ปลายประสาทอักเสบ อันตรายไหม

แพทย์แนะโรคปลายประสาทอักเสบ ภัยเงียบที่ควรรู้

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์  เตือนโรคปลายประสาทอักเสบ มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชาที่แขนและขา ปลายมือ ปลายเท้า เสียการทรงตัวหรือเดินเซ หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นและมีโอกาสกลับมาเป็นปกติ

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคปลายประสาทอักเสบ เป็นกลุ่มอาการของเส้นประสาทซึ่งทำหน้าที่นำคำสั่งจากสมองและไขสันหลังไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงทำหน้าที่รับความรู้สึกจากอวัยวะต่างๆ กลับไปยังสมอง เส้นประสาทสามารถแบ่งได้เป็นประเภท ได้แก่ 1. ประสาทรับความรู้สึกซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เชื่อมต่อ สมอง และไขสันหลังกับผิวหนัง หรืออวัยวะภายใน 2. เส้นประสาทสั่งการหรือนำคำสั่ง ซึ่งเป็นประสาทที่เชื่อมต่อสมองและไขสันหลังกับกล้ามเนื้อ 3. ระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งเป็นประสาทที่เชื่อมต่อสมองและไขสันหลังกับอวัยวะภายใน  ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคปลายประสาทอักเสบ จะมีอาการชา หรือความรู้สึกลดลงที่บริเวณปลายมือและเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง เสียการทรงตัวหรือเดินเซ เนื่องจากการรับความรู้สึกที่เท้าผิดปกติ ความดันโลหิตลดลงต่ำ ท้องผูกหรือท้องเสีย อาหารย่อยยาก เหงื่อออกมากกว่าปกติ ซึ่งอาการดังกล่าว มักเป็นตลอดเวลา หรือเป็น ๆ หาย ๆ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค

นายแพทย์นฤพัชร สวนประเสริฐ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรมประสาท สถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุที่พบของโรคปลายประสาทอักเสบ ได้แก่ โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด สาเหตุอื่นที่พบรองลงมา ได้แก่ การกดทับของเส้นประสาทจากการใส่เฝือก หรือใช้ไม้ค้ำ  หรือการใช้งานข้อมือซ้ำ ๆ โรคทางภูมิคุ้มกัน เช่น โรคข้อรูมาตอยด์ โรค SLE โรคปลอกประสาทอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง และโรคหลอดเลือดอักเสบ นอกจากนี้ยังพบโรคของความผิดปกติทางพันธุกรรม การติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อ HIV การได้รับสารพิษต่างๆ การขาดวิตามิน เช่น วิตามินบีบีบี 12 เนื้องอกและมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งกระดูก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคไต โรคตับ หรือภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ สำหรับการวินิจฉัยและรักษา แพทย์จะดูจากประวัติคนไข้เป็นสำคัญ ร่วมกับการตรวจร่างกาย จากนั้นส่งตรวจเลือด ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อ การทำงานของเส้นประสาท ตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อหาสาเหตุของโรค ดังนั้น หากพบว่ามีอาการชา อ่อนแรงหรือเจ็บผิดปกติที่มือหรือเท้า ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้มีโอกาสหายเป็นปกติได้มากขึ้น

แหล่งที่มาอ้างอิง: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

//pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=109133

ร่างกายของคนเรามีระบบประสาทส่วนปลายที่ทำหน้าที่รับคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลาง แล้วส่งต่อคำสั่งไปยังกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและรับความรู้สึกได้

หากเส้นประสาทที่รับส่งคำสั่งจากสมองและไขสันหลังไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความเสียหาย หรือเกิดโรคบางชนิดขึ้น ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า โรคปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) ได้

สังเกตเบื้องต้นยังไง ว่าเสี่ยงเป็น “โรคปลายประสาทอักเสบ?”

• อ่อนแรง ปวดและชาตามมือและเท้า หรืออวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
• มีอาการแสบ หรือเจ็บแปลบบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
• สูญเสียการทรงตัว เกิดอาการบ้านหมุน
• มีอาการปวดแปร๊บๆ บนใบหน้าคล้ายถูกไฟฟ้าช็อต มักเกิดอาการด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้า
• เกิดอาการใบหน้าเบี้ยว ใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก

หากพบอาการผิดปกติแนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรับการรักษาให้ถูกต้อง เพราะการอักเสบของเส้นประสาทบางตำแหน่งอาจมีหลายสาเหตุ บางสาเหตุอาจเกิดจากการขาดวิตามินบางชนิด แต่บางสาเหตุอาจเกิดจากอื่นๆ

อายุน้อยก็เป็น “โรคปลายประสาทอักเสบ” ได้

โรคปลายประสาทอักเสบมักจะเกิดกับคนวัยชรา และคนมีโรคประจำตัวเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันกลับพบว่าช่วงวัยชราที่เป็นโรคปลายประสาทอักเสบมีแนวโน้มต่ำลง แต่กลับเป็นกลุ่มวัยทำงานที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ โดยพบได้ในคนที่มีอายุเฉลี่ย 30 ปีขึ้นไป จากไลฟ์ไตล์ที่เร่งรีบในปัจจุบันที่แสนจะสุดเยอะ อย่าง..

• มีเรื่องต้องทำเยอะ : Multitasking สุดๆ ทำหลายอย่าง ทำงานหนัก แถมยังพักผ่อนน้อย รวมถึงพฤติกรรมการใช้งานข้อมือซ้ำๆ อย่างการคลิกเม้าส์หรือใช้สมาร์ทโฟนตลอดเวลา ร่วมกับการกินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะการไม่รับประทานผัก ธัญพืช ทำให้ร่างกายขาดวิตามินบางชนิด เช่น บี 1 บี 6 และ บี 12
• สายปาร์ตี้ ดื่มหนัก : ยิ่งดื่มยิ่งทำให้ร่างกายถูกกระตุ้นให้ขับวิตามินต่างๆ ออกมาพร้อมกับปัสสาวะ โดยเฉพาะวิตามินในกลุ่มที่ละลายในน้ำอย่างวิตามินบี
• รับประทานมังสวิรัติ : วิตามินบางชนิดเช่นวิตามินบี 12 พบมากในเนื้อสัตว์ ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติอาจขาดวิตามินนี้ 3
• ผู้ที่รับประทานยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยาคุมกำเนิด ยาขับปัสสาวะ อาจมีความเสี่ยงในการขาดวิตามินบี 1,2
• มีภาวะโรคบางอย่างแฝง หากมีสัญญาณที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์

“โรคปลายประสาทอักเสบ” ป้องกันได้ แค่ดูแลตัวเองด้วยการ

• เต็มที่แค่ไหน ก็ต้องหาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ ทำเยอะบ้าง ทำน้อยบ้าง และปล่อยให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย
• หลีกเลี่ยงการไขว้ขาและการนั่งในท่าที่อาจกดทับเส้นประสาทระหว่างการทำงาน
• ขยับขยายร่างกาย เปลี่ยนอริยาบถบ่อยๆ เลี่ยงการนั่ง คลิกเม้าส์หรือใช้สมาร์ทโฟนในท่าเดิม
• ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลง ปาร์ตี้น้อยลงสักนิดเพื่อสุขภาพ
• เลือกทานอาหารที่มีวิตามิน B1, B6 และ B12 อย่างเหมาะสมหรือวิตามินบีรวม เพราะวิตามินบี มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง และช่วยซ่อมแซมปลอกหุ้มเซลล์ประสาท
• ทานอาหารที่มีโคลีน เช่น ไข่แดง เนื้อสัตว์ เครื่องใน ผักใบเขียวบางชนิด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง หรือเสริมด้วยอาหารเสริมที่มีโคลีน สารตั้งต้นหลักในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทอย่าง อะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความจำ การควบคุมกล้ามเนื้อต่างๆ

โรคปลายประสาทอักเสบป้องกันได้จากการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ที่เป็นอยู่ให้สมดุลมากขึ้น เริ่มต้นดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ดีที่สุด

อ้างอิง :
1. Veninga KS. Effects of oral contraceptives on vitamins B6, B12, C, and folacin. J Nurse Midwifery. 1984 Nov-Dec;29(6):386-90. doi: 10.1016/0091-2182(84)90169-1. PMID: 6568271.
2. Morrow LE, Grimsley EW. Long-term diuretic therapy in hypertensive patients: effects on serum homocysteine, vitamin B6, vitamin B12, and red blood cell folate concentrations. South Med J. 1999 Sep;92(9):866-70. doi: 10.1097/00007611-199909000-00003. PMID: 10498160.
3. Rizzo, G., Laganà, A. S., Rapisarda, A. M., La Ferrera, G. M., Buscema, M., Rossetti, P., Nigro, A., Muscia, V., Valenti, G., Sapia, F., Sarpietro, G., Zigarelli, M., & Vitale, S. G. (2016). Vitamin B12 among Vegetarians: Status, Assessment and Supplementation. Nutrients, 8(12), 767. //doi.org/10.3390/nu8120767
//www.bangmodhospital.com/health_news/53
//www.pobpad.com/ปลายประสาทอักเสบ
//www.synphaet.co.th/สัญญาณเตือนโรคปลายประส/

ปลายประสาทอักเสบเป็นยังไง

สัญญาณเตือนโรคปลายประสาทอักเสบ ลักษณะของอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคปลายประสาทอักเสบ มีดังนี้ เหน็บและชาปลายมือและเท้า ความรู้สึกบริเวณปลายมือและเท้าลดลง กล้ามเนื้ออ่อนแรง (โดยเฉพาะที่เท้า)

ปลายประสาทอักเสบเกิดจากสาเหตุอะไร

เกิดบาดแผลหรือการกดทับที่เส้นประสาท บาดแผลที่อาจทำให้เส้นประสาทเกิดความเสียหาย เช่น อุบัติเหตุจากการขับขี่ยานพาหนะ หกล้ม หรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา และการกดทับที่อาจทำให้เส้นประสาทเกิดความเสียหาย เช่น ใส่เฝือก ใช้ไม้ค้ำ หรือการทำท่าทางซ้ำ ๆ เช่น พิมพ์งานมาก ๆ

ปลายประสาทอักเสบอยู่ตรงไหน

ระบบประสาทส่วนปลายเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว และการรับความรู้สึก ภาวะปลายประสาทอักเสบ คือ อาการบวม แดง อ่อนแรง ชาที่แขน และขา ปลายมือ ปลายเท้า พบมากในผู้สูงวัย แต่ในกรณีที่พบในคนอายุน้อย ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด