบบเดียวกันโดย ระหว่างหัวข้อสาคัญให้ เว้นห่าง ๒ บรรทัดพิมพ์คู่ การย่อหน้า ให้เว้นระยะจากกรอบพิมพ์ด้านซ้ายมือ ๗ ช่วงอักษร และเร่ิมพิมพ์ ในช่วงตัวอักษรท่ี ๘ ย่อหน้าที่สอง ท่ีสาม หรือย่อหน้าต่อ ๆ ไป ให้เว้น เข้าไปอีกครั้งละ ๓ ช่วง ตัวอักษร ถ้าเป็นการพิมพ์ด้วยเคร่ืองคอมพิวเตอร์ การเคาะทีละตัวอักษรนั้นมักมีความคลาดเคล่ือน จึงควรใชก้ ารต้งั แท็บ ๔. การพิมพข์ ้อความในแต่ละบรรทดั ของหน้ากระดาษ เนื่องจากการพิมพ์ด้วยเคร่ืองคอมพิวเตอร์ จะทาให้การจัดกรอบการพิมพ์เป็นไปโดย อตั โนมตั ิ อันเปน็ สาเหตใุ หม้ กี ารตดั คาท้ายบรรทัดไม่ถูกต้อง ทาให้ความหมายของคาเปลยี่ นไป ดังนัน้ การพิมพ์ข้อความแต่ละบรรทัด ควรคานึงถึงคาท้ายบรรทัดด้วย หากมีการตัดคา ต้องไม่ทาให้ ความหมายของคา ๆ น้ันเสียไป ๕. การลาดบั หนา้ และการพิมพ์เลขหน้า ๕.๑ การลาดับหน้าในส่วนนาเร่ือง ให้ใช้ตัวอักษรเรียงตามลาดับพยัญชนะภาษาไทย (ก,ข,ค...) โดยพมิ พไ์ ว้กลางหน้ากระดาษดา้ นลา่ งห่างจากขอบกระดาษขึน้ มา ๑/๒ นวิ้ โดยเรมิ่ นับจาก หน้าคานาเป็นต้น ๕.๒ การลาดับหน้าในส่วนเน้ือหาและส่วนประกอบตอนท้าย ให้ใช้ตัวเลขอารบิก (๑,๒,๓...) ตลอดท้ังเล่ม โดยพิมพ์ไว้ริมขวาบนของกระดาษ ห่างจากขอบบนและขวามือด้านละ ๑ นิ้ว ยกเว้นหน้าที่ข้ึนบทใหม่ ให้ใส่ตัวเลขกากับหน้าไว้ตรงกลางหน้ากระดาษห่างจากขอบล่างขึ้นไป ๑/๒ นิว้ ห้ามมีหน้าแทรก เชน่ ๒n , ๒/๑ เป็นตน้ ๖. การพมิ พบ์ ทท่ี หัวข้อสาคญั และหัวข้อยอ่ ย ๖.๑ เมอ่ื ขึ้นบทใหมใ่ หข้ น้ึ หน้าใหม่ พมิ พค์ าว่า “บทท่ี” พร้อมระบเุ ลขประจาบทดว้ ยเลข อารบิกไว้กลางกระดาษ โดยเว้นระยะห่างจากขอบบนของกระดาษ ๒ น้ิว พิมพ์ชื่อลงบนกลาง หน้ากระดาษ โดยไม่ต้องขีดเส้นใตช้ อ่ื บทท่ียาวเกิน ๑ บรรทัด ให้แบ่งพิมพ์เป็น ๒ บรรทัดตามความ เหมาะสมโดยพิมพ์เรียงลงมาในลกั ษณะสามเหล่ียมกลับหวั ๓๙ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ

๖.๒ หัวข้อสาคัญ ให้พิมพ์ชิดริมกรอบกระดาษด้านซ้ายมือและขีดเส้นใต้ หรือทาตัว เน้นหนัก ไม่ต้องใส่หมายเลขหรือตัวอักษรกากับ โดยพิมพ์ห่างจากบรรทัดบนและบรรทัดต่อไป ๒ บรรทัดพิมพค์ ู่ ๖.๓ หัวข้อย่อย ให้พิมพ์โดยเว้นระยะ ๕ ช่วงตัวอักษร และเร่ิมพิมพ์ในตัวอักษรที่ ๖ หากหัวข้อย่อย มีการแบ่งมากกว่า ๓ ระดับให้ใส่ตัวเลขหรือตัวอักษรเข้าช่วย ซึ่งอาจทาได้ ๒ แบบ และหากเลือกใช้แบบใดแบบหน่งึ แลว้ ตอ้ งใชแ้ บบเดียวกันตลอดท้งั เลม่ แบบท่ี ๑ ใชร้ ะบบตวั เลขท้ังหมด โดยเพมิ่ ตัวเลขและเคร่ืองหมายของมหัพภาค (.) ตามลาดับ ดงั น้ี หวั ข้อสาคญั ๑.ขอ้ ความ ๑.๑ ขอ้ ความ ๑.๑.๑ ข้อความ ๑.๑.๑.๑ ข้อความ แบบท่ี ๒ ใช้ระบบตวั อักษรสลับหรือกับตวั เลขดังน้ี หัวขอ้ สาคัญ ก.ข้อความ ๑. ขอ้ ความ ก) ข้อความ ๑) ข้อความ ๗. การพิมพต์ าราง ๗.๑ องคป์ ระกอบของตารางมีดังนี้ ๗.๑.๑ ลาดับที่ของตาราง ให้พิมพ์คาว่าตารางท่ี ชิดริมกรอบกระดาษซ้ายมือตาม ด้วยหมายเลขกากับตารางโดยเรียงลาดับหมายเลขจากตารางที่ ๑ ไปจนจบเล่ม ท้ังน้ีรวมตารางใน ภาคผนวกด้วย ใหข้ ีดเส้นใตท้ กุ ครัง้ ๗.๑.๒ ชื่อตาราง ให้พิมพ์ชื่อตารางต่อจากเลขท่ีตาราง โดยเว้นระยะห่าง ๒ ช่วง ตัวอักษร หากชอื่ ตารางยาวเกนิ กว่า ๑ บรรทดั ใหพ้ มิ พต์ วั อกั ษรตัวแรกของบรรทดั ถัดไป ใหต้ รงกบั อักษรตัวแรกของชอ่ื ตาราง ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพอื่ สือ่ สารในงานอาชพี ๔๐

๗.๒ ตารางที่อ้างอิงจากแหล่งอ่ืนให้แจ้งท่ีมาโดยเขียนบรรณานุกรมแสดงแหล่งท่ีมาไว้ ด้วยตอนท้ายตาราง ๗.๓ ขนาดของตารางไม่ควรเกินกรอบของหน้าพิมพ์รายงานโครงการ ถ้าเป็นตาราง ขนาดใหญ่มาก ควรพยายามลดขนาดลงโดยการถ่ายเอกสารย่อส่วนหรือใช้วิธีการอื่น ๆ ตามความ เหมาะสมแต่จะต้องสะอาด ชดั เจน อ่านออกง่าย ๗.๔ กรณตี ารางมีความยาวหรือกวา้ งมากจนไม่สามารถบรรจุในหน้ากระดาษเดยี วกันได้ ให้ย่อส่วนหรือแยกมากกว่า ๑ ตาราง โดยพิมพ์ในหน้าถัดไปและพิมพ์เลขท่ีตารางรวมทั้งคาว่า “ต่อ” ไวใ้ นวงเล็บ โดยไมต่ อ้ งพิมพ์ชือ่ ตาราง ท้ังหมดดงั ตวั อย่าง เชน่ ตารางท่ี ๑ (ต่อ) เป็นต้น ๗.๕ ตารางทีม่ คี วามจาเป็นนอ้ ยต่อเนอ้ื หา ใหแ้ สดงไว้ในภาคผนวก ๘. การพิมพ์ภาพประกอบ ภาพประกอบ หมายถึง ภาพลายเส้น ภาพถ่าย ภาพเขียน แผนผัง แผนภมู ิ กราฟ และอ่นื ๆ ๘.๑ องค์ประกอบของภาพประกอบ มดี งั น้ี ๘.๑.๑ ลาดับที่ของภาพประกอบ ให้พิมพ์คาว่า “ภาพที่” ไว้ใต้ภาพ ตามด้วย หมายเลขกากับภาพเรียงลาดับหมายเลข จากภาพท่ี ๑ ไปจนจบเล่ม ทั้งน้ีรวมภาพประกอบใน ภาคผนวกด้วย ใหข้ ีดเสน้ ใต้ทกุ ครงั้ ดงั ตัวอย่างเช่น “ภาพที่ ๑” เป็นต้น ๘.๑.๒ ช่ือภาพประกอบหรือคาอธิบายภาพ ให้พิมพ์ชื่อภาพหรือ คาอธิบายภาพ ต่อจากเลขที่ภาพ โดยเว้นระยะห่าง ๒ ช่วงตัวอักษร หากชื่อภาพยาวเกินกว่า ๑ บรรทัดให้พิมพ์ ตวั อักษรตัวแรกของบรรทัดถัดไปใหต้ รงกบั ตัวอกั ษรตัวแรกของชื่อภาพ ๘.๑.๓ ภาพประกอบท่ีอ้างอิงมาจากแหล่งอื่น ให้แจ้งท่ีมาโดยเขียนบรรณานุกรม แสดงแหล่งท่มี าไวด้ ้วยตอนท้ายภาพ ๘.๒ ภาพประกอบท่ีเป็นภาพสี ควรทาเป็นภาพอัดสาเนาสีลงบนกระดาษปอนด์ขาวให้ ชดั เจน ๔๑ ชุดการเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด